[พระไตรปิฏก] ว่าด้วย สัสสตทิฐิ ๔

สัสสตทิฐิ ๔
เห็นว่าอัตตาและโลกเที่ยง


  สัสสตทิฏฐิ เป็นไฉน?
             ความเห็นว่า ตนและโลกเที่ยง ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ การถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์


มูลเหตุ ๔ อย่าง ที่ทำให้เห็นว่าอัตตา(ตน)และโลกเที่ยง

   ภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา๓
และโลกว่าเที่ยงด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นอาศัยอะไร
ปรารภอะไรจึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงด้วยมูลเหตุ ๔ อย่าง

มูลเหตุที่ ๑
   สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ
ความไม่ประมาท และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิ๑ ที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น
(บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง) ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ชาติบ้าง
๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง  ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง
หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่า

   ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติ(เคลื่อน)จากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสา
ระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่'

มูลเหตุที่ ๒
  อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไรจึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง  
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความเพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท
และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
๑ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป๑ บ้าง ๒ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๓ สังวัฏฏกัป และวิวัฏฏกัปบ้าง
๔ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๕ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง   ๑๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า

   ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติ(เคลื่อน)จากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสา
ระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่'

**สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม, ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ
** วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ,  ช่วงระยะเวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่


มูลเหตุที่ ๓
   อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไร  จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความ  เพียรที่ตั้งมั่น ความหมั่นประกอบ ความไม่ประมาท
และอาศัยการใช้ความคิดอย่างถูกวิธีแล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เป็นเหตุทำจิตให้ตั้งมั่น ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
๑๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ๒๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง
๓๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง  ๔๐ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปบ้าง ว่า

   ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น
มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติ(เคลื่อน)จากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้น ๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้’
เขาระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ เพราะการได้บรรลุคุณวิเศษนี้
เขาจึงพูดอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสา
ระเนียด  ส่วนสัตว์เหล่านั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่'

มูลเหตุที่ ๔
  อนึ่ง ในมูลเหตุที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไรปรารภอะไร  จึงมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้เป็นนักตรรกะ๑ เป็นนักอภิปรัชญา๒ แสดงทรรศนะของตน
ตามหลักเหตุผลและการคาดคะเนความจริงอย่างนี้ว่า ‘อัตตาและโลกเที่ยง ยั่งยืน ตั้งมั่นอยู่ดุจยอดภูเขาดุจเสา
ระเนียด   สัตว์เหล่านั้นย่อม แล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติและเกิด แต่มีสิ่งที่เที่ยงอยู่แน่’


     ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีวาทะว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
ด้วยมูลเหตุ ๔ อย่างนี้แลก็สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวกมี  วาทะว่าเที่ยง
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้
หรือด้วย มูลเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่างนี้ ไม่พ้นไปจากนี้

    ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า มูลเหตุแห่งทิฏฐิเหล่านี้ที่บุคคลยึดถืออย่างนี้แล้ว
ย่อมมีคติและภพหน้าอย่างนั้น ๆ   ตถาคตรู้มูลเหตุนั้นชัด และยังรู้ชัดยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก
จึงไม่ยึดมั่นเมื่อไม่ยึดมั่นจึงรู้ความดับด้วยตนเองรู้ความเกิดความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เครื่องสลัดเวทนาออกตามความเป็นจริง ตถาคตจึงหลุดพ้น  เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น
    

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย
สีลขันธวรรค [๑.พรหมชาลสูตร]




ขอความกรุณา
**ห้ามทะเลาะขัดแย้ง หรือ วิพากษ์วิจารณ์ในความเห็นของสมาชิกท่านอื่นแง่ลบ แต่สามารถออกความเห็นที่แตกต่างได้
   ห้ามไม่ใช้คำส่อเสียดประกอบความเห็น หรือ มีการโต้เถียงไปมาเกินความจำเป็น  

**งดเว้นการพูดถึงการปฏิบัติธรรมของ สาย ธรรมกาย,สันติอโศก
จขกทขออนุญาต ลบคอมเม้นที่มีพฤติกรรมดังกล่าว
เพื่อไม่ให้ขัดกับเจตนา ที่จขกท ตั้งกระทู้ เพื่อให้ทุกท่าน ได้พิจารณาธรรมค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่