แต่ภพก่อน ๆ
ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน,
ได้เป็นผู้ละเว้นการพูดเพ้อเจ้อ, เป็นผู้กล่าวควรแก่เวลา กล่าวคำจริงกล่าวเป็นธรรม
กล่าวมีอรรถ กล่าวมีเหตุผล กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด
ประกอบด้วยประโยชน์ฯ. ...ได้เป็นผู้ละมิจฉาชีพ, มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการ
ฉ้อโกง การหลอกลวงคดโกงด้วยเครื่องชั่ง เครื่องตวง เครื่องวัด, เว้นจากการตัด
การฆ่า การผูกมัด การมุ่งร้าย การปล้น การกรรโชก, ฯลฯ.
เคยทรงบังเกิดเป็นมหาพรหม สักกะ ฯลฯ ๑
ภิกษุ ท. ! แต่ชาติที่แล้วมาแต่อดีต ตถาคตได้เคยเจริญเมตตาภาวนาตลอด ๗ ปี
จึงไม่เคยมาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และวิวัฏฏกัปป์.
ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฏฏกัปป์นั้น เราได้บังเกิดในอาภัสสรพรหม.
ในระหว่างกาลอันเป็นวิวัฏฏกัปป์นั้น เราก็ได้อยู่พรหมวิมานอันว่างเปล่าแล้ว.
ภิกษุ ท. ! ในกัปป์นั้น เราได้เคยเป็นพรหม ได้เคยเป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่
ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด.
ภิกษุ ท. ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง.
เราได้เคยเป็นราชาจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นพระราชาโดยธรรม
มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะแล้วอย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์
ประกอบด้วยแก้วเจ็ดประการ นับด้วยร้อย ๆ ครั้ง, ทำไมจะต้องกล่าวถึง
ความเป็นราชาตามธรรมดาด้วย.
ภิกษุ ท. ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ
ที่ทำให้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครั้งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล
ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้, วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง
ในครั้งนั้น คือ ผลวิบากแห่ง ทาน (การสละออก...) ๑, แห่ง ทมะ
(การรูจักบังคับใจ ความรักการฝึกฝนตนเองแต่ในสิ่งที่เป็นกุศล...)
๑, แห่ง สัญญมะ (การยับยั้งชั่งใจสำรวมระวังจากสิ่งที่เป็นอกุศล...) ๑, ดังนี้.
- ๑. บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐.
ว่าด้วย ทิฏฐานุคติแห่งความดี
ภิกษุ ท. ! เมื่อตถาคตเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ในภพก่อน ในที่อยู่อาศัยก่อน,
ได้เป็นผู้ละเว้นการพูดเพ้อเจ้อ, เป็นผู้กล่าวควรแก่เวลา กล่าวคำจริงกล่าวเป็นธรรม
กล่าวมีอรรถ กล่าวมีเหตุผล กล่าวมีที่ตั้ง มีหลักฐาน มีที่สุด
ประกอบด้วยประโยชน์ฯ. ...ได้เป็นผู้ละมิจฉาชีพ, มีการเลี้ยงชีพชอบ เว้นจากการ
ฉ้อโกง การหลอกลวงคดโกงด้วยเครื่องชั่ง เครื่องตวง เครื่องวัด, เว้นจากการตัด
การฆ่า การผูกมัด การมุ่งร้าย การปล้น การกรรโชก, ฯลฯ.
เคยทรงบังเกิดเป็นมหาพรหม สักกะ ฯลฯ ๑
ภิกษุ ท. ! แต่ชาติที่แล้วมาแต่อดีต ตถาคตได้เคยเจริญเมตตาภาวนาตลอด ๗ ปี
จึงไม่เคยมาบังเกิดในโลกมนุษย์นี้ ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปป์ และวิวัฏฏกัปป์.
ในระหว่างกาลอันเป็นสังวัฏฏกัปป์นั้น เราได้บังเกิดในอาภัสสรพรหม.
ในระหว่างกาลอันเป็นวิวัฏฏกัปป์นั้น เราก็ได้อยู่พรหมวิมานอันว่างเปล่าแล้ว.
ภิกษุ ท. ! ในกัปป์นั้น เราได้เคยเป็นพรหม ได้เคยเป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่
ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาด เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด.
ภิกษุ ท. ! เราได้เคยเป็นสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทวดา นับได้ ๓๖ ครั้ง.
เราได้เคยเป็นราชาจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นพระราชาโดยธรรม
มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด เป็นผู้ชนะแล้วอย่างดี มีชนบทอันบริบูรณ์
ประกอบด้วยแก้วเจ็ดประการ นับด้วยร้อย ๆ ครั้ง, ทำไมจะต้องกล่าวถึง
ความเป็นราชาตามธรรมดาด้วย.
ภิกษุ ท. ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอ
ที่ทำให้เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้ ในครั้งนั้น ๆ.
ภิกษุ ท. ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล
ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มากถึงอย่างนี้ มีอานุภาพมากถึงอย่างนี้, วิบากแห่งกรรม ๓ อย่าง
ในครั้งนั้น คือ ผลวิบากแห่ง ทาน (การสละออก...) ๑, แห่ง ทมะ
(การรูจักบังคับใจ ความรักการฝึกฝนตนเองแต่ในสิ่งที่เป็นกุศล...)
๑, แห่ง สัญญมะ (การยับยั้งชั่งใจสำรวมระวังจากสิ่งที่เป็นอกุศล...) ๑, ดังนี้.
- ๑. บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐.