...............ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อ
สุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ
ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอ
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก............
....................................................................................................................
....................................................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล..
สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่เราจะพึงเป็นผู้มีคติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพไม่สมควรเลย <====================== A
ผิฉะนั้นเราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไปอีก
ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป
เมื่อโลกวิบัติเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง ในวิมานนั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม
เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก
เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ
หลายร้อยครั้ง
พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล
อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุยืนนานดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ <=============================================== B
แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ <========================================================== C
๔ ประการเป็นไฉน คือ
อริยศีล ๑
<============================= D
อริยสมาธิ ๑
อริยปัญญา ๑
อริยวิมุติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว <=================================== E
เราถอนตัณหาในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=63&book=23&bookZ=&pagebreak=1&mode=[]
ศาสดาชื่อสุเนตตะ...ไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ..........
ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอ
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก............
....................................................................................................................
....................................................................................................................
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล..
สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่เราจะพึงเป็นผู้มีคติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพไม่สมควรเลย <====================== A
ผิฉะนั้นเราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไปอีก
ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป
เมื่อโลกวิบัติเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง ในวิมานนั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม
เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก
เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง
พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล
อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุยืนนานดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ <=============================================== B
แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ <========================================================== C
๔ ประการเป็นไฉน คือ
อริยศีล ๑ <============================= D
อริยสมาธิ ๑
อริยปัญญา ๑
อริยวิมุติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว <=================================== E
เราถอนตัณหาในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=63&book=23&bookZ=&pagebreak=1&mode=[]