หลักโภชนาการในกระต่ายเบื้องต้น
เรื่องอาหารการกินนั้นถ้าเปรียบกับคนแล้ว เราเรียนรู้ที่การกินอาหารครบ 5 หมู่ ชีวจิต หรืออาหารเพื่อสุขภาพ หรือบางคนก็อาจจะกิน fast food หรืออะไรก็แล้วแต่ และสิ่งที่เรากินเข้าไปนั้นย่อมส่งผลต่อสุขภาพเรานั่นเอง กระต่ายก็เช่นกันย่อมมีอาหารที่เหมาะสมกับระบบทางเดินอาหาร เป็นหน้าที่ของเราที่จะนำสิ่งที่ดีๆนั้นมาให้กระต่ายที่เรารัก เพื่อสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาว
กระต่ายเป็นสัตว์จำพวกสัตว์กินพืชอย่างเดียว (strict herbivores) และมีกระบวนการหมักย่อยที่สำคัญอยู่ที่ระบบทางเดินอาหารส่วนท้าย (Hind gut fermentation) อาหารที่เหมาะสมของกระต่ายนั้นคือคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไขมันต่ำ และอาหารหยาบที่มีเยื่อใย (fiber) สูงกว่า 20% แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ เยื่อใยอาหารที่ย่อยได้ (digestible fiber) กับที่ย่อยไม่ได้ (indigestible fiber) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญต่อสุขภาพที่ดีของกระต่าย การบดเคี้ยวอาหารหยาบนั้นช่วยให้ฟันสึกและไม่งอกยาวเกินไป (Crossely, 1995) การได้รับอาหารที่มีเยื่อใยที่ย่อยไม่ได้น้อยมีแนวโน้มที่จะทำให้บีบตัวของทางเดินอาหารลดลง ทำให้อาหารและเส้นขนที่กินเข้าไปยังคงค้างอยู่ในกระเพาะเป็นเวลานาน และเป็นสาเหตุของภาวะอุดตันของทางเดินอาหาร และการได้รับเยื่อใยอาหารที่ย่อยไม่ได้อย่างเพียงพอยังช่วยลดพฤติกรรมการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เช่น พรม ถาดพลาสติก (Quesenberry, 1994) แหล่งสำคัญของอาหารเยื่อใยคือพวกหญ้าหรือหญ้าแห้ง
เยื่อใยทั้งสองชนิดนี้จะแยกกันโดยเยื่อใยที่ย่อยไม่ได้ จะถูกขับออกมาเป็นมูลแข็งออกมา (hard feacal) ส่วนเยื่อใยที่ย่อยได้ก็จะเกิดการบีบตัวของลำไส้ให้เคลื่อนที่กลับเข้าสู่ซีกั่ม (cecum) เพื่อทำการหมัก หลังจากนั้นก็จะถูกขับออกมาเป็นมูลอ่อน (soft feacal) หรือซีโคโทป (Cecotropes) ที่เราเรียกว่าอึพวงองุ่น ในอึชนิดนี้จะมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น กรดอะมิโน ไวตามิน เกลือแร่ และจุลชีพที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะยีสต์ Sacccharomyces cereviae อึชนิดนี้จะมีเมือกปกคลุมเพื่อป้องกันสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร โดยกระต่ายจะกินจากก้นโดยตรง
การเลือกอาหารเม็ดที่ขายตามท้องตลาด อาหารนั้นควรผลิตมาเพื่อกระต่ายโดยเฉพาะ เราควรดูคุณค่าทางโภชนการของอาหาร โดยควรมีโปรตีน 12-16% เยื่อใย 20-25% หรือมากกว่า ไขมันและคาร์โบไฮเดรตต่ำ ความสดของอาหาร วันหมดอายุ และควรหลีกเลี่ยงอาหารเม็ดที่เป็นแบบผสม เช่น ผสมกับธัญพืช เมล็ดพืช ถั่ว ผักอบแห้ง เพราะกระต่ายจะเลือกกินเฉพาะของที่ชอบ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะการขาดสารอาหาร อ้วนเกินไปและเกิดปัญหาของระบบทางเดินอาหารได้
เมื่อเราเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของกระต่ายที่เรารักได้แล้ว ต้องการเปลี่ยนอาหารเก่า เพื่อให้ได้อาหารใหม่ที่ถูกหลักโภชนาการมากกว่า เราควรค่อยๆเปลี่ยนจากอาหารเก่าเป็นอาหารใหม่ เพราะถ้าหากเราเปลี่ยนอาหารอย่างรวดเร็ว จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจุลชีพในทางเดินอาหารและเกิดท้องเสียตามมา ดังนั้นเราจึงต้องมีขั้นตอนในการค่อยๆเปลี่ยนอาหาร ดังนี้
สัปดาห์แรก : ให้อาหารเก่า ¾ ส่วนกับอาหารใหม่ ¼ ส่วน
สัปดาห์ที่ 2 : ให้อาหารเก่า ½ ส่วนกับอาหารใหม่½ ส่วน
สัปดาห์ที่ 3 : ให้อาหารเก่า ¼ ส่วน กับ อาหารใหม่ ¾ ส่วน
สัปดาห์ที่ 4 : ให้อาหารใหม่อย่างเดียว
เราอาจจะนำ Rabbit CakeR มาผสมอาหารเพื่อ ช่วยปรับสภาพทางเดินอาหารของกระต่าย และทำให้ช่วยในการปรับการกินให้ถูกหลักโภชนาการ
การให้กระต่ายกินขนม (treat) นอกเหนือจากอาหารหลัก กระต่ายที่เราเลี้ยงนั้นเรียนรู้ที่จะขออาหารกินและเป็นหนึ่งในการสร้างความผูกพันระหว่างเจ้าของและกระต่าย โดยขนมที่เจ้าของชอบให้กินส่วนใหญ่มักจะเป็นพวกอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตจำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด เราควรหลีกเลี่ยง เช่น มันฝรั่งทอด ป๊อปคอร์น ซ๊อคโกแลต น้ำผึ้ง เป็นต้น หากเราให้ในปริมาณมาก จะทำให้กระต่ายกินซีโคโทปน้อยลง เนื่องจากพลังงานจำนวนมากที่ได้รับจากคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายคิดว่าได้รับพลังงานเพียงพอแล้ว สารอาหารจำเป็นที่ได้รับจากซีโคโทปก็น้อยลง กระต่ายจะผอม และอาหารคาร์โบไฮเดรตสูงมีผลให้จุลชีพที่ก่อโรคของระบบทางเดินอาหารเจริญเติบโตและเป็นเหตุโน้มนำให้เกิดทางเดินอาหารเป็นพิษ (enterotoxaemia) โดยพิษที่มาจากเชื้อ Clostridium spiroforme ซึ่งอาการจะรุนแรงมากในกระต่ายเด็ก (Cheeke, 1987) ส่วนขนมที่เราแนะนำให้ได้จะเป็นพวกผักใบเขียวปลอดสารพิษ แอปเปิล แครอทหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โดยให้กับมือ เพื่อช่วงเวลาพิเศษระหว่างเจ้าของและกระต่ายโดยไม่ทำร้ายกระต่ายที่เรารัก
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://goo.gl/efvShd & https://www.facebook.com/Pet.kwuncum/
หลักโภชนาการในกระต่ายเบื้องต้น คืออะไร ?
หลักโภชนาการในกระต่ายเบื้องต้น
เรื่องอาหารการกินนั้นถ้าเปรียบกับคนแล้ว เราเรียนรู้ที่การกินอาหารครบ 5 หมู่ ชีวจิต หรืออาหารเพื่อสุขภาพ หรือบางคนก็อาจจะกิน fast food หรืออะไรก็แล้วแต่ และสิ่งที่เรากินเข้าไปนั้นย่อมส่งผลต่อสุขภาพเรานั่นเอง กระต่ายก็เช่นกันย่อมมีอาหารที่เหมาะสมกับระบบทางเดินอาหาร เป็นหน้าที่ของเราที่จะนำสิ่งที่ดีๆนั้นมาให้กระต่ายที่เรารัก เพื่อสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาว
กระต่ายเป็นสัตว์จำพวกสัตว์กินพืชอย่างเดียว (strict herbivores) และมีกระบวนการหมักย่อยที่สำคัญอยู่ที่ระบบทางเดินอาหารส่วนท้าย (Hind gut fermentation) อาหารที่เหมาะสมของกระต่ายนั้นคือคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไขมันต่ำ และอาหารหยาบที่มีเยื่อใย (fiber) สูงกว่า 20% แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ เยื่อใยอาหารที่ย่อยได้ (digestible fiber) กับที่ย่อยไม่ได้ (indigestible fiber) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญต่อสุขภาพที่ดีของกระต่าย การบดเคี้ยวอาหารหยาบนั้นช่วยให้ฟันสึกและไม่งอกยาวเกินไป (Crossely, 1995) การได้รับอาหารที่มีเยื่อใยที่ย่อยไม่ได้น้อยมีแนวโน้มที่จะทำให้บีบตัวของทางเดินอาหารลดลง ทำให้อาหารและเส้นขนที่กินเข้าไปยังคงค้างอยู่ในกระเพาะเป็นเวลานาน และเป็นสาเหตุของภาวะอุดตันของทางเดินอาหาร และการได้รับเยื่อใยอาหารที่ย่อยไม่ได้อย่างเพียงพอยังช่วยลดพฤติกรรมการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร เช่น พรม ถาดพลาสติก (Quesenberry, 1994) แหล่งสำคัญของอาหารเยื่อใยคือพวกหญ้าหรือหญ้าแห้ง
เยื่อใยทั้งสองชนิดนี้จะแยกกันโดยเยื่อใยที่ย่อยไม่ได้ จะถูกขับออกมาเป็นมูลแข็งออกมา (hard feacal) ส่วนเยื่อใยที่ย่อยได้ก็จะเกิดการบีบตัวของลำไส้ให้เคลื่อนที่กลับเข้าสู่ซีกั่ม (cecum) เพื่อทำการหมัก หลังจากนั้นก็จะถูกขับออกมาเป็นมูลอ่อน (soft feacal) หรือซีโคโทป (Cecotropes) ที่เราเรียกว่าอึพวงองุ่น ในอึชนิดนี้จะมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น กรดอะมิโน ไวตามิน เกลือแร่ และจุลชีพที่จำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะยีสต์ Sacccharomyces cereviae อึชนิดนี้จะมีเมือกปกคลุมเพื่อป้องกันสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร โดยกระต่ายจะกินจากก้นโดยตรง
การเลือกอาหารเม็ดที่ขายตามท้องตลาด อาหารนั้นควรผลิตมาเพื่อกระต่ายโดยเฉพาะ เราควรดูคุณค่าทางโภชนการของอาหาร โดยควรมีโปรตีน 12-16% เยื่อใย 20-25% หรือมากกว่า ไขมันและคาร์โบไฮเดรตต่ำ ความสดของอาหาร วันหมดอายุ และควรหลีกเลี่ยงอาหารเม็ดที่เป็นแบบผสม เช่น ผสมกับธัญพืช เมล็ดพืช ถั่ว ผักอบแห้ง เพราะกระต่ายจะเลือกกินเฉพาะของที่ชอบ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะการขาดสารอาหาร อ้วนเกินไปและเกิดปัญหาของระบบทางเดินอาหารได้
เมื่อเราเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของกระต่ายที่เรารักได้แล้ว ต้องการเปลี่ยนอาหารเก่า เพื่อให้ได้อาหารใหม่ที่ถูกหลักโภชนาการมากกว่า เราควรค่อยๆเปลี่ยนจากอาหารเก่าเป็นอาหารใหม่ เพราะถ้าหากเราเปลี่ยนอาหารอย่างรวดเร็ว จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจุลชีพในทางเดินอาหารและเกิดท้องเสียตามมา ดังนั้นเราจึงต้องมีขั้นตอนในการค่อยๆเปลี่ยนอาหาร ดังนี้
สัปดาห์แรก : ให้อาหารเก่า ¾ ส่วนกับอาหารใหม่ ¼ ส่วน
สัปดาห์ที่ 2 : ให้อาหารเก่า ½ ส่วนกับอาหารใหม่½ ส่วน
สัปดาห์ที่ 3 : ให้อาหารเก่า ¼ ส่วน กับ อาหารใหม่ ¾ ส่วน
สัปดาห์ที่ 4 : ให้อาหารใหม่อย่างเดียว
เราอาจจะนำ Rabbit CakeR มาผสมอาหารเพื่อ ช่วยปรับสภาพทางเดินอาหารของกระต่าย และทำให้ช่วยในการปรับการกินให้ถูกหลักโภชนาการ
การให้กระต่ายกินขนม (treat) นอกเหนือจากอาหารหลัก กระต่ายที่เราเลี้ยงนั้นเรียนรู้ที่จะขออาหารกินและเป็นหนึ่งในการสร้างความผูกพันระหว่างเจ้าของและกระต่าย โดยขนมที่เจ้าของชอบให้กินส่วนใหญ่มักจะเป็นพวกอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตจำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่ผิด เราควรหลีกเลี่ยง เช่น มันฝรั่งทอด ป๊อปคอร์น ซ๊อคโกแลต น้ำผึ้ง เป็นต้น หากเราให้ในปริมาณมาก จะทำให้กระต่ายกินซีโคโทปน้อยลง เนื่องจากพลังงานจำนวนมากที่ได้รับจากคาร์โบไฮเดรต ทำให้ร่างกายคิดว่าได้รับพลังงานเพียงพอแล้ว สารอาหารจำเป็นที่ได้รับจากซีโคโทปก็น้อยลง กระต่ายจะผอม และอาหารคาร์โบไฮเดรตสูงมีผลให้จุลชีพที่ก่อโรคของระบบทางเดินอาหารเจริญเติบโตและเป็นเหตุโน้มนำให้เกิดทางเดินอาหารเป็นพิษ (enterotoxaemia) โดยพิษที่มาจากเชื้อ Clostridium spiroforme ซึ่งอาการจะรุนแรงมากในกระต่ายเด็ก (Cheeke, 1987) ส่วนขนมที่เราแนะนำให้ได้จะเป็นพวกผักใบเขียวปลอดสารพิษ แอปเปิล แครอทหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โดยให้กับมือ เพื่อช่วงเวลาพิเศษระหว่างเจ้าของและกระต่ายโดยไม่ทำร้ายกระต่ายที่เรารัก
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้