การโจมตีค่าเงินของ Josh Soros ที่จีนต้องระแวง

บทความนี้จะเล่าย้อนไปตอนที่ค่าเงินบาทไทยถูกโจมตีว่าวิธีการเป็นอย่างไร  และอะไรที่ทำให้เราถูกโจมตี อาจจะประเด็นเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องนิดหน่อย  และเหมาะกับคนที่ต้องการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อปกป้องอนาคตของเราในอนาคต  เพราะต้องบอกว่าฝ่ายการเมืองมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องนี้
ก่อนอื่นผมต้องขอเล่าย้อนไปถึงนโยบายการเงินของเรา  โดยเราใช้นโยบายการเงินเป็นของตัวเองและคงอัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัว  เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของเราและไม่ปล่อยให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีได้ เหมือนกับที่จีนใช้อยู่ตอนนี้  
  กลไกการเงินระหว่างประเทศถูกดูแลโดยกระทรวงการคลังที่ออกนโยบายและธนาคารกลางคือแบงค์ชาติที่กำหนดนโยบายทางการเงิน เช่นดูแลอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ เช่นลดดอกเบี้ยลงเมื่อเศรษฐกิจเริ่มตกต่ำเพื่อกระตุ้นให้มีการปล่อยกู้  เมื่อมีการปล่อยกู้ก็จะมีการซื้อ การจ้างงานตามมาหรือขึ้นดอกเบี้ยเมื่อเห็นว่าเศรษฐกิจโตเร็วเกินไปเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟองสบู่  รวมทั้งดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนเกินไป  เพราะถ้าแข็งเกินไปก็จะส่งออกสินค้าได้ลำบากเนื่องจากมีราคาแพงหรือถ้าอ่อนเกินไปก็จะนำเข้าเครื่องจักรในราคาที่แพงเช่นกัน  โดยในตอนนั้นเราใช้นโยบายการค้าแบบเปิด  โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัวกับต่างประเทศ  เมื่อธนาคารต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะทำการซื้อพันธบัตรคืนจากธนาคารพานิชย์ ก็จะทำให้ระบบมีสภาพคล่องขึ้น ดอกเบี้ยต่ำลง  ธุรกิจก็จะมากูเงินเพื่อนำไปลงทุนแล้วทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น และมีการนำเข้าเทคโนโยยีและวัตถุดิบต่างๆ เพื่อนำมาดำเนินธุรกิจ ก็จะทำให้เกิดการขาดดุลการค้า เงินทุนต่างประเทศก็จะไหลออกเพราะผลตอบแทนจากดอกเบี้ยลดลง  ต่างชาติถอนเงินคืนทำให้เราขาดดุลเงินเคลื่อนย้ายทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงไปมาก  แบงค์ชาติก็ต้องนำเงินทุนสำรองต่างประเทศมาซื้อเงินออกจากระบบเพื่อทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น หลังจากนั้นก็ขายพันธบัตรเพื่อทำให้ดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นแบบนี้สลับไปเพื่อรักษาค่าเงินให้สมดุล  
    ในตอนนั้นเรามีเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งคือการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน  มันทำหน้าที่เหมือนฝายชะลอน้ำที่คอยชะลอการไหลออกของเงินทุนไม่ให้ไหลออกมากเกินไปหรือเร็วเกินไป ทำให้เราปรับตัวเข้าสู่สมดุลได้ทุกครั้ง  ตั้งแต่ก่อนปี 40  เราดำเนินนโยบายการเงินการคลังด้วยตัวเอง  และใช้การแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพื่อที่เราจะได้กำหนดนโยบายการเงินได้เหมาะสมกับเศรษฐกิจบ้านเรา  เพราะถ้าเราไปอิงกับต่างประเทศก็อาจดำเนินนโยบายที่ไม่เหมาะสมเช่น อเมริกาต้องการกระตุ้นแต่บ้านเราเศรษฐกิจใกล้จะเกิดฟองสบู่อยู่แล้วหรืออเมริกาต้องการชะลอเศรษฐกิจแต่บ้านเราเศรษฐกิจแย่ก็จะแย่เข้าไปใหญ่  ดังนั้นประเทศใหญ่ๆอย่างอเมริกา ญี่ปุ้นหรือยุโรปจะมีนโยบายเป็นของตัวเองเพื่อดูแลให้เหมาะสม  การส่งออกของบ้านส่งออกไปเพียงเล็กน้อยในช่วงแรก จนรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุญหะวัณ ประเทศไทยเริ่มมีสัดส่วนการค้าขายกับต่างประเทศสูงขึ้นมาก จนทำให้ตัวเลข GDP สูงขึ้นมากเหมือนกับเวียดนามในตอนนี้ที่โต 7% เศรษฐกิจโตแบบนี้อีกหลายปี  เนื่องจากเศรษฐกิจที่โตมากก็จะมีการกูเงินจากภายนอกประเทศที่มีดอกเบี้ยถูกกว่ามาเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ธนาคารปล่อยเงินกู้เนื่องจากสินทรัพย์มีราคาสูงขึ้นๆ ตอนนี้เราก็เริ่มเห็นฟองสบู่แล้ว  แต่ตอนนั้นแบงค์ชาติยังปล่อยให้เป็นไปเพราะคิดว่ายังเอาอยู่  โดยมีกฎการควบคุมเงินคอยช่วยไม่ให้การเก็งกำไรทำให้เกิดความเสียหายได้มากพอ  จนเมื่อถึงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมลตรีว่าการกระทรวงการคลังสมัยแรกปี 2537 ยกเลิกกฎหมายควบคุมธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ (capital control ) เปิดเสรีทางการเงิน BIBFsให้ทุนต่างชาติไหลเข้าออกได้โดยเสรี  ซึ่งคิดว่าจะทำให้เกิดการไหลเข้ามาของเงินต่างชาติได้อีกมากมายแล้วจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตสูงขึ้นไปอีก ทั้งที่จริงก่อนหน้านี้ก็เป็นฟองสบู่อยู่แล้ว  ดังนั้นเราสรุปได้ว่าวกฤติเกิดจากนายชวน หลีกภัย นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์และผู้ว่าการแบงค์ชาติที่ปล่อยให้การเมืองเข้ามาครอบงำฝ่ายการเงินจนนำไปสู่วิกฤติ
   นายจอร์จ โซรอสรู้ว่าการใช้เงินทุนสำรองของไทยไม่แข็งแรงพอที่จะรักษาค่าเงินไว้ได้  จึงได้เริ่มทะยอยเก็บสกุลเงินบาทไทยแล้วนำไปซื้อสัญญาซื้อขายเงินกอลล่าล่วงหน้าในอีก 6 เดือนโดยสัญญาระบุว่า 25 บาทไทยจะสามารซื้อได้ 1 ดอลล่า และมีการไปกูเงินในตลาดต่างประเทศเพื่อมาทำสัญญาล่วงหน้าเพิ่ม เพราะการต้องต่อสู้กับแบงชาติต้องใช้เงินที่มหาศาล ไม่งั้นแบงค์ชาติอาจสู้หมดตัวเพื่อรักษาค่าเงินไว้ได้  โดยได้รวบรวมเงินได้กว่า 1 แสนล้านดอลล่าในขณะที่แบงชาติมีเงินสำรอง 46000 ล้านดอลล่า โดยแบงชาติได้ทำการใช้เงินสำรองเพื่อรักษาค่าเงินเอาไว้  โดยหวังว่าจะต่อสู้ได้นานพออที่ดอกเบี้ยจากเงินกู้จะทำให้โซรอสแพ้ไปเอง  แต่ผลก็อย่างที่เรารู้ธนาคารแห่งประเทศไทยยอมแพ้แล้วประกาศลอยตัวเงินบาทจาก 25 บาทไปเป็น 50 บาทต่อดอลล่า  ตอนนี้คนที่ชอบเล่น forex คงรู้ว่าส่วนต่างที่เกิดขึ้นในสัญญาล่วงหน้าทำให้โซรอสได้กำไรไปมหาศาล  ส่วนประเทศไทยก็ถูก IMF เข้ามารัดเข้มขัด โดยอเมริกาได้กำไรจากดอกเบี้ยมหาศาลที่เราจ่ายไป  มีคนโดดตึกตายรายวันเพราะนโยบายจากรัฐบาลชุดหนึ่งได้สร้างความยิ้มให้บ้านเมืองเรามากมายเหลือเกิน  การถล่มค่าเงินกระจายไปทั่วเอเชีย  โชคดีที่มาเลเซียมีรัฐบาลที่ดีที่เข้าใจการเงินโดยยังมีกฎหมายควบคุมเงินทุนคอยช่วยไว้  ถึงแม้จะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศแย่แต่ก็ไม่ถึงกับต้องโดน IMF เข้ามายึดเหมือนประเทศไทย
   ตอนนี้สิ่งที่ผมมองเห็นคือจีนเติบโตมาอย่างต่อเนื่องหลายปีเหมือนประเทศไทยในอดีตและเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อส่งเสริมเงินสกุลหยวน  ทำให้ในอนาคตเงินหยวนจะเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น  ดังนั้นจึงต้องเจอกับพวกเก็งกำไรและแบคอย่างอเมริกาที่คอยหนุนหลังกองทุนพวกนี้  แต่อย่างที่เรารู้เงินสำรองของจีนมีมากที่สุดในโลกและมีอเมริกาเป็นลูกหนี้  เรากำลังมองเห็นลูกหนี้ปลดหนี้เจ้าหนี้แบบไม่ต้องใช้เงินคืน
  ขอบคุณทุกท่านที่ทนอ่านจนจบถ้าชอบบทความนี้ ขอให้ช่วยกดไลค์ กดแชร์เพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนได้มีผลงานต่อไป
ติดตามเพจได้ที่ https://www.facebook.com/Investment-for-student-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-1519848498288167/
หรือกดค้นหา Investment for student - ตัวอ่อนนักลงทุน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่