...นโยบายและผลงานรัฐบาลสมัย นายกฯ ทักษิณ ชินวัตร 2544- 2548 โดยสุวิทย์ สงคราม นศ.ป.โท 2552

กระทู้คำถาม
24 พฤศจิกายน 2011 เวลา 8:39 น.

นโยบายและผลงานรัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี  ปี 2544 – 2548
โดย นายสุวิทย์ สงคราม นักวิชาการอิสระ ศึกษาค้นคว้าเพื่อการศึกษา  , 2552

              ภายใต้กรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540  ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปการเมืองให้สอดรับกับกระแสโลกาภิวัฒน์  ซึ่งมุ่งเน้นการลดอำนาจรัฐ  เพิ่มอำนาจให้ประชาชน  ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน  บริหารบ้านเมืองด้วยความโปร่งใส  มีระบบตรวจสอบและถ่วงดุล  รวมทั้งคำนึงถึงคุณภาพชีวิต และสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น  เป็นเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้สังคมไทยได้มีโอกาสสร้างวัฒนธรรมการเมืองใหม่ให้เป็นการเมืองเชิงสร้างสรรค์

1.การจัดตั้งพรรค ปี 2541 พรรคไทยรักไทย  หัวใจคือประชาชน  นำแนวทางใหม่  คิดใหม่ ทำใหม่เพื่อไทยทุกคน

                พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร   เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย  ซึ่งจดทะเบียนและประกาศตัวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2541  ด้วยแนวทางคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน และชูนโยบายเป็นธงนำหลักในการเลือกตั้งตามแนวทางที่เรียกกันว่า ประชานิยม คือ สร้างรายได้ ลดรายจ่าย และสร้างโอกาส  เพื่อมุ่งไปสู่ชัยชนะ ต่อการทำสงครามกับความยากจน  สงครามยาเสพติด และสงครามปราบคอรัปชั่น และในการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยได้เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการเมืองไทยที่ชนะการเลือกตั้งได้ส.ส.มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร
                พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร    เป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย  ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2544 จากนั้นพันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร    นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ได้มีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2544

2.บริหารราชการแผ่นดินภายหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ แปรวิกฤตเป็นโอกาส

                การเข้าบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร   นายกรัฐมนตรี ได้เข้าบริหารหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากปี 2540 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเร่งด่วนและสำคัญยิ่ง  คือการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ  ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริหารสังคมและการเมือง  โดยจะต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กันเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันการณ์ โดยปัญหามี 2 ส่วน คือ 1.หยุดการหดตัวของเศรษฐกิจที่กำลังก่อปัญหาทางสังคมให้กับประเทศ 2.การแก้ไขและปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคม  ไปสู่ความมีเสถียรภาพ และความมั่นคงอันยั่งยืนของประเทศ

3.นายกรัฐมนตรีที่ใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง และสทท.11 เล่าเรื่องทุกวันเสาร์“นายกทักษิณ คุยกับประชาชน”
  
                พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร   นายกรัฐมนตรี ได้ใช้กลยุทธการประชาสัมพันธ์เป็นตัวนำในการสร้างกระแสสังคม  จนนำไปสู่การเกิดกระแสความศรัทธาต่อตัวผู้นำรัฐบาล  และเกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรวดเร็ว  โดยจัดรายการวิทยุฯ “นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) ช่วงเวลา 08.00 น. – 09.00 น. ในทุกวันเสาร์ และออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท.11) กรมประชาสัมพันธ์ ไปพร้อมกัน นอกนั้นยังมีการเผยแพร่ขยายผลผ่านสื่อภาครัฐ  ทางเว็ปไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียงภาครัฐอื่น สถานีวิทยุชุมชน  หอกระจายข่าวในระดับหมู่บ้าน  ซึ่งพบว่า เป็นรายการที่มีประชาชนและสื่อมวลชนให้ความสนใจมาก  เรื่องราวที่นายกรัฐมนตรีนำมากล่าวในรายการ  จึงสามารถสื่อสารไปยังประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว

4.นโยบายสาธารณะ ปี 2544 – 2548 มี 16 นโยบาย ที่สื่อสารกับประชาชน

                นโยบายที่รัฐบาลนายกฯ ทักษิณ  ช่วงปี 2544 – 2548 นำไปพูดผ่านรายการวิทยุฯ รายการโทรทัศน์ และถูกนำไปขยายผลผ่านสื่อต่าง ๆ มี 16 นโยบาย   นโยบายข้อที่ 1 คือ นโยบายเร่งด่วน
1.    พักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา 3 ปี
2.    จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งจะจัดให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
3.    จัดตั้งธนาคารประชาชน
4.    จัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
5.    จัดตั้งบรรษัทกลางในการบริหารสินทรัพย์
6.    พัฒนารัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
7.    สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเสียค่าใช้จ่าย 30 บาทต่อครั้ง
8.    เร่งจัดตั้งสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด ควบคู่ไปกับการปราบปรามและป้องกัน
9.    ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น

               นอกจากนโยบายเร่งด่วนแล้ว รัฐบาลชุด พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร  ได้แถลงนโยบายในด้านนโยบายเศรษฐกิจ นโยบายสร้างรายได้  นโยบายการพาณิชย์และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  นโยบายด้านการคมนาคม  นโยบายการพัฒนาแรงงาน  นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  นโยบายการพลังงาน  นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็ง  นโยบายการศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม  นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ  นโยบายด้านต่างประเทศ  นโยบายความปลอดภัยของประชาชน  นโยบายบริหารราชการแผ่นดิน  และนโยบายพัฒนาภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรายละเอียดของนโยบาย  มีการจัดพิมพ์เป็นเอกสารเผยแพร่ และนำลงไว้ในเว็ปไซต์ทำเนียบรัฐบาลไทย http://www.thaigov.go.th เพื่อให้ประชาชนและสื่อมวลชนค้นคว้าได้ตลอดเวลา

5.เริ่มดำเนินกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์ถึงผลงานและความสำเร็จช่วงปี 2545

                หลังจากเข้าบริหารประเทศไปได้ระยะหนึ่ง รัฐบาล พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี ได้มีการดำเนินการประชาสัมพันธ์ถึงผลการดำเนินงาน  โดยจัดพิมพ์เป็นแผ่นพับในเรื่องประชาชนได้อะไรจากการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร   มีรายละเอียดดังนี้

6.ประชาชนได้อะไรจากการบริหารบ้านเมืองของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร

                การบริหารประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของ พันตำรวจโท ทักษิณ  ชินวัตร  ในช่วงปีแรกรัฐบาลได้วางกรอบแนวทางเศรษฐกิจทั้งฐานชาวบ้าน ฐานระดับกลาง ฐานระดับบน  รวมทั้งงานด้านของสังคม การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งประชาชนได้สัมผัสอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว
                ในปีที่สองของการบริหารประเทศ รัฐบาลได้บริหารงานเพื่อประเทศมีเสถียรภาพและคุณภาพในทุกด้านโดยเน้น “การบริหารบ้านเมือง” คือ การดำเนินที่เน้นประโยชน์ของพี่น้องประชาชน ทั้งเป็นหลักมิใช่บริหารบ้านเมืองที่มุ่งหวังผลเพียงระยะเวลาอันสั้น  ดังนั้นการบริหารบ้านเมือง รัฐบาลจึงได้รับบริหารตามกรอบนโยบายที่ให้สัญญาประชาคมไว้ และทำมากกว่าที่กำหนดไว้ตามนโยบายซึ่งพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากการทำงานดังกล่าวหลาย ๆ ด้าน

7.ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

                แนวทางการบริหารประเทศของรัฐบาลที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง  รัฐบาลได้บริหารประเทศด้วยการสร้างสมดุลระหว่างเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศด้วยการสร้างความแข็งแกร่งของฐานเศรษฐกิจระดับชาวบ้าน หรือ “รากหญ้า” ให้เขมแข็ง  โดยอาศัยเม็ดเงินที่ใช้จ่ายภายในประเทศแก้ปัญหาความยากจนด้วยการให้โอกาสและลดภาระแก่ประชาชน และสร้างผู้ประกอบการใหม่ พร้อมๆไปกับการส่งเสริมการส่งออกและแก้ปัญหาทุกมิติไปพร้อมกัน  แนวทางนี้เป็นประโยชน์ที่ยอมรับจากผู้นำและนักเศรษฐศาสตร์ของต่างประเทศว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม
                กองทุนหมู่บ้าน หนึ่งล้านบาทต่อกองทุน มีการขึ้นทะเบียน เพื่อจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 74,215 กองทุน  คิดเป็นร้อยละ 98.13 ของหมู่บ้านและชุมชน ได้รับการอนุมัติและโอนเงิน ซึ่งมีการปล่อยกู้ให้สมาชิกเพื่อนำสร้างงานสร้างรายได้ลดรายจ่ายและลดบรรเทาเหตุฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน จำนวน 5,931,564 ราย รวมเป็นเงิน 78,613,24 ล้านบาท
                จากการที่พี่น้องประชาชนเป็นหนี้นอกระบบต้องกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10-20 ต่อเดือนมาเป็นเวลานาน รัฐบาลได้มอบให้ธนาคารออมสิน ดำเนินการจัดตั้งธนาคารประชาชนเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

8.ธนาคารอิสลาม เริ่มดำเนินการแล้ว

                เป็นครั้งแรกที่ประชาชนสามารถจัดตั้งธนาคารอิสลามได้เป็นผลสำเร็จ  สำหรับพี่น้องชาวมุสลิม เพื่อระดมเงินฝาก เงินลงทุนจากชาวไทยมุสลิมในต่างประเทศ เป็นการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักศาสนาในธุรกรรมด้านการเงิน  โดยมีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท

(ต่อ)


ขออภัยครับ แก้ที่หัวข้อไม่ได้

คุณสุวิทย์ สงคราม มิใช่นักศึกษา ป.โท ตามหัวข้อ
แต่เป็น "นักวิชาการอิสระ" ซึ่งได้ศึกษาข้อมูลเหล่านี้อย่างเป็นวิชาการ
จึงกลายเป็นหนังสือประกอบการเรียนของนักศึกษาปริญญาโทในเวลาต่อมา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่