สัมภาษณ์พิเศษ: ประวิทย์ : 'กสทช.'กังขา พฤติกรรมแจส
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559
หลังจากบริษัทแจสโมบายในเครือจัสมิน ไม่จ่ายเงินค่าใบอนุญาตประมูลคลื่นความถี่ 900 เพื่อให้บริการ 4 จี "กรุงเทพธุรกิจ" สัมภาษณ์ นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ทั้งกระบวนการและขั้นตอนในการสะสางปัญหาเรื่องนี้โดยละเอียด
สาเหตุของการตั้งคณะทำงานตรวจสอบกรณีการทิ้งใบอนุญาตของแจส
เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เวลาก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล โรงเรียน โรงพักหรือถนน มีผู้ทิ้งงานเกิดขึ้น ที่รัฐ ต้องประเมินความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย จากการทิ้งงาน และมีเคยกรณีการขายทอดตลอด ที่มีการสู้ราคาเมื่อมีการทิ้งงาน ก็ต้องขายทอดตลาด ใหม่ก็ต้องขายในราคาต่ำกว่าเดิม รัฐต้องฟ้องเอาส่วนต่างระหว่างคนใหม่กับคนเก่า เช่นเดียวกันตอนนี้หลายคนก็ถามว่า ที่แจสทิ้งใบอนุญาตมีความเสียหายแค่ไหน วิธีจะรู้ได้คือต้องศึกษา จึงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาว่ามีความเสียหายอะไรบ้าง อย่างเช่นค่าจัดประมูลใหม่ นี่ใช่หรือไม่ ส่วนต่างของราคาคลื่นใช่หรือไม่ หรือ มีส่วนอื่นอีก เพราะบางคนบอกว่าทำให้อุตสาหกรรมเสียหาย ทำให้ผู้บริโภคเสียหาย ก็ต้องตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ และคำนวณเป็นเงินได้หรือไม่
กรอบระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการ
เวลาเราตั้งคณะกรรมการ โดยทั่วไปก็อยากจะให้เสร็จโดยเร็ว ถ้า30 วันไม่แล้วเสร็จก็สามารถขยายได้ แต่โดยปกติกรอบน่าจะไม่เกิน90วัน
ยึดหลักประกัน600ล้านบาทพอแล้ว
อยู่ที่การอ่านสัญญาแบบแจส เพราะถ้าอ่านสัญญาแบบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็จะบอกว่าปกติรัฐก็จะไปฟ้องส่วนต่าง ยกตัวอย่าง ถ้าเราเขียนว่า ถ้าเกิดความเสียหายแล้ว เราจะ หักเงินจากหลักประกัน คำถามคือถ้าความเสียหายเกินหลักประกันจะทำอย่างไร แปลว่าไม่ต้อง รับผิดชอบอย่างนั้นหรือ ถ้าเป็นการตีความแบบคนหนีงาน แต่ถ้าตีความแบบกฎหมายไทยส่วนที่ มันเกินก็ไปฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งไป เป็นคดีสัญญา คดีละเมิดปกติ
"ฉะนั้นเรื่องนี้พูดอย่างไรก็ได้ทั้งสองฝ่าย ไปเจอกันในศาลครับ"
ดึงตลาดหลักทรัพย์และก.ล.ต.เข้าร่วม
เพราะธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่กระทบหลายวงการ อย่างเช่น มีผู้บอกว่าเอไอเอส ดีแทค ทรู หรือแจส เป็นผู้บริการโทรคมนาคมก็จริง แต่เป็นธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าเราทำประการใดประการหนึ่งลงไปก็กระทบตลาดหลักทรัพย์ด้วย หรือ ใครก็ตามมาเล่นกลในธุรกิจโทรคมนาคม เพื่อไป ปั่นหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ก็จะกระทบไปเป็นลูกโซ่เช่นกัน ดังนั้นตรงนี้เรายังไม่สันนิษฐานว่าแจสผิด แต่ทางที่ดีต้องมีการสืบสวนข้อมูลทั้งหมด ก็เลยต้องเชิญผู้ทรงคุณวุฒิคือก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์เข้ามา เพราะเขารู้ดีว่าลักษณะนี้มีประโยชน์อย่างไรและทำความเสียหายประมาณเท่าไร จึงเชิญเข้ามาด้วย ส่วนการดูการขึ้นลงของราคาหุ้นด้วยหรือไม่ ก็แล้วแต่กรรมการ "แต่เข้าใจว่าพื้นฐานทุกคนคืออยากได้ว่าตอนประมูล พฤติกรรมมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ราคาสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น เราอาจจะ สงสัยว่ารายใหม่เป็นรายเล็ก ลูกค้าไม่มี โครงข่ายไม่มี ทำไมถึงชนะรายเก่า ซึ่งมีทั้งลูกค้าและโครงข่าย อยู่ มันมีสมติฐานอะไรหรือไม่ที่เราคิดในใจ และถ้ามันจริง ทำไมสถาบันการเงินถึงไม่ปล่อยกู้ แปลว่ามันเป็นโครงการที่ไม่แน่นอนหรือมีความเสี่ยงสูงหรือไม่ ก็ต้องเอามาดู ส่วนที่บอกว่ามีการบอกว่า ประสานพันธมิตรแล้ว ติดต่อสถาบันการเงินแล้ว มันมีจริงหรือไม่ ที่วงเงินเท่าไร"
ยกตัวอย่าง หลังจากแจสทิ้งใบอนุญาต เข้าใจว่า มีผู้บริหารธนาคารกรุงเทพก็บอกว่าก่อนประมูลคุยกันที่ 4 หมื่นล้านบาท แล้ว 3.5 หมื่นล้าน งอกมาได้อย่างไร ถ้าอธิบายได้มันก็จบ แต่ถ้าอธิบาย ไม่ได้เป็นเรื่องที่เป็นอารมณ์ล้วนๆ ในการเคาะประมูล โดยไม่มีเหตุผลรองรับก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากัน
อย่างที่บอกคือต้องดูพฤติกรรมด้วย เพราะ มีคนพูดนะครับ ดังนั้นคณะกรรมการต้องไปตรวจสอบว่า จริงหรือเปล่าที่บอกว่าแจสเคาะประมูลไปเรื่อยๆ แม้ว่าตัวเองจะชนะประมูลแล้วก็ยังเคาะอยู่ เพราะปกติเวลาเคาะประมูลจะมีผู้ชนะชั่วคราว ส่วนใหญ่เขาจะรอ เผื่อไม่มีใครแข่งก็ชนะ เลย ถ้ามีคนมาแข่งเขาค่อยแข่งต่อ แต่จริงหรือเปล่า ว่ากรณีแจสคือมีคู่แข่งหรือไม่มีคู่แข่ง ฉันพุ่งไป เรื่อยๆเลย ถ้าใช่มันสมเหตุสมผลหรือไม่ ถ้าอธิบาย ได้ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าอธิบายไม่ได้ก็ต้องพิสูจน์เจตนาว่าคืออะไร เพราะตอนประมูลสำนักงานกสทช. ก็บอกสื่อมวลชนตลอดว่าราคาล็อต 1 กับล็อต 2 ต้องแตกต่างกันประมาณ 2-3 พันล้านบาท ถามว่าทำไม เพราะเดิมเอไอเอสถือครองแค่ 7.5 แต่ 2.5 คือการการ์ดแบนด์คือการป้องกันคลื่นรบกวนระหว่างแถบ 900 กับแถบ 850 ก็เลยต้องมีการสร้างกำแพง พอเรารื้อกำแพงก็ต้องมีอุปกรณ์อย่างอื่นทดแทนการ์ดแบนด์รบกวน ในทางเทคนิคเรียกว่า ฟิลเตอร์ เพื่อกรองสัญญาณไม่ให้รบกวนกัน
ซึ่งสำนักงานกสทช.ก็พูดกับสื่อมาตลอดว่าน่าจะ 2-3พันล้านบาท แปลว่าโดยว่าทางทฤษฎีล็อต1 กับล็อต 2 ควรแตกต่างกัน 2-3 พันล้าน แต่ทำไมการประมูลนี้ดันราคากันขึ้นมาจนใกล้เคียงกันมาก มันมีเหตุผลอธิบายได้ไหม ถ้าอธิบายได้ก็จบเหมือนกัน ดังนั้นตรงนี้คือเรื่องที่ชวนสงสัย แต่ยังไม่สรุปว่าผิด ดังนั้นคณะกรรมการชุดนี้จะไปดูทั้งหมดว่ามีเหตุผลที่อธิบายได้หรือไม่ แต่เราต้อง สันนิษฐานว่าเขาถูกตามกฎหมาย แต่สุดท้ายคนที่จะบอกได้คือตัวข้อมูลหลักฐานและพยานต่างๆ
จะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ต้องแยกออกมาว่าเป็นความรับผิดชอบทางอะไร ถ้าเป็นทางแพ่งก็คงต้องดำเนินคดี ทางแพ่ง ถ้าเป็นทางอาญาต้องส่งต่อให้หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ยกตัวอย่างที่มีคนยกตัวอย่าง ประเด็นนี้มาว่าในหนังสือยินยอมการประมูล ถ้าจำไม่ผิดจะเขียนชัดว่าผู้เข้าร่วมเสนอราคา ยินยอมจะอยู่ใต้ "กฎหมายฮั้ว" ดังนั้นการที่เลขาธิการกสทช.บอกว่าไม่อยู่ภายใต้กฎหมายฮั้วขอให้ไปอ่านหนังสือยินยอมใหม่ เพราะเขาเขียนชัดเจนว่าเขายินยอมให้อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายฮั้ว จะมาอ้างว่าเป็นการขายของซื้อของไม่ได้ และมียกว่ามาตรา8 ของกฎหมายฮั้ว เขียนชัดเจนว่าใครเข้าเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ แล้วเสนอราคาสูงโดยทุจริตเพื่อกีดกันคนอื่น แล้วสุดท้ายตัวเองก็ทำไม่ได้ มีความผิดตาม มาตรา 8 มีโทษจำคุกด้วย ถ้าตรงนี้คณะกรรมการบอกว่าเข้าข่าย เราก็ส่งคณะกรรมการป.ป.ช. ถ้าบอกว่าไม่เข้าข่าย ก็แล้วแต่ว่าใครจะไปดำเนินคดี อะไรกันต่อ
"ถ้าชัดเจนว่าผิดตามองค์ประกอบกฎหมายนี้ ราคาที่คุณเสนอคุณทำได้หรือไม่ ถ้าคุณทำได้ ถือว่าไม่กีดกันคนอื่น ถ้าเช่นนั้นแจสต้องอธิบายได้ว่าทำไมถึงเสนอที่ราคา 7.5 หมื่นล้านบาท ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แผนทางธุรกิจคืออะไร ก็ชึ้แจงมา แต่ถ้าไม่สามารถชี้แจงได้เลยอันนี้ก็น่าเป็นห่วงกับแจสนะครับ"
ราคาใหม่จะต้องเป็น7.5หมื่นล้านบาท
ต้องบอกว่าราคานี้ยังไม่ใช่ราคาสุดท้าย เป็นเพียงแค่ราคาที่เป็นตุ๊กตาเพื่อนำไปรับฟัง ความเห็นสาธารณะ นักวิชาการ ภาคธุรกิจ ภาครัฐ ว่ายังไงเอาเข้าจริงก็เหมือนที่เคยยก ตัวอย่างแล้ว เวลาเราขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของรัฐ เขาชนะราคาหนึ่งแล้วไม่ยอมจ่าย เวลาประมูล ใหม่รายใหม่ เสนอราคาต่ำกว่ารัฐต้องเป็นฝ่ายไปฟ้องเรียกค่าเสียหายตรงนี้ กฎหมายการขาย ทอดตลาดเขียนชัดเจน แปลว่าการขายทอดตลาด ไม่จำเป็นต้องตั้งราคาขายเท่าราคาที่ชนะการ ประมูลครั้งที่แล้ว เพราะมันโดนทิ้งงานไปแล้ว เพราะทุกคนรู้ว่าถ้าตั้งราคานั้นก็จะโดนทิ้งอีก ดังนั้น ราคาต้องใช้ราคากลางไม่ใช่ราคาที่ชนะประมูล
กรรมการกสทช.คนอื่นมีความเห็นอย่างไร
ตอนนี้กรรมการมี 4 ท่าน มีแค่2 ท่านที่เห็นด้วยกับราคาที่แจสทิ้งไปคือ 7.5 หมื่นล้านบาท อีกท่านเสนอราคาของลำดับที่ 2 คือ 7.3 หมื่นล้าน บาท ส่วนผมเสนอว่าจริงๆ แล้วราคาในตลาด ที่ดีที่สุดของคลื่นคือราคาที่ทุกรายยอมเสนอ ณ เดือนธ.ค.2558 ทุกรายยอมเสนอที่ 7 หมื่นล้านบาท และสมมติเสนอที่ราคา7 หมื่นล้านบาท มีคนเข้ามาประมูลรายเดียว ถ้ามี2รายก็แข่งกันเคาะไป แต่ถ้ามีรายเดียว รายเดียวที่ชนะได้คือก็ต้องยอมรับได้กับราคาลำดับที่สองคือ7.3 หมื่นล้านบาท ไม่เช่นนั้นเขาก็ฮั้วกันมาว่าฉันไม่เข้าหรอก เธอไปเอา 7 หมื่นล้านบาท ดังนั้นถ้าเข้ามารายเดียวก็ต้องเอาที่ราคา 7.3 หมื่นล้านบาท ราคาก็สมเหตุสมผล เพราะครั้งนี้เราจะบอกว่าถ้าใครมาประมูลแล้วลำดับที่ 1 ทิ้งงานอีก ให้ลำดับที่ 2 ใช้ราคาลำดับ2 ได้เลย
"ต้องไปรับฟังความเห็นสาธารณะว่า 7.5 หมื่นล้านบาท เหมาะสมหรือไม่ แต่เป็นเรื่อง ข้อจำกัดด้านเวลา ถ้าไม่มีคนเข้ามาประมูล เราจะทำยังไง จัดประมูลใหม่ก็เสียเวลาอีก 3 เดือน ไปเรื่อยหรือถ้าเก็บคลื่นไว้ก็เหมือนอาหารเก็บไว้นานมันเน่า ใครรับผิดชอบ ปกติเราบอกถ้ามีส่วนต่างราคาครั้งใหม่ เราจะฟ้องแจส แต่ถ้าเก็บไว้จนเน่าเองแจสก็จะฟ้องเรา เพราะที่มันเน่าเพราะคุณ ทำเน่าไม่ใช่ฉันทำ "
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 1,2)
ข่าวอื่นๆ
เล็งฟ้องแพ่ง 'แจส' พันล้าน 'คณะทำงาน' เรียกผู้บริหารแจงพรุ่งนี้ หลังประชุมนักแรกเหลว
http://ppantip.com/topic/34995215
บี้ 'กสทช.' สั่งมือถือดูข้อมูลย้อนหลังคิดค่าบริการเกิน
http://ppantip.com/topic/34995225
กสทช. เปิดตัว *165 เบอร์เดียว เช็คโปรมือถือ เช็คยอดใช้งาน ใช้ได้ทุกค่าย
http://ppantip.com/topic/34999036
สัมภาษณ์พิเศษ: ประวิทย์ : 'กสทช.'กังขา พฤติกรรม 'แจส'
สัมภาษณ์พิเศษ: ประวิทย์ : 'กสทช.'กังขา พฤติกรรมแจส
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559
หลังจากบริษัทแจสโมบายในเครือจัสมิน ไม่จ่ายเงินค่าใบอนุญาตประมูลคลื่นความถี่ 900 เพื่อให้บริการ 4 จี "กรุงเทพธุรกิจ" สัมภาษณ์ นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ทั้งกระบวนการและขั้นตอนในการสะสางปัญหาเรื่องนี้โดยละเอียด
สาเหตุของการตั้งคณะทำงานตรวจสอบกรณีการทิ้งใบอนุญาตของแจส
เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เวลาก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล โรงเรียน โรงพักหรือถนน มีผู้ทิ้งงานเกิดขึ้น ที่รัฐ ต้องประเมินความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย จากการทิ้งงาน และมีเคยกรณีการขายทอดตลอด ที่มีการสู้ราคาเมื่อมีการทิ้งงาน ก็ต้องขายทอดตลาด ใหม่ก็ต้องขายในราคาต่ำกว่าเดิม รัฐต้องฟ้องเอาส่วนต่างระหว่างคนใหม่กับคนเก่า เช่นเดียวกันตอนนี้หลายคนก็ถามว่า ที่แจสทิ้งใบอนุญาตมีความเสียหายแค่ไหน วิธีจะรู้ได้คือต้องศึกษา จึงมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาว่ามีความเสียหายอะไรบ้าง อย่างเช่นค่าจัดประมูลใหม่ นี่ใช่หรือไม่ ส่วนต่างของราคาคลื่นใช่หรือไม่ หรือ มีส่วนอื่นอีก เพราะบางคนบอกว่าทำให้อุตสาหกรรมเสียหาย ทำให้ผู้บริโภคเสียหาย ก็ต้องตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ และคำนวณเป็นเงินได้หรือไม่
กรอบระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการ
เวลาเราตั้งคณะกรรมการ โดยทั่วไปก็อยากจะให้เสร็จโดยเร็ว ถ้า30 วันไม่แล้วเสร็จก็สามารถขยายได้ แต่โดยปกติกรอบน่าจะไม่เกิน90วัน
ยึดหลักประกัน600ล้านบาทพอแล้ว
อยู่ที่การอ่านสัญญาแบบแจส เพราะถ้าอ่านสัญญาแบบนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็จะบอกว่าปกติรัฐก็จะไปฟ้องส่วนต่าง ยกตัวอย่าง ถ้าเราเขียนว่า ถ้าเกิดความเสียหายแล้ว เราจะ หักเงินจากหลักประกัน คำถามคือถ้าความเสียหายเกินหลักประกันจะทำอย่างไร แปลว่าไม่ต้อง รับผิดชอบอย่างนั้นหรือ ถ้าเป็นการตีความแบบคนหนีงาน แต่ถ้าตีความแบบกฎหมายไทยส่วนที่ มันเกินก็ไปฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งไป เป็นคดีสัญญา คดีละเมิดปกติ
"ฉะนั้นเรื่องนี้พูดอย่างไรก็ได้ทั้งสองฝ่าย ไปเจอกันในศาลครับ"
ดึงตลาดหลักทรัพย์และก.ล.ต.เข้าร่วม
เพราะธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่กระทบหลายวงการ อย่างเช่น มีผู้บอกว่าเอไอเอส ดีแทค ทรู หรือแจส เป็นผู้บริการโทรคมนาคมก็จริง แต่เป็นธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าเราทำประการใดประการหนึ่งลงไปก็กระทบตลาดหลักทรัพย์ด้วย หรือ ใครก็ตามมาเล่นกลในธุรกิจโทรคมนาคม เพื่อไป ปั่นหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์ก็จะกระทบไปเป็นลูกโซ่เช่นกัน ดังนั้นตรงนี้เรายังไม่สันนิษฐานว่าแจสผิด แต่ทางที่ดีต้องมีการสืบสวนข้อมูลทั้งหมด ก็เลยต้องเชิญผู้ทรงคุณวุฒิคือก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์เข้ามา เพราะเขารู้ดีว่าลักษณะนี้มีประโยชน์อย่างไรและทำความเสียหายประมาณเท่าไร จึงเชิญเข้ามาด้วย ส่วนการดูการขึ้นลงของราคาหุ้นด้วยหรือไม่ ก็แล้วแต่กรรมการ "แต่เข้าใจว่าพื้นฐานทุกคนคืออยากได้ว่าตอนประมูล พฤติกรรมมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ ราคาสมเหตุสมผลหรือไม่ เช่น เราอาจจะ สงสัยว่ารายใหม่เป็นรายเล็ก ลูกค้าไม่มี โครงข่ายไม่มี ทำไมถึงชนะรายเก่า ซึ่งมีทั้งลูกค้าและโครงข่าย อยู่ มันมีสมติฐานอะไรหรือไม่ที่เราคิดในใจ และถ้ามันจริง ทำไมสถาบันการเงินถึงไม่ปล่อยกู้ แปลว่ามันเป็นโครงการที่ไม่แน่นอนหรือมีความเสี่ยงสูงหรือไม่ ก็ต้องเอามาดู ส่วนที่บอกว่ามีการบอกว่า ประสานพันธมิตรแล้ว ติดต่อสถาบันการเงินแล้ว มันมีจริงหรือไม่ ที่วงเงินเท่าไร"
ยกตัวอย่าง หลังจากแจสทิ้งใบอนุญาต เข้าใจว่า มีผู้บริหารธนาคารกรุงเทพก็บอกว่าก่อนประมูลคุยกันที่ 4 หมื่นล้านบาท แล้ว 3.5 หมื่นล้าน งอกมาได้อย่างไร ถ้าอธิบายได้มันก็จบ แต่ถ้าอธิบาย ไม่ได้เป็นเรื่องที่เป็นอารมณ์ล้วนๆ ในการเคาะประมูล โดยไม่มีเหตุผลรองรับก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากัน
อย่างที่บอกคือต้องดูพฤติกรรมด้วย เพราะ มีคนพูดนะครับ ดังนั้นคณะกรรมการต้องไปตรวจสอบว่า จริงหรือเปล่าที่บอกว่าแจสเคาะประมูลไปเรื่อยๆ แม้ว่าตัวเองจะชนะประมูลแล้วก็ยังเคาะอยู่ เพราะปกติเวลาเคาะประมูลจะมีผู้ชนะชั่วคราว ส่วนใหญ่เขาจะรอ เผื่อไม่มีใครแข่งก็ชนะ เลย ถ้ามีคนมาแข่งเขาค่อยแข่งต่อ แต่จริงหรือเปล่า ว่ากรณีแจสคือมีคู่แข่งหรือไม่มีคู่แข่ง ฉันพุ่งไป เรื่อยๆเลย ถ้าใช่มันสมเหตุสมผลหรือไม่ ถ้าอธิบาย ได้ก็ไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าอธิบายไม่ได้ก็ต้องพิสูจน์เจตนาว่าคืออะไร เพราะตอนประมูลสำนักงานกสทช. ก็บอกสื่อมวลชนตลอดว่าราคาล็อต 1 กับล็อต 2 ต้องแตกต่างกันประมาณ 2-3 พันล้านบาท ถามว่าทำไม เพราะเดิมเอไอเอสถือครองแค่ 7.5 แต่ 2.5 คือการการ์ดแบนด์คือการป้องกันคลื่นรบกวนระหว่างแถบ 900 กับแถบ 850 ก็เลยต้องมีการสร้างกำแพง พอเรารื้อกำแพงก็ต้องมีอุปกรณ์อย่างอื่นทดแทนการ์ดแบนด์รบกวน ในทางเทคนิคเรียกว่า ฟิลเตอร์ เพื่อกรองสัญญาณไม่ให้รบกวนกัน
ซึ่งสำนักงานกสทช.ก็พูดกับสื่อมาตลอดว่าน่าจะ 2-3พันล้านบาท แปลว่าโดยว่าทางทฤษฎีล็อต1 กับล็อต 2 ควรแตกต่างกัน 2-3 พันล้าน แต่ทำไมการประมูลนี้ดันราคากันขึ้นมาจนใกล้เคียงกันมาก มันมีเหตุผลอธิบายได้ไหม ถ้าอธิบายได้ก็จบเหมือนกัน ดังนั้นตรงนี้คือเรื่องที่ชวนสงสัย แต่ยังไม่สรุปว่าผิด ดังนั้นคณะกรรมการชุดนี้จะไปดูทั้งหมดว่ามีเหตุผลที่อธิบายได้หรือไม่ แต่เราต้อง สันนิษฐานว่าเขาถูกตามกฎหมาย แต่สุดท้ายคนที่จะบอกได้คือตัวข้อมูลหลักฐานและพยานต่างๆ
จะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ต้องแยกออกมาว่าเป็นความรับผิดชอบทางอะไร ถ้าเป็นทางแพ่งก็คงต้องดำเนินคดี ทางแพ่ง ถ้าเป็นทางอาญาต้องส่งต่อให้หน่วยงาน ที่รับผิดชอบ ยกตัวอย่างที่มีคนยกตัวอย่าง ประเด็นนี้มาว่าในหนังสือยินยอมการประมูล ถ้าจำไม่ผิดจะเขียนชัดว่าผู้เข้าร่วมเสนอราคา ยินยอมจะอยู่ใต้ "กฎหมายฮั้ว" ดังนั้นการที่เลขาธิการกสทช.บอกว่าไม่อยู่ภายใต้กฎหมายฮั้วขอให้ไปอ่านหนังสือยินยอมใหม่ เพราะเขาเขียนชัดเจนว่าเขายินยอมให้อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายฮั้ว จะมาอ้างว่าเป็นการขายของซื้อของไม่ได้ และมียกว่ามาตรา8 ของกฎหมายฮั้ว เขียนชัดเจนว่าใครเข้าเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ แล้วเสนอราคาสูงโดยทุจริตเพื่อกีดกันคนอื่น แล้วสุดท้ายตัวเองก็ทำไม่ได้ มีความผิดตาม มาตรา 8 มีโทษจำคุกด้วย ถ้าตรงนี้คณะกรรมการบอกว่าเข้าข่าย เราก็ส่งคณะกรรมการป.ป.ช. ถ้าบอกว่าไม่เข้าข่าย ก็แล้วแต่ว่าใครจะไปดำเนินคดี อะไรกันต่อ
"ถ้าชัดเจนว่าผิดตามองค์ประกอบกฎหมายนี้ ราคาที่คุณเสนอคุณทำได้หรือไม่ ถ้าคุณทำได้ ถือว่าไม่กีดกันคนอื่น ถ้าเช่นนั้นแจสต้องอธิบายได้ว่าทำไมถึงเสนอที่ราคา 7.5 หมื่นล้านบาท ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แผนทางธุรกิจคืออะไร ก็ชึ้แจงมา แต่ถ้าไม่สามารถชี้แจงได้เลยอันนี้ก็น่าเป็นห่วงกับแจสนะครับ"
ราคาใหม่จะต้องเป็น7.5หมื่นล้านบาท
ต้องบอกว่าราคานี้ยังไม่ใช่ราคาสุดท้าย เป็นเพียงแค่ราคาที่เป็นตุ๊กตาเพื่อนำไปรับฟัง ความเห็นสาธารณะ นักวิชาการ ภาคธุรกิจ ภาครัฐ ว่ายังไงเอาเข้าจริงก็เหมือนที่เคยยก ตัวอย่างแล้ว เวลาเราขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของรัฐ เขาชนะราคาหนึ่งแล้วไม่ยอมจ่าย เวลาประมูล ใหม่รายใหม่ เสนอราคาต่ำกว่ารัฐต้องเป็นฝ่ายไปฟ้องเรียกค่าเสียหายตรงนี้ กฎหมายการขาย ทอดตลาดเขียนชัดเจน แปลว่าการขายทอดตลาด ไม่จำเป็นต้องตั้งราคาขายเท่าราคาที่ชนะการ ประมูลครั้งที่แล้ว เพราะมันโดนทิ้งงานไปแล้ว เพราะทุกคนรู้ว่าถ้าตั้งราคานั้นก็จะโดนทิ้งอีก ดังนั้น ราคาต้องใช้ราคากลางไม่ใช่ราคาที่ชนะประมูล
กรรมการกสทช.คนอื่นมีความเห็นอย่างไร
ตอนนี้กรรมการมี 4 ท่าน มีแค่2 ท่านที่เห็นด้วยกับราคาที่แจสทิ้งไปคือ 7.5 หมื่นล้านบาท อีกท่านเสนอราคาของลำดับที่ 2 คือ 7.3 หมื่นล้าน บาท ส่วนผมเสนอว่าจริงๆ แล้วราคาในตลาด ที่ดีที่สุดของคลื่นคือราคาที่ทุกรายยอมเสนอ ณ เดือนธ.ค.2558 ทุกรายยอมเสนอที่ 7 หมื่นล้านบาท และสมมติเสนอที่ราคา7 หมื่นล้านบาท มีคนเข้ามาประมูลรายเดียว ถ้ามี2รายก็แข่งกันเคาะไป แต่ถ้ามีรายเดียว รายเดียวที่ชนะได้คือก็ต้องยอมรับได้กับราคาลำดับที่สองคือ7.3 หมื่นล้านบาท ไม่เช่นนั้นเขาก็ฮั้วกันมาว่าฉันไม่เข้าหรอก เธอไปเอา 7 หมื่นล้านบาท ดังนั้นถ้าเข้ามารายเดียวก็ต้องเอาที่ราคา 7.3 หมื่นล้านบาท ราคาก็สมเหตุสมผล เพราะครั้งนี้เราจะบอกว่าถ้าใครมาประมูลแล้วลำดับที่ 1 ทิ้งงานอีก ให้ลำดับที่ 2 ใช้ราคาลำดับ2 ได้เลย
"ต้องไปรับฟังความเห็นสาธารณะว่า 7.5 หมื่นล้านบาท เหมาะสมหรือไม่ แต่เป็นเรื่อง ข้อจำกัดด้านเวลา ถ้าไม่มีคนเข้ามาประมูล เราจะทำยังไง จัดประมูลใหม่ก็เสียเวลาอีก 3 เดือน ไปเรื่อยหรือถ้าเก็บคลื่นไว้ก็เหมือนอาหารเก็บไว้นานมันเน่า ใครรับผิดชอบ ปกติเราบอกถ้ามีส่วนต่างราคาครั้งใหม่ เราจะฟ้องแจส แต่ถ้าเก็บไว้จนเน่าเองแจสก็จะฟ้องเรา เพราะที่มันเน่าเพราะคุณ ทำเน่าไม่ใช่ฉันทำ "
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 1,2)
ข่าวอื่นๆ
เล็งฟ้องแพ่ง 'แจส' พันล้าน 'คณะทำงาน' เรียกผู้บริหารแจงพรุ่งนี้ หลังประชุมนักแรกเหลว
http://ppantip.com/topic/34995215
บี้ 'กสทช.' สั่งมือถือดูข้อมูลย้อนหลังคิดค่าบริการเกิน
http://ppantip.com/topic/34995225
กสทช. เปิดตัว *165 เบอร์เดียว เช็คโปรมือถือ เช็คยอดใช้งาน ใช้ได้ทุกค่าย
http://ppantip.com/topic/34999036