"มาตรฐานทางจริยธรรม" เริ่มมีปรากฏในร่างของกรธ.(ชุดเดิม-ชุดบวรศักดิ์) และ แม้ตัวมาตรฐาน จะยัง
ไม่มีปรากฏอยู่ในร่างรธน.ชุดทั่นมีชัยที่เผยแพร่ต่อสาธารณในเวลานี้ แต่ในร่างรธน.ทั่นมีชัยนั่น ก็
มีการอ้างอิงถึง "มาตรฐานทางจริยธรรม" ไว้หลายจุดอย่างน่าสนใจครับ
อนึ่ง กระทู้นี้มิได้ต้องการให้ทางพันทิพเกิดความลำบากใจเกี่ยวกับวิจารณ์ร่างรธน.แต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการ
นำตัวอย่าง "มาตรฐานทางจริยธรรม" ที่กำหนดไว้โดยกรธ.(ชุดเดิม) มาให้พิจารณา และในส่วนร่างรธน.ทั่นมีชัยนั้น ก็
เพียงแต่คัดสำเนามาตราที่เกี่ยวข้อง มาลงไว้เพื่อให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ครับ
ความสำคัญของ "มาตรฐานทางจริยธรรม" ในร่างรธน.ทีเผยแพร่ต่อสาธารณ
"มาตรฐานทางจริยธรรม" มีความสำคัญเพราะมีปรากฏในร่างรธน.ของทั่นมีชัย ในจุดสำคัญหลายจุด ดังต่อไปนี้
( จะเห็นว่า หากผิดต่อจริยธรรมร้ายแรง จะต้องพ้นจากตำแหน่งนะครับ)
ผู้ร่างและผู้วินิจฉัย "มาตรฐานทางจริยธรรม"
สรุป ศาลรธน.ร่วมกับองค์กรอิสสระช่วยกันจัดทำ "มาตรฐานทางจริยธรรม" หากผู้เกี่ยวข้องตามบัญญัติกฎหมายรธน.ฝ่าฝืน อาทิเช่น สส. สว. รมต. ทั้งหลาย หากฝาฝนหรือ
ไมปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอยางรายแรง จะ
ต้องพ้นจากตำแหน่งไป โดยที่
ปชป.จะเป็นต้นเรื่องสืบสวน และผู้ที่พิจารณาตัดสินคือ
ศาลรัฐธรรมนูญ
ตัวอย่าง "มาตรฐานทางจริยธรรม" จากกรธ.ชุดเก่า
ในขณะนี้
ยังไม่มีการจัดทำ "มาตรฐานทางจริยธรรม" เพราะต้องรอให้ร่างรธน.ผ่านและประกาศใช้ก่อน แต่เราอาจเห็นภาพคร่าวๆ ของมาตรฐานนี้ ได้จากคณะกรรมการยกร่างชุดบวรศักดิ์ได้ร่างไว้ ซึ่งมีทั้งข้อควรปฏิบัติแ ละข้อห้ามปฏิบัติ ซึ่งส่วนสำคัญจะอยู่ตรงข้อห้ามปฏิบัติ ซึ่งในชุดบวรศักดิ์
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ(ชุดเก่า)ได้เคยกำหนด
"5 ควร - 6 ไม่" ขึ้นมาวางไว้เป็นแนวทาง
วิเคราะห์
“มาตรฐานทางจริยธรรม” เป็นสิ่งที่ดีที่ควรมีในสังคมทั่วไป แต่การนำมาบรรจุในตัวรธน. ก็ต้องระวังผู้ใช้ หากใช้อย่างเที่ยงตรงไม่ลำเอียงไปฝ่ายใด ก็จะนำมาซึ่งความยุติธรรม แต่หากใช้แบบไม่เที่ยง ก็จะเกิดข้อครหาได้ว่า ทำไมฝ่ายนั่น ยอมให้บุคคลใด หรือ
คณะบุคคลใดสั่งการ ครอบงำ หรือชี้นำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่จัดการ (ถึงขนาดมีคนวิจารณ์ว่ามีเส้นใหญ่)....แต่จะ มาจัดการเฉพาะแต่ฝ่ายนี้ เช่น คนเขาอยู่เมืองนอกแล้ว สส.ไปขอพร เขาให้คำแนะนำมา ก็เอามาจัดการเขาเสีย
เช่นข้อ (4.)สส.ไปพบคุณทักษิณ ต่างประเทศ หรือวิดิโอลิงค์คุณทักษิณ จะถูกมองว่าคณะบุคคลใดสั่งการ ครอบงำ หรือชี้นำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใช่หรือไม่ ในขณะที่ ในอนาคต หากประชาธิปัตย์จะประชุมจัดตั้งคณะรัฐบาลอีกในสถานที่ที่ไม่ใช่ที่ทำการของพรรคการเมือง แต่จะไม่ถูกมองว่าใครสั่งการ ครอบงำ หรือชี้นำใช่หรือไม่
ส่วนข้อ(5.)ใช้อำนาจ
มุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ของประเทศและประชาชนระยะยาว ก็จะคาบเกี่ยวกับการไปตัดสินอะไรที่ เหนือกว่าประชาชนตัดสินหรือไม่
เรื่องการพูดจาไม่สุภาพ หรือ ชี้นำให้บุคคลอื่นเลี่ยงการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ก็เช่นกัน มันก็เป็นกันทั่ว พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง สนับสนุนและหนุนให้คนของตน ไปเล่นการเมืองนอกกติกาอยู่ข้างถนน จนบ้านเมืองวุ่นวายเมื่อสองปีก่อน จะโดนพิจารณาหรือไม่ หรือจะมาอ้างแต่เรื่องการออกกฎหมายของพรรครัฐบาลว่า เลี่ยงการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แบบปิดตามองข้างเดียว
สรุป
การกำหนด "มาตรฐานทางจริยธรรม" จึงสำคัญ กรณีตัวอย่างที่ยกมานั้น มีปัญหาในการที่จะไปคาบเกี่ยวกับ อำนาจของประชาชนผู้ใช้สิทธิ และต้องระวังผู้ที่เอาไปใช้ ว่าจะเอาไปใช้โดยเที่ยงธรรม หรือเอาไปใช้เพื่อจัดการกับเพียงบางคนบางฝ่าย หากกำหนดผู้ใช้เป็นปปช.หรือศาลรธน.นี้
สมควรถามประชาชนทั่วไปก่อนดีไหมครับว่า สององค์กรนี้ ประชาชนไว้วางใจให้ดูแลเรื่องสำคัญนี้มากน้อยเพียงไร หรือรู้สึกอย่างไร
หวังว่ากระทู้คงผ่านการพิจารณานะครับ เพราะหวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในแง่คิดแก่สมาชิก ในการพิจารณาเรื่องต่างๆในเวลานี้ครับ...และขอทยอยปรับเนื้อหากระทู้เป็นกราฟฟิคบางส่วนเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้นครับ
۞۞ :::ตัวอย่าง "มาตรฐานทางจริยธรรม".... สิ่งที่ดูเหมือนดี แต่คงต้องขึ้นกับผู้ที่เอาไปใช้:::۞۞ ไทโรครับ
อนึ่ง กระทู้นี้มิได้ต้องการให้ทางพันทิพเกิดความลำบากใจเกี่ยวกับวิจารณ์ร่างรธน.แต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการนำตัวอย่าง "มาตรฐานทางจริยธรรม" ที่กำหนดไว้โดยกรธ.(ชุดเดิม) มาให้พิจารณา และในส่วนร่างรธน.ทั่นมีชัยนั้น ก็เพียงแต่คัดสำเนามาตราที่เกี่ยวข้อง มาลงไว้เพื่อให้เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ครับ
"มาตรฐานทางจริยธรรม" มีความสำคัญเพราะมีปรากฏในร่างรธน.ของทั่นมีชัย ในจุดสำคัญหลายจุด ดังต่อไปนี้
( จะเห็นว่า หากผิดต่อจริยธรรมร้ายแรง จะต้องพ้นจากตำแหน่งนะครับ)
สรุป ศาลรธน.ร่วมกับองค์กรอิสสระช่วยกันจัดทำ "มาตรฐานทางจริยธรรม" หากผู้เกี่ยวข้องตามบัญญัติกฎหมายรธน.ฝ่าฝืน อาทิเช่น สส. สว. รมต. ทั้งหลาย หากฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอยางรายแรง จะต้องพ้นจากตำแหน่งไป โดยที่ ปชป.จะเป็นต้นเรื่องสืบสวน และผู้ที่พิจารณาตัดสินคือ ศาลรัฐธรรมนูญ
ในขณะนี้ ยังไม่มีการจัดทำ "มาตรฐานทางจริยธรรม" เพราะต้องรอให้ร่างรธน.ผ่านและประกาศใช้ก่อน แต่เราอาจเห็นภาพคร่าวๆ ของมาตรฐานนี้ ได้จากคณะกรรมการยกร่างชุดบวรศักดิ์ได้ร่างไว้ ซึ่งมีทั้งข้อควรปฏิบัติแ ละข้อห้ามปฏิบัติ ซึ่งส่วนสำคัญจะอยู่ตรงข้อห้ามปฏิบัติ ซึ่งในชุดบวรศักดิ์
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ(ชุดเก่า)ได้เคยกำหนด "5 ควร - 6 ไม่" ขึ้นมาวางไว้เป็นแนวทาง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วิเคราะห์
“มาตรฐานทางจริยธรรม” เป็นสิ่งที่ดีที่ควรมีในสังคมทั่วไป แต่การนำมาบรรจุในตัวรธน. ก็ต้องระวังผู้ใช้ หากใช้อย่างเที่ยงตรงไม่ลำเอียงไปฝ่ายใด ก็จะนำมาซึ่งความยุติธรรม แต่หากใช้แบบไม่เที่ยง ก็จะเกิดข้อครหาได้ว่า ทำไมฝ่ายนั่น ยอมให้บุคคลใด หรือคณะบุคคลใดสั่งการ ครอบงำ หรือชี้นำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่จัดการ (ถึงขนาดมีคนวิจารณ์ว่ามีเส้นใหญ่)....แต่จะ มาจัดการเฉพาะแต่ฝ่ายนี้ เช่น คนเขาอยู่เมืองนอกแล้ว สส.ไปขอพร เขาให้คำแนะนำมา ก็เอามาจัดการเขาเสีย
เช่นข้อ (4.)สส.ไปพบคุณทักษิณ ต่างประเทศ หรือวิดิโอลิงค์คุณทักษิณ จะถูกมองว่าคณะบุคคลใดสั่งการ ครอบงำ หรือชี้นำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ใช่หรือไม่ ในขณะที่ ในอนาคต หากประชาธิปัตย์จะประชุมจัดตั้งคณะรัฐบาลอีกในสถานที่ที่ไม่ใช่ที่ทำการของพรรคการเมือง แต่จะไม่ถูกมองว่าใครสั่งการ ครอบงำ หรือชี้นำใช่หรือไม่
ส่วนข้อ(5.)ใช้อำนาจมุ่งสร้างความนิยมทางการเมืองที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ของประเทศและประชาชนระยะยาว ก็จะคาบเกี่ยวกับการไปตัดสินอะไรที่ เหนือกว่าประชาชนตัดสินหรือไม่
เรื่องการพูดจาไม่สุภาพ หรือ ชี้นำให้บุคคลอื่นเลี่ยงการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย ก็เช่นกัน มันก็เป็นกันทั่ว พรรคการเมืองพรรคหนึ่ง สนับสนุนและหนุนให้คนของตน ไปเล่นการเมืองนอกกติกาอยู่ข้างถนน จนบ้านเมืองวุ่นวายเมื่อสองปีก่อน จะโดนพิจารณาหรือไม่ หรือจะมาอ้างแต่เรื่องการออกกฎหมายของพรรครัฐบาลว่า เลี่ยงการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ แบบปิดตามองข้างเดียว
สรุป
การกำหนด "มาตรฐานทางจริยธรรม" จึงสำคัญ กรณีตัวอย่างที่ยกมานั้น มีปัญหาในการที่จะไปคาบเกี่ยวกับ อำนาจของประชาชนผู้ใช้สิทธิ และต้องระวังผู้ที่เอาไปใช้ ว่าจะเอาไปใช้โดยเที่ยงธรรม หรือเอาไปใช้เพื่อจัดการกับเพียงบางคนบางฝ่าย หากกำหนดผู้ใช้เป็นปปช.หรือศาลรธน.นี้ สมควรถามประชาชนทั่วไปก่อนดีไหมครับว่า สององค์กรนี้ ประชาชนไว้วางใจให้ดูแลเรื่องสำคัญนี้มากน้อยเพียงไร หรือรู้สึกอย่างไร
หวังว่ากระทู้คงผ่านการพิจารณานะครับ เพราะหวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในแง่คิดแก่สมาชิก ในการพิจารณาเรื่องต่างๆในเวลานี้ครับ...และขอทยอยปรับเนื้อหากระทู้เป็นกราฟฟิคบางส่วนเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้นครับ