พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ดาบญี่ปุ่นเมืองเซกิ 関鍛冶伝承館.(โอตาคุ ดาบญี่ปุ่น 4 )

ความเดิม.  
โอตาคุดาบญี่ปุ่น 1.http://ppantip.com/topic/34646752

                          
โอตาคุดาบญี่ปุ่น 2.http://ppantip.com/topic/34652952

                          
โอตาคุดาบญี่ปุ่น 3.http://ppantip.com/topic/34680592

  
กระทบไหล่ “The Last samurai ซามูไรคนสุดท้าย” โอตาคุดาบญี่ปุ่น 5 http://ppantip.com/topic/34751060


*** ปล.ภาพทั้งหมดได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ขอสงวนสิทธิ์ การนำภาพไปใช้ หรือ ดัดแปลง โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของภาพเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนครับ ***





                           พิพิธภัณฑ์ดาบญี่ปุ่นเซกิ (เซกิคะจิแด็งโชคัง 関鍛冶伝承館)



                          พิพิธภัณฑ์ดาบญี่ปุ่นเซกิ  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงรวบรวม ดาบสำคัญและดาบสมัยใหม่ ของสายสกุล มิโนะแด็ง 美濃伝ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของสายวิทยาการตีดาบของญี่ปุ่นโบราณคือ  
1.    บิเซนแด็ง 備前伝
2.    ยามาโต้แด็ง 大和伝
3.    ยามาชิโร่แด็ง 山城伝
4.    มิโนะแด็ง 美濃伝
5.    โชชูแด็ง 相州伝
ซึ่งเป็น สายสำนักเก่าแก่ของ สำนักดาบญี่ปุ่น ซึ่งวิทยาการและคุณลักษณะของแต่และแด็ง  มีรูปแบบ และเทคนิคที่แตกต่างกัน ทำให้ ดาบที่สืบสายการตีดาบมาจากแด็งไหน ก็สามารถดูและแยกแยะได้อย่างชัดเจน ในดาบยุคเก่า 古刀

                  ตอนนี้ เรามาดูเฉพาะของสาย มิโนะแด็งกันครับ  สายมิโนะแด็งมีลักษณะโดดเด่น คือ ความคมกล้า แบบ ถ้าเทียบกับแด็งอื่นที่ว่าคมแล้ว  มิโนะจัดว่าคมแบบไม่เกรงใจใครเลยทีเดียว   มาที่หน้าพิพิธภัณฑ์กันครับ


                  จากนั้นก็จัดการ จ่ายค่าเสียหาย  ที่ญี่ปุ่น การเข้าชมสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าวัดหรือพิพิธภัณฑ์  โดยมากเสียเงินครับ ไม่มีฟรี แต่ผมก็เห็น คนญี่ปุ่นเข้าชมกันค่อนข้างเยอะนะครับ  


                  เมื่อเข้ามาจะเจอ นักตีดาบในตำนาน  ที่บอกว่าตำนาน พี่แก ตำเหล็กอยู่ท่านี้ มาหลายสิบปีแล้วครับตั้งแต่ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์  เหมือนจ่าเฉยบ้านเราครับ  55555  เป็นหุ่นจัดแสดงการตีดาบของช่างตีดาบญี่ปุ่นครับ.


                 การจัดแสดง เป็นทางเดินแบบตามเข็มนาฬิกา  มาที่ซุ้มแรก  เป็นการจัดแสดง ประวัติความเป็นมาของ วิทยาการ การตีดาบญี่ปุ่น ซึ่งจะกระจายตาม แคว้น 5 แคว้นตามที่กล่าวไว้ข้างต้น


                ห้าสายวิทยาการ โกะคะแด็ง 五か伝  มีอะไรบ้าง เกริ่นไว้ด้านบนแล้วครับ ห้าวิทยาการนี้ครับ แรกๆก็เป็นสายบริสุทธิ์มีเอกลักษณะของตัวเองเด่นชัดแน่นอน ในยุคแรก  พอมายุคหลังสำนักลูกหลานก็ ผสมรับวิทยาการซึ่งกันและกันครับ


                ต่อไปเข้าสู่  การอธิบาย งานตีดาบของช่างตีดาบ  บอกวิธีการ  ตัวอย่างการนำมวลสาร  ลักษณะการตีทบชั้น


                มวลสาร มงคลสำหรับปลุกเสก เอ้ย ! ขออภัย ไม่ใช่ครับ เป็นแร่เหล็ก ทะมะฮะกะเนะ


                พอได้แร่มาตีแผ่ ตอนนี้ยังมีคาร์บอนเจือปนมาก แข็งแต่เปราะ ก็กระเทาะให้เป็นแผ่น้อยๆมากประกอบเป็นชั้นๆ


                 กองเป็นชั้นๆ  แล้วไปเข้าเตาให้ละลายติดกันแล้วจึงค่อยตี


                 จากนั้นตีขึ้นรูป ตามขั้นตอนที่จัดแสดงให้เข้าใจแบบ คร่าวๆ


                 ไล่จากอันบน
1.    ซุโนะเบะ素延べ การตียืดขึ้นรูป
2.    ฮิซุคุริ 火造り การตีร้อนแต่งทรง
3.    ซึชิโอะกิ土置きทาโคลนแต่งลายก่อนชุบ
4.    อะระจิ荒地การแต่งทรงดัดโค้ง ขั้นตอนสุดท้าย


                  ต่อไปเป็นขั้นตอนของช่างลับขัดดาบ  ตัวอย่างหินจากธรรมชาติตามแบบโบราณ
          


                  ต่อไปเป็นตู้แสดงการขัดด้วยหินชนิดต่างๆ เป็นขั้นตอนเพื่อแสดง ให้เห็นการปรับสภาพผิวเนื้อเหล็กตามสังเขป


                  หินที่ใช้ ในหลักการขัดดาบญี่ปุ่น มีหมวดหลักใหญ่ อยู่ 6 ชนิดคือ
1.    คองโก-โด  2.บินซุย-โด  3.ไคเซย-โด  4.ชูนากุระ-โด  5.โคมะนากุระ-โดะ  6.อุชิกุโมะริ-โด  ซึ่งใน หมวดหลัก 6 ชนิด แต่ล่ะชนิด ยังมีหมวดย่อย ลงไปอีก ตามแต่ล่ะชนิด ซึ่งเป็นเรื่องละเอียด มากผมขอข้ามไปนะครับ เอาง่ายๆ ดาบจะสวยสมบรูณ์ต้องผ่าน 6 ก้อนหลักนี้ แน่นอนครับจากนั้น ค่อยปรับสภาพต่อด้วยเหล็กอื่น ตามสภาพเนื้อเหล็กแต่ละยุค ครับ


                    มีวิดีโอแสดงให้ชม ถ้ามาวันที่ระบุบ เสาร์แรกของทุกเดือน จะมีช่างจริงๆมาแสดงให้ชม คราวๆ ตามแต่ละขั้นตอนครับ.


                    ต่อไป ก็ส่งให้ ช่างทำเครื่อง โลหะประกอบ พวก คอดาบ(ฮะบะกิ) กระบัง(ซึบะ) แหวนรัดหัวท้ายด้าม (ฟูชิ-คะชิระ) หรือ ตุ๊กตาประดับด้าม (เมนูกิ)


                    เมื่อทำเครื่องประกอบคอดาบเสร็จ ก็จะส่งต่อไปยังช่างทำฝักด้าม


                    จากนั้นจึงส่งไปยังช่าง ลงรัก ทำสีฝัก นูริ-ซายะ


                    จากนั้น เดินเข้าไปในส่วนจัดแสดง  ดาบใหม่ช่างปัจจุบัน ในสายสกุล ช่าง เซกิ-มิโนะแด็ง ก่อนเข้ามีเจ้านี่ยืน ตระง่านรอต้อนรับอยู่  ชุดเกราะสมัยโบราณ รายละเอียดระบุบ เป็น ยุค มูโรมาชิ หรือประมาณห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว  ผมยืนพิจารณาแล้ว พิจารณาอีก  อืม..... ไซส์มันประมาณคนสูง 140-150 ใส่เท่านั้นเองประมาณเด็กมัธยมต้นบ้านเราใส่เอง  สมัยก่อนคนญี่ปุ่นตัวเล็กจริงๆครับ.


                 ภาพถ่ายรวม เมื่องานประจำปี ที่ช่างสายสกุล มิโนะ-เซกิ ในปัจจุบัน มารวมตัวกันครับ สังเกตง่าย สายสกุลนี้ช่างจะชื่อ “ คะเน “ นำหน้าทั้งนั้นครับ

              
                 เมื่อเข้ามาในส่วนจัดแสดง เป็นห้องแคบๆ กว้าง 3 เมตร ยาวประมาณ  10 เมตร  มีตู้จัดแสดงสองฝั่ง ผมให้นิยมว่า ตรอกเงินล้าน ครับ เพราะดาบใหม่ที่ตีโดยช่างใหม่สายเซกิ ที่มีชีวิตในปัจจุบัน ดาบที่จัดแสดงของช่างพวกนี้ รวมๆ สิบกว่าท่าน  ครับ.






                      ท่านนี้  “兼弘คะเนฮิโร “


                      ท่านนี้  “ 兼成 คะเนนารุ “


                     อันนี้ ของเก่า “兼差คะเนซาเนะ”


                     ดาบเก่า ท่านนี้ดังมาก  “ 兼定 คะเนซาดะ”


                     ท่านนี้ ก็ดัง “兼元作 คะเนะโมโต้ ซาคุ “


                      ท่านนี้  “房幸ฟูซะยูกิ”  


                      ท่านนี้  “ 正也 มะซะนาริ “


                      ท่านนี้ คุ้นเคยกันดี เราไปเยี่ยมท่านมาตอนที่แล้ว  二十六代藤原兼房 นิจูโระคุได ฟูจิวาระ คะเนฟูสะ


                      ต่อด้วยท่านเจ้าสำนัก 二十五代藤原兼房 นิจูโกะได ฟูจิวาระ คะเนฟูสะ


                      ท่านนี้  “兼道คะเนมิชิ “


                      ท่านนี้  “兼信คะเนโทะกิ “


                      ท่านนี้ “ 兼国คะเนคุนิ “


                      ท่านนี้ “兼久คะเนฮิสะ “


                      ท่านนี้  “昭平อะกิฮิระ “


                      ออกจากห้อง ดาบร่วมสมัย เกนไดโตะ 現代刀ไปโซนดาบเก่าโบราณ


                       มุมนี้ โชว์ เทคนิคการแกะสลัก (โฮริโมะโนะ)


                      ตันโตะมีดสั้น  มีการแกะบทโคลงกลอนไฮกุ ละเอียดมากต้องดูผ่านแว่นขยาย


                      ขยายมาแล้ว  ตัวหนังสือ ถี่ยิบ  ด่าใคร รักใคร ระบายในนี้หมด อิอิอิ.


                      อีกเล่มดู รวมๆ พอเห็นลายแกะบ้าง


                      ขยายแล้ว  


                      อีกเล่มมองผ่านแว่นขยาย


                      เห็นบ้อ......ละเอียดยิบ.


                      เรามาขึ้นไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่