เมื่อพูดถึงพระไตรปิฎก เพื่อนๆคิดถึงอะไรครับ
ของขลังที่อยู่ในตู้เก่าๆ อะไรบางอย่างที่เอาไว้โชว์ ...
เมื่อก่อนตอนไปวัด เห็นพระไตรปิฎกอยู่ในตู้ ไม่เคยนึกอยากหยิบมาอ่านเลย
แม้พระภิกษุเอง ผมก็ไม่ค่อยเห็นอ่านกัน ญาติโยมที่ไปวัดยิ่งแล้วใหญ่
พระไตรปิฎกจึงถูกเก็บไว้เฉยๆ และก็ผุพังไปตามกาลเวลา .... น่าเสียดาย
แต่หนังสือฝรั่ง กลับขายดีครับ .... คนไทยเห่อของนอก 5555
มีคนกล่าวว่า
พระไตรปิฎกเปรียบเสมือนภูเขาทองที่กองอยู่อย่างเปิดเผย แต่ไม่ค่อยมีใครเหลียวแล
ผมว่า จริงนะ
เพราะหลังจากที่ผมได้ไปวัด ฟังพระเทศน์มากเข้า
พระยกเอาพระสูตรนั้นพระสูตรนี้มาเล่าให้ฟัง น่าสนใจครับ จึงลองเอาพระไตรปิฎกมาอ่านดู
ผมถึงกับ อึ้ง ครับ อ่านไปอ่านมา โห ความรู้ในพระไตรปิฎกกว้างขวางและลึกซึ้งมากครับ
ผมไม่ได้เชี่ยวชาญนะครับ
เพียงแต่ชอบอ่านและพยายามเอาความรู้ต่างๆมาเปรียบเทียบและเชื่อมโยงกัน
จะยกตัวอย่างเรื่อง “การแพทย์ในพระไตรปิฎก” ครับ
เพื่อนๆครับ รู้ไหม การดีท็อกซ์ (Detox) มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วครับ
ดีท็อกซ์ (Detox) มาจากคำว่า ดีท็อกซิฟิเคชั่น (Detoxification)
หมายถึง การกำจัด “ท็อกซิน” หรือพิษออกจากร่างกาย
การที่เรารับประทานอาหารไม่ถูกหลักอนามัยเป็นระยะเวลานาน ๆ
จะทำให้สารพิษสะสมอยู่ในร่างกายจึงจำเป็นต้องขับออก
มีบันทึกไว้ว่า สมัยพุทธกาลทายกทายิกาในพระนครเวสาลีจัดปรุงอาหารประณีตขึ้นตามลำดับ
ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารนั้นแล้ว มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก จึงมีอาพาธมาก
หมอชีวกโกมารภัจจ์เห็นภิกษุมีอาพาธมาก จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
กราบทูลว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก ทำให้มีอาพาธมาก
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้โปรดทรงอนุญาต “ที่จงกรม” และ “เรือนไฟ” เถิด
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลายจักมีอาพาธน้อย
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ”
การจงกรมถือเป็นการออกกำลังกายวิธีหนึ่ง เพราะต้องเดินกลับไปกลับมาหลายรอบ
ทำให้ร่างกายได้ออกกำลังเป็นเหตุให้เหงื่อออก พิษต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในร่างกายก็จะถูกขับออกด้วยเหงื่อนั้น
เรือนไฟ หมายถึง โรงเรือนสำหรับอบร่างกายของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล
การอบร่างกายก็เป็นการขับพิษอีกวิธีหนึ่ง เพราะการอบจะทำให้เหงื่อออกมาก
พิษในร่างกายก็จะถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ
เรือนไฟที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เป็นอาคาร มีฝาผนังโดยรอบ
มีประตูเข้าออก 1 ประตู ภายในเรือนไฟมี “เตาไฟ” สำหรับจุดไฟเพื่ออบร่างกาย
ถ้าเรือนมีขนาดใหญ่จะตั้งเตาไฟไว้ตรงกลาง
ถ้าเรือนไฟมีขนาดเล็กจะตั้งเตาไฟไว้ข้างใดข้างหนึ่ง
และมีปล่องควันอยู่บนหลังคาเพื่อระบายควันออก
ภายในเรือนไฟยังมี “อ่างน้ำ” หรือ “รางน้ำ” เพื่อให้ความชุ่มเย็น
ช่วยลดความร้อนจากเตาไฟ ในบริเวณรอบ ๆ เตาไฟก็จะมี “ตั่ง” สำหรับให้พระภิกษุนั่งเพื่ออบร่างกาย
ในบริเวณใกล้เรือนไฟพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังอนุญาตให้สร้าง “ศาลาเรือนไฟ” “บ่อน้ำ” และ “สระน้ำ” ไว้ด้วย
สำหรับให้พระภิกษุปฏิบัติกิจหลังจากออกจากเรือนไฟแล้ว เช่น ซักจีวร ตากจีวรและสรงน้ำ เป็นต้น
โดยสระน้ำนั้นจะเป็นที่สำหรับให้พระภิกษุลงอาบชำระล้างร่างกายหลังจากออกจากเรือนไฟ
เรือนไฟ คืออะไรครับ เมื่อเปรียบเทียบกับยุคนี้ 5555
ซาวน่า (Sauna) ไงครับ
ซาวน่า (Sauna) แปลว่า “การอบไอน้ำ” เป็นวิธีล้างพิษที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นวิธีชักนำให้ร่างกายขับเหงื่อโดยใช้ความร้อน ตามด้วยการอาบน้ำหรือแช่ร่างกายด้วยน้ำเย็น
การทำซาวน่าจะช่วยล้างพิษที่อยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของร่างกายได้อย่างสะอาด
ซาวน่า (Sauna) ก็เป็นการดีท็อกซ์ (Detox) คือ "ขับพิษ" ออกทางเหงื่อครับ
ส่วน ดีท็อกซ์ (Detox) อีกวิธีที่นิยมกันคือ ล้างลำไส้ด้วยการสวนกาแฟ เพื่อกระตุ้นให้ขับถ่าย ครับ
ใครเคยทำยกมือขึ้น 5555
ในสมัยพุทธกาล ก็มีครับ แต่เจ๋งกว่ามาก ไม่ต้องใช้กาแฟ แต่ใช้ “ก้านบัวอบด้วยยา” ครับ
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกับพระอานนท์ว่า กายของตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ ตถาคตต้องการจะฉันยาถ่าย
พระอานนท์จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์
หมอชีวกคิดว่า การที่เราจะพึงทูลถวายพระโอสถถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่สมควรเลย
เราควรอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต
ท่านจึงอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วนำไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งกราบทูลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสูดก้านอุบล 1 ก้าน จะทำให้พระองค์ถ่ายถึง 10 ครั้ง
เมื่อทรงสูดก้านอุบลครบทั้ง 3 ก้าน ก็จะทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง
เมื่อท่านถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเสร็จแล้ว
ขณะเดินกลับไปถึงนอกซุ้มประตูท่านนึกขึ้นได้ว่า
พระกายของพระตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ จะทรงถ่ายไม่ครบ 30 ครั้ง
แต่เมื่อทรงถ่ายครั้งที่ 29 แล้ว ได้สรงพระกาย ก็จะทรงถ่ายอีกครั้งหนึ่งจึงจะครบ 30 ครั้ง
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดนั้นของชีวกโกมารภัจจ์
พระองค์จึงทรงปฏิบัติตามนั้น จึงถ่ายครบ 30 ครั้ง
เมื่อทรงถ่ายครบแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลว่า ช่วงนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ควรเสวย
พระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่าง ๆ จนกว่าจะมีพระกายเป็นปกติ
ต่อมาไม่นานพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หายเป็นปกติ
วิธีการของตาหมอชีวกนั้นนะ ดีท็อกซ์ ชัดๆครับ
แต่ต้องค้นต่อว่า ยาที่เอามาอบด้วยก้านบัว ประกอบด้วยอะไรบ้าง ถ้าเพื่อนๆมีข้อมูล เอามาแชร์หน่อยนะครับ 5555
การแพทย์ในพระไตรปิฎก ยังไม่จบเท่านี้นะครับ โปรดติดตามภาค 2 ครับ อิอิ
พระไตรปิฎกมีอะไรมากกว่าที่คิด ตอน 1
เมื่อพูดถึงพระไตรปิฎก เพื่อนๆคิดถึงอะไรครับ
ของขลังที่อยู่ในตู้เก่าๆ อะไรบางอย่างที่เอาไว้โชว์ ...
เมื่อก่อนตอนไปวัด เห็นพระไตรปิฎกอยู่ในตู้ ไม่เคยนึกอยากหยิบมาอ่านเลย
แม้พระภิกษุเอง ผมก็ไม่ค่อยเห็นอ่านกัน ญาติโยมที่ไปวัดยิ่งแล้วใหญ่
พระไตรปิฎกจึงถูกเก็บไว้เฉยๆ และก็ผุพังไปตามกาลเวลา .... น่าเสียดาย
แต่หนังสือฝรั่ง กลับขายดีครับ .... คนไทยเห่อของนอก 5555
มีคนกล่าวว่า พระไตรปิฎกเปรียบเสมือนภูเขาทองที่กองอยู่อย่างเปิดเผย แต่ไม่ค่อยมีใครเหลียวแล
ผมว่า จริงนะ
เพราะหลังจากที่ผมได้ไปวัด ฟังพระเทศน์มากเข้า
พระยกเอาพระสูตรนั้นพระสูตรนี้มาเล่าให้ฟัง น่าสนใจครับ จึงลองเอาพระไตรปิฎกมาอ่านดู
ผมถึงกับ อึ้ง ครับ อ่านไปอ่านมา โห ความรู้ในพระไตรปิฎกกว้างขวางและลึกซึ้งมากครับ
ผมไม่ได้เชี่ยวชาญนะครับ
เพียงแต่ชอบอ่านและพยายามเอาความรู้ต่างๆมาเปรียบเทียบและเชื่อมโยงกัน
จะยกตัวอย่างเรื่อง “การแพทย์ในพระไตรปิฎก” ครับ
เพื่อนๆครับ รู้ไหม การดีท็อกซ์ (Detox) มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วครับ
ดีท็อกซ์ (Detox) มาจากคำว่า ดีท็อกซิฟิเคชั่น (Detoxification)
หมายถึง การกำจัด “ท็อกซิน” หรือพิษออกจากร่างกาย
การที่เรารับประทานอาหารไม่ถูกหลักอนามัยเป็นระยะเวลานาน ๆ
จะทำให้สารพิษสะสมอยู่ในร่างกายจึงจำเป็นต้องขับออก
มีบันทึกไว้ว่า สมัยพุทธกาลทายกทายิกาในพระนครเวสาลีจัดปรุงอาหารประณีตขึ้นตามลำดับ
ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารนั้นแล้ว มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก จึงมีอาพาธมาก
หมอชีวกโกมารภัจจ์เห็นภิกษุมีอาพาธมาก จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
กราบทูลว่า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย มีโทษสั่งสมในร่างกายมาก ทำให้มีอาพาธมาก
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้โปรดทรงอนุญาต “ที่จงกรม” และ “เรือนไฟ” เถิด
เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลายจักมีอาพาธน้อย
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย “เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ”
การจงกรมถือเป็นการออกกำลังกายวิธีหนึ่ง เพราะต้องเดินกลับไปกลับมาหลายรอบ
ทำให้ร่างกายได้ออกกำลังเป็นเหตุให้เหงื่อออก พิษต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในร่างกายก็จะถูกขับออกด้วยเหงื่อนั้น
เรือนไฟ หมายถึง โรงเรือนสำหรับอบร่างกายของพระภิกษุในสมัยพุทธกาล
การอบร่างกายก็เป็นการขับพิษอีกวิธีหนึ่ง เพราะการอบจะทำให้เหงื่อออกมาก
พิษในร่างกายก็จะถูกขับออกมาพร้อมกับเหงื่อ
เรือนไฟที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เป็นอาคาร มีฝาผนังโดยรอบ
มีประตูเข้าออก 1 ประตู ภายในเรือนไฟมี “เตาไฟ” สำหรับจุดไฟเพื่ออบร่างกาย
ถ้าเรือนมีขนาดใหญ่จะตั้งเตาไฟไว้ตรงกลาง
ถ้าเรือนไฟมีขนาดเล็กจะตั้งเตาไฟไว้ข้างใดข้างหนึ่ง
และมีปล่องควันอยู่บนหลังคาเพื่อระบายควันออก
ภายในเรือนไฟยังมี “อ่างน้ำ” หรือ “รางน้ำ” เพื่อให้ความชุ่มเย็น
ช่วยลดความร้อนจากเตาไฟ ในบริเวณรอบ ๆ เตาไฟก็จะมี “ตั่ง” สำหรับให้พระภิกษุนั่งเพื่ออบร่างกาย
ในบริเวณใกล้เรือนไฟพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังอนุญาตให้สร้าง “ศาลาเรือนไฟ” “บ่อน้ำ” และ “สระน้ำ” ไว้ด้วย
สำหรับให้พระภิกษุปฏิบัติกิจหลังจากออกจากเรือนไฟแล้ว เช่น ซักจีวร ตากจีวรและสรงน้ำ เป็นต้น
โดยสระน้ำนั้นจะเป็นที่สำหรับให้พระภิกษุลงอาบชำระล้างร่างกายหลังจากออกจากเรือนไฟ
เรือนไฟ คืออะไรครับ เมื่อเปรียบเทียบกับยุคนี้ 5555
ซาวน่า (Sauna) ไงครับ
ซาวน่า (Sauna) แปลว่า “การอบไอน้ำ” เป็นวิธีล้างพิษที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นวิธีชักนำให้ร่างกายขับเหงื่อโดยใช้ความร้อน ตามด้วยการอาบน้ำหรือแช่ร่างกายด้วยน้ำเย็น
การทำซาวน่าจะช่วยล้างพิษที่อยู่ในส่วนที่ลึกที่สุดของร่างกายได้อย่างสะอาด
ซาวน่า (Sauna) ก็เป็นการดีท็อกซ์ (Detox) คือ "ขับพิษ" ออกทางเหงื่อครับ
ส่วน ดีท็อกซ์ (Detox) อีกวิธีที่นิยมกันคือ ล้างลำไส้ด้วยการสวนกาแฟ เพื่อกระตุ้นให้ขับถ่าย ครับ
ใครเคยทำยกมือขึ้น 5555
ในสมัยพุทธกาล ก็มีครับ แต่เจ๋งกว่ามาก ไม่ต้องใช้กาแฟ แต่ใช้ “ก้านบัวอบด้วยยา” ครับ
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกับพระอานนท์ว่า กายของตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ ตถาคตต้องการจะฉันยาถ่าย
พระอานนท์จึงแจ้งเรื่องนั้นแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์
หมอชีวกคิดว่า การที่เราจะพึงทูลถวายพระโอสถถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่สมควรเลย
เราควรอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต
ท่านจึงอบก้านอุบล 3 ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วนำไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมทั้งกราบทูลว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสูดก้านอุบล 1 ก้าน จะทำให้พระองค์ถ่ายถึง 10 ครั้ง
เมื่อทรงสูดก้านอุบลครบทั้ง 3 ก้าน ก็จะทรงถ่ายถึง 30 ครั้ง
เมื่อท่านถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเสร็จแล้ว
ขณะเดินกลับไปถึงนอกซุ้มประตูท่านนึกขึ้นได้ว่า
พระกายของพระตถาคตหมักหมมไปด้วยโทษ จะทรงถ่ายไม่ครบ 30 ครั้ง
แต่เมื่อทรงถ่ายครั้งที่ 29 แล้ว ได้สรงพระกาย ก็จะทรงถ่ายอีกครั้งหนึ่งจึงจะครบ 30 ครั้ง
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดนั้นของชีวกโกมารภัจจ์
พระองค์จึงทรงปฏิบัติตามนั้น จึงถ่ายครบ 30 ครั้ง
เมื่อทรงถ่ายครบแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์ได้กราบทูลว่า ช่วงนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ควรเสวย
พระกระยาหารที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่าง ๆ จนกว่าจะมีพระกายเป็นปกติ
ต่อมาไม่นานพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หายเป็นปกติ
วิธีการของตาหมอชีวกนั้นนะ ดีท็อกซ์ ชัดๆครับ
แต่ต้องค้นต่อว่า ยาที่เอามาอบด้วยก้านบัว ประกอบด้วยอะไรบ้าง ถ้าเพื่อนๆมีข้อมูล เอามาแชร์หน่อยนะครับ 5555
การแพทย์ในพระไตรปิฎก ยังไม่จบเท่านี้นะครับ โปรดติดตามภาค 2 ครับ อิอิ