โละคนรับแผนสปริงฯลุยวิทยุขู่ฟ้องสุภิญญา
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
กสทช.ออกโรงยัน "สปริงนิวส์" คว้าสิทธิ์บริหารคลื่น 98.50 หลังเสนอราคาชนะประมูล พร้อมออนแอร์ 1 พ.ย. นี้ เผยจ่อฟ้องกลับ "สุภิญญา" เหตุทำเสียภาพลักษณ์ ชี้เหตุปลดพนักงาน เพื่อ ปรับโครงสร้างองค์กร รองรับการดำเนินธุรกิจในปีหน้า หันลุยข่าวเศรษฐกิจ ด้านไทยทีวี กสทช.ขยายเวลาให้ชำระค่างวดที่ค้างถึงภายใน 2 พ.ย.นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กสทช. ขอยืนยันว่า การจัดสรรคลื่นวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ.FM คลื่นความถี่ 98.50 MHz (กรุงเทพฯ) เป็นการประมูลอย่างถูกต้องตามกระบวนการของกสทช. เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานของกสทช. เป็นผู้บริหารและควบคุมคลื่นนี้ และมีภาระค่าใช้จ่ายประมาณ 2 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งไม่เกิดประโยชน์จึงเปิดให้เอกชนเข้าประมูล โดยมีผู้เข้ายื่นประมูลจำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค มัลติมีเดีย จำกัด (สปริงนิวส์) และ ลูกทุ่งเน็ตเวิร์ค และเปิดซองประกวดราคาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 ผลบริษัทนิวส์ เน็ตเวิร์คฯ เป็นผู้ชนะในราคา 2.46 ล้านบาทต่อเดือน ขณะที่ลูกทุ่งเน็ตเวิร์คเสนอราคา 1.5 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเรื่องนี้กสทช.ดำเนินการได้เอง เนื่องจากหลักเกณฑ์กำหนดว่า หากราคากลางการประมูลไม่ถึง 100 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.)
ด้านนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี รองประธานกรรมการบริหารด้านธุรกิจองค์กร และรักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า บริษัทขอยืนยันว่า บริษัทได้สิทธิในการขอแบ่งเวลาเพื่อดำเนินรายการ และรับจ้างผลิตรายการให้กับกสทช. สำหรับใช้ในการออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ.FM คลื่นความถี่ 98.50 MHz (กรุงเทพฯ) ซึ่งกสทช.ได้พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐานต่างๆเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา
ส่วนการทวีตข้อความทางสื่อสังคมของนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่ระบุว่า การได้มาของคลื่นความถี่ FM.98.5 ของสถานีข่าวสปริงนิวส์อาจมีการคลาดเคลื่อน เนื่องจากช่วงความถี่ดังกล่าว กสท. ยังไม่เคยมีมติจัดสรรให้ผู้ประกอบการรายใดใช้งานแต่อย่างใดนั้น จึงไม่เป็นความจริง และสร้างความเสียหายในด้านภาพลักษณ์ต่อบริษัทอย่างมาก ซึ่งในขณะนี้บริษัทกำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่อย่างไร
ต่อกรณีที่สปริงนิวส์มีการปลดพนักงานออกจำนวนมากนั้น นางสาววทันยากล่าวว่า บริษัทขอชี้แจงว่า เป็นการปรับโครงสร้างองค์กรภายใน เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจในปี 2559 ซึ่งบริษัทต้องการมุ่งเน้นการผลิตเนื้อหาด้านข่าวเศรษฐกิจและธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะข่าวต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องคัดพนักงานออกจำนวน 38 คน แบ่งเป็นนักข่าว 9 คน ส่วนที่เหลือเป็นเจ้าหน้าฝ่ายต่างๆ เช่น โปรดิวเซอร์ เป็นต้น โดยนักข่าวที่ออกไปส่วนใหญ่เป็นนักข่าวสายในประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับแผนธุรกิจของบริษัทจะดำเนินไปในปีหน้า
"การจ้างพนักงานออกนั้นเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ ที่ต้องการปรับโครงสร้างภายใน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจใหม่ ขณะเดียวกันบริษัทก็วางแผนเพิ่มทีมขายเข้ามามากขึ้น เพื่อกระตุ้นในเรื่องของรายได้ โดยผลประกอบการของบริษัทในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้รวม 160 ล้านบาท ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 200 ล้านบาท"
สำหรับบริษัท สปริงนิวส์ฯ ในเครือบริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS ซึ่งมีนายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เดิมเป็นผู้ประกอบการสถานีดาวเทียมสปริงนิวส์ และชนะประมูลเป็น 1 ใน 24 ช่องสถานีโทรทัศน์ดิจิตอล โดยอยูในกลุ่มบริการข่าวสาร ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างหนัก ประจวบกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ผลประกอบการที่ผ่านมายังติดลบ โดยในปี 2557 ขาดทุน 559.97 ล้านบาท และปี 2558 ถึง 30 มิถุนายนนี้ ขาดทุน 294.5 ล้านบาท และในห้วงที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าร่วมทุนสำนักข่าวที นิวส์ ที่จะขยายสู่แพลตฟอร์มข่าววิทยุดังกล่าว หรือการเข้าซื้อหุ้นบมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป หรือเอ็นเอ็มจี จนอาจเป็นเสียงข้างมาก แต่ยังต่อสู้ทางคดีความกันอยู่ เป็นต้น
ด้านพ.อ. ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าในการนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ของนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ "เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด ผู้บริหารช่องทีวีดิจิตอล "ไทยทีวี" และ "โลก้าหรือเอ็มวีทีวี" ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 พฤศจิกายนนั้น ล่าสุดมีเอกสารนัดขอเจรจา จากศาลปกครองในวันที่ 30 ตุลาคม แต่เนื่องจากคณะกรรมการของกสท. ไม่สะดวกในวันและเวลาดังกล่าว จึงขอเลื่อนออกไปภายใน 30 วัน นับจากวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา
ขณะที่กรอบระยะเวลาการเลื่อนนัดชำระหนี้ค่าประมูลคลื่นความถี่นั้น หากภายในวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายนนี้ ไทยทีวียังไม่นำเงินมาชำระหนี้ จะดำเนินการพักใบอนุญาตในวันที่ 3 พฤศจิกายนทันที
ทั้งนี้บริษัท ไทยทีวีฯ มียอดเงินค้างชำระประกอบไปด้วย เงินค่างวดที่ 2 ของไทยทีวี จำนวน 189.17 ล้านบาท ช่องโลก้าหรือเอ็มวีทีวี 99.29 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 2% ของรายได้รวมไทยทีวีหรือประมาณ 200 ล้านบาท และค่าปรับผิดนัดชำระอัตรา 7.5% ต่อปี หรือราววันละ 6 หมื่นบาทต่อวัน
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (หน้า 1,12)
โละคนรับแผน "สปริงนิวส์" ลุยวิทยุขู่ฟ้องสุภิญญา
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
กสทช.ออกโรงยัน "สปริงนิวส์" คว้าสิทธิ์บริหารคลื่น 98.50 หลังเสนอราคาชนะประมูล พร้อมออนแอร์ 1 พ.ย. นี้ เผยจ่อฟ้องกลับ "สุภิญญา" เหตุทำเสียภาพลักษณ์ ชี้เหตุปลดพนักงาน เพื่อ ปรับโครงสร้างองค์กร รองรับการดำเนินธุรกิจในปีหน้า หันลุยข่าวเศรษฐกิจ ด้านไทยทีวี กสทช.ขยายเวลาให้ชำระค่างวดที่ค้างถึงภายใน 2 พ.ย.นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กสทช. ขอยืนยันว่า การจัดสรรคลื่นวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ.FM คลื่นความถี่ 98.50 MHz (กรุงเทพฯ) เป็นการประมูลอย่างถูกต้องตามกระบวนการของกสทช. เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานของกสทช. เป็นผู้บริหารและควบคุมคลื่นนี้ และมีภาระค่าใช้จ่ายประมาณ 2 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งไม่เกิดประโยชน์จึงเปิดให้เอกชนเข้าประมูล โดยมีผู้เข้ายื่นประมูลจำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค มัลติมีเดีย จำกัด (สปริงนิวส์) และ ลูกทุ่งเน็ตเวิร์ค และเปิดซองประกวดราคาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 ผลบริษัทนิวส์ เน็ตเวิร์คฯ เป็นผู้ชนะในราคา 2.46 ล้านบาทต่อเดือน ขณะที่ลูกทุ่งเน็ตเวิร์คเสนอราคา 1.5 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเรื่องนี้กสทช.ดำเนินการได้เอง เนื่องจากหลักเกณฑ์กำหนดว่า หากราคากลางการประมูลไม่ถึง 100 ล้านบาท ไม่จำเป็นต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.)
ด้านนางสาววทันยา วงษ์โอภาสี รองประธานกรรมการบริหารด้านธุรกิจองค์กร และรักษาการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า บริษัทขอยืนยันว่า บริษัทได้สิทธิในการขอแบ่งเวลาเพื่อดำเนินรายการ และรับจ้างผลิตรายการให้กับกสทช. สำหรับใช้ในการออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ.FM คลื่นความถี่ 98.50 MHz (กรุงเทพฯ) ซึ่งกสทช.ได้พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐานต่างๆเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา
ส่วนการทวีตข้อความทางสื่อสังคมของนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่ระบุว่า การได้มาของคลื่นความถี่ FM.98.5 ของสถานีข่าวสปริงนิวส์อาจมีการคลาดเคลื่อน เนื่องจากช่วงความถี่ดังกล่าว กสท. ยังไม่เคยมีมติจัดสรรให้ผู้ประกอบการรายใดใช้งานแต่อย่างใดนั้น จึงไม่เป็นความจริง และสร้างความเสียหายในด้านภาพลักษณ์ต่อบริษัทอย่างมาก ซึ่งในขณะนี้บริษัทกำลังพิจารณาว่าจะดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่อย่างไร
ต่อกรณีที่สปริงนิวส์มีการปลดพนักงานออกจำนวนมากนั้น นางสาววทันยากล่าวว่า บริษัทขอชี้แจงว่า เป็นการปรับโครงสร้างองค์กรภายใน เพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจในปี 2559 ซึ่งบริษัทต้องการมุ่งเน้นการผลิตเนื้อหาด้านข่าวเศรษฐกิจและธุรกิจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะข่าวต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องคัดพนักงานออกจำนวน 38 คน แบ่งเป็นนักข่าว 9 คน ส่วนที่เหลือเป็นเจ้าหน้าฝ่ายต่างๆ เช่น โปรดิวเซอร์ เป็นต้น โดยนักข่าวที่ออกไปส่วนใหญ่เป็นนักข่าวสายในประเทศ ซึ่งไม่สอดคล้องกับแผนธุรกิจของบริษัทจะดำเนินไปในปีหน้า
"การจ้างพนักงานออกนั้นเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ ที่ต้องการปรับโครงสร้างภายใน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจใหม่ ขณะเดียวกันบริษัทก็วางแผนเพิ่มทีมขายเข้ามามากขึ้น เพื่อกระตุ้นในเรื่องของรายได้ โดยผลประกอบการของบริษัทในปีนี้คาดว่าจะมีรายได้รวม 160 ล้านบาท ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 200 ล้านบาท"
สำหรับบริษัท สปริงนิวส์ฯ ในเครือบริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS ซึ่งมีนายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เดิมเป็นผู้ประกอบการสถานีดาวเทียมสปริงนิวส์ และชนะประมูลเป็น 1 ใน 24 ช่องสถานีโทรทัศน์ดิจิตอล โดยอยูในกลุ่มบริการข่าวสาร ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างหนัก ประจวบกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ผลประกอบการที่ผ่านมายังติดลบ โดยในปี 2557 ขาดทุน 559.97 ล้านบาท และปี 2558 ถึง 30 มิถุนายนนี้ ขาดทุน 294.5 ล้านบาท และในห้วงที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าร่วมทุนสำนักข่าวที นิวส์ ที่จะขยายสู่แพลตฟอร์มข่าววิทยุดังกล่าว หรือการเข้าซื้อหุ้นบมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป หรือเอ็นเอ็มจี จนอาจเป็นเสียงข้างมาก แต่ยังต่อสู้ทางคดีความกันอยู่ เป็นต้น
ด้านพ.อ. ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าในการนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ของนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ "เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด ผู้บริหารช่องทีวีดิจิตอล "ไทยทีวี" และ "โลก้าหรือเอ็มวีทีวี" ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 พฤศจิกายนนั้น ล่าสุดมีเอกสารนัดขอเจรจา จากศาลปกครองในวันที่ 30 ตุลาคม แต่เนื่องจากคณะกรรมการของกสท. ไม่สะดวกในวันและเวลาดังกล่าว จึงขอเลื่อนออกไปภายใน 30 วัน นับจากวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา
ขณะที่กรอบระยะเวลาการเลื่อนนัดชำระหนี้ค่าประมูลคลื่นความถี่นั้น หากภายในวันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายนนี้ ไทยทีวียังไม่นำเงินมาชำระหนี้ จะดำเนินการพักใบอนุญาตในวันที่ 3 พฤศจิกายนทันที
ทั้งนี้บริษัท ไทยทีวีฯ มียอดเงินค้างชำระประกอบไปด้วย เงินค่างวดที่ 2 ของไทยทีวี จำนวน 189.17 ล้านบาท ช่องโลก้าหรือเอ็มวีทีวี 99.29 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 2% ของรายได้รวมไทยทีวีหรือประมาณ 200 ล้านบาท และค่าปรับผิดนัดชำระอัตรา 7.5% ต่อปี หรือราววันละ 6 หมื่นบาทต่อวัน
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (หน้า 1,12)