.....บนเส้นทางอันยาวไกลของชาวนาไทย: จำนำข้าว“15,000บาท/เกวียน” ยังน้อยไปด้วยซ้ำ....

กระทู้คำถาม
กว่าจะชูช่อออกรวงเหลืองอร่ามได้   คนที่ไม่ได้เป็นชาวนาจริงๆ ยากจะเข้าถึงและเข้าใจความเป็นกระดูสันหลังของชาติ   นอกจากจะเผชิญภัยธรรมชาติ น้ำท่วม  น้ำแล้ง  เพี้ย ดินเป็นกรด ฯลฯ ในระหว่างและหลังกระบวนการปลูกข้าวแล้ว   ยังต้องมาเผชิญกับการภัยที่เกิดจาก “จิตใจ” มนุษย์  ที่มีทั้งรังเกียจ  กดขี่(ราคา)  เห็นแก่ได้  ไร้ปราณี ฯลฯ อีก

ผมเคยเรียนในกระทู้ก่อนๆ ไปแล้วว่า “ชาวนา” และ “ข้าว” คือตัวสร้างความเป็น “ปึกแผ่น” ของแผ่นดินไทย   เหมือนๆ กับ “น้ำมัน” ที่สร้างปึกแผ่นให้บางประเทศในตะวันออกกลาง    ชาวนาในสมัยก่อนเป็นทั้งทหารไพร่(ชั้นเลว)ที่ต้องถูกเกณฑ์ไปออกทัพจับศึกที่อยู่แนวหน้า(ตายก่อนแม่ทัพนายกอง)  เป็นทั้งไพร่ส่งส่วยต้องต้องเข้าเวรทุกๆ สองเดือน  เป็นทั้งชาวนาที่ต้องปลูกข้าวเข้าฉางหลวงเป็นเสบียงไว้ยามศึกสงคราม



ผลผลิตจากเกษตรกรรมอย่างข้าว  จึงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้เรามาเท่าทุกวันนี้เมื่อเทียบกับผลผลิตอื่นๆ รวมถึง “ยางพารา” ด้วย    แต่ที่น่าฉงนว่า   สถานะของ “ผู้ผลิต” อย่างชาวนาแทบจะไม่กระเตื้องขึ้นเอาเสียเลย   แต่บางกลุ่มบางตระกูลกับรวยเอาๆ จากการทำนาบนหลังชาวนาอีกทอดหนึ่ง



คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
กว่าจะได้ข้าวมาแต่ละเม็ดมันผ่านกระบวนการมากมายจริงๆครับ  ก็มีที่นาเป็นของตัวเองบ้างอยู่ ทำเองไม่เป็นหรอกมีแต่พ่อผมไปทำเป็นงานอดิเรกหลังเกษียณอายุราชการ ดีกว่าปล่อยที่ทำกินมันปล่อยไว้เปล่าๆโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ ราคาข้าวปัจจุบันชาวนาแทบไม่ได้อะไรครับแต่ก็ขอสดุดีชาวนาไทยทุกท่านที่ยังคงยึดการประกอบอาชีพนี้ให้อยู่คู่แผ่นดินไทย ให้คนไทยได้มีข้าวไทยกินไม่ต้องไปซื้อมาจากชาติอื่น

นี่คือรูปตอนที่ผมช่วยพ่อขนข้าวจากนาขึ้นไปตากไว้บนลานชั้นบนสุดของบ้านครับ ทำไว้เอาไว้สีกินเองเพราะเป็นข้าวหอมมะลิอินทรีย์ปลอดสารพิษ จะมีความหอมและความนุ่มอยู่ในตัว และส่วนที่เหลือก็จะนำมาทำเป็นเมล็ดพันธ์ข้าวไว้ปลูกต่อในหน้านาถัดไป

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่