หน่วยราชการ ลงโทษข้าราชการโดยไม่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อน อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฏหมาย เมื่อข้าราชการผู้นั้น ร้องขอความเป็นธรรม หน่วยงานราชการนั้นซึ่งทำผิดกฏหมายจึงตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา กลับมีคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมา จึงเท่ากับผู้ถูกกล่าวหากลับกลายมาเป็นผู้สอบสวน ผู้เสียหาย เสียเอง
คณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ที่ตั้งขึ้นมาไม่ได้ดำเนินการพิสูจน์ว่า กระบวนการลงโทษที่หน่วยงานราชการนั้นลงโทษไปแล้ว ได้ดำเนินการไปโดยมีพยานหลักฐาน และสามารถลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อนหรือไม่
แต่กลับทำตรงกันข้าม คือปล่อยให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการผู้นั้นใหม่ โดยมีการกล่าวหาด้วยข้อหาทุจริตขึ้นมาใหม่ และไปตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาดในการทำงานที่ผ่านมา โดยดำเนินการสอบสวนไปฝ่ายเดียว และทำการรวบรวมแสวงหาพยานหลักฐานใหม่ย้อนหลัง
สุดท้ายหน่วยงานราชการนั้นได้มีคำสั่งลงโทษข้าราชการผู้นั้นใหม่ โดยลงโทษหนักกว่าเดิม
เมื่อเรื่องขึ้นสู่ศาลปกครอง กระบวนการลงโทษในครั้งแรกซึ่งเป็นที่มาของเรื่องนี้ ศาลปกครองก็ปฏิเสธที่จะทำความจริงให้ปรากฏ เหมือนกับที่หน่วยงานราชการแห่งนี้ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้มาแล้ว
แต่กระบวนการลงโทษ ที่หน่วยงานราชการแห่งนี้ ได้สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อลบล้างกระบวนการลงโทษในครั้งแรกที่ได้ทำผิดพลาดมาแล้วนั้น ศาลปกครองได้ถูกจูงให้เดินตามเส้นทางที่หน่วยงานแห่งนี้กำหนดไว้ คือรับรองกระบวนการลงโทษใหม่ ทั้งๆที่ กระบวนการลงโทษในครั้งแรกยังมีผลปรากฏอยู่ชัด
ในการกระทำอันเดียวกัน วาระเดียวกันนี้เมื่อมีการลงโทษไปแล้ว (โดยกระบวนการที่ผิดกฏหมาย) ยังจะสามารถนำเรื่องเดิม ผู้ถูกลงโทษคนเดิม มาดำเนิการใหม่แสวงหาพยานหลักฐานใหม่ สั่งลงโทษใหม่ได้อย่างไร
ที่สำคัญในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลปกครอง ใช้ความเชื่อ ความคิดเห็นส่วนตัว ตัดสินคดี มากกว่าการใช้พยานหลักฐานทางกฏหมาย
ข้าราชการผู้นี้ ได้ถูกลงโทษไปโดยกระบวนการที่ไม่ถูกต้องไปแล้ว เมื่อร้องขอความเป็นธรรม กลับถูกหน่วยงานต้นสังกัดใช้กระบวนการลงโทษใหม่มาอธิบายกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง และใช้กระบวนการใหม่มาลบล้างการกระทำที่ผิดพลาด โดยใช้ศาลปกครองการันตีความถูกต้องให้
เบื้องหลังคำพิพากษาศาลปกครองได้ทิ้งร่องรอยความไม่โปร่งใส ความไม่เป็นธรรม การกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและรัฐไว้อย่างชัดเจน
คำพิพากษาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ที่ตั้งขึ้นมาไม่ได้ดำเนินการพิสูจน์ว่า กระบวนการลงโทษที่หน่วยงานราชการนั้นลงโทษไปแล้ว ได้ดำเนินการไปโดยมีพยานหลักฐาน และสามารถลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อนหรือไม่
แต่กลับทำตรงกันข้าม คือปล่อยให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการผู้นั้นใหม่ โดยมีการกล่าวหาด้วยข้อหาทุจริตขึ้นมาใหม่ และไปตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาดในการทำงานที่ผ่านมา โดยดำเนินการสอบสวนไปฝ่ายเดียว และทำการรวบรวมแสวงหาพยานหลักฐานใหม่ย้อนหลัง
สุดท้ายหน่วยงานราชการนั้นได้มีคำสั่งลงโทษข้าราชการผู้นั้นใหม่ โดยลงโทษหนักกว่าเดิม
เมื่อเรื่องขึ้นสู่ศาลปกครอง กระบวนการลงโทษในครั้งแรกซึ่งเป็นที่มาของเรื่องนี้ ศาลปกครองก็ปฏิเสธที่จะทำความจริงให้ปรากฏ เหมือนกับที่หน่วยงานราชการแห่งนี้ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้มาแล้ว
แต่กระบวนการลงโทษ ที่หน่วยงานราชการแห่งนี้ ได้สร้างขึ้นมาใหม่ เพื่อลบล้างกระบวนการลงโทษในครั้งแรกที่ได้ทำผิดพลาดมาแล้วนั้น ศาลปกครองได้ถูกจูงให้เดินตามเส้นทางที่หน่วยงานแห่งนี้กำหนดไว้ คือรับรองกระบวนการลงโทษใหม่ ทั้งๆที่ กระบวนการลงโทษในครั้งแรกยังมีผลปรากฏอยู่ชัด
ในการกระทำอันเดียวกัน วาระเดียวกันนี้เมื่อมีการลงโทษไปแล้ว (โดยกระบวนการที่ผิดกฏหมาย) ยังจะสามารถนำเรื่องเดิม ผู้ถูกลงโทษคนเดิม มาดำเนิการใหม่แสวงหาพยานหลักฐานใหม่ สั่งลงโทษใหม่ได้อย่างไร
ที่สำคัญในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลปกครอง ใช้ความเชื่อ ความคิดเห็นส่วนตัว ตัดสินคดี มากกว่าการใช้พยานหลักฐานทางกฏหมาย
ข้าราชการผู้นี้ ได้ถูกลงโทษไปโดยกระบวนการที่ไม่ถูกต้องไปแล้ว เมื่อร้องขอความเป็นธรรม กลับถูกหน่วยงานต้นสังกัดใช้กระบวนการลงโทษใหม่มาอธิบายกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง และใช้กระบวนการใหม่มาลบล้างการกระทำที่ผิดพลาด โดยใช้ศาลปกครองการันตีความถูกต้องให้
เบื้องหลังคำพิพากษาศาลปกครองได้ทิ้งร่องรอยความไม่โปร่งใส ความไม่เป็นธรรม การกระทำที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน และการกระทำที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและรัฐไว้อย่างชัดเจน