เหล็กเหนียว กับ เหล็กหล่อ ต่างกันอย่างไร แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าอันไหนเป็นเหล็กเหนียว อันไหนเป็นเหล็กหล่อ

สงสัยมานาน

เรารู้ได้อย่างไรครับ

ว่าอันไหนเป็นเหล็กเหนียว อันไหนเป็นเหล็ก

แล้วการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร

อย่างไหนดีกว่ากัน

ขอบคุณมากครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เหล็กหล่อเป็นเหล็กขั้นต้นในขบวนการผลิตครับ   คือได้จากการถลุงสินแร่
    เมื่อได้มา  ย่อมมีสารเจอปน พวก คาร์บอน  แมงกานิช ฯลฯ   ทำให้เปราะ

เหล็กเหนียว  ก็เอาเหล็กหล่อมาเข้าขบวนการ  หลอม  ควบคุมสารประกอบให้มีปริมาณที่พอเหมาะ (ตามข้อกำหนด)
                  ขึ้นรูปเป็นเหล็กใช้งาน  ราคาย่อมแพงกว่า

รู้ได้ อย่างไร....ถามร้านครับ   ไม่งั้นก็ต้องเอาเข้า Lab
                  แต่ว่า  นำมาใช้งานทั่วไปเป็นเหล็กเหนียว  นอกจากพวกเครื่องใช้ง่ายๆพวกหล่อมาใช้ได้เลย (ฆ้อนปอนด์)
ความคิดเห็นที่ 5
เหล็กที่สกัดจากสินแร่และมีมลทิน (impurity) เจือปนอยู่สูงคือ pig iron ครับ ไม่เหมาะกับการใช้งานใดๆทั้งสิ้น

เมื่อนำ pig iron มาทำให้บริสุทธิมากขึ้น และปรับแต่งส่วนประกอบทางเคมีตามต้องการแล้วจึงใช้ได้

ในอดีต การลดคาร์บอนในเนื้อเหล็กทำได้ยาก มีคาร์บอนมากกว่าร้อยละ ๑ และอาจเกินร้อยละ ๒ ทำให้เหล็กชนิดนี้แข็งมาก แต่เปราะ รีดไม่ได้ การขึ้นรูปที่ทำได้คือการหล่อ เหล็กชนิดนี้เรียกว่าเหล็กหล่อหรือ cast iron

ต่อมากระบวนการผลิตรับการพัฒนาจนลดคาร์บอนได้จนต่ำกว่าร้อยละ ๐.๑ เนื้อเหล็กจึงมีความเหนียว แต่ความแข็งก็น้อยลง จึงใช้การรีดหรือขึ้นรูปเชิงกลเพื่อเพิ่มความแข็ง (และความแข็งแรงไปด้วย) เหล็กชนิดนี้คือเหล็กกล้า หรือ steel ที่มีคาร์บอนน้อยกว่าร้อยละ ๑

นอกจากการใช้ส่วนประกอบทางเคมีเป็นเกณฑ์แล้ว เหล็กทั้งสองชนิดยังทีโครงสร้างทางจุลภาค (microstructure) ที่ต่างกัน

ลองค้นเพิ่มเติมเพิ่อหารูป microstructure ของ cast iron กับ steel เพิ่มเติมนะครับ อธิบายลำบาก

โดยสรุป คือให้วัดส่วนประกอบทางเคมีกับตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคเพื่อยืนยันว่าเป็นเหล็กหล่อหรือเหล็กกล้าครับ

ที่เพิ่มความสับสนขึ้นไปอีก คือ เหล็กกล้าก็เอาไปหล่อได้ครับ เรียกว่า cast steel

ไข่ต้ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่