หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกได้มีมติเห็นชอบให้เอกชนผู้ยื่นข้อเสนอ 2 ราย มีคะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านเทคนิค) และเห็นชอบให้เปิดเอกสารข้อเสนอซองที่ 3 (ข้อเสนอด้านราคา) นั้น
เอกชนผู้ยื่นข้อเสนอที่ผ่านการประเมิน 2 ราย ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) และกลุ่ม Grand Consortium ได้ส่งผู้แทนมาเข้าร่วมเปิดเอกสารข้อเสนอซองที่ 3 ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการคัดเลือกจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.62 และจะลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ในเดือน ม.ค.63
โดยมีข่าวรายงานว่า กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ซึ่งประกอบไปด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด เป็นผู้ที่ให้ผลตอบแทนกับรัฐสูงกว่า
ซึ่งคาดว่าทางคณะกรรมการฯ จะยังไม่เปิดเผยราคาผู้ชนะการประมูล เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรีก่อน จึงจะสามารถประกาศชื่อผู้ชนะได้
อย่างไรก็ตาม จากการเปิดราคาในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 2 ราย ต่างเห็นราคาของกันและกันแล้วว่าเสนอผลตอบแทนให้รัฐเท่าใด ขณะที่โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 290,000 ล้านบาท
“การเสนอผลตอบแทนให้รัฐของกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ถือว่า สูงกว่าการคาดหวังไว้มาก เนื่องจากโครงการนี้ทางคณะกรรมการอีอีซี คาดหวังว่ารัฐจะได้รับผลตอบแทนจากการเปิดประมูลราว 5.9 หมื่นล้านบาท แต่ทางกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ให้ผลประโยชน์ตอบแทนในหลักแสนล้านบาท ห่างจาก กลุ่ม Grand Consortium ที่เสนอราคาในหลักหมื่นล้านบาท"
ทำให้น่าสนใจว่า "กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS" ที่ประกอบไปด้วย
• บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ถือหุ้น 45%
• บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ถือหุ้น 35%
• บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน) ของตระกูล “ชาญวีรกูล” ถือหุ้น 20%
และทางกองทัพเรือในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ให้มีผู้แทนคณะกรรมการคัดเลือก ผู้แทนคณะทำงานฯ ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่ปรึกษา และผู้สังเกตการณ์อิสระจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้าสังเกตการณ์ รวมทั้งได้มีการบันทึกภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ กล้องวงจรปิด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสตลอดกระบวนการ จะสามารถผลักดันให้โครงการฯ นี้ สำเร็จได้ตามความคาดหมายภายในเดือนม.ค. 2563 นี้ได้ไหม
ที่มา :
ไทยรัฐ และ
ฐานเศรษฐกิจ
EEC - ประมูลอู่ตะเภา ประกาศซองที่ 3 (ข้อเสนอด้านราคา)
ซึ่งคาดว่าทางคณะกรรมการฯ จะยังไม่เปิดเผยราคาผู้ชนะการประมูล เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และคณะรัฐมนตรีก่อน จึงจะสามารถประกาศชื่อผู้ชนะได้
อย่างไรก็ตาม จากการเปิดราคาในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 2 ราย ต่างเห็นราคาของกันและกันแล้วว่าเสนอผลตอบแทนให้รัฐเท่าใด ขณะที่โครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 290,000 ล้านบาท
“การเสนอผลตอบแทนให้รัฐของกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ถือว่า สูงกว่าการคาดหวังไว้มาก เนื่องจากโครงการนี้ทางคณะกรรมการอีอีซี คาดหวังว่ารัฐจะได้รับผลตอบแทนจากการเปิดประมูลราว 5.9 หมื่นล้านบาท แต่ทางกลุ่มกิจการร่วมค้า BBS ให้ผลประโยชน์ตอบแทนในหลักแสนล้านบาท ห่างจาก กลุ่ม Grand Consortium ที่เสนอราคาในหลักหมื่นล้านบาท"
ทำให้น่าสนใจว่า "กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS" ที่ประกอบไปด้วย
• บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ถือหุ้น 45%
• บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ถือหุ้น 35%
• บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน) ของตระกูล “ชาญวีรกูล” ถือหุ้น 20%
และทางกองทัพเรือในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ให้มีผู้แทนคณะกรรมการคัดเลือก ผู้แทนคณะทำงานฯ ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่ปรึกษา และผู้สังเกตการณ์อิสระจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เข้าสังเกตการณ์ รวมทั้งได้มีการบันทึกภาพนิ่ง ภาพวิดีโอ กล้องวงจรปิด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสตลอดกระบวนการ จะสามารถผลักดันให้โครงการฯ นี้ สำเร็จได้ตามความคาดหมายภายในเดือนม.ค. 2563 นี้ได้ไหม
ที่มา : ไทยรัฐ และ ฐานเศรษฐกิจ