กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก ประเทศล่มสลายเพราะทำร้ายผู้มีศีล

กระทู้สนทนา
ในพระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงความล่มสลายของประเทศหนึ่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความไม่รู้ และหลงผิดของคนเพียงคนเดียว ที่ดูหมิ่นทำร้ายผู้มีศีล และขยายความคิดนี้ ไปสู่สังคม จนนำความหายนะมาสู่ประเทศ เพียงเพราะปาก

          พระมหาโมคลานเถระ ด้วยความที่ท่านเป็นเลิศด้านฤทธิ์ ท่านมักเที่ยวไปยังสวรรค์บ้าง นรกบ้าง เห็นทิพย์สมบัติของเหล่าอดีตอุบาสกอุบาสิกาผู้ทำความดี เห็นความทุกข์ของสัตว์นรกอดีตสาวก ของพวกเดียรถีร์ จึงนำมาเล่าให้มนุษย์ทั้งหลายฟัง  มนุษย์ทั้งหลายจึงพากันเลื่อมใจในพระศาสนา ทำให้พวกเดียรถีย์ผูกพยาบาท และวางแผนฆ่าพระเถระ แม้ท่านจะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก แต่เพราะวิบากกรรมเก่าตามมาทัน ทำได้ถูกโจรจับได้และทำร้ายจนร่างกายแหลกละเอียด เมื่อโจรไปแล้ว พระเถระจึงใช้ฤทธิ์รวมร่างขึ้นมาใหม่ และไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อทูลลาเข้าพระนิพพาน พระพุทธองค์ปรารภ เหตุนี้ จึงเล่าเรื่องสรภังคชาดก

            กาลครั้งหนึ่งในอดีตชาติ ของพระมหาโมคลานะ  ชื่อว่ากีสวัสฉาดาบส เป็นหนึ่งในเจ็ดดาบสอาวุโส ผู้บวชในสำนักของพระโพธิสัตว์สรภังคดาบส  ที่อาศัยอยู่ในราชอุทยาน ในกุมภวตีนคร ของพระเจ้าทัณฑกีราช  วันหนึ่งมีหญิงขายบริการชั้นสูงในเมือง ผ่านมาพบท่าน  นางเพิ่งถูกพระราชาปลดออกจากตำแหน่ง เมื่อเห็นท่านแล้วก็หงุดหงิด คิดว่าที่ซวยอย่างนี้เป็นเพราะมาเจอตัวกาลกิณี จึงถ่มน้ำลายใส่พระดาบส เผอิญวันนั้นพระราชาเกิดคิดถึงและคืนตำแหน่งให้ จึงทำให้นางหลงเข้าใจว่า ถ่มน้ำลายใส่พระดาบสแล้วจะโชคดี  ต่อมาปุโรหิตถูกปลดออกจากตำแหน่งมาถามว่าทำอย่างไร พระราชาจึงคืนตำแหน่งให้ นางก็ตอบว่า ถ่มน้ำลายใส่พระดาบสสิ เผอิญอีกเช่นกัน ปุโรหิตได้ตำแหน่งคืนจริง ๆ ถึง คราวพระราชาจะต้องยกกองทัพไปปราบโจร  จึงปรึกษาปุโรหิตหรืออาจารย์ที่ปรึกษา ปุโรหิตจึงแนะนำว่า  ให้ไปถ่มนำลายใส่พระดาบสแล้วจะโชคดี พระราชาก็เชื่อ ถ่มน้ำลายคนแรก แล้วทหารข้าราชบริพาร เห็นพระราชาทำก็ทำตามกันทั้งหมด
  
             พระดาบสไม่ได้มีใจคิดร้ายในคนทั้งหลายที่ล่วงเกินท่านเลย  แต่ด้วยวิบากกรรมนี้ บวกกับฤทธิ์ของเทวดา หลังจากเหตุการณ์นั้น 7 วัน เทวดาได้บัลดาลให้เกิดฝนตกลงมาชำระล้างเมืองให้ สะอาดก่อน จากนั้นเป็นฝนดอกไม้ทิพย์ ฝนเงิน ฝนทอง เครื่องประดับรัตนชาติ ชาวเมืองต่างยินดี รีบออกมาเก็บ ของมีค่าเหล่ากันทุกคน ทันใดนั้นก็เกิดฝนอาวุธ ตกลงมาประหาร ฝนลูกไฟ ฝนอุกาบาต ทำลายเมืองพื้นที่ 60 โยชน์ จนพินาศล่มสลาย

             จบแล้วครับ นิทานชาดก  ใจของตัวเรามีผลทั้งต่อคนอื่น และสิ่งแวดล้อมได้ (เคยรู้สึกถึงบรรยากาศมาคุมั้ยครับ)  ภัยธรรมชาติทั้งหลาย ก็ล้วนมาจาก สภาพใจ และวิบากกรรม ของคนในสั่งคมนั้นรวมกันดึงดูดมา  พอผมอ่านแล้วผมก็นึกถึง สังคมไทยในปัจจุบัน ตอนนี่ด่าพระกำลังจะกลายเป็น เรื่องธรรมดา  กลายเป็นความเท่ห์ว่าใคร ๆ เขาก็ด่ากัน ด้วยเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่า ไม่บาปหรอก นั่นไม่ใช่พระ ทั้งๆ ที่ก็ไม่รู้จริง ๆ ด้วยซ้ำว่าท่านผิดอะไร จริงหรือเปล่า เรามีคุณธรรมและความรู้มากพอที่จะตัดสินหรือไม่  เราคิดจริง ๆ หรือว่าการด่าว่าจะสร้างสรรค์ พระพุทธศาสนา หรือสังคมให้ดีขึ้นได้ จะไปตัดสินว่าคนนั้นชั่ว คนนี้เลวได้อย่างนั้นหรือ  จึงยกเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ว่า หากกระแสสังคมติด เข้า ใจผิดว่าการด่าว่าพระเป็นเรื่องดีเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเราคงได้เห็นเมืองไทยล่มสลายด้วยตาตนเองกันจริงๆครับ

   พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๖๑ สุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๗ ข้อ 2446 น.578 (คราวนี้มันเยอะมากครับเลยก็อปมาให้ดูไม่ไหว แม้ไหวก็กลัวจะไม่อ่านเพราะเยอะเกิน)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่