อ่านจากพระสูตร ชี้ว่า การระเบิดตัวเป็นจุดดับของจักรวาล ซึ่งให้ผลไม่ต่างกับจุดกำเนิดหรือการระเบิดครั้งใหญ่ (บิกแบง) กล่าวคือ มีรังสีความร้อนกระจายเหมือนกัน วิวัฒนาการของจักรวาลก็ไม่ต่างกัน
ผมเห็นว่าหลักธรรมในพุทธศาสนามีของดีเยอะ มีมุมมองของจักรวาลที่น่าสนใจ จึงนำเสนอ อย่าด่า ให้พิจารณา พระพุทธเจ้าก็ไม่สอนให้เชื่อด้วยขาดเหตุผล ปัญญาอยู่แล้ว
หลักกาลามสูตร 10 ประการ
1. มา อนุสฺสวเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2. มา ปรมฺปราย : อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
3. มา อิติกิราย : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5. มา ตกฺกเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6. มา นยเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7. มา อาการปริวิตกฺเกน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
9. มา ภพฺพรูปตา : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10. มา สมโณ โน ครูติ : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
http://84000.org/tipitaka/atita100/v.php?B=23&A=2162&Z=2259
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สุริยสูตร
[๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้
พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควร
เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลง
ในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มี
กาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝน
ไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยว
แห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่
น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขาร
ทั้งปวง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลอง
ทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ...
ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ
คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู ม
ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควร
หลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสาย
ใหญ่ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู
ม
ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็
ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทร
ลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐
โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่ว
ต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้น
ตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน
๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่ง
ชั่วคน เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ เปรียบเหมือน
ในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ
ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่
มี ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ...
ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่
นี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่
ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็
ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่
นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อ
แผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหม
โลก เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอด
แล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์
๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่
ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญ
อยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย
ก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลาย
กำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้
ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอก
จากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว (โสดาบัน) ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ
ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอ
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก และ
เมื่อสุเนตตศาสดาแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวก
เหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ก็เข้าถึงสุคติ
พรหมโลก ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น
เมื่อตายไป บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี บาง
พวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา บางพวก
เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง
เทวดาชั้นจาตุมมหาราช บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล บาง
พวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งคฤหบดีมหาศาล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่
เราจะพึงเป็นผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพไม่สมควรเลย ผิฉะนั้น
เราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตา
จิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป เมื่อโลกวิบัติ
เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง ในวิมาน
นั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้
เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา
๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทร
ทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่น
คง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง พระราชโอรสของพระเจ้า
จักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดิ
นั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้อง
ใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุยืนนาน
ดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ อริย-
*ศีล ๑ อริยสมาธิ ๑ อริยปัญญา ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยศีล
อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหา
ในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุติอย่างยิ่ง
พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้มี
พระจักษุ ทรงรู้ยิ่งด้วยประการดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม
๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว
ปรินิพพาน ฯ
สรุปว่าบิกแบง(Big Bang) เป็นจุดกำเนิดหรือจุดดับ? เห็นในพุทธศาสนาบอกว่าเป็นความดับของจักรวาล
ผมเห็นว่าหลักธรรมในพุทธศาสนามีของดีเยอะ มีมุมมองของจักรวาลที่น่าสนใจ จึงนำเสนอ อย่าด่า ให้พิจารณา พระพุทธเจ้าก็ไม่สอนให้เชื่อด้วยขาดเหตุผล ปัญญาอยู่แล้ว
หลักกาลามสูตร 10 ประการ
1. มา อนุสฺสวเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2. มา ปรมฺปราย : อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
3. มา อิติกิราย : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5. มา ตกฺกเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6. มา นยเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7. มา อาการปริวิตกฺเกน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
9. มา ภพฺพรูปตา : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10. มา สมโณ โน ครูติ : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
http://84000.org/tipitaka/atita100/v.php?B=23&A=2162&Z=2259
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สุริยสูตร
[๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้
พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควร
เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลง
ในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มี
กาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝน
ไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยว
แห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่
น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขาร
ทั้งปวง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลอง
ทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ...
ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ
คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู ม ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควร
หลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสาย
ใหญ่ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู
ม ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็
ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทร
ลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐
โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่ว
ต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้น
ตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน
๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่ง
ชั่วคน เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ เปรียบเหมือน
ในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ
ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่
มี ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ...
ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่
นี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่
ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็
ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน
พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่
นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อ
แผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหม
โลก เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอด
แล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์
๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่
ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญ
อยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย
ก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลาย
กำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้
ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอก
จากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว (โสดาบัน) ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ
ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอ
แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก และ
เมื่อสุเนตตศาสดาแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวก
เหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ก็เข้าถึงสุคติ
พรหมโลก ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น
เมื่อตายไป บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี บาง
พวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา บางพวก
เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง
เทวดาชั้นจาตุมมหาราช บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล บาง
พวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย
แห่งคฤหบดีมหาศาล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่
เราจะพึงเป็นผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพไม่สมควรเลย ผิฉะนั้น
เราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตา
จิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป เมื่อโลกวิบัติ
เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง ในวิมาน
นั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้
เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา
๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทร
ทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่น
คง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง พระราชโอรสของพระเจ้า
จักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดิ
นั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้อง
ใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุยืนนาน
ดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ อริย-
*ศีล ๑ อริยสมาธิ ๑ อริยปัญญา ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยศีล
อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหา
ในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุติอย่างยิ่ง
พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้มี
พระจักษุ ทรงรู้ยิ่งด้วยประการดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม
๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว
ปรินิพพาน ฯ