ก่อนหน้านี้ในปี 2557 มีคนเขียนนิยายเรื่องนึง ชื่อว่า โลกที่ปราศจากศูนย์ ถึงจะเป็นนิยายแต่จริงๆ แล้วมันก็คือการเสนอไอเดียแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของคนเขียนมากกว่า ทำให้พล็อตเรื่องเป็นเหมือนคนสองคนคุยกันไปเรื่อยๆ จนจบเรื่อง
จะเรียกว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ก็อาจจะพอกล้อมแกล้มไปได้ เพราะว่าเนื้อหาเกี่ยวกับการคุยเรื่องทฤษฎีวิทยาศาสตร์(ที่เค้าคิดเอง)ทั้งนั้น
มีช่วงนึงที่คนเขียนเสนอไอเดียของเค้าว่า เราควรจะเรียกว่า "ความโน้มถ่วง" แทนที่จะเป็น "แรงโน้มถ่วง" เหมือนกัน
"ตอนนี้เราได้เรียนรู้มุมมองของทฤษฎีพัฒนาการมิติแล้วว่า ปรากฎการณ์การดึงดูดไม่ได้เกิดจากแรงและที่จริงแล้วก็ไม่เกี่ยวข้องกับการดึงหรือดูด แต่เป็นเจตนาของการเข้าหากันเพื่อแลกเปลี่ยนความหมาย นี่คือสาเหตุที่ทำให้เวลาพูดเรื่องนี้ผมมักหลีกเลี่ยงคำว่าแรงดึงดูด แล้วใช้คำว่าความโน้มถ่วง หรือ ปรากฎการณ์ความโน้มถ่วงแทน ซึ่งแม้จะไม่ช่วยสื่ออะไรมากนัก แต่อย่างน้อยก็ช่วยแสดงจุดยืนที่ว่าปรากฎการณ์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับแรง, การดึง, หรือการดูด ได้พอสมควร"
จาก โลกที่ปราศจากศูนย์ III : ...เรื่องสำคัญที่ต้องบอก ตอน แกรนด์อาร์ช, เดทที่ 2B (1)
สิ่งที่ชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ คนเขียนได้พยายามคิดทฤษฎีของตัวเองและพยายามที่จะตอบโจทย์ต่างๆ ทำให้พลอยคิดไปว่า เอ๊ะ ที่เค้าคิดมามันจริงหรือเปล่า และถ้าจริงขึ้นมาหรือพอมีเค้าก็ดีเหมือนกัน เราก็จะได้เห็นคนไทยเราคิดทฤษฎีอะไรขึ้นมาได้บ้าง แทนที่จะเห็นแต่ชาวต่างชาติคิดกันอย่างเดียว เพราะอยากเห็นคนไทยคิดโน่นคิดนี่ออกมากันบ้าง ได้เป็นนักคิดกันบ้าง และก็คิดว่าคนเขียนคนนี้ก็เป็นนักคิดคนนึง
อาจจะไม่ถูกแต่มันก็ทำให้เราได้ขบคิดอะไรกันบ้าง ฝรั่งบางทีก็ยังมีคนคิดทฤษฎีเช่น มิติที่ 10 (ten dimensions) กันมั่งเลย
มันอาจจะดูเป็นทฤษฎีแปลกๆ หน่อย แต่คิดว่าดูกว่าพวกเหรียญควอนตั้มอะไรพวกนั้นนะ
หนังสือเค้าแจกฟรีที่เว็บนี้
http://www.ebooks.in.th/nonzeroworld/
จากเครื่องคลื่นความโน้มถ่วงทำให้นึกถึงนิยายเรื่องนึง "โลกที่ปราศจากศูนย์"
จะเรียกว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ก็อาจจะพอกล้อมแกล้มไปได้ เพราะว่าเนื้อหาเกี่ยวกับการคุยเรื่องทฤษฎีวิทยาศาสตร์(ที่เค้าคิดเอง)ทั้งนั้น
มีช่วงนึงที่คนเขียนเสนอไอเดียของเค้าว่า เราควรจะเรียกว่า "ความโน้มถ่วง" แทนที่จะเป็น "แรงโน้มถ่วง" เหมือนกัน
"ตอนนี้เราได้เรียนรู้มุมมองของทฤษฎีพัฒนาการมิติแล้วว่า ปรากฎการณ์การดึงดูดไม่ได้เกิดจากแรงและที่จริงแล้วก็ไม่เกี่ยวข้องกับการดึงหรือดูด แต่เป็นเจตนาของการเข้าหากันเพื่อแลกเปลี่ยนความหมาย นี่คือสาเหตุที่ทำให้เวลาพูดเรื่องนี้ผมมักหลีกเลี่ยงคำว่าแรงดึงดูด แล้วใช้คำว่าความโน้มถ่วง หรือ ปรากฎการณ์ความโน้มถ่วงแทน ซึ่งแม้จะไม่ช่วยสื่ออะไรมากนัก แต่อย่างน้อยก็ช่วยแสดงจุดยืนที่ว่าปรากฎการณ์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับแรง, การดึง, หรือการดูด ได้พอสมควร"
จาก โลกที่ปราศจากศูนย์ III : ...เรื่องสำคัญที่ต้องบอก ตอน แกรนด์อาร์ช, เดทที่ 2B (1)
สิ่งที่ชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ คนเขียนได้พยายามคิดทฤษฎีของตัวเองและพยายามที่จะตอบโจทย์ต่างๆ ทำให้พลอยคิดไปว่า เอ๊ะ ที่เค้าคิดมามันจริงหรือเปล่า และถ้าจริงขึ้นมาหรือพอมีเค้าก็ดีเหมือนกัน เราก็จะได้เห็นคนไทยเราคิดทฤษฎีอะไรขึ้นมาได้บ้าง แทนที่จะเห็นแต่ชาวต่างชาติคิดกันอย่างเดียว เพราะอยากเห็นคนไทยคิดโน่นคิดนี่ออกมากันบ้าง ได้เป็นนักคิดกันบ้าง และก็คิดว่าคนเขียนคนนี้ก็เป็นนักคิดคนนึง
อาจจะไม่ถูกแต่มันก็ทำให้เราได้ขบคิดอะไรกันบ้าง ฝรั่งบางทีก็ยังมีคนคิดทฤษฎีเช่น มิติที่ 10 (ten dimensions) กันมั่งเลย
มันอาจจะดูเป็นทฤษฎีแปลกๆ หน่อย แต่คิดว่าดูกว่าพวกเหรียญควอนตั้มอะไรพวกนั้นนะ
หนังสือเค้าแจกฟรีที่เว็บนี้ http://www.ebooks.in.th/nonzeroworld/