ดูชัดๆรัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"จ้าง "มติชน-สยามสปอร์ต" จัดอีเวนต์ 240 ล. พีอาร์กม.เงินกู้ 2 ล้านล.ส่อฝ่าฝืนกม.ฮั้วหรือไม่
มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งที่น่าสนใจ ต่อกระบวนการว่าจ้างบริษัทสื่อ เอกชน 2 ราย คือ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) โดยใช้วิธีพิเศษ เข้ามารับจัดงานอีเวนต์ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ภายใต้ชื่องาน “สร้างอนาคตไทย 2020” เป็นส่วนหนึ่งของร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงขนส่งของประเทศ พ.ศ....หรือเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
คือ กระบวนการว่าจ้างงานที่เกิดขึ้น ส่อว่าจะมีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2542 หรือไม่
โดยมูลเหตุที่ทำให้เกิดข้อสังเกตประเด็นนี้มาจากข้อเท็จจริง คือ
ประการแรก ในการประกาศราคากลางจัดซื้อจัดจ้าง โครงการ Roadshow สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand 2020 ในเว็บไซต์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 วงเงิน 40 ล้านบาท และครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 วงเงิน 200 ล้านบาท มีการระบุแหล่งที่มาของราคากลาง จาก 2 แหล่ง คือ หน่วยงานรัฐบาล และเอกชน
โดยประกาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ระบุแหล่งที่มาของราคากลาง (อ้างอิง) จาก
1.อัตราค่าใช้จ่ายการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ของสำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงบประมาณ www.bb.go.th (มิถุนายน 2556)
2. ข้อเสนอด้านราคาของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
3. เว็บไซต์ของ ข่าวสด
http://Khosod.co.th
4. เว็บไซต์ของมติชน ออนไลน์ www.matichon.co.th
5.เว็บไซต์ของประชาชาติธุรกิจ www.prachachat.net
(ดูรายละเอียดในเอกสารประกอบที่นี่)
(ดูรูปเรื่องประกอบ)
ส่วนประกาศครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ระบุแหล่งที่มาของราคาอ้างอิง การจัดงานโครงการ Roadshow สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand 2020 ณ จังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2556 และจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2556 ซึ่งคณะกรรมการราคากลางได้กำหนดราคากลางในการจัดโครงการดังกล่าว จังหวัดละ 20 ล้านบาท (ตามหนังสือสั่งจ้าง ที่ 1/2557 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2556)
ทั้งนี้ ข่าวสด , มติชนออนไลน์ และประชาชาติธุรกิจ ล้วนเป็นสื่อในเครือบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ประการที่สอง แม้ในประกาศราคากลางจ้างงานทั้งสองครั้ง จะมิได้มีการระบุชื่อบริษัทเอกชนที่เข้ามารับงานนี้ ว่าเป็นใคร?
แต่ในหนังสือที่ สฏ 0017.2/ว.8110 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ที่นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำถึงหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลาง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ประธานหอการค้าจังหวัด และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ขอความร่วมมือจัดบุคลากรเข้าร่วมงาน นิทรรศการและเสวนาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ภายใต้ชื่องาน “สร้างอนาคตไทย 2020” ระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
มีการระบุชื่อบริษัทเอกชน ที่ได้รับงานชัดเจน คือ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
(อ่านประกอบ:เผยโฉมหนังสือผู้ว่าฯสุราษฎร์ฯ เกณฑ์คนร่วมงานอีเวนต์กม.เงินกู้2ล้านล.,"จุฤทธิ์" แย้มชื่อ“มติชน – สยามสปอร์ต” รับงานอีเวนต์รัฐบาล 240ล้าน)
ทั้งนี้ ผลจากการที่บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นคู่สัญญาจัดงานอีเวนต์กับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขณะที่การสอบราคาจ้างงานที่ใช้ข้อมูลของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และสื่อในเครือทั้งหมด ตามประกาศครั้งแรก โดยไม่มีการสืบราคางานจากบริษัทเอกชนรายอื่นที่ประกอบธุรกิจการจัดอีเวนต์ เป็นมีผลงานเป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป ซึ่งมีจำนวนมากในประเทศ จึงเป็นที่มาของข้อสังเกตที่ว่า การดำเนินการลักษณะนี้สามารถกระทำได้หรือไม่? ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด?
และรัฐบาลมีเหตุผลอะไร ถึงเลือกใช้วิธีการจ้างงานโดยวิธีพิเศษ แทนการเลือกใช้วิธีการเปิดประกวดราคาตามขั้นตอนปกติ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนรายอื่นได้เข้าร่วมแข่งขันเสนอราคางาน ซึ่งจะทำให้ราชการ มีตัวเลือกในการว่าจ้าง ทั้งเรื่องผลงานและราคาจ้างงาน ที่อาจจะต่ำลงจากการแข่งขันประกวดราคาตามขั้นตอนปกติที่ราชการปฏิบัติ
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้วิธีพิเศษว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามารับงานนี้แล้ว แต่ไม่สามารถติดต่อได้
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เคยมีการเผยแพร่บทความเรื่องว่า อย่างไรถึงจะเรียกว่าฮั้วประมูล?
โดยระบุข้อมูลที่น่าสนใจบางส่วน ดังนี้
ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 คำว่า “ฮั้ว” หมายถึง รวมหัวกัน ร่วมกันกระทำการ สมยอมกันในการเสนอราคาเพื่อมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือ เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น การฮั้ว คือ การตกลงกันที่จะไม่มีการแข่งขันในการประกวดราคาประมูลงานระหว่างพ่อค้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ราคาที่ตกลงกันและมีการแบ่งผลประโยชน์กัน
ผลของการฮั้วหรือตกลงกันในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ คือ การที่รัฐได้รับความเสียหาย เช่น ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพราะหากให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี ผู้ที่เสนอราคาต่ำจะเป็นผู้ที่ได้งานไป แต่การฮั้ว ราคาที่เสนอไม่ใช่ราคาที่ต่ำสุดที่สามารถดำเนินงานตามประสงค์ได้ หรืองานที่ประมูลได้ไปเนื่องจากการฮั้ว ค่าจ้างส่วนหนึ่งต้องนำจ่ายตามข้อตกลงฮั้วทำให้ผู้ได้รับงานจำเป็นต้องลดมาตรฐานของสิ่งก่อสร้างเพื่อประหยัดต้นทุน ทำให้งานต่างๆของรัฐที่เกิดจากการประมูลที่มีการฮั้วไม่มีคุณภาพ
นอกจากนี้การฮั้วในการประมูลงานยังเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมูลแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบจากผู้ประมูลได้ จากการดำเนินการจัดซื้อสินค้าและบริการของหน่วยงานของรัฐที่ผ่านมาได้มีการกระทำในลักษณะเป็นการสมยอมในการเสนอราคาและมีพฤติการณ์ต่างๆอันทำให้มิได้มีการแข่งขันกันเสนอประโยชน์สูงสุดให้แก่หน่วยงานของรัฐอย่างแท้จริงและเกิดผลเสียหายก่อประเทศชาติ นอกจากนี้ ในบางกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีส่วนร่วมหรือมีส่วนสนับสนุนในการทำความผิด หรือละเว้นไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ อันมีผลทำให้ปัญหาในการเรื่องนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการผ่านกฏหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ” ขึ้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์หรือเหตุผลในการประกาศใช้คือ เพื่อกำกับดูแลให้การจัดหาสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อหรือการจัดจ้าง หรือวิธีอื่นใดของหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยใช้งบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือหรือรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเงินของแผ่นดิน
รวมทั้งการที่รัฐให้สิทธิในการดำเนินกิจการบางอย่างโดยการให้สัมปทานอนุญาตหรือกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกันก็เป็นการดำเนินการเพื่อให้ประโยชน์สาธารณะอันเป็นกิจการของรัฐ กระทำอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรรม และมีการแข่งขันกันอย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกันการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “กฏหมายฮั้ว” เป็นกฎหมายอาญาที่มุ่งจะทำให้การจัดหาสินค้าหรือบริการของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งที่ใช้เงินงบประมาณเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีการแข่งขันกันอย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ โดยบุคคลที่จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ได้แก่คน 3 กลุ่ม ต่อไปนี้ คือ
กลุ่มแรก
ผู้ที่ประสงค์จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ขายสินค้า ผู้ขายบริการ ผู้รับสัมปทาน เป็นต้น หรืออาจเรียกว่า เป็นการกระทำผิดอาญาที่เอกชนเป็นผู้กระทำความผิด
กลุ่มที่สอง
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคา หรืออาจเรียกว่า เป็นการกระทำผิดที่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐเป็นผู้กระทำ
กลุ่มที่สาม
ผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง เป็นผู้กระทำความผิด จากทั้งสามกลุ่มดังกล่าว ขอแยกการกระทำความผิดที่บัญญัติในกฎหมายฮั้วและยกตัวอย่างเพื่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ดังนี้
1..ความผิดอาญาที่เอกชนเป็นผู้กระทำ
1.1. ความผิดฐานตกลงร่วมกันในระหว่างผู้เข้าเสนอราคาโดยทุจริต (มาตรา 4)
ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ
โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม หรือ
โดยการกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ
โดยเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปีและปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอ ราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ผู้ใดเป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลงกันในการกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่ง
ดูชัดๆรบ."ยิ่งลักษณ์"จ้างสื่อใหญ่จัดอีเวนต์ 240 ล.ส่อฝ่าฝืนกม.ฮั้วหรือไม่
มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งที่น่าสนใจ ต่อกระบวนการว่าจ้างบริษัทสื่อ เอกชน 2 ราย คือ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) โดยใช้วิธีพิเศษ เข้ามารับจัดงานอีเวนต์ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ภายใต้ชื่องาน “สร้างอนาคตไทย 2020” เป็นส่วนหนึ่งของร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงขนส่งของประเทศ พ.ศ....หรือเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
คือ กระบวนการว่าจ้างงานที่เกิดขึ้น ส่อว่าจะมีการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2542 หรือไม่
โดยมูลเหตุที่ทำให้เกิดข้อสังเกตประเด็นนี้มาจากข้อเท็จจริง คือ
ประการแรก ในการประกาศราคากลางจัดซื้อจัดจ้าง โครงการ Roadshow สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand 2020 ในเว็บไซต์สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 วงเงิน 40 ล้านบาท และครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 วงเงิน 200 ล้านบาท มีการระบุแหล่งที่มาของราคากลาง จาก 2 แหล่ง คือ หน่วยงานรัฐบาล และเอกชน
โดยประกาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ระบุแหล่งที่มาของราคากลาง (อ้างอิง) จาก
1.อัตราค่าใช้จ่ายการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ของสำนักมาตรฐานงบประมาณ สำนักงบประมาณ www.bb.go.th (มิถุนายน 2556)
2. ข้อเสนอด้านราคาของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
3. เว็บไซต์ของ ข่าวสด http://Khosod.co.th
4. เว็บไซต์ของมติชน ออนไลน์ www.matichon.co.th
5.เว็บไซต์ของประชาชาติธุรกิจ www.prachachat.net
(ดูรายละเอียดในเอกสารประกอบที่นี่)
(ดูรูปเรื่องประกอบ)
ส่วนประกาศครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ระบุแหล่งที่มาของราคาอ้างอิง การจัดงานโครงการ Roadshow สร้างอนาคตประเทศไทย Thailand 2020 ณ จังหวัดหนองคาย ระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2556 และจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 11-13 ตุลาคม 2556 ซึ่งคณะกรรมการราคากลางได้กำหนดราคากลางในการจัดโครงการดังกล่าว จังหวัดละ 20 ล้านบาท (ตามหนังสือสั่งจ้าง ที่ 1/2557 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2556)
ทั้งนี้ ข่าวสด , มติชนออนไลน์ และประชาชาติธุรกิจ ล้วนเป็นสื่อในเครือบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ประการที่สอง แม้ในประกาศราคากลางจ้างงานทั้งสองครั้ง จะมิได้มีการระบุชื่อบริษัทเอกชนที่เข้ามารับงานนี้ ว่าเป็นใคร?
แต่ในหนังสือที่ สฏ 0017.2/ว.8110 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 ที่นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำถึงหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการส่วนกลาง หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ประธานหอการค้าจังหวัด และประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ขอความร่วมมือจัดบุคลากรเข้าร่วมงาน นิทรรศการและเสวนาโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ภายใต้ชื่องาน “สร้างอนาคตไทย 2020” ระหว่างวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช
มีการระบุชื่อบริษัทเอกชน ที่ได้รับงานชัดเจน คือ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามสปอร์ต ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
(อ่านประกอบ:เผยโฉมหนังสือผู้ว่าฯสุราษฎร์ฯ เกณฑ์คนร่วมงานอีเวนต์กม.เงินกู้2ล้านล.,"จุฤทธิ์" แย้มชื่อ“มติชน – สยามสปอร์ต” รับงานอีเวนต์รัฐบาล 240ล้าน)
ทั้งนี้ ผลจากการที่บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เข้ามาเป็นคู่สัญญาจัดงานอีเวนต์กับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ขณะที่การสอบราคาจ้างงานที่ใช้ข้อมูลของบริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และสื่อในเครือทั้งหมด ตามประกาศครั้งแรก โดยไม่มีการสืบราคางานจากบริษัทเอกชนรายอื่นที่ประกอบธุรกิจการจัดอีเวนต์ เป็นมีผลงานเป็นที่ยอมรับในสังคมทั่วไป ซึ่งมีจำนวนมากในประเทศ จึงเป็นที่มาของข้อสังเกตที่ว่า การดำเนินการลักษณะนี้สามารถกระทำได้หรือไม่? ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด?
และรัฐบาลมีเหตุผลอะไร ถึงเลือกใช้วิธีการจ้างงานโดยวิธีพิเศษ แทนการเลือกใช้วิธีการเปิดประกวดราคาตามขั้นตอนปกติ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนรายอื่นได้เข้าร่วมแข่งขันเสนอราคางาน ซึ่งจะทำให้ราชการ มีตัวเลือกในการว่าจ้าง ทั้งเรื่องผลงานและราคาจ้างงาน ที่อาจจะต่ำลงจากการแข่งขันประกวดราคาตามขั้นตอนปกติที่ราชการปฏิบัติ
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้วิธีพิเศษว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามารับงานนี้แล้ว แต่ไม่สามารถติดต่อได้
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เคยมีการเผยแพร่บทความเรื่องว่า อย่างไรถึงจะเรียกว่าฮั้วประมูล?
โดยระบุข้อมูลที่น่าสนใจบางส่วน ดังนี้
ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 คำว่า “ฮั้ว” หมายถึง รวมหัวกัน ร่วมกันกระทำการ สมยอมกันในการเสนอราคาเพื่อมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือ เพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น การฮั้ว คือ การตกลงกันที่จะไม่มีการแข่งขันในการประกวดราคาประมูลงานระหว่างพ่อค้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ราคาที่ตกลงกันและมีการแบ่งผลประโยชน์กัน
ผลของการฮั้วหรือตกลงกันในการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ คือ การที่รัฐได้รับความเสียหาย เช่น ทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น เพราะหากให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี ผู้ที่เสนอราคาต่ำจะเป็นผู้ที่ได้งานไป แต่การฮั้ว ราคาที่เสนอไม่ใช่ราคาที่ต่ำสุดที่สามารถดำเนินงานตามประสงค์ได้ หรืองานที่ประมูลได้ไปเนื่องจากการฮั้ว ค่าจ้างส่วนหนึ่งต้องนำจ่ายตามข้อตกลงฮั้วทำให้ผู้ได้รับงานจำเป็นต้องลดมาตรฐานของสิ่งก่อสร้างเพื่อประหยัดต้นทุน ทำให้งานต่างๆของรัฐที่เกิดจากการประมูลที่มีการฮั้วไม่มีคุณภาพ
นอกจากนี้การฮั้วในการประมูลงานยังเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมูลแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบจากผู้ประมูลได้ จากการดำเนินการจัดซื้อสินค้าและบริการของหน่วยงานของรัฐที่ผ่านมาได้มีการกระทำในลักษณะเป็นการสมยอมในการเสนอราคาและมีพฤติการณ์ต่างๆอันทำให้มิได้มีการแข่งขันกันเสนอประโยชน์สูงสุดให้แก่หน่วยงานของรัฐอย่างแท้จริงและเกิดผลเสียหายก่อประเทศชาติ นอกจากนี้ ในบางกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีส่วนร่วมหรือมีส่วนสนับสนุนในการทำความผิด หรือละเว้นไม่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ อันมีผลทำให้ปัญหาในการเรื่องนี้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในลักษณะดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการผ่านกฏหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 ” ขึ้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์หรือเหตุผลในการประกาศใช้คือ เพื่อกำกับดูแลให้การจัดหาสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อหรือการจัดจ้าง หรือวิธีอื่นใดของหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยใช้งบประมาณ เงินกู้ เงินช่วยเหลือหรือรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นเงินของแผ่นดิน
รวมทั้งการที่รัฐให้สิทธิในการดำเนินกิจการบางอย่างโดยการให้สัมปทานอนุญาตหรือกรณีอื่นใดในลักษณะเดียวกันก็เป็นการดำเนินการเพื่อให้ประโยชน์สาธารณะอันเป็นกิจการของรัฐ กระทำอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรรม และมีการแข่งขันกันอย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกันการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “กฏหมายฮั้ว” เป็นกฎหมายอาญาที่มุ่งจะทำให้การจัดหาสินค้าหรือบริการของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งที่ใช้เงินงบประมาณเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและมีการแข่งขันกันอย่างเสรีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ โดยบุคคลที่จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้ได้แก่คน 3 กลุ่ม ต่อไปนี้ คือ
กลุ่มแรก
ผู้ที่ประสงค์จะเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ขายสินค้า ผู้ขายบริการ ผู้รับสัมปทาน เป็นต้น หรืออาจเรียกว่า เป็นการกระทำผิดอาญาที่เอกชนเป็นผู้กระทำความผิด
กลุ่มที่สอง
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการเสนอราคา หรืออาจเรียกว่า เป็นการกระทำผิดที่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐเป็นผู้กระทำ
กลุ่มที่สาม
ผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง เป็นผู้กระทำความผิด จากทั้งสามกลุ่มดังกล่าว ขอแยกการกระทำความผิดที่บัญญัติในกฎหมายฮั้วและยกตัวอย่างเพื่อเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ดังนี้
1..ความผิดอาญาที่เอกชนเป็นผู้กระทำ
1.1. ความผิดฐานตกลงร่วมกันในระหว่างผู้เข้าเสนอราคาโดยทุจริต (มาตรา 4)
ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคา เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ
โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม หรือ
โดยการกีดกันมิให้มีการเสนอสินค้าหรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ
โดยเอาเปรียบแก่หน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปีและปรับร้อยละห้าสิบของจำนวนเงินที่มีการเสนอ ราคาสูงสุดในระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดนั้น หรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ผู้ใดเป็นธุระในการชักชวนให้ผู้อื่นร่วมตกลงกันในการกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ผู้นั้นต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่ง