8 February 2020
พิพิธภัณฑ์โตเกียว เตรียมจัดแสดงโชว์ ‘ดาบซามูไรในตำนาน’ หนึ่งใน 5 ยอดดาบแห่งใต้หล้า และเป็นสมบัติแห่งชาติของญี่ปุ่นในเร็วๆ นี้แล้ว
ซึ่งเจ้าดาบที่ทางพิพิธภัณฑ์โตเกียวจะนำมาจัดแสดงโชว์ในครั้งนี้คือดาบ โดจิกิริ (Dojigiri) หรือมีสมญานามว่า ‘ดาบพิฆาตอสูร’
ดาบโดจิกิรินี้ เป็นดาบที่เก่าแก่มากๆ จนไม่สามารถหาบันทึกที่ยืนยันได้อย่างแน่นอนว่ามันเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่มีการคาดเดาเอาไว้ว่าอายุของมันไม่น่าจะต่ำกว่า 1,000 ปี มันถูกสร้างขึ้นมาโดยนักตีดาบที่มีชื่อเสียชื่อว่า ยาสุทสึนะ (Yasutsuna) ที่อาศัยอยู่ในเมืองโฮกิ (Hoki) ที่ในปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดทตโตริไปแล้ว
โดยปกติแล้ว ดาบซามูไรทั้งหลายจะถูกตั้งชื่อตามท้ายด้วยคำว่า ‘กิริ’ หรือ ‘คิริ’ เป็นซะส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งสองคำนี้มาจากคำว่า ‘คิรุ’ ที่หมายความว่า ‘ตัด’ หรือ ‘ฟัน’ นั่นเอง และบางครั้งอาจจะหมายความได้ว่า ‘ฆ่า’ หรือ ‘สังหาร’ ได้อีกด้วย
แต่สำหรับโดจิกิริ นั้นแตกต่างออกไป…ตามตำนานเล่าเอาไว้ว่าดาบเล่มนี้ถูกใช้โดยยอดซามูไร Minamoto no Yorimitsu เพื่อสังหารอสูรที่ชื่อว่า Shuten-doji ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงของเกียวโต
การจัดแสดงในครั้งนี้จะจัดขึ้นที่ศาลเจ้าคาสึงะ (Kasuga) ที่อยู่ในเมืองนาระ ตัวดาบจะถูกตั้งและครอบด้วยกระจกแก้วใส เผยให้เห็นถึงตัวดาบที่ยังคงเงาวับ ความพิเศษของดาบโดจิกิรินี้ ก็คือสิ่งที่เรียกว่า อัตสุริ หรือก็คือ ‘แสงสะท้อน’ บนตัวดาบ ยิ่งมีแสงสะท้อนมากเท่าไหร่ก็หมายความว่า ตัวดาบนั้นมีความบางมากเท่านั้น
นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้ทราบอีกว่า ‘โลหะ’ ที่นำมาใช้ตีดาบเล่มนี้ น่าจะเป็นโลหะชั้นยอดเลยทีเดียว รวมไปถึงฝีมือของช่างตีดาบที่มีความล้ำลึก และพิถีพิถันในแต่ละขั้นตอน จนสามารถสร้างดาบที่แม้จะบาง แต่ก็มีความแข็งแรง จนขนาดที่ว่าผ่านมา 1,000 ปี แล้ว ก็ยังคงความงดงามเอาไว้ได้อยู่ราวกับเป็นของใหม่ยังไงอย่างงั้น
5 ดาบในตำนานของญี่ปุ่น
ดาบญี่ปุ่น หรือ คาตานะ เป็นดาบรูปทรงประหลาดเมื่อเทียบกับดาบทั่วๆ ไป มีลักขณะเรียวปลายแหลมมีคมด้านเดียว
โดย ปกติซามูไรในญี่ปุ่นจะพกดาบสองเล่ม เล่มแรก คาตานะ และอีกเล่มเรียกว่า "วาคิซาชิ" ซึ่งมีหน้าที่รองลงมา แต่นักดาบชื่อดังของญี่ปุ่นหลายคนที่ใช้ดาบเล็กยาวพร้อมกัน เช่น นิตโตริว ของ มิยาโมโต้ มุซาชิ เป็นต้น
ดาบที่มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนาน ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวดาบ หากแต่เกิดขึ้นจาก "ผู้ครอง" และ "วีรกรรม" ที่เจ้าของร่วมสร้าง
โดย ปกติดาบญี่ปุ่นสามารถแยกออกตามชนิดได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุดคือการแบ่งแยกตามความยาว โดยมีหน่วยเป็น "ชาคุ" ซึ่ง 1 ชาคุ เท่ากับ 30.3 เซนติเมตร ขนาด 1 ชาคุลงมาถือเป็นดาบสั้น ขนาดทั่วไปของดาบปกติจะอยู่ที่ 2 ชาคุขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ชาคุ ดาบที่ยาวเกิน 3 ชาคุถือเป็นดาบพิเศษซึ่งใช้ยากไปซักนิด
ยอดดาบโบราณ 5 เล่ม ปัจจุบันเป็นยอดดาบที่เป็น "สมบัติของชาติ" บางเล่มถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงโตเกียว และบางเล่มอยู่ในท้องพระคลังมหาสมบัติ ประกอบด้วย
ดาบโดจิกิริ
ดาบยาวขนาด 79.9 เซน ของยอดนักตีดาบคู่แผ่นดิน ยัตสุซึนะ ดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบคู่มือของ มินาโมโต้ โยริมิตซึ และตกทอดมาเรื่อย
(Cr.
https://www.catdumb.tv/dojigiri-sword-119/)
โดยฝีมือช่างตีดาบนามยาสุทซึนะประจำสำนักดาบโฮคิ โอฮาระ ไม่ระบุปีที่ตีแน่ชัด หากแต่ตกทอดเรื่อยมารุ่นสู่รุ่นในกลุ่มโจรปล้นสะดม เป็นดาบที่มีความยาวเทียบเท่ามิคาซึกิ เพียงแค่อยู่คนละสำนัก
ดาบโอนิมารุ
ดาบยาว 78.2 เซน เป็นดาบตกทอดของสกุล "โฮโจ" ที่มีชื่อเสียง (Cr.
http://www.nongyai.ac.th/student/tan/015.html)
ถูกตีขึ้นที่สำนักอะวะตะคุจิในสมัยคามาคุระ ซึ่งเทียบได้ว่าอยู่ในช่วงเดียวกันกับสมัยเฮอัน ไม่ระบุปีที่ตีและช่างตีดาบที่แน่ชัดเช่นกัน ในตอนแรกถูกตีขึ้นด้วยจุดประสงค์ให้บาคุฟุ (รัฐบาลของพระจักรพรรดิ พกดาบได้) ได้ใช้งาน หลังจากนั้นกลายเป็นสมบัติของตระกูลโฮโจและผลัดเปลี่ยนเจ้าของไปตามชัยชนะในสงคราม โดย ‘โอนิมารุ’ แปลว่าปีศาจ
ดาบมิคะซึงิมุเนะจิกะ
ยาว 80 เซน มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า "ซันโจว" ไม่ปรากฏชื่อเจ้าของดาบ (Cr.
https://writer.dek-d.com/uesugi-am/writer/viewlongc.php?id=1440710&chapter=10)
จากฝีมือช่างตีดาบซันโจว มุเนจิกะ ประจำสำนักตีดาบซันโจว ดาบมุเนจิกะเป็นหนึ่งในดาบเลื่องชื่อทั้ง 5 เล่มของญี่ปุ่นที่สวยงาม คงทน น้ำหนักเบา และมีเอกลักษณ์ตรงใบดาบสลักรูปพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นที่มาของนาม ‘มิกาซึกิ’ ในคราวต่อมา ถือได้ว่าเป็นดาบที่สวยงามที่สุดในบรรดาดาบทั้ง 5
ดาบโอเดนตะ
ยาวเพียง 65.75 เซน เป็นดาบสืบตระกูล ไดเมียว "มาเอดะ" สมัยเอโดะ
สั้นที่สุดในบรรดาดาบทั้ง 5 ประวัติของโอเดนตะไม่ปรากฏทั้งช่างตีและสำนักที่อาศัย รู้เพียงว่าอยู่ในสมัยเฮอันเท่านั้น
ดาบจูซึมารุ
น้องนุชสุดท้อง แต่ขนาดยาวที่สุด 81.1 เซน ดาบสมัยคามาคุระ ของนักบวชนาม นิชิเรน
อยู่ในสมัยคามาคุระเช่นเดียวกับโอนิมารุ ประจำสำนักตีดาบโค-อาโอเอะ และเป็นดาบเล่มเดียวจากทั้งหมดที่ปรากฏปีที่ตีคือ 1261- 1264 เชื่อกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นสมบัติของพระนักปฏวัติศาสนานามนิจิเร็น
ดังนั้นในปัจจุบันดาบจูซึมารุจึงถูกเก็บไว้ที่วัดฮงโกในฐานะสมบัติทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อถกเถียงถึงสำนักตีดาบ โดยให้ข้อมูลว่าเนื้อดาบจูซึมารุต่างจากเนื้อดาบอื่น ๆ ในโค-อาโอเอะ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจึงเชื่อว่าอาจเป็นงานของทสึเนะทสึกุแห่งสำนักโคบิเซ็นที่ทำงานในสมัยเก็นเรียคุ (1184-1185) แทน
อ้างอิง
สมัยของดาบญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก:
http://miyuki-wonderland.exteen.com/20150528/d
ประวัติดาบ: Tenka Goken. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก:
https://goo.gl/WGVFzG
ประวัติดาบ: Mikazuki Munechika part 2. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก:
https://goo.gl/UB3gWG
ตำนานดาบมาซามุเนะ และมุรามาสะ. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก:
http://game.sanook.com/954042/
วีระชัย โชคมุกดา. (2556). ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: ยิปซี กรุ๊ป
5 ดาบในตำนานของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก:
http://goo.gl/H8gYtf
ที่มา : soranews
Cr.
https://www.catdumb.tv/dojigiri-sword-119/ By เหมียวหง่าว
-ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญานำมา
ความงดงามของ ‘โดจิกิริ’ หนึ่งใน 5 ยอดดาบแห่งใต้หล้า สมญานามว่า ‘ดาบพิฆาตอสูร’
ซึ่งเจ้าดาบที่ทางพิพิธภัณฑ์โตเกียวจะนำมาจัดแสดงโชว์ในครั้งนี้คือดาบ โดจิกิริ (Dojigiri) หรือมีสมญานามว่า ‘ดาบพิฆาตอสูร’
โดยปกติแล้ว ดาบซามูไรทั้งหลายจะถูกตั้งชื่อตามท้ายด้วยคำว่า ‘กิริ’ หรือ ‘คิริ’ เป็นซะส่วนใหญ่ ซึ่งทั้งสองคำนี้มาจากคำว่า ‘คิรุ’ ที่หมายความว่า ‘ตัด’ หรือ ‘ฟัน’ นั่นเอง และบางครั้งอาจจะหมายความได้ว่า ‘ฆ่า’ หรือ ‘สังหาร’ ได้อีกด้วย
แต่สำหรับโดจิกิริ นั้นแตกต่างออกไป…ตามตำนานเล่าเอาไว้ว่าดาบเล่มนี้ถูกใช้โดยยอดซามูไร Minamoto no Yorimitsu เพื่อสังหารอสูรที่ชื่อว่า Shuten-doji ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงของเกียวโต
นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้ทราบอีกว่า ‘โลหะ’ ที่นำมาใช้ตีดาบเล่มนี้ น่าจะเป็นโลหะชั้นยอดเลยทีเดียว รวมไปถึงฝีมือของช่างตีดาบที่มีความล้ำลึก และพิถีพิถันในแต่ละขั้นตอน จนสามารถสร้างดาบที่แม้จะบาง แต่ก็มีความแข็งแรง จนขนาดที่ว่าผ่านมา 1,000 ปี แล้ว ก็ยังคงความงดงามเอาไว้ได้อยู่ราวกับเป็นของใหม่ยังไงอย่างงั้น
ดาบญี่ปุ่น หรือ คาตานะ เป็นดาบรูปทรงประหลาดเมื่อเทียบกับดาบทั่วๆ ไป มีลักขณะเรียวปลายแหลมมีคมด้านเดียว
ดาบที่มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนาน ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะตัวดาบ หากแต่เกิดขึ้นจาก "ผู้ครอง" และ "วีรกรรม" ที่เจ้าของร่วมสร้าง
โดย ปกติดาบญี่ปุ่นสามารถแยกออกตามชนิดได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุดคือการแบ่งแยกตามความยาว โดยมีหน่วยเป็น "ชาคุ" ซึ่ง 1 ชาคุ เท่ากับ 30.3 เซนติเมตร ขนาด 1 ชาคุลงมาถือเป็นดาบสั้น ขนาดทั่วไปของดาบปกติจะอยู่ที่ 2 ชาคุขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ชาคุ ดาบที่ยาวเกิน 3 ชาคุถือเป็นดาบพิเศษซึ่งใช้ยากไปซักนิด
ดาบยาวขนาด 79.9 เซน ของยอดนักตีดาบคู่แผ่นดิน ยัตสุซึนะ ดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบคู่มือของ มินาโมโต้ โยริมิตซึ และตกทอดมาเรื่อย
(Cr.https://www.catdumb.tv/dojigiri-sword-119/)
โดยฝีมือช่างตีดาบนามยาสุทซึนะประจำสำนักดาบโฮคิ โอฮาระ ไม่ระบุปีที่ตีแน่ชัด หากแต่ตกทอดเรื่อยมารุ่นสู่รุ่นในกลุ่มโจรปล้นสะดม เป็นดาบที่มีความยาวเทียบเท่ามิคาซึกิ เพียงแค่อยู่คนละสำนัก
ดาบโอนิมารุ
ดาบยาว 78.2 เซน เป็นดาบตกทอดของสกุล "โฮโจ" ที่มีชื่อเสียง (Cr.http://www.nongyai.ac.th/student/tan/015.html)
ถูกตีขึ้นที่สำนักอะวะตะคุจิในสมัยคามาคุระ ซึ่งเทียบได้ว่าอยู่ในช่วงเดียวกันกับสมัยเฮอัน ไม่ระบุปีที่ตีและช่างตีดาบที่แน่ชัดเช่นกัน ในตอนแรกถูกตีขึ้นด้วยจุดประสงค์ให้บาคุฟุ (รัฐบาลของพระจักรพรรดิ พกดาบได้) ได้ใช้งาน หลังจากนั้นกลายเป็นสมบัติของตระกูลโฮโจและผลัดเปลี่ยนเจ้าของไปตามชัยชนะในสงคราม โดย ‘โอนิมารุ’ แปลว่าปีศาจ
ดาบมิคะซึงิมุเนะจิกะ
ยาว 80 เซน มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า "ซันโจว" ไม่ปรากฏชื่อเจ้าของดาบ (Cr.https://writer.dek-d.com/uesugi-am/writer/viewlongc.php?id=1440710&chapter=10)
จากฝีมือช่างตีดาบซันโจว มุเนจิกะ ประจำสำนักตีดาบซันโจว ดาบมุเนจิกะเป็นหนึ่งในดาบเลื่องชื่อทั้ง 5 เล่มของญี่ปุ่นที่สวยงาม คงทน น้ำหนักเบา และมีเอกลักษณ์ตรงใบดาบสลักรูปพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นที่มาของนาม ‘มิกาซึกิ’ ในคราวต่อมา ถือได้ว่าเป็นดาบที่สวยงามที่สุดในบรรดาดาบทั้ง 5
ดาบโอเดนตะ
ยาวเพียง 65.75 เซน เป็นดาบสืบตระกูล ไดเมียว "มาเอดะ" สมัยเอโดะ
สั้นที่สุดในบรรดาดาบทั้ง 5 ประวัติของโอเดนตะไม่ปรากฏทั้งช่างตีและสำนักที่อาศัย รู้เพียงว่าอยู่ในสมัยเฮอันเท่านั้น
ดาบจูซึมารุ
น้องนุชสุดท้อง แต่ขนาดยาวที่สุด 81.1 เซน ดาบสมัยคามาคุระ ของนักบวชนาม นิชิเรน
อยู่ในสมัยคามาคุระเช่นเดียวกับโอนิมารุ ประจำสำนักตีดาบโค-อาโอเอะ และเป็นดาบเล่มเดียวจากทั้งหมดที่ปรากฏปีที่ตีคือ 1261- 1264 เชื่อกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นสมบัติของพระนักปฏวัติศาสนานามนิจิเร็น
ดังนั้นในปัจจุบันดาบจูซึมารุจึงถูกเก็บไว้ที่วัดฮงโกในฐานะสมบัติทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข้อถกเถียงถึงสำนักตีดาบ โดยให้ข้อมูลว่าเนื้อดาบจูซึมารุต่างจากเนื้อดาบอื่น ๆ ในโค-อาโอเอะ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านจึงเชื่อว่าอาจเป็นงานของทสึเนะทสึกุแห่งสำนักโคบิเซ็นที่ทำงานในสมัยเก็นเรียคุ (1184-1185) แทน
สมัยของดาบญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: http://miyuki-wonderland.exteen.com/20150528/d
ประวัติดาบ: Tenka Goken. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก: https://goo.gl/WGVFzG
ประวัติดาบ: Mikazuki Munechika part 2. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: https://goo.gl/UB3gWG
ตำนานดาบมาซามุเนะ และมุรามาสะ. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2558, จาก: http://game.sanook.com/954042/
วีระชัย โชคมุกดา. (2556). ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: ยิปซี กรุ๊ป
5 ดาบในตำนานของญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2558, จาก: http://goo.gl/H8gYtf
Cr. https://www.catdumb.tv/dojigiri-sword-119/ By เหมียวหง่าว