ทักษิณเริ่มสร้างชื่อเสียงในฐานะผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจมือถือและดาวเทียม บริษัทของเขาเคยจัดกิจกรรมให้เยาวชนแข่งขันเขียนเรียงความและเชิญผมเป็นหนึ่งในกรรมการด้วย ภาพพจน์ของเขาตอนที่เล่นการเมืองใหม่ๆ ทั้งในพรรคพลังธรรมและพรรคไทยรักไทยช่วงต้นๆ อยู่ในเกณฑ์ดี เขาติดต่อให้นักวิชาการ นักวิชาชีพหลายคนไปช่วยงานของเขาในระดับต่างๆ ตอนที่ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ จัดสัมมนาระดมความคิดเรื่องการแก้ไขปัญหาเกษตรกร ประพัฒน์เชิญผมไปร่วมอภิปรายด้วย มีนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชนผู้นำเกษตรการมาประชุมกันหลายคน นโยบายหลายด้าน เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค ทักษิณได้ไปจากพวกหมอและคนอื่นๆ
ตอนทักษิณได้เป็นนายกฯ ปี 2544 คนตั้งความหวังกับทักษิณสูง เพราะเบื่อพรรคประชาธิปัตย์ที่มีนโยบายจารีตนิยม เสรีนิยม และทำงานแบบขุนนางข้าราชการ และทนายความ บริหารไม่ค่อยเก่ง นักวิชาการที่ได้พบปะพูดคุยกับคุณทักษิณมักประทับใจในท่าทีง่ายๆ เป็นกันเอง ฉลาด ดูมีความตั้งใจในการพัฒนาประเทศ
แต่ผมมองทักษิณอย่างวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่ตอนนั้นว่าเขายังมีกรอบคิดนโยบายแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมสุดโต่ง เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมองการแก้ไขปัญหาแบบกลไกทางเทคนิค ไม่ได้มองเรื่องการพัฒนาคน และสังคมอย่างเป็นองค์รวม
คนฝากความหวังไว้กับรัฐบาลทักษิณ ในปี 2544 เพราะประเทศไทยเพิ่งผ่านวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำปี 2540 โดยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่ได้ทำอะไรมากนัก นอกจากทำตามคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ซึ่งใช้นโยบายเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนและทางการเงินมากขึ้น ใช้เงินภาครัฐไปอุดหนุนธนาคารสถาบันการเงินเอกชนที่มีปัญหามากขึ้น ธุรกิจของไทยถูกต่างชาติซื้อหรือเข้ามาถือหุ้นเพิ่มขึ้น ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มองแตกต่างจากแนวคิดของ IMF และนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ซึ่งมีอิทธิพลต่อชนชั้นนำไทยทุกกลุ่มทั้งประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย
ผมจึงเขียนบทความวิจารณ์แนวนโยบายของรัฐบาลทักษิณเป็นคนแรกๆ ตอนนั้นยังไม่ได้มีประเด็นเรื่องการโกงและการหาผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ผมวิจารณ์เขาในแง่ว่านโยบายที่เน้นการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมและประชานิยมแบบหาเสียง และกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แนวทางที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นธรรมและยั่งยืนจริง
ผมเคยเอาหนังสือที่ผมเขียนเรื่อง วิพากษ์นโยบายไทยรักไทย แนวเศรษฐศาสตร์การเมือง ไปให้เขา ครั้งที่อาจารย์ณรงค์ เพชรประเสริฐ ชวนทักษิณมาคุยกับอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และผมได้เข้าไปร่วมคุยด้วย เขามองชื่อหนังสือ แล้วหลุดปากพูดอย่างไม่ค่อยสบอารมณ์นัก แต่พยายามทำให้เป็นกันเองว่า “เอากันขนาดนี้เลยหรือ” ในการคุยกันกับกลุ่มอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ราวสัก 20 คนในวันนั้น แม้เขาจะพูดจากันเองแบบที่อาจารย์หลายคนคงชอบ แต่ผมมองว่าเขาค่อนข้างแสดงภูมิ ความเชื่อมั่นในแนวคิดของตนเองมากกว่าจะรับฟังใคร ทั้งๆ ที่ในเวทีนั้นพวกอาจารย์เขาก็มีองค์ความรู้ที่ควรได้แลกเปลี่ยนรับฟังกัน
ตั้งแต่ปี 2548 – 2549 นอกจากนโยบายส่งเสริมทุนนิยมอุตสาหกรรมนิยมและประชานิยมสุดโต่งแล้ว ทักษิณเริ่มใช้อำนาจหน้าที่หาผลประโยชน์ทับซ้อนเพิ่มขึ้นตามลำดับ อาจารย์ประเวศ วะสี เริ่มพูดเรื่องทุจริตเชิงนโยบาย สถาบันพระปกเกล้าให้ทุนผมทำวิจัยเชิงเอกสารเรื่อง การหาผมประโยชน์ทับซ้อน งานวิจัยที่ผมเขียนออกมาในปี 2549 ชื่อ “นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล : ผลประโยชน์ทับซ้อนทางธุรกิจ” ผมวิจารณ์รัฐบาลทักษิณโดยตรง สถาบันพระปกเกล้าจัดสัมมนาและพิมพ์และเผยแพร่ในปี 2549 ด้วย แต่ก็คงเผยแพร่ได้จำกัด ภายหลังผมได้เขียนหนังสือ ชื่อ แนวทางปราบคอร์รัปชันอย่างได้ผล สายธาร 2549 ออกมาด้วย
อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, สนธิ ลิ้มทองกุล และใครต่อใครออกมาวิจารณ์ปัญหาการโกงของทักษิณเพิ่มขึ้น จึงเกิดกระแสต่อต้านรัฐบาลทักษิณเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนนำไปสู่การรัฐประหารปี 2549 แต่รัฐบาลขิงแก่ในปีถัดมาไม่ได้ปฏิรูปอะไร หลังจากเลือกตั้งใหม่รัฐบาลของพวกทักษิณก็กลับมาอีก ผมคงเขียนบทความวิจารณ์ปัญหาของระบอบทักษิณและแนวทางการปฏิรูปประเทศที่ตรงกันข้ามลงตามหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง และพิมพ์เป็นเล่ม เช่น ก้าวข้ามระบอบทักษิณ สู่เส้นทางปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ บ้านพระอาทิตย์ 2550 เล่มนี้ขายดี พิมพ์ถึง 2 ครั้งในปีเดียวกัน หยุดวิกฤตซ้ำซากด้วยระบบสหกรณ์ บ้านพระอาทิตย์ 2550 ปฏิรูปประเทศไทย เศรษฐกิจ การเมือง (1) การศึกษาภาวะผู้นำ (2) บ้านพระอาทิตย์ 2553 ปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อแก้ไขวิกฤตของชาติ สายธาร 2551
ผมยังเสนอปัญหาทางออกของประเทศไทยด้วยการเขียนวิจารณ์ปัญหาวิกฤตของระบบทุนนิยมโลก และทางออกของไทยอีกหลายเล่ม เช่น อนาคตเศรษฐกิจและทางออกของไทย บ้านพระอาทิตย์ 2550 มองมุมมองใหม่ วิกฤตเศรษฐกิจโลก บ้านพระอาทิตย์ 2552 รวมทั้งการเสนอแนวการปฏิรูปประเทศแนวสังคมนิยมประชาธิปไตย อูโก ชาเวซ ผู้นำการเมืองใหม่แห่งลาตินอเมริกา บ้านพระอาทิตย์ 2551 การปฏิรูปแนวเศรษฐศาสตร์เชิงระบบนิเวศ เศรษฐกิจระบบนิเวศ เพื่อโลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน บ้านพระอาทิตย์ 2554 เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ เพื่อชีวิตและระบบนิเวศที่สันติสุข กรุงเทพธุรกิจ 2556 ปัดกวาดประเทศไทย ปฏิรูปอะไร อย่างไร เพื่ออะไร บ้านพระอาทิตย์ 2557
งานทั้งหมดอยู่ตรงกันข้ามกับแนวคิดนโยบายการพัฒนาประเทศแบบเน้นทุนนิยมเพื่อการบริโภคอย่างสุดโต่งของระบอบทักษิณ รวมทั้งต่างจากนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งความจริงก็คิดคล้ายทักษิณ เพียงแต่อาจจะโกงและหรือหาผลประโยชน์ได้น้อยกว่าทักษิณเท่านั้น แต่สังคมไทยคนอ่านหนังสือและคิดต่อกันน้อย จึงไม่ค่อยมีคนสนใจ เข้าใจ และเอาจริงเอาจังกับเรื่องการปฏิรูปประเทศเท่าที่ควร ประเทศเราถึงติดอยู่ในหล่มของระบอบทักษิณเป็น 10 ปี และตกต่ำล้าหลังประเทศอื่นไปตามลำดับ
https://witayakornclub.wordpress.com/2014/05/30/1819/#more-1819
เอาบทความของท่าน มาแนะนำครับ อย่างน้อยก็จะได้ทราบที่มาที่ไปของความคิด
เพราะว่าถกมาในทู้ของทวดเอง
http://ppantip.com/topic/34979700/comment19
เจอคำตอบแบบปิดตัวเองแบบ
หมอนี่เป็นใครหรือครับคุณ 6099 แล้วทำไมผมต้องไปเชื่อเขาด้วยครับ
ไม่รู้จัก และไม่คิดอยากรู้จัก
ปิดตัวเองแบบนี้ ไปได้ไม่ไกลครับ
“ทักษิณ” ที่ผมรู้จัก โดย : วิทยากร เชียงกูล
ตอนทักษิณได้เป็นนายกฯ ปี 2544 คนตั้งความหวังกับทักษิณสูง เพราะเบื่อพรรคประชาธิปัตย์ที่มีนโยบายจารีตนิยม เสรีนิยม และทำงานแบบขุนนางข้าราชการ และทนายความ บริหารไม่ค่อยเก่ง นักวิชาการที่ได้พบปะพูดคุยกับคุณทักษิณมักประทับใจในท่าทีง่ายๆ เป็นกันเอง ฉลาด ดูมีความตั้งใจในการพัฒนาประเทศ แต่ผมมองทักษิณอย่างวิพากษ์วิจารณ์ตั้งแต่ตอนนั้นว่าเขายังมีกรอบคิดนโยบายแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมสุดโต่ง เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมองการแก้ไขปัญหาแบบกลไกทางเทคนิค ไม่ได้มองเรื่องการพัฒนาคน และสังคมอย่างเป็นองค์รวม
คนฝากความหวังไว้กับรัฐบาลทักษิณ ในปี 2544 เพราะประเทศไทยเพิ่งผ่านวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำปี 2540 โดยรัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่ได้ทำอะไรมากนัก นอกจากทำตามคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ซึ่งใช้นโยบายเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนและทางการเงินมากขึ้น ใช้เงินภาครัฐไปอุดหนุนธนาคารสถาบันการเงินเอกชนที่มีปัญหามากขึ้น ธุรกิจของไทยถูกต่างชาติซื้อหรือเข้ามาถือหุ้นเพิ่มขึ้น ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มองแตกต่างจากแนวคิดของ IMF และนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ซึ่งมีอิทธิพลต่อชนชั้นนำไทยทุกกลุ่มทั้งประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย ผมจึงเขียนบทความวิจารณ์แนวนโยบายของรัฐบาลทักษิณเป็นคนแรกๆ ตอนนั้นยังไม่ได้มีประเด็นเรื่องการโกงและการหาผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ผมวิจารณ์เขาในแง่ว่านโยบายที่เน้นการพัฒนาแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมและประชานิยมแบบหาเสียง และกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แนวทางที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นธรรมและยั่งยืนจริง
ผมเคยเอาหนังสือที่ผมเขียนเรื่อง วิพากษ์นโยบายไทยรักไทย แนวเศรษฐศาสตร์การเมือง ไปให้เขา ครั้งที่อาจารย์ณรงค์ เพชรประเสริฐ ชวนทักษิณมาคุยกับอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และผมได้เข้าไปร่วมคุยด้วย เขามองชื่อหนังสือ แล้วหลุดปากพูดอย่างไม่ค่อยสบอารมณ์นัก แต่พยายามทำให้เป็นกันเองว่า “เอากันขนาดนี้เลยหรือ” ในการคุยกันกับกลุ่มอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ราวสัก 20 คนในวันนั้น แม้เขาจะพูดจากันเองแบบที่อาจารย์หลายคนคงชอบ แต่ผมมองว่าเขาค่อนข้างแสดงภูมิ ความเชื่อมั่นในแนวคิดของตนเองมากกว่าจะรับฟังใคร ทั้งๆ ที่ในเวทีนั้นพวกอาจารย์เขาก็มีองค์ความรู้ที่ควรได้แลกเปลี่ยนรับฟังกัน
ตั้งแต่ปี 2548 – 2549 นอกจากนโยบายส่งเสริมทุนนิยมอุตสาหกรรมนิยมและประชานิยมสุดโต่งแล้ว ทักษิณเริ่มใช้อำนาจหน้าที่หาผลประโยชน์ทับซ้อนเพิ่มขึ้นตามลำดับ อาจารย์ประเวศ วะสี เริ่มพูดเรื่องทุจริตเชิงนโยบาย สถาบันพระปกเกล้าให้ทุนผมทำวิจัยเชิงเอกสารเรื่อง การหาผมประโยชน์ทับซ้อน งานวิจัยที่ผมเขียนออกมาในปี 2549 ชื่อ “นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล : ผลประโยชน์ทับซ้อนทางธุรกิจ” ผมวิจารณ์รัฐบาลทักษิณโดยตรง สถาบันพระปกเกล้าจัดสัมมนาและพิมพ์และเผยแพร่ในปี 2549 ด้วย แต่ก็คงเผยแพร่ได้จำกัด ภายหลังผมได้เขียนหนังสือ ชื่อ แนวทางปราบคอร์รัปชันอย่างได้ผล สายธาร 2549 ออกมาด้วย
อาจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, สนธิ ลิ้มทองกุล และใครต่อใครออกมาวิจารณ์ปัญหาการโกงของทักษิณเพิ่มขึ้น จึงเกิดกระแสต่อต้านรัฐบาลทักษิณเพิ่มขึ้นตามลำดับ จนนำไปสู่การรัฐประหารปี 2549 แต่รัฐบาลขิงแก่ในปีถัดมาไม่ได้ปฏิรูปอะไร หลังจากเลือกตั้งใหม่รัฐบาลของพวกทักษิณก็กลับมาอีก ผมคงเขียนบทความวิจารณ์ปัญหาของระบอบทักษิณและแนวทางการปฏิรูปประเทศที่ตรงกันข้ามลงตามหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่อง และพิมพ์เป็นเล่ม เช่น ก้าวข้ามระบอบทักษิณ สู่เส้นทางปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ บ้านพระอาทิตย์ 2550 เล่มนี้ขายดี พิมพ์ถึง 2 ครั้งในปีเดียวกัน หยุดวิกฤตซ้ำซากด้วยระบบสหกรณ์ บ้านพระอาทิตย์ 2550 ปฏิรูปประเทศไทย เศรษฐกิจ การเมือง (1) การศึกษาภาวะผู้นำ (2) บ้านพระอาทิตย์ 2553 ปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อแก้ไขวิกฤตของชาติ สายธาร 2551
ผมยังเสนอปัญหาทางออกของประเทศไทยด้วยการเขียนวิจารณ์ปัญหาวิกฤตของระบบทุนนิยมโลก และทางออกของไทยอีกหลายเล่ม เช่น อนาคตเศรษฐกิจและทางออกของไทย บ้านพระอาทิตย์ 2550 มองมุมมองใหม่ วิกฤตเศรษฐกิจโลก บ้านพระอาทิตย์ 2552 รวมทั้งการเสนอแนวการปฏิรูปประเทศแนวสังคมนิยมประชาธิปไตย อูโก ชาเวซ ผู้นำการเมืองใหม่แห่งลาตินอเมริกา บ้านพระอาทิตย์ 2551 การปฏิรูปแนวเศรษฐศาสตร์เชิงระบบนิเวศ เศรษฐกิจระบบนิเวศ เพื่อโลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน บ้านพระอาทิตย์ 2554 เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ เพื่อชีวิตและระบบนิเวศที่สันติสุข กรุงเทพธุรกิจ 2556 ปัดกวาดประเทศไทย ปฏิรูปอะไร อย่างไร เพื่ออะไร บ้านพระอาทิตย์ 2557
งานทั้งหมดอยู่ตรงกันข้ามกับแนวคิดนโยบายการพัฒนาประเทศแบบเน้นทุนนิยมเพื่อการบริโภคอย่างสุดโต่งของระบอบทักษิณ รวมทั้งต่างจากนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งความจริงก็คิดคล้ายทักษิณ เพียงแต่อาจจะโกงและหรือหาผลประโยชน์ได้น้อยกว่าทักษิณเท่านั้น แต่สังคมไทยคนอ่านหนังสือและคิดต่อกันน้อย จึงไม่ค่อยมีคนสนใจ เข้าใจ และเอาจริงเอาจังกับเรื่องการปฏิรูปประเทศเท่าที่ควร ประเทศเราถึงติดอยู่ในหล่มของระบอบทักษิณเป็น 10 ปี และตกต่ำล้าหลังประเทศอื่นไปตามลำดับ
https://witayakornclub.wordpress.com/2014/05/30/1819/#more-1819
เอาบทความของท่าน มาแนะนำครับ อย่างน้อยก็จะได้ทราบที่มาที่ไปของความคิด
เพราะว่าถกมาในทู้ของทวดเอง http://ppantip.com/topic/34979700/comment19
เจอคำตอบแบบปิดตัวเองแบบ
หมอนี่เป็นใครหรือครับคุณ 6099 แล้วทำไมผมต้องไปเชื่อเขาด้วยครับ
ไม่รู้จัก และไม่คิดอยากรู้จัก
ปิดตัวเองแบบนี้ ไปได้ไม่ไกลครับ