อนึ่งธรรม ๓ ประการ คือลมออก ๑ ลมเข้า ๑ นิมิตร์ ๑ จะได้เปน
อารมณ์แห่งจิตร์อันเดียวกันหาบมิได้ ลมออกก็เปนอารมณ์แห่งจิตร์อันหนึ่ง ลมเข้า
ก็เปนอารมณ์แห่งจิตร์อันหนึ่งต่างกันดังนี้ ถ้าแลพระโยคาพจรพระองค์ใดบมิได้รู้
ซึ่งธรรมทั้ง ๓ คือลมออกก็มิได้ปรากฎ ลมเข้าก็มิได้ปรากฎแจ้ง นิมิตร์ก็มิได้ปรากฎ
แจ้ง มิได้รู้ธรรม ๓ ประการนี้แล้ว พระกรรมฐานแห่งพระโยคาพจรพระองค์นั้นก็
มิได้สำเร็จซึ่งอุปจารแลอัปนา
ต่อเมื่อใดธรรมทั้ง ๓ นี้ปรากฎแจ้ง พระกรรมฐาน
แห่งพระโยคาพจรนั้น จึงจะสำเร็จถึงซึ่งอุปจารฌานแลอัปปนาฌานในกาลนั้น ฯ
เมื่อนิมิตร์บังเกิดดังนี้แล้วให้พระโยคาพจรไปยังสำนักอาจาริย์พึงถามดูว่า ข้าแต่
พระผู้เปนเจ้า อาการดังนี้ปรากฎแก่ข้าพเจ้า ฯ พระมหาเถรสันทัดในคัมภีร์ทีฆะนิกาย
นั้น ถ้าศิษย์มาถามดังนั้น อาจาริย์อย่าพึงบอกว่านั่นและคืออุคคหะนิมิตร์แล
ปฏิภาคนิมิตร์แลจะว่าใช้นิมิตร์ก็อย่าพึงว่า พึงบอกว่าดูกรอาวุโสดังนั้นแลท่านจง
มนะสิการไปให้เนือง ๆ เถิด ครั้นอาจาริย์บอกว่าเปนอุคคหะปฏิภาคแล้วสตินั้นก็
พระวิสุทธิมัคค์ หน้า 337
จะคลายความเพียรเสีย มิได้จำเริญพระกรรมฐานสืบไป ถ้าบอกว่าดังนั้นมิใช่นิมิตร์
จิตร์พระโยคาพจรก็จะถึงซึ่งนิราศสิ้นรักใคร่ยินดีในพระกรรมฐาน เหตุดังนั้นอย่า
ให้บอกทั้ง ๒ ประการ พึงเตือนแต่ให้อุสาหะมนะสิการไปอย่าได้ละวาง ฯ ฝ่ายพระ
มหาเถรผู้กล่าวคัมภีร์มัชฌิมนิกายว่าให้อาจารย์พึงบอกว่า
ดูกรอาวุโสสิ่งนี้คืออุคคหะ
นิมิตร์สิ่งนี้คือปฏิภาคนิมิตร์บังเกิดแล้ว ท่านผู้เปนสัปรุษจงอุสาหะมนะสิการพระ
กรรมฐานไปจงเนือง ๆ เถิด ฯ แลพระโยคาพจรเปนศิษย์พึงตั้งซึ่งภาวนาจิตร์ไว้ใน
ปฏิภาคนิมิตร์นั้นจับเดิมแต่ปฏิภาคนิมิตร์บังเกิดแล้ว อันว่านิวรณธรรมทั้ง ๕ มี
กามฉันท์เปนต้นก็สงบลง
บรรดากิเลศธรรมทั้งหลายมีโลภะโทสะเปนต้น ก็รำงับ
ไป จิตร์แห่งพระโยคาพจรก็จะตั้งมั่นลงด้วยอุปจารสมาธิ แลโยคาพจรนั้นอย่าพึง
มนะสิการซึ่งนิมิตร์โดยวรรณมีสีดังปุยนุ่นเปนต้น อย่าพึงพิจารณาโดยสีอันหยาบ
แลลักษณมีความไม่เที่ยงเปนต้น พึงเว้นเสียซึ่งสิ่งอันมิได้เปนที่สบาย ๗ ประการ มี
อาวาศมิได้เปนที่สบายเปนต้น พึงเสพย์ซึ่งสบาย ๗ ประการ มีอาวาศสบายเปนต้น
แล้วพึงรักษานิมิตร์นั้นไว้ให้สถาพรเปนอันดี ประดุจนางขัติยราชมเหษี อันรักษา
ไว้ซึ่งครรภ์อันประสูตร์ออกมาได้เปนบรมจักรพัตราธิราชนั้น เมื่อรักษาได้ดังนี้แล้ว
พระกรรมฐานก็จะจำเริญแพร่หลาย แลพระโยคาพจรพึงตกแต่งซึ่งอัปนาโกสลย์ ๑๐
ประการ ประกอบความเพียรให้เสมอพยายามสืบไป
อันว่าจตุกฌาน ปัญจกฌานก็
จะบังเกิดในนิมิตร์นั้นโดยลำดับดังกล่าวแล้วในปถวีกสิณ เมื่อจตุกฌาน ปัญจกฌาน
บังเกิดแล้ว ถ้าพระโยคาพจรมีความปราถนาจะจำเริญซึ่งพระกรรมฐานด้วยสามารถ
สัลลักขณาวิธีแลวิวัฏนาวิธี จะให้ถึงซึ่งอริยผลนั้น ให้กระทำซึ่งฌานอันตน
ได้นั้น ให้ชำนาญคงแก่วะสี ๕ ประการแล้ว
จึงกำหนดซึ่งนามแลรูปคือจิตร์แลเจตสิกกับรูป ๒๘
ปลงลงสู่วิปัสสนาปัญญาพิจารณาด้วยสามารถสัมมัสสนะญาณเปน
ต้น ก็จะสำเร็จแก่พระอริยมรรคพระอริยผล มีพระโสดาเปนต้นเปนลำดับ
ตราบเท่าถึงพระอรหัตตผลเปนปริโยสาน ด้วยอำนาจจำเริญซึ่งพระอานาปานะสติ
กรรมฐานนี้ เหตุดังนี้พระโยคาพจรกุลบุตร์ผู้เปนบัณทิตยชาติ อย่าพึงประมาท
สมาธินิเทศ หน้า 338
จงหมั่นประกอบเนือง ๆ ซึ่งพระอานาปานะสติสมาธิอันกอบด้วยอานิสงส์เปนอัน
มากดังกล่าวมานี้ ฯ
วินิจฉัยในพระอานาปานะสติกรรมฐานยุติแต่เท่านี้
https://get2nirvana.wordpress.com/author/get2nirvana/
คัมภีร์พระวิสุทธิมัคค์ – วินิจฉัยในพระอานาปานสติกรรมฐาน
ภาวนาจิตร์ไว้ใน ปฏิภาคนิมิตร์นั้นจับเดิมแต่ปฏิภาคนิมิตร์บังเกิดแล้ว อันว่านิวรณธรรมทั้ง ๕ มีกามฉันท์เปนต้นก็สงบลง
อารมณ์แห่งจิตร์อันเดียวกันหาบมิได้ ลมออกก็เปนอารมณ์แห่งจิตร์อันหนึ่ง ลมเข้า
ก็เปนอารมณ์แห่งจิตร์อันหนึ่งต่างกันดังนี้ ถ้าแลพระโยคาพจรพระองค์ใดบมิได้รู้
ซึ่งธรรมทั้ง ๓ คือลมออกก็มิได้ปรากฎ ลมเข้าก็มิได้ปรากฎแจ้ง นิมิตร์ก็มิได้ปรากฎ
แจ้ง มิได้รู้ธรรม ๓ ประการนี้แล้ว พระกรรมฐานแห่งพระโยคาพจรพระองค์นั้นก็
มิได้สำเร็จซึ่งอุปจารแลอัปนา
ต่อเมื่อใดธรรมทั้ง ๓ นี้ปรากฎแจ้ง พระกรรมฐาน
แห่งพระโยคาพจรนั้น จึงจะสำเร็จถึงซึ่งอุปจารฌานแลอัปปนาฌานในกาลนั้น ฯ
เมื่อนิมิตร์บังเกิดดังนี้แล้วให้พระโยคาพจรไปยังสำนักอาจาริย์พึงถามดูว่า ข้าแต่
พระผู้เปนเจ้า อาการดังนี้ปรากฎแก่ข้าพเจ้า ฯ พระมหาเถรสันทัดในคัมภีร์ทีฆะนิกาย
นั้น ถ้าศิษย์มาถามดังนั้น อาจาริย์อย่าพึงบอกว่านั่นและคืออุคคหะนิมิตร์แล
ปฏิภาคนิมิตร์แลจะว่าใช้นิมิตร์ก็อย่าพึงว่า พึงบอกว่าดูกรอาวุโสดังนั้นแลท่านจง
มนะสิการไปให้เนือง ๆ เถิด ครั้นอาจาริย์บอกว่าเปนอุคคหะปฏิภาคแล้วสตินั้นก็
พระวิสุทธิมัคค์ หน้า 337
จะคลายความเพียรเสีย มิได้จำเริญพระกรรมฐานสืบไป ถ้าบอกว่าดังนั้นมิใช่นิมิตร์
จิตร์พระโยคาพจรก็จะถึงซึ่งนิราศสิ้นรักใคร่ยินดีในพระกรรมฐาน เหตุดังนั้นอย่า
ให้บอกทั้ง ๒ ประการ พึงเตือนแต่ให้อุสาหะมนะสิการไปอย่าได้ละวาง ฯ ฝ่ายพระ
มหาเถรผู้กล่าวคัมภีร์มัชฌิมนิกายว่าให้อาจารย์พึงบอกว่า
ดูกรอาวุโสสิ่งนี้คืออุคคหะ
นิมิตร์สิ่งนี้คือปฏิภาคนิมิตร์บังเกิดแล้ว ท่านผู้เปนสัปรุษจงอุสาหะมนะสิการพระ
กรรมฐานไปจงเนือง ๆ เถิด ฯ แลพระโยคาพจรเปนศิษย์พึงตั้งซึ่งภาวนาจิตร์ไว้ใน
ปฏิภาคนิมิตร์นั้นจับเดิมแต่ปฏิภาคนิมิตร์บังเกิดแล้ว อันว่านิวรณธรรมทั้ง ๕ มี
กามฉันท์เปนต้นก็สงบลง
บรรดากิเลศธรรมทั้งหลายมีโลภะโทสะเปนต้น ก็รำงับ
ไป จิตร์แห่งพระโยคาพจรก็จะตั้งมั่นลงด้วยอุปจารสมาธิ แลโยคาพจรนั้นอย่าพึง
มนะสิการซึ่งนิมิตร์โดยวรรณมีสีดังปุยนุ่นเปนต้น อย่าพึงพิจารณาโดยสีอันหยาบ
แลลักษณมีความไม่เที่ยงเปนต้น พึงเว้นเสียซึ่งสิ่งอันมิได้เปนที่สบาย ๗ ประการ มี
อาวาศมิได้เปนที่สบายเปนต้น พึงเสพย์ซึ่งสบาย ๗ ประการ มีอาวาศสบายเปนต้น
แล้วพึงรักษานิมิตร์นั้นไว้ให้สถาพรเปนอันดี ประดุจนางขัติยราชมเหษี อันรักษา
ไว้ซึ่งครรภ์อันประสูตร์ออกมาได้เปนบรมจักรพัตราธิราชนั้น เมื่อรักษาได้ดังนี้แล้ว
พระกรรมฐานก็จะจำเริญแพร่หลาย แลพระโยคาพจรพึงตกแต่งซึ่งอัปนาโกสลย์ ๑๐
ประการ ประกอบความเพียรให้เสมอพยายามสืบไป
อันว่าจตุกฌาน ปัญจกฌานก็
จะบังเกิดในนิมิตร์นั้นโดยลำดับดังกล่าวแล้วในปถวีกสิณ เมื่อจตุกฌาน ปัญจกฌาน
บังเกิดแล้ว ถ้าพระโยคาพจรมีความปราถนาจะจำเริญซึ่งพระกรรมฐานด้วยสามารถ
สัลลักขณาวิธีแลวิวัฏนาวิธี จะให้ถึงซึ่งอริยผลนั้น ให้กระทำซึ่งฌานอันตน
ได้นั้น ให้ชำนาญคงแก่วะสี ๕ ประการแล้ว
จึงกำหนดซึ่งนามแลรูปคือจิตร์แลเจตสิกกับรูป ๒๘
ปลงลงสู่วิปัสสนาปัญญาพิจารณาด้วยสามารถสัมมัสสนะญาณเปน
ต้น ก็จะสำเร็จแก่พระอริยมรรคพระอริยผล มีพระโสดาเปนต้นเปนลำดับ
ตราบเท่าถึงพระอรหัตตผลเปนปริโยสาน ด้วยอำนาจจำเริญซึ่งพระอานาปานะสติ
กรรมฐานนี้ เหตุดังนี้พระโยคาพจรกุลบุตร์ผู้เปนบัณทิตยชาติ อย่าพึงประมาท
สมาธินิเทศ หน้า 338
จงหมั่นประกอบเนือง ๆ ซึ่งพระอานาปานะสติสมาธิอันกอบด้วยอานิสงส์เปนอัน
มากดังกล่าวมานี้ ฯ
วินิจฉัยในพระอานาปานะสติกรรมฐานยุติแต่เท่านี้
https://get2nirvana.wordpress.com/author/get2nirvana/
คัมภีร์พระวิสุทธิมัคค์ – วินิจฉัยในพระอานาปานสติกรรมฐาน