วิกฤติการณ์รอบโลกกำลังเดือด

จากที่ผมเฝ้าสังเกตมาในระยะหนึ่ง ก็ยิ่งพบว่าหลังจากเกิดวิกฤติ 2008 กับอเมริกา เงินทุนที่ไหลออกมาได้ไปสร้างฟองสบู่ไว้มากมายทั่วโลก   และช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงคาบเกี่ยวว่าฟองสบู่จะแตกไม่แตก และจะแตกที่ใดก่อนแค่นั้นเอง

เริ่มกันที่ Asian
   - ดูเหมือนจะไม่ค่อยน่ากังวลเท่าไหร่เมื่อเทียบกับข่าวอื่นๆ  จากเงินทุนที่ไหลเข้ามาทำให้ช่วงเวลานี้เงินทุนก็ทยอยไหลกลับประเทศตัวเอง  เมื่อเงินทุนไหลออกเป็นปริมาณมาก  ก็จะเป็นการล่อพวก hedge fund มาถล่มประเทศที่มีการควบคุมเงินไหลเข้า-ออกไม่ดี  หรือมีการป้องกันที่หละหลวม  แต่ประเทศในแถบนี้เคยโดนโจมตีมาครั้งหนึ่งแล้วในวิกฤติต้มยำกุ้ง  จึงค่อนข้างที่จะมีวิธีเตรียมพร้อมและป้องกันเป็นอย่างดีในการถูกโจมตีค่าเงิน  แต่ถึงอย่างนั้นค่าเงินก็อ่อนค่าลงไปมาก  โดยเฉพาะค่าเงินริงกิตของมาเลเซียที่ปีที่แล้วอ่อนค่าลงเป็นประวิติการณ์  มาพร้อมกับราคาสินค้าประเภทวัตุดิบที่มีการส่งออกร่วงลงอย่างหนักจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่เป็นผู้บริโภคหลัก และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง รวมทั้งราคาน้ำมันที่ดิ่งเหวทำให้สินค้าประเภทยางธรรมชาติแพงกว่าน้ำมัน  ซึ่งเป็นสินค้าหลักของไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย
   - ประเทศที่ดูสดใสมากกว่าเพื่อนในแถบนี้ก็คงจะเป็นเวียดนามที่เป็นดาวเด่นเหนืออาเซียน  จากการตกลงร่วมมือด้านเศรษกิจ 4 ฉบับภายในปีเดียว  และการเร่งพัฒนาสาธารณูปโภคอย่างรอบด้าน ทั้งทางคมนาคมทางบกทางน้ำ มีแหล่งน้ำมันและความมั่นคงทางด้านพลังงานอย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียที่จะสร้างเสร็จในอีกไม่กี่ปี  ที่สำคัญคือบุคลากร โดยผลการวัดการศึกษาของเวียดนามติดอันดับ 10 ของโลกในปีที่แล้ว  ก็เป็นการยืนยันว่ามีแรงงานที่มีประสิทธิภาพกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว, กัมภูชา, พม่าและไทย เป็นต้น  รวมถึงพื้นที่ว่างทางเศรษฐกิจอีกมากใหนักลงทุนเข้ามาแสวงหาประโยชน์
***แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีความเปราะบางและนโยบายทางด้านการเงิน  เพราะเมื่อมีเงินทุนไหลเข้ามามากก็ต้องระวังพวก hedge fund ที่จะเข้าปะปนมาด้วย

ต่อมา จีน
   ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหฐ่เป็นอันดับ 2 ของโลกและเป็นครึ่งหนึ่งของอเมริกา  นโยบายการเปิดประเทศของจีน ทำให้จีนเติบโตสูงตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา  ดังนั้นเมื่อถึงช่วงเวลาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในก็ย่มต้องเจอกับพวก hedge fund ที่รอเล่นงานอย่างแน่นอน  นี้ยังไม่พูดถึงด้านการเมืองที่กอลล่าอาจเป็นฝ่ายโจมตีหยวนอยู่ในขณะนี้  จากช่วงเวลาที่ดีในอดีตทำให้ภาคการเงินเติบโตสูงมากจนมีขนาดมากกว่า GDP ของประเทศจีนทั้งประเทศด้วยซ้ำ  และแน่นอนในมูลค่ามหาศาลขนาดนี้ย่อมมีการปล่อยกู้ที่เสียอยู่มาก  ซึ่งภาคที่ต้องใช้เงินกู้จากธนาคารเป็นจำนวนมากคือภาคอสังหาที่เกิดเป็นฟองสบู่กลายๆ  รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างก่อสร้างและพวกวัสดุก่อสร้างอีกเป็นจำนวนมาก  จนทำให้จีนต้องส่งออกสินค้าต่างๆออกไปภายนอกให้มากที่สุดในราคาที่ถูกเพื่อลดปริมาณคงค้างหลังจากที่ภาคอสังหาหยุดชะงัก  หนึ่งในนั้นคือเหล็กที่ทำให้ SSI เจอความเสียหายอย่างหนัก  นี้ยังไม่ต้องนับพวกปูนซีเมนต์ที่ออกมาพร้อมกัน  ดูเหมือนปัญหานี้จีนจะเจ็บตัวไม่มาก  แต่ปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ภาคการเงินและตลาดทุนที่โดนถอนเงินออกจากประเทศอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทำให้ต้องใช้นโยบายต่างๆเพื่อชะลอเงินไม่ให้ไหลออกเร็วเกินไป รวมทั้งกั้นไม่ให้นำเงินปริมาณมากออกในครั้งเดียว  นโยบายนี้เป็นการแก้ขัดได้แค่ชั่วคราวยังไม่ใช่วิธีที่จะแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง  ภายในเดือนธนวาคมและมกราคม เงินทุนสำรองของจีนลดลงไปเดือนละ 100000 ล้านดอลล่า ในขณะที่จีนมีเงินทุนสำรองมากถึง 4 ล้านล้านดอลล่า นี้จึงเป็นศึกระยะยาวไม่ใช่สั้นๆเหมือนที่เราเคยโดนตอนต้มยำกุ้ง  โดยสกุลพันธบัติที่ลดมากที่สุดคือพันธบัติของอเมริกา นี้คือการต่อสู้กันของสองประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย
**** จีนต้องการที่จะดันหยวนเข้าสู่ตลาดโลกให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น จึงต้องปล่อยให้เงินทุนไหลอย่างเสรี  นี้จึงขัดกับหลักการ 3 อย่างที่อยู่ร่วมกันไม่ได้คือ
1. มีนโยบายด้านการเงินเป็ของตัวเอง
2. ตรึงค่าเงิน
3. ปล่อยให้เงินทุนไหลอย่างเสรี
   เมื่อเกิด 3 สิ่งนี้ก็จะถูกโจมตีค่าเงินอย่างแน่นอนและการเอาเงินสำรองประเทศมาปกป้องค่าเงินของตัวเองนั้นเป็นวิธีที่หลายประเทศเคยใช้และประสบกับความพ่ายแพ้ในที่สุด  จึงต้องมามองว่าเงินทุนสำรองที่มากขนาดนี้จะทำให้จีนอยู่รอดจนถึงช่วงปรับเปลี่ยนโครงสร้างและเชื่อมต่อกลุ่ม BRIC กับเส้นทางสายไหมเพื่อเปิดตลาดการค้าหรือไม่ ร่วมทั้ง AIIB ที่จะผงาดมาแข่งกับตลาดฝั่งตะวันตก

ต่อมา ตะวันออกกลาง
   ตะวันออกกลางเป็นแถบที่มีการสู้รบมากมายทั้งสงครามการก่อการร้าย, สงครามศาสนา, สงครามตัวแทนและสงครามแย่งชิงน้ำมัน  ที่นี้เป็นแหล่งสร้างผู้ก่อการร้ายหัวรุนแรงตลอดมา  ส่งออกผู้ก่อการร้ายไปทั่วโลก  ทำให้หลายประเทศต้องหมดเงินไปกับการซื้ออาวุธและนโยบายด้านทหารสูงมาก  แต่ก็มีน้ำมันอย่างเหลือเฟื้อ  จากราคาน้ำมันที่สูงในอดีตทำให้นโยบายด้านการคลังของซาอุหย่อนยาน มีการใข้จ่ายสุรุ่ยสุรายกับงานราชพิธีต่างๆ, ข้าราชการ, ทหารและการสนับสนุนผู้ก่อการร้ายบางกลุ่ม  อีกทั้งยังต้องเป็นพี่ใหญ่ให้กับหลายประเทศเพื่อแข่งกับอิหร่าน จนตอนนี้เมื่อราคาน้ำมันดิ่งลงอย่างหนักก็ทำให้ประสบปัญหาตามมาอย่างแน่นอน  ถ้าให้พูดคือประเทศซาอุเป็นฝ่ายอเมริกา ส่วนอิหร่านเป็นฝ่ายรัสเซีย ดังนั้นถ้าเกิดอะไรที่เกี่ยวข้องกับประเทศเหล่านี้จะต้องมีการแทรกแซงจากภายนอกอย่างแน่นอน เพราะมหาอำนาจไม่อาจปล่อยให้ตะวันออกกลางตกเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้  แต่การแข่งขันด้านราคาของน้ำมันก็ทำให้ประเทศในแทบนี้แทบจะแห้งตายคาทะเลทรายแล้ว ถ้าราคายังไม่ขึ้น  โดยปัญหาของซาอุก็คืออเมริกาสามารถผลิดและส่งออกน้ำมันได้แล้ว รวมถึงแคนนาดาและอีกหลายประเทศที่ค้นพบแหล่งน้ำมันใหม่ๆ จนต้องทำให้เกิดการแข่งด้านราคาเกิดขึ้นโดยการผลิตออกมาให้มากที่สุดเพื่อพวกที่ต้นทุนสูงจะอยู่ไม่ได้
*** ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าถ้าเป็นแบบนี้อีกไม่เกิด 5 ปี ซาอุจะล้มลงในที่สุด

ต่อมายุโรป
   ปัญหาของยุโรปก็เกิดจากภาคการธาคารเป็นส่วนใหญ่ ชัดๆเลยก็คือ COCOs bond ที่เหล่าธนาคารปล่อยออกมาเป็นจำนวนมากในหลายปีที่ผ่านมา  จนเกรงว่าอาจจะไม่มีเงินทุนพอสำหรับจ่ายดอกเบี้ยนั้นเอง  โดย bonds นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นถุงลมกันกระแทกไม่ใช่หวังเก็งกำไร  เพราะ bond เหล่านี้ในยามปกติจะจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ซื้อตามข้อตกลง  แต่เมื่อเกิดวิกฤติต่างๆ ธนาคารสามารถเปลี่ยนมันเป็นเงินทุนมาเสริมสภาพคล่องให้ธนาคารได้  แต่ปัญหาคือหุ้นของธนาคารที่ลดลงอย่างหนักจากความกังวล ทำให้นักลงทุนไม่ต้องการจะเพิ่มทุนหากถึงเวลานั้นจริงๆ  นี้จึงเกิดเป็นความกังวลว่าดอร์ยแบงของเยอรมันจะล้มอย่างเลแมนบราเธอหรือไม่  แต่ก็อย่างที่รู้กันธนาคารมันใหญ่เกินกว่าจะล้ม  ดังนั้นไม่ว่าวิธีใดธนาคารนี้จะต้องถูกอุ้มอย่างแน่นอนแต่ธนาคารอื่นๆ อาจจะยังไม่แน่  เพราะตอนนี้เงินทุนสำรองของแต่ละธนาคารก็อยู่ปริ่มๆ สำหรับจ่ายดอกเบี้ยแล้ว
*** นโยบายดอกเบี้ยที่ติดลบของยุโรปก็แสดงว่า เศรษฐกิจภาคอื่นๆก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร ถึงแม้จะเร่งสุดตัวแล้วก็ตาม

ต่อมาอเมริกา
   จากการพึ่งฟื้นทำให้อาจจะยังลูกลูกคนในขณะนี้  ดูเหมือนจากการที่อเมริการายงาน ภาคแรงงานและอสังหาดูดีขึ้น แต่ภาคพลังงานดูจะแย่เอามากๆ จากราคาน้ำมันที่ลดลง ทำให้บริษัทน้ำมันหลายแห่งไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ได้  จึงส่งผลต่อไปยังภาคธนาคารที่รับซื้อ bonds ของบริษัทเหล่านี้ไว้เสี่ยงจะขาดทุนและเกิดเป็นวิกฤติรอบใหม่อีกหรือไม่  นี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญว่าถ้าราคาน้ำมันยังดิ่งลงจะทำให้พวกบริษัทน้ำมันปิดตัวลงไปก่อนและทิ้งหนี้ก้อนโตให้ธนาคารจนอาจต้องทำ QE อีกสักรอบก็ได้

เสริม รัสเซีย
   รัสเซียถูกคว่ำบาตรจากฝั่งตะวันตกทำให้เศรษฐกิจแย่อยู่แล้ว แถมยังโดนสงครามพลังงานจากราคาน้ำมันที่ดิ่งเหวอย่างหนัก  นี้ยังไม่รวมถึงการส่งออกแก็สที่จะมีอเมริกามาเป็นคู่แข่งในปีนี้  แต่ต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าก็คงต้องแข่งด้านราคาเหมือนกับน้ำมันอีกในรอบนี้  รายได้ของประเทศที่ลดลงเป็นจำนวนมาก  รวมทั้งสงครามในซีเรียทำให้รัวเซียต้องอดทนไม่น้อยในช่วงหน้าหนาวแบบนี้

   ใครสนใจที่จะติดตามบทความต่างๆ ติดตามเพจได้ที่ https://www.facebook.com/Investment-for-student-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99-1519848498288167/
หรือกดค้นหา Investment for student - ตัวอ่อนนักลงทุน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่