ผู้รักษาศีลคือผู้รักตน
คำว่า “ศีล” ในที่นี้ ผู้เขียนหมายรวมไปถึงกรรมบถ ๑๐ ด้วย เพราะในกรรมบถ ๑๐ นั้น มีทั้งศีลและธรรมรวมกัน นี่ว่าเฉพาะที่รู้ๆ แล้ว ไม่ว่าศีล ๕ ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล ท่านก็เรียกว่า “ธรรม” เหมือนกันหมด
เหตุใดผู้รักษาศีลจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้รักตน ?
ประเด็นนี้ เป็นจุดที่น่าให้ความสนใจมาก เพราะถ้าใครเข้าใจประเด็นนี้ได้อย่างถูกต้องแล้ว เขาจะสนใจศีลและหมั่นรักษาศีลไปตามลำดับขั้น ตั้งแต่ศีล ๕ อุโบสถศีล จนถึงกรรมบท ๑๐ ซึ่งมีครบทั้งกายวาจาและใจเลย เรามาดูกันง่ายๆ ไม่ต้องไปใช้วิชาคำนวณคำเนินอะไรให้มันเมื่อยมือ หรือเมื่อยสมองหรอก เอากันที่ศีล ๕ ก่อน
การไม่ฆ่าคน เป็นเหตุให้เราไม่มีเวร ไม่ต้องคอยหลบซ่อนตัว กลัวเขาจะมาฆ่าตอบ หรือญาติมิตรของผู้ถูกฆ่าจะมาฆ่าตอบ จะไปไหน ? จะกินจะนอนมันก็สบายไม่ต้องคอยหวาดระแวงภัย
การไม่ลักขโมยของคนอื่น ก็เป็นเหตุให้ไม่ต้องมีเรื่องฟ้องร้องขึ้นโรงศาล หรือถูกใส่ความเพราะความเป็นคนหัวขโมย ไม่ต้องถูกจับใส่คุกเพราะเหตุอทินนาทาน
การไม่เป็นคนเจ้าชู้ประตูดิน ไม่เป็นคนเที่ยว
ไม่ว่าผัวเขาหรือเมียใครไชไม่เลือก ก็จะไม่ต้องคอยระวังว่าผัวหรือเมียเขาจะมาฆ่าแกง เพราะเหตุว่าไปแย่งหรือล่วงเกินของรักของหวงของเขา อันเป็นเหตุให้ไม่มีเรื่อง “ศึกในมุ้ง” ให้ขายหน้าไปทั่วแผ่นดิน และครอบครัวก็ไม่ปกติสุขถึงต้องฆ่ากันตายด้วย
การไม่พูดปด ก็จะไม่เป็นเหตุให้ต้องถูกใส่ความหรือถูกฟ้องร้องหมิ่นประมาท ทำให้คำพูดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ น่าเคารพ เป็นที่ไว้วางใจของคนทั่วไปในเรื่องคำพูด
การไม่ดื่มน้ำนรก นอกจากจะไม่เป็นต้นเหตุให้ก่อกรรมทำชั่วต่างๆ ได้มากมายแล้ว ยังไม่เป็นเหตุให้บั่นทอนกำลังกาย และกำลังสติปัญญาของตนอีกด้วย แถมยังจะปลอดโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมาจากการเป็นคนขี้เหล้าได้อีกมากมายด้วย
ท่านยังพอจะมองเห็นหรือยังว่า ศีลแต่ละข้อนั้นนอกจากจะไม่ทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน อันเป็นทางไหลมาของเวรกรรมต่างๆ แล้ว ตัวเราเองก็จะมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ปิดภัยและเวรต่างๆ เสียได้อย่างสิ้นเชิง ที่จะแสดงออกมาทางกายและวาจา ด้วยเหตุดังกล่าวมา ผู้ที่รักษาศีลจึงได้ชื่อว่ารักตน
นี่เป็นอานิสงส์ของศีล ๕ เรามาดูอานิสงส์ของศีล ๘ หรืออุโบสถศีลกันสักหน่อยเป็นไร ?
ความจริงศีล ๘ นี้ สำหรับชาวบ้านก็ไม่มีความจำเป็นอะไรมากนักที่จะต้องรักษา โดยเฉพาะคนที่ยังอยู่ใน “วัยงาน” คือ ยังต้องประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวอยู่ โดยเฉพาะก็คนที่ยังไม่หมดในเรื่องของเพศหรือกามคุณ ถ้าผัวหรือเมียยังหนุ่มหรือสาวอยู่ ใครขืนรักษาศีล ๘ เป็นประจำ ถ้าเมียหรือผัวไม่มีชู้ และยังอยู่ด้วยกันได้ ก็ต้องจัดว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ยกเว้นแต่ท่านผู้นั้นจะสำเร็จธรรมขั้นสูง คือ เป็นพระอนาคามีบุคคลไปแล้วเท่านั้น
แต่สำหรับคน “วัยงอม” คือ วัยที่ปลดระวางแล้ว ก็สมควรที่จะรักษาศีล ๘ ได้แล้ว เพราะจะเป็นเหตุให้อายุยืนยาว ถ้างดเว้นเรื่องการกินให้น้อยลง หรือกินให้ถูกต้องตามวัย และงดเว้นกามกิจเสียได้ แต่ว่าศีลอุโบสถนี้ มีความสำคัญและจำเป็นแก่ทุกคนในแง่ของการพัฒนาชีวิต ถ้ามีโอกาสจะรักษาได้แม้นานๆ ครั้งก็ยังดี เพราะอุโบสถศีลเป็น “วัตร” ชนิดหนึ่งที่ช่วยฝึกหัดขัดเกลานิสัยส่วนเกินได้อย่างดี เมื่อเราได้รักษาศีล ๕ แล้ว ลองรักษาอุโบสถศีลแล้ว ก็น่าจะชิมลองรักษา “กรรมบถ ๑๐” ดูบ้าง ว่ามันจะมี รสชาติเป็นอย่างไร ? มันจะยากง่ายแค่ไหน ?
ที่ผู้เขียนให้ความสนใจแก่กรรมบถ ก็เพราะในกรรมบถนั้นมีกระบวนการ “พัฒนาชีวิตครบวงจร” กล่าวคือ มีการพัฒนากาย วาจาและใจไปพร้อมกัน ไม่ต้องไปแยกทำทีละหนคนละคราว (ท่านที่สนใจการรักษากรรมบถ ๑๐ ขอให้อ่านจากหนังสือ “สุขสันต์วันเกิด” ของผู้เขียนได้ เพื่อประหยัดกระดาษจึงไม่นำมาลงให้ซ้ำกัน)
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ผู้อ่านบางท่านคงเห็นแล้วว่าการล่วงละเมิดศีลนั้น มิได้จะทำให้คนอื่นหรือสัตว์อื่นเดือดร้อนเท่านั้น แต่ตัวเองนั่นแหละเดือดร้อนก่อน เมื่อตัวเองสร้างเหตุด้วยการนำเวรภัยมาสู่ตนเอง หรือหาสิ่งมึนเมามาประทุษร้ายสติสัมปชัญญะของตนเองให้เกิดความเดือดร้อนเช่นนี้แล้ว คนที่ล่วงศีลจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รักตนเองได้อย่างไรกัน ? เพราะโดยปกติคนทั่วไป มักทำอะไรๆ ก็เพื่อจะให้ตัวเราสบายและสนุก ไม่เคยคิดถึงหัวอกของคนอื่นว่าเขาจะระทมขมขื่น หรือปวดร้าวหัวใจสักเพียงไหน ? ถ้าไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็รู้ได้ยาก
นี่ว่าเฉพาะเหตุผลในปัจจุบัน ยังไม่ได้ว่าถึงผลแห่งกรรมที่ข้ามภพชาติ ที่เราจะต้องไปเสวยอีกนับไม่ถ้วนและยาวนาน ซึ่งมีอยู่แน่ๆ แต่เราไม่รู้ เพราะเราไม่มีญาณพิเศษอย่างพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าวมา การรักษาศีลนอกจากจะไม่เป็นการประทุษร้ายตนเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแล้ว ยังจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักตนเองและรักผู้อื่น (คือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพราะตน) อีกด้วย
ดังนั้น ผู้รักตนจึงควรรักษาศีล ๕ อุโบสถศีล กรรมบถ ๑๐ ตลอดจนการเจริญธรรมต่างๆ มีสติ สมาธิ และวิปัสสนา เป็นต้น อยู่เป็นประจำเถิด แล้วท่านจะพบกับความประเสริฐทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้าอย่างไม่ต้องสงสัยเลย
ที่มา หนังสือ ศีล
ผู้รักษาศีลคือผู้รักตน
คำว่า “ศีล” ในที่นี้ ผู้เขียนหมายรวมไปถึงกรรมบถ ๑๐ ด้วย เพราะในกรรมบถ ๑๐ นั้น มีทั้งศีลและธรรมรวมกัน นี่ว่าเฉพาะที่รู้ๆ แล้ว ไม่ว่าศีล ๕ ศีล ๘ หรืออุโบสถศีล ท่านก็เรียกว่า “ธรรม” เหมือนกันหมด
เหตุใดผู้รักษาศีลจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้รักตน ?
ประเด็นนี้ เป็นจุดที่น่าให้ความสนใจมาก เพราะถ้าใครเข้าใจประเด็นนี้ได้อย่างถูกต้องแล้ว เขาจะสนใจศีลและหมั่นรักษาศีลไปตามลำดับขั้น ตั้งแต่ศีล ๕ อุโบสถศีล จนถึงกรรมบท ๑๐ ซึ่งมีครบทั้งกายวาจาและใจเลย เรามาดูกันง่ายๆ ไม่ต้องไปใช้วิชาคำนวณคำเนินอะไรให้มันเมื่อยมือ หรือเมื่อยสมองหรอก เอากันที่ศีล ๕ ก่อน
การไม่ฆ่าคน เป็นเหตุให้เราไม่มีเวร ไม่ต้องคอยหลบซ่อนตัว กลัวเขาจะมาฆ่าตอบ หรือญาติมิตรของผู้ถูกฆ่าจะมาฆ่าตอบ จะไปไหน ? จะกินจะนอนมันก็สบายไม่ต้องคอยหวาดระแวงภัย
การไม่ลักขโมยของคนอื่น ก็เป็นเหตุให้ไม่ต้องมีเรื่องฟ้องร้องขึ้นโรงศาล หรือถูกใส่ความเพราะความเป็นคนหัวขโมย ไม่ต้องถูกจับใส่คุกเพราะเหตุอทินนาทาน
การไม่เป็นคนเจ้าชู้ประตูดิน ไม่เป็นคนเที่ยวไม่ว่าผัวเขาหรือเมียใครไชไม่เลือก ก็จะไม่ต้องคอยระวังว่าผัวหรือเมียเขาจะมาฆ่าแกง เพราะเหตุว่าไปแย่งหรือล่วงเกินของรักของหวงของเขา อันเป็นเหตุให้ไม่มีเรื่อง “ศึกในมุ้ง” ให้ขายหน้าไปทั่วแผ่นดิน และครอบครัวก็ไม่ปกติสุขถึงต้องฆ่ากันตายด้วย
การไม่พูดปด ก็จะไม่เป็นเหตุให้ต้องถูกใส่ความหรือถูกฟ้องร้องหมิ่นประมาท ทำให้คำพูดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ น่าเคารพ เป็นที่ไว้วางใจของคนทั่วไปในเรื่องคำพูด
การไม่ดื่มน้ำนรก นอกจากจะไม่เป็นต้นเหตุให้ก่อกรรมทำชั่วต่างๆ ได้มากมายแล้ว ยังไม่เป็นเหตุให้บั่นทอนกำลังกาย และกำลังสติปัญญาของตนอีกด้วย แถมยังจะปลอดโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นมาจากการเป็นคนขี้เหล้าได้อีกมากมายด้วย
ท่านยังพอจะมองเห็นหรือยังว่า ศีลแต่ละข้อนั้นนอกจากจะไม่ทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน อันเป็นทางไหลมาของเวรกรรมต่างๆ แล้ว ตัวเราเองก็จะมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข ปิดภัยและเวรต่างๆ เสียได้อย่างสิ้นเชิง ที่จะแสดงออกมาทางกายและวาจา ด้วยเหตุดังกล่าวมา ผู้ที่รักษาศีลจึงได้ชื่อว่ารักตน
นี่เป็นอานิสงส์ของศีล ๕ เรามาดูอานิสงส์ของศีล ๘ หรืออุโบสถศีลกันสักหน่อยเป็นไร ?
ความจริงศีล ๘ นี้ สำหรับชาวบ้านก็ไม่มีความจำเป็นอะไรมากนักที่จะต้องรักษา โดยเฉพาะคนที่ยังอยู่ใน “วัยงาน” คือ ยังต้องประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวอยู่ โดยเฉพาะก็คนที่ยังไม่หมดในเรื่องของเพศหรือกามคุณ ถ้าผัวหรือเมียยังหนุ่มหรือสาวอยู่ ใครขืนรักษาศีล ๘ เป็นประจำ ถ้าเมียหรือผัวไม่มีชู้ และยังอยู่ด้วยกันได้ ก็ต้องจัดว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ยกเว้นแต่ท่านผู้นั้นจะสำเร็จธรรมขั้นสูง คือ เป็นพระอนาคามีบุคคลไปแล้วเท่านั้น
แต่สำหรับคน “วัยงอม” คือ วัยที่ปลดระวางแล้ว ก็สมควรที่จะรักษาศีล ๘ ได้แล้ว เพราะจะเป็นเหตุให้อายุยืนยาว ถ้างดเว้นเรื่องการกินให้น้อยลง หรือกินให้ถูกต้องตามวัย และงดเว้นกามกิจเสียได้ แต่ว่าศีลอุโบสถนี้ มีความสำคัญและจำเป็นแก่ทุกคนในแง่ของการพัฒนาชีวิต ถ้ามีโอกาสจะรักษาได้แม้นานๆ ครั้งก็ยังดี เพราะอุโบสถศีลเป็น “วัตร” ชนิดหนึ่งที่ช่วยฝึกหัดขัดเกลานิสัยส่วนเกินได้อย่างดี เมื่อเราได้รักษาศีล ๕ แล้ว ลองรักษาอุโบสถศีลแล้ว ก็น่าจะชิมลองรักษา “กรรมบถ ๑๐” ดูบ้าง ว่ามันจะมี รสชาติเป็นอย่างไร ? มันจะยากง่ายแค่ไหน ?
ที่ผู้เขียนให้ความสนใจแก่กรรมบถ ก็เพราะในกรรมบถนั้นมีกระบวนการ “พัฒนาชีวิตครบวงจร” กล่าวคือ มีการพัฒนากาย วาจาและใจไปพร้อมกัน ไม่ต้องไปแยกทำทีละหนคนละคราว (ท่านที่สนใจการรักษากรรมบถ ๑๐ ขอให้อ่านจากหนังสือ “สุขสันต์วันเกิด” ของผู้เขียนได้ เพื่อประหยัดกระดาษจึงไม่นำมาลงให้ซ้ำกัน)
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ ผู้อ่านบางท่านคงเห็นแล้วว่าการล่วงละเมิดศีลนั้น มิได้จะทำให้คนอื่นหรือสัตว์อื่นเดือดร้อนเท่านั้น แต่ตัวเองนั่นแหละเดือดร้อนก่อน เมื่อตัวเองสร้างเหตุด้วยการนำเวรภัยมาสู่ตนเอง หรือหาสิ่งมึนเมามาประทุษร้ายสติสัมปชัญญะของตนเองให้เกิดความเดือดร้อนเช่นนี้แล้ว คนที่ล่วงศีลจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่รักตนเองได้อย่างไรกัน ? เพราะโดยปกติคนทั่วไป มักทำอะไรๆ ก็เพื่อจะให้ตัวเราสบายและสนุก ไม่เคยคิดถึงหัวอกของคนอื่นว่าเขาจะระทมขมขื่น หรือปวดร้าวหัวใจสักเพียงไหน ? ถ้าไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็รู้ได้ยาก
นี่ว่าเฉพาะเหตุผลในปัจจุบัน ยังไม่ได้ว่าถึงผลแห่งกรรมที่ข้ามภพชาติ ที่เราจะต้องไปเสวยอีกนับไม่ถ้วนและยาวนาน ซึ่งมีอยู่แน่ๆ แต่เราไม่รู้ เพราะเราไม่มีญาณพิเศษอย่างพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุดังกล่าวมา การรักษาศีลนอกจากจะไม่เป็นการประทุษร้ายตนเองไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแล้ว ยังจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักตนเองและรักผู้อื่น (คือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเพราะตน) อีกด้วย
ดังนั้น ผู้รักตนจึงควรรักษาศีล ๕ อุโบสถศีล กรรมบถ ๑๐ ตลอดจนการเจริญธรรมต่างๆ มีสติ สมาธิ และวิปัสสนา เป็นต้น อยู่เป็นประจำเถิด แล้วท่านจะพบกับความประเสริฐทั้งในชีวิตนี้และชีวิตหน้าอย่างไม่ต้องสงสัยเลย
ที่มา หนังสือ ศีล