ปรีดีพนมยงค์นี่ สรุปว่าเป็นคนดีหรือไม่ดีครับ แล้วทำไมเราถึงยกย่องเขาเป็นวีรบุรุษในหนังสือเรียนครับ

สวัสดีครับ ยืม Log in เพื่อนมาโพสครับ เพิ่งตั้งกระทู้เป็นครั้งแรก หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

สืบเนื่องจากบทความดังกล่าวนี้

"รำลึก..รัชกาลที่ 7 พระมหากษัตริย์ไทยผู้ถูกรังแก จากปรีดีและคณะราษฎรจนวาระสุดท้าย" http://likedee.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-7/

คือจากที่อ่าน สังเกตว่า เนื่องจากมีหลักฐานที่เห็นได้ชัด อย่างหน้าหนังสือพิมพ์ และบุคคลในช่วงประวัติศาสตร์นั้นก็น่าจะได้รับรู้หรือได้ยิน ได้อ่านมาบ้าง แม้แต่คนในปัจจุบันก็ยังสามารถสืบค้นกลับไปเจอได้แล้ว ทำไม ปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฏ์ ซึ่งรวมถึง พระยาพหล พระยาทรง พระยาฤทธิ์ ยังได้รับคำชื่นชมและบันทึกอยู่ในตำราเรียนไทยว่าเป็นวีรบุรุษได้อีกหรือครับ จากที่อ่านแล้วทั้งการกระทำและหลายๆอย่างดูจะเป็นการข่มขู่สถาบันกษัตริย์อย่างร้ายแรง ถึงขั้นต้องหลบหนีไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษครับ

ตัวอย่างที่ quote มานะครับ

"ข้อความในประกาศคณะราษฎร ซึ่งเขียนขึ้นโดยหลวงประดิษฐ วิพากษ์วิจารณ์ ใส่ร้าย พระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงมากอย่างลบหลู่พระเกียรติจนไม่อาจนำมากล่าวซ้ำในที่นี้ได้ เนื่องจากเกินกว่าคนไทยจะรับได้ จากนั้นประกาศคณะราษฎร ซึ่งลงนามโดย พระยาพหล , พระยาทรง และพระยาฤทธิ์ ถูกส่งโทรเลขไปให้แด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่วังไกลกังวล หัวหิน มีใจความข่มขู่ว่า “..หากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงปรารถนาที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ คณะราษฎรจะเต็มใจถอดพระองค์ออก และแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น”

ในโทรเลขดังกล่าวข่มขู่ด้วยว่า “หากสมาชิกคณะราษฎรคนใดได้รับบาดเจ็บ พระบรมวงศานุวงศ์ที่ถูกคุมขังก็จะทรงทรมานไปด้วย…” อันเป็นถ้อยความข่มขู่พระมหากษัตริย์ที่ยะโสโอหังมาก
วันที่ 23 ตุลาคม 2476 เพื่อความปลอดภัย ข้าราชบริพารพร้อมใจกันพารัชกาลที่ 7 ระหกระเหิน โดยเรือศรวรุณ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ท่ามกลางสภาวะอากาศเลวร้ายในทะเล ใช้เวลากว่าสองวันจึงถึงจังหวัดสงขลา ไปประทับ ณ ตำหนักเขาน้อย จังหวัดสงขลา"

แนบรูปครับ




หากว่าผมเข้าใจผิดอย่างไรต้องขอโทษด้วยนะครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
สิ่งที่ผมจะบอกเสมอ คือ อยากเอาปัจจุบันไปตัดสินอดีต

"สถาบันกษัตริย์" ในสมัยนั้นกับตอนนี้ ต่างกันมากนะครับ ถ้ามองจากปัจจุบันการใช้คำแบบนั้นกับสถาบันกษัตริย์ คือ ไม่ดี
แต่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ช่วงเวลานั้น คือ
1 สภาพสังคมที่กลุ่มนักเรียนนอก สำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ตำแหน่งใหญ่ในประเทศ ไม่มีทางที่ "สามัญชน" จะได้อำนาจ
2 สภาพเศรษฐกิจ ที่เป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุโรปบอบช้ำรุนแรง การซื้อขายลดลง ทำให้ต้องลดการจ้างงานลง ซึ่งส่วนใหญ่ที่ลดคิดว่า เป็นตำแหน่งเล็กหรือใหญ่ครับ

และในสมัยนั้น สถาบันกษัตริย์ คือ รัฐบาล การที่คนเราจะไม่พอใจการดำเนินการของรัฐบาลเป็นเรื่องปกติ ใช่ไหมครับ
ถ้าเป็นปัจจุบัน เรายังสามารถรอการเลือกตั้งใหม่ หรือการเมืองอื่นๆ ได้ แต่ในสมัยนั้น ไม่มีทางเลยครับ ดังนั้นความไม่พอใจต่อ "รัฐบาล" จึงเกิดขึ้น และนำไปสู่แนวความคิด "เปลี่ยนแปลง"

ซึ่งถ้าเอาทัศนคติปัจจุบันมาตัดสิน ก็จะมองว่า ไม่จงรักภักดีต่อสถาบัน แต่จริงๆ แล้ว ใช่หรือไม่ละครับ

เรื่อง เค้าโครงเศรษฐกิจ ที่มี พระวินิจฉัย จาก รัชกาลที่ 7 ว่า เป็นคอมมิวนิสต์ ถ้าจะว่าตามตรง จะเป็นแนว สังคมนิยม มากกว่า (สังคมนิยมไม่ใช่คอมมิวนิสต์ นะครับ หลายคนชอบเข้าใจผิดกัน)

แล้วถ้าจะมองในมุมหนึ่ง การที่ไทยไม่เป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจจะมีหลายเหตุ แต่ผลงานของเสรีไทย ก็เป็นที่ชัดเจนนะครับ ว่ามีส่วนสำคัญต่อการไม่แพ้

(สิ่งหนึ่งที่เห็นหลายคนชอบตัดสินใจ เลือกฝ่าย ถูกและผิด มันทำให้การมองประวัติศาสตร์ผิดเพี้ยนไปมาก นี่ไม่ใช่ละครไทยที่พระเอกต้องดีล้วน ตัวร้ายต้องเลวสุดๆ มันมีหลายสิ่งมาก และการกระทำที่เอาปัจจุบันไปตัดสิน มันก็ผิด จริงอยู่ที่หลายการตัดสินใจทำให้เกิดผลร้าย แต่ในเวลาที่ตัดสินใจมันไม่ได้มองอนาคตได้นะครับ ว่าจะเป็นอย่างไร เขาอาจคิดว่านี่คือทางที่ดีที่สุดแล้ว)

ช่วงมิถุนา ทีไรจะเจอกลุ่มคนที่คิดว่า คณะราษฏรเป็นฝ่ายร้ายเพราะยึดอำนาจสถาบันกษัตริย์ แต่อยากให้ทำความเข้าใจก่อน สถาบันกษัตริย์ในสมัยนั้นกับที่เป็นอยู่ตอนนี้ ไม่เหมือนกันนะครับ

ความจริงมีอีกหลายประเด็น "สำคัญ" ที่เป็นข้อกล่าวหาต่อปรีดี แต่คงไม่สะดวกที่จะนำมาครับ
ความคิดเห็นที่ 6
มีทั้งความดีและความไม่ดีครับ     เคยทำความดีมาก็มากทำเรื่องไม่ดีก็ไม่น้อย   แต่ความดีที่ทำมันเป็นความชอบที่ใหญ่กว่า     

ทว่าสุดท้ายความดีทั้งหลายที่ทำมาก็สูญไปหมดเพราะพ่ายแพ้ต่อความหอมหวลของอำนาจและก่อกบฎวังหลวงขึ้นมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่