" สัตว์ "ตอนที่ 33 :ทิฏฐิ62..เห็นสัตว์ในอตีต.. ปุพพันตกัปปิกาทิฏฐิ ๑๘ =>สัสสตทิฏฐิ ๔..แบบที่ 3

กระทู้สนทนา


https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=9&item=26&items=25&preline=1

 [๒๙] ๓. อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร 
จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตา..และ..โลก...ว่าเที่ยง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส 
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ 
แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ 
คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
     - สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง
     - ยี่สิบบ้าง
     - สามสิบบ้าง
     - สี่สิบบ้าง

ว่าในกัปโน้น..เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น 
ได้เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น 

ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้น  เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น 
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น 

ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ 
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ

ฉะนี้ เขาจึงกล่าวอย่างนี้ว่า 

อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด
ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด...แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ 

ข้อนั้นเพราะเหตุไร 
เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสอาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น 
อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ 
อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ 
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิกัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง 
ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้นมีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ 
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น 
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ 

ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการ

ที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด 
ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ 

ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เป็นฐานะที่ ๓ 
ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง

 " ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ".



สรุป...  คล้ายกับแบบแรก..และ..แบบที่2... การบัญญติผิดเหมือนกัน... ต่างตรงที่ระลึกชาติได้มากกว่า
           เป็นหลัก...สิบๆสังวัฏฏวิวัฏฏกัป  คือ..การที่โลกเจริญขึ้น..และ..โลกเสื่อมลง..1 ครั้ง
           คือ..1 สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ...   เอาเป็นว่า...หลายๆล้านชาติเลย...

1. พระผู้มีพระภาคกล่าวว่า....
    ในโลกนี้..มีคนที่ระลึกชาติได้เพราะการทำเจโตสมาธิ... <==การระลึกชาตินี้เป็นเรื่องจริงเห็นจริง
    เขาเห็น..เขาเองได้มีแล้วในอดีต..แล้วชาตินี้กลับมาเกิดอีก...  <=== อันนี้..พระผู้มีพระภาคท่ารับรองว่าเขาเห็นจริง

2. อ้าว..ก็ในเมื่อเห็นจริง..เป็นความจริง.. แล้วทิกฐินี้มันจะผิดไปได้..ด้วยเหตุผลใด..??
    มันผิดเพราะว่า... " ดันไปสรุปว่า..อัตตา..และ..โลกว่าเที่ยง..ไงเล่า..!!!  
    ผิดยังไง? 
    ผิดเพราะว่า..... " ....โลก...และ..อัตตา..ทั้ง 2 มันไม่เที่ยง "
    
     แต่อย่าไปสับสนเข้ารกเข้าพงไปนะว่า  " โลกไม่มี..อัตตาไม่มี..นะ " <--นี่ก็มิจฉาทิฏบิอีแบบหนึ่ง..
     โดยที่แท้..โลกและอัตตามี... "  แต่มีแบบ..ไม่เที่ยง "... เหมือกับ..นมสด - นมสม - เนยข้น - เนยใส...
     ที่มันมี...แต่ก็จะเปลี่ยนแลง..ไปแบบไม่เที่ยง  ดังที่ทรงกล่าวกับท่านจิตตะ..ในโปฏฐปาทสูตร

3. อีกอย่าง...ผู้ที่ระลึกชาติได้เหล่านั้น  ยังไม่สามารถระลึกไปถึงจุดที่ " โลกกำเนิด - โลกแตกดับ "..ได้
    จึงไม่รู้ว่า...โลกมีการกำเนิด..และ..แตกสลายไป  <==อันนี้กล่าวใน..ส่วนโลกทางกายภาพ

    ส่วนโลก..ในส่วนของ  โลกที่หมายถึง..อายตนะ..<==อันนี้..หมายถึง..ผู้ที่ที่ระลึกชาติได้นั้นไม่รู้ปฏิจจสมุปปาท
    เขาไม่รู้...การเกิดขึ้นของโลก...ว่า..เกิดขึ้นได้ดังนี้
     เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย......สังขารทั้งหลาย..จึงมี
     เพราะสังขารเป็นปัจจัย.......วิญญาณ..จึงมี
     เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย....นามรูป..จึงมี
     เพราะนามรูปเป็นปัจจัย.......สฬายตนะ..จึงมี
     เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย..ผัสสะ..จึงมี
     เพราะผัสสะเป็นปัจจัย........เวทนา..จึงมี
     เพราะเวทนาเป็นปัจจัย.......ตัณหา..จึงมี
     เพราะตัณหาเป็นปัจจัย.......อุปาทาน..จึงมี
     เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย....ภพ..จึงมี
     เพราะภพเป็นปัจจัย...........ชาติ..จึงมี
     เพราะชาติเป็นปัจจัย..ขรามรณะ - โสกปริเทวะ-อุปายาะ..จึงเกิดขึ้นควบถ้วน
        อันนี้...หละ  " การเกิดขึ้นของโลก..กับ...อัตตา " 

  เขาไม่รู้....การดับลงของโลก...ว่า..ดับลงได้ดังนี้ 
     เพราะอวิชชาดับ......สังขารทั้งหลาย..จึงดับ
     เพราะสังขารดับ.......วิญญาณ..จึงดับ
     เพราะวิญญาณดับ....นามรูป..จึงดับ
     เพราะนามรูปดับ.......สฬายตนะ..จึงดับ
     เพราะสฬายตนะดับ..ผัสสะ..จึงดับ
     เพราะผัสสะดับ........เวทนา..จึงดับ
     เพราะเวทนาดับ.......ตัณหา..จึงดับ
     เพราะตัณหาดับ.......อุปาทาน..จึงดับ
     เพราะอุปาทานดับ....ภพ..จึงดับ
     เพราะภพดับ...........ชาติ..จึงดับ
     เพราะชาติดับ..ขรามรณะ - โสกปริเทวะอุปายาะ..จึงดับลง
        อันนี้...หละ  " การดับลงของโลกกับอัตตา " 
 
4.  มันผิดอย่างไร....การที่มีความเห็นว่า 
   
   " อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขาตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด 
     ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด...แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้  "

     มันผิดตรงที่..
          4.1  เห็นไม่ตรงตามความจริง... คือเห็นแค่ช่วงเดียว..ของสัตว์ที่ท่องไปในสังสารวัฏ..แล้วมาสรุปว่า
                 สัตว์เที่ยง (อัตตา..เพราะไปเข้าใจวา่าบางส่วนของขันธ์คืออัตตา..คือสัตว์)...บ้าง  โลกเที่ยง..บ้าง  

          4.2   ผิดที่.. ถ้ามีความเห็นว่าสัตว์อัตตาเที่ยง.. การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มีขึ้น..ดังที่ทรงกล่าวไว้
                  กับท่าน..มาลุงกยบุตร..ท่านวัจฉะ..และอีกหลายๆท่าน
                  ทำไมเล่า?   

                  เพราะว่า...ปฏิจจสมุปปาทสายนิโรธวาท..ได้แสดง..การดับลงของ..สัตว์ - อัตตา..และ..โลก
                  ดังนั้น...การเห็นว่า..สัตว์เที่ยง - อัตตาเที่ยง..และ..โลกเที่ยง... จึงเป็นการปฏิเสธหลักการในพระพุทธสาสนา..
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่