หนีตายกระชากเรตติ้ง ทีวีดิจิตอลปรับโครงสร้างเร่งหาจุดขายใหม่
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
หน้าจอร้อนฉ่า บิ๊กทีวีดิจิตอลสั่งทุ่มงบอัดฉีดคอนเทนต์ฮอตยันยกเครื่ององค์กรหวังกระทุ้งเรตติ้งพุ่ง โมโน 29 ม้ามืด แซงช่อง 8 ขึ้นอันดับ 4 ชูโพสิชันนิงซีรีส์แอกชันจับวัยมัน สปริงนิวส์-วอยซ์ทีวี โละคน ปรับโครงสร้างลดต้นทุนปั้นแบรนด์ยั่งยืน ด้านพีพีทีวีมั่นใจเดินถูกทางเพิ่มทุนเท่าตัว ขนทัพกีฬาดัง ละครเด่นจ่อลงจอ ฟากเจ๊ติ๋มยํ้าชัด “ไม่จ่ายเงิน” ต่อหน้าศาลปกครองกลางหลังไต่สวนวันแรก
ไม่เพียงกลุ่มเรตติ้งรั้งท้ายที่มีปัญหา ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลที่มีเรตติ้งระดับต้น ก็ต้องแข่งขันอย่างหนัก จากข้อมูลบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ในปี 2558 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ซึ่งมีบิลลิ่งรวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น สื่อทีวีอนาล็อก 5.75 หมื่นล้านบาท ทีวีดิจิตอล 2.09 หมื่นล้านบาท และเคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 6.05 พันล้านบาท สะท้อนการเติบโตแบบก้าวกระโดดของทีวีดิจิตอล จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้โฆษณาราว 8.58 พันล้านบาท และส่งสัญญาณให้เห็นว่าอนาคตจะทำเงินได้มหาศาล โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล เริ่มค้นพบช่องทางและสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งปีนี้การก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ถือเป็นสนามการแข่งขันที่น่าจับตามอง เพราะผู้ที่ปรับตัวเร็วและวางกลยุทธ์การตลาดได้อย่างแยบยล จึงจะสามารถครองเรตติ้งได้ดี เห็นได้จากในช่วงเดือนเศษที่ก้าวเข้าสู่ปี 2559 ที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต่างลุกขึ้นมาขยับและปรับยุทธศาสตร์ในการเดินอย่างเต็มสูบ
โดยนายนวมินทร์ ประสพเนตร ผู้ช่วยประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารทีวีดิจิตอลช่อง “โมโน 29” เปิดเผยว่า กลยุทธ์การทำตลาดนับจากนี้ บริษัทเตรียมสร้างทีมบุคลากร เพื่อผลิตละครซีรีส์แนวแอคชั่นมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคาแรกเตอร์ของช่องโมโน 29 ซึ่งเป็นช่องทีวีเฉพาะกลุ่มผู้ชม ที่ชื่นชอบการดูภาพยนตร์ซีรีส์ และละครในรูปแบบแอคชั่น เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นช่องว่างการตลาดทีวีในประเทศไทย ที่ยังไม่มีผู้ประกอบการใดที่เน้นคอนเทนท์สไตล์นี้ ขณะที่มีความต้องการในตลาดค่อนข้างสูง
“หลังจากที่ทดลองตลาดทีวีดิจิตอลมาระยะหนึ่ง ขณะนี้บริษัทเริ่มคาดเดาทิศทางที่จะก้าวไปได้แม่นยำมากขึ้น นั่นคือการเป็นช่องโทรทัศน์ประเภทภาพยนตร์ ซีรีส์ ละคร แอคชั่น ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ทดลองผลิตละครเรื่องตี๋ใหญ่ ดับดาวโจร ออกอากาศผ่านช่องโทรทัศน์ในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ เวลา 20.30 น.พบว่าได้รับการตอบรับที่ดี และสามารถทำเรตติ้งละครไทยของโมโน เพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ขณะที่ในปัจจุบันมีเรตติ้งรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 0.48 ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 แซงหน้าช่อง 8 จากเดิมที่อยู่ในอันดับที่ 5 ซึ่งเร็วกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ และภายในปี 2560 คาดว่าจะมีเรตติ้งเพิ่มเป็น 1.0 จากการเพิ่มคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบแอคชั่น”นายนวมินทร์กล่าวและว่าหลังปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ บริษัทยังปรับแผนในการรุกธุรกิจต่อเนื่อง ขณะที่ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจทีวีปัจจุบันมีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 300 คน ยังมีทิศทางที่ดีและไม่มีแผนปรับลดพนักงานแต่อย่างใด ขณะที่ธุรกิจที่มีการปรับลดพนักงาน อาจจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ไม่สร้างกำไร เช่น ธุรกิจเพลง ออนไลน์ และนิตยสาร เป็นต้น อย่างไรก็ดีปีนี้จะขยายฐานกลุ่มผู้ชมตลาดต่างจังหวัดให้มากขึ้น โดยเตรียมใช้งบลงทุนราว 40-50 ล้านบาท ในการทำกิจกรรมการตลาดเจาะกลุ่มผู้ชม เช่น การฉายหนังกลางแปลง เป็นต้น และในอนาคตจะมีการเปิดแพคเกจสปอนเซอร์ให้กับลูกค้าที่สนใจด้วย
ช่อง 8 กระทุ้งเรตติ้งพุ่งเท่าตัว
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ผู้บริหารช่อง 8 กล่าวว่า บริษัทเตรียมใช้เงินลงทุน 2 พันล้านบาท แบ่งเป็น การผลิตคอนเทนต์ 1 พันล้านบาท สำหรับผลิตละครใหม่ไม่ต่ำกว่า 30 เรื่องเพื่อออกอากาศให้ครบทั้ง 7 วัน อาทิ ล่าดับตะวัน เชลยศึก ระบำไฟ เป็นต้น ขณะที่อีก 800 ล้านบาทสำหรับลงทุนผลิตรายการวาไรตี้, รายการกีฬา และรายการข่าวทุกช่อง ส่วนอีก 200 ล้านบาทสำหรับการลงทุนพัฒนาระบบไอทีและโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการจดจำและรับรู้ช่อง 8 ออกอากาศหมายเลข 27
ขณะที่เรตติ้งของช่อง 8 ซึ่งร่วงลงไปอยู่อันดับที่ 5 ต่อจากโมโน 29 นั้น ผู้บริหารของอาร์เอส กล่าวว่า ต้องขอดูตัวเลขเรตติ้งเสียก่อน ว่ามีความถูกต้องแค่ไหน
ปลดคนลดอุ้ยอ้ายองค์กร
ตั้งแต่ต้นปีมานี้ สถานีทีวิดิจิตอลหลายรายเคลื่อนไหวปรับองค์กรให้กระชับ โดยการปรับลดพนักงานต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสปริงนิวส์ ที่ประกาศฟ้าผ่าปลดพนักงานออกจำนวน 38 คน โดยนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี รองประธานกรรมการ บริหารด้านธุรกิจองค์กร และรักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวยอมรับว่า การคัดพนักงานออก เป็นเรื่องจริง แต่เป็นจำนวนเพียงแค่ 38 คนเท่านั้น ไม่ใช่จำนวนมากถึง 100 คนอย่างที่เป็นข่าวลือ แบ่งเป็น นักข่าว 9 คนและที่เหลือเป็นฝ่ายอื่น ๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ธุรกิจ โปรดิวเซอร์ เป็นต้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรภายใน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายในการดำเนินธุรกิจปี 2559 ที่ต้องการเดินหน้าผลิตคอนเทนต์ ด้านข่าวเศรษฐกิจและธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะข่าวต่างประเทศ ขณะที่นักข่าวที่ออกไปส่วนใหญ่เป็นนักข่าวสายในประเทศ ที่ไม่สอดคล้องกับแผนธุรกิจของบริษัท
ขณะที่ไทยทีวียื่นข้อเสนอให้พนักงานสมัครใจยื่นใบลาออก จำนวนกว่า 20 คน โดยให้สาเหตุว่า บริษัทต้องการลดรายจ่าย ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการ เมื่อบริษัทขาดทุน ทั้งนี้หากประเมินค่าใช้จ่ายการบริหารสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง มีภาระไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาทต่อเดือน
ล่าสุดเป็นคิวของช่องทีวีทุนหนาอย่าง “วอยซ์ทีวี” ที่ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ส่งผลให้ต้องลดพนักงานลง 57 อัตราด้วย โดยเรื่องดังกล่าวนายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทวอยซ์ ทีวี จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ วอยซ์ ทีวี กล่าวว่า เพื่อให้องค์กรมีขนาดที่เหมาะสมต่อการทำงาน ในภาวะที่ธุรกิจทีวีดิจิตอลมีการแข่งขันสูง ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์การบริหารและโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เป้าหมาย”วอยซ์ทีวี” คือ ต้องการก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำของผู้ผลิตสื่อยุคใหม่ภายใต้แนวคิด Cross Platform Content Provider ทีวีสื่อสารครบทุกช่องทาง ที่ต้องการผลิตเนื้อหารายการทีวีคุณภาพสูง และส่งตรงถึงผู้รับสื่อยุคใหม่ครบทุกช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับชมผ่านสื่อออนไลน์ ที่เป็นอนาคตของการสื่อสาร และมุ่งมั่นที่จะเป็นสถานีข่าวสำหรับคนรุ่นใหม่ นำเสนอเหตุการณ์และข่าวสารสำคัญทั้งในและต่างประเทศ
-----มีต่อ-----
หนีตายกระชากเรตติ้ง ทีวีดิจิตอลปรับโครงสร้างเร่งหาจุดขายใหม่
หนีตายกระชากเรตติ้ง ทีวีดิจิตอลปรับโครงสร้างเร่งหาจุดขายใหม่
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
หน้าจอร้อนฉ่า บิ๊กทีวีดิจิตอลสั่งทุ่มงบอัดฉีดคอนเทนต์ฮอตยันยกเครื่ององค์กรหวังกระทุ้งเรตติ้งพุ่ง โมโน 29 ม้ามืด แซงช่อง 8 ขึ้นอันดับ 4 ชูโพสิชันนิงซีรีส์แอกชันจับวัยมัน สปริงนิวส์-วอยซ์ทีวี โละคน ปรับโครงสร้างลดต้นทุนปั้นแบรนด์ยั่งยืน ด้านพีพีทีวีมั่นใจเดินถูกทางเพิ่มทุนเท่าตัว ขนทัพกีฬาดัง ละครเด่นจ่อลงจอ ฟากเจ๊ติ๋มยํ้าชัด “ไม่จ่ายเงิน” ต่อหน้าศาลปกครองกลางหลังไต่สวนวันแรก
ไม่เพียงกลุ่มเรตติ้งรั้งท้ายที่มีปัญหา ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลที่มีเรตติ้งระดับต้น ก็ต้องแข่งขันอย่างหนัก จากข้อมูลบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ในปี 2558 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ซึ่งมีบิลลิ่งรวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น สื่อทีวีอนาล็อก 5.75 หมื่นล้านบาท ทีวีดิจิตอล 2.09 หมื่นล้านบาท และเคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 6.05 พันล้านบาท สะท้อนการเติบโตแบบก้าวกระโดดของทีวีดิจิตอล จากปีก่อนหน้าที่มีรายได้โฆษณาราว 8.58 พันล้านบาท และส่งสัญญาณให้เห็นว่าอนาคตจะทำเงินได้มหาศาล โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล เริ่มค้นพบช่องทางและสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งปีนี้การก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ถือเป็นสนามการแข่งขันที่น่าจับตามอง เพราะผู้ที่ปรับตัวเร็วและวางกลยุทธ์การตลาดได้อย่างแยบยล จึงจะสามารถครองเรตติ้งได้ดี เห็นได้จากในช่วงเดือนเศษที่ก้าวเข้าสู่ปี 2559 ที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลต่างลุกขึ้นมาขยับและปรับยุทธศาสตร์ในการเดินอย่างเต็มสูบ
โดยนายนวมินทร์ ประสพเนตร ผู้ช่วยประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารทีวีดิจิตอลช่อง “โมโน 29” เปิดเผยว่า กลยุทธ์การทำตลาดนับจากนี้ บริษัทเตรียมสร้างทีมบุคลากร เพื่อผลิตละครซีรีส์แนวแอคชั่นมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับคาแรกเตอร์ของช่องโมโน 29 ซึ่งเป็นช่องทีวีเฉพาะกลุ่มผู้ชม ที่ชื่นชอบการดูภาพยนตร์ซีรีส์ และละครในรูปแบบแอคชั่น เนื่องจากบริษัทเล็งเห็นช่องว่างการตลาดทีวีในประเทศไทย ที่ยังไม่มีผู้ประกอบการใดที่เน้นคอนเทนท์สไตล์นี้ ขณะที่มีความต้องการในตลาดค่อนข้างสูง
“หลังจากที่ทดลองตลาดทีวีดิจิตอลมาระยะหนึ่ง ขณะนี้บริษัทเริ่มคาดเดาทิศทางที่จะก้าวไปได้แม่นยำมากขึ้น นั่นคือการเป็นช่องโทรทัศน์ประเภทภาพยนตร์ ซีรีส์ ละคร แอคชั่น ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้ทดลองผลิตละครเรื่องตี๋ใหญ่ ดับดาวโจร ออกอากาศผ่านช่องโทรทัศน์ในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ เวลา 20.30 น.พบว่าได้รับการตอบรับที่ดี และสามารถทำเรตติ้งละครไทยของโมโน เพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ขณะที่ในปัจจุบันมีเรตติ้งรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 0.48 ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 4 แซงหน้าช่อง 8 จากเดิมที่อยู่ในอันดับที่ 5 ซึ่งเร็วกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ และภายในปี 2560 คาดว่าจะมีเรตติ้งเพิ่มเป็น 1.0 จากการเพิ่มคอนเทนท์ทั้งในและต่างประเทศในรูปแบบแอคชั่น”นายนวมินทร์กล่าวและว่าหลังปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ บริษัทยังปรับแผนในการรุกธุรกิจต่อเนื่อง ขณะที่ทีมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มธุรกิจทีวีปัจจุบันมีอยู่จำนวนทั้งสิ้น 300 คน ยังมีทิศทางที่ดีและไม่มีแผนปรับลดพนักงานแต่อย่างใด ขณะที่ธุรกิจที่มีการปรับลดพนักงาน อาจจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่ไม่สร้างกำไร เช่น ธุรกิจเพลง ออนไลน์ และนิตยสาร เป็นต้น อย่างไรก็ดีปีนี้จะขยายฐานกลุ่มผู้ชมตลาดต่างจังหวัดให้มากขึ้น โดยเตรียมใช้งบลงทุนราว 40-50 ล้านบาท ในการทำกิจกรรมการตลาดเจาะกลุ่มผู้ชม เช่น การฉายหนังกลางแปลง เป็นต้น และในอนาคตจะมีการเปิดแพคเกจสปอนเซอร์ให้กับลูกค้าที่สนใจด้วย
ช่อง 8 กระทุ้งเรตติ้งพุ่งเท่าตัว
อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ผู้บริหารช่อง 8 กล่าวว่า บริษัทเตรียมใช้เงินลงทุน 2 พันล้านบาท แบ่งเป็น การผลิตคอนเทนต์ 1 พันล้านบาท สำหรับผลิตละครใหม่ไม่ต่ำกว่า 30 เรื่องเพื่อออกอากาศให้ครบทั้ง 7 วัน อาทิ ล่าดับตะวัน เชลยศึก ระบำไฟ เป็นต้น ขณะที่อีก 800 ล้านบาทสำหรับลงทุนผลิตรายการวาไรตี้, รายการกีฬา และรายการข่าวทุกช่อง ส่วนอีก 200 ล้านบาทสำหรับการลงทุนพัฒนาระบบไอทีและโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการจดจำและรับรู้ช่อง 8 ออกอากาศหมายเลข 27
ขณะที่เรตติ้งของช่อง 8 ซึ่งร่วงลงไปอยู่อันดับที่ 5 ต่อจากโมโน 29 นั้น ผู้บริหารของอาร์เอส กล่าวว่า ต้องขอดูตัวเลขเรตติ้งเสียก่อน ว่ามีความถูกต้องแค่ไหน
ปลดคนลดอุ้ยอ้ายองค์กร
ตั้งแต่ต้นปีมานี้ สถานีทีวิดิจิตอลหลายรายเคลื่อนไหวปรับองค์กรให้กระชับ โดยการปรับลดพนักงานต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสปริงนิวส์ ที่ประกาศฟ้าผ่าปลดพนักงานออกจำนวน 38 คน โดยนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี รองประธานกรรมการ บริหารด้านธุรกิจองค์กร และรักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวยอมรับว่า การคัดพนักงานออก เป็นเรื่องจริง แต่เป็นจำนวนเพียงแค่ 38 คนเท่านั้น ไม่ใช่จำนวนมากถึง 100 คนอย่างที่เป็นข่าวลือ แบ่งเป็น นักข่าว 9 คนและที่เหลือเป็นฝ่ายอื่น ๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ธุรกิจ โปรดิวเซอร์ เป็นต้น โดยให้เหตุผลว่าเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรภายใน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายในการดำเนินธุรกิจปี 2559 ที่ต้องการเดินหน้าผลิตคอนเทนต์ ด้านข่าวเศรษฐกิจและธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะข่าวต่างประเทศ ขณะที่นักข่าวที่ออกไปส่วนใหญ่เป็นนักข่าวสายในประเทศ ที่ไม่สอดคล้องกับแผนธุรกิจของบริษัท
ขณะที่ไทยทีวียื่นข้อเสนอให้พนักงานสมัครใจยื่นใบลาออก จำนวนกว่า 20 คน โดยให้สาเหตุว่า บริษัทต้องการลดรายจ่าย ซึ่งเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการ เมื่อบริษัทขาดทุน ทั้งนี้หากประเมินค่าใช้จ่ายการบริหารสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง มีภาระไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาทต่อเดือน
ล่าสุดเป็นคิวของช่องทีวีทุนหนาอย่าง “วอยซ์ทีวี” ที่ประกาศปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ส่งผลให้ต้องลดพนักงานลง 57 อัตราด้วย โดยเรื่องดังกล่าวนายเมฆินทร์ เพ็ชรพลาย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทวอยซ์ ทีวี จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ วอยซ์ ทีวี กล่าวว่า เพื่อให้องค์กรมีขนาดที่เหมาะสมต่อการทำงาน ในภาวะที่ธุรกิจทีวีดิจิตอลมีการแข่งขันสูง ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์การบริหารและโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและการเติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เป้าหมาย”วอยซ์ทีวี” คือ ต้องการก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้นำของผู้ผลิตสื่อยุคใหม่ภายใต้แนวคิด Cross Platform Content Provider ทีวีสื่อสารครบทุกช่องทาง ที่ต้องการผลิตเนื้อหารายการทีวีคุณภาพสูง และส่งตรงถึงผู้รับสื่อยุคใหม่ครบทุกช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับชมผ่านสื่อออนไลน์ ที่เป็นอนาคตของการสื่อสาร และมุ่งมั่นที่จะเป็นสถานีข่าวสำหรับคนรุ่นใหม่ นำเสนอเหตุการณ์และข่าวสารสำคัญทั้งในและต่างประเทศ
-----มีต่อ-----