หลังรัฐประหาร 2549
ประชาธิปัตย์มีความชัดเจน ชัดเจนในการสนับสนุน คมช. สนับสนุนรัฐธรรมนูญ 50
ชัดเจน เปิดเผย
นั่นเพราะเป้าหมายของ คมช. เป้าหมายของรัฐธรรมนูญ 50
คือการแบกเสลี่ยงประชาธิปัตย์เข้าสู่อำนาจรัฐ
แม้การเลือกตั้ง 2550 พรรคประชาธิปัตย์จะพ่ายแพ้อีกครั้ง พ่ายแพ้ทั้งที่มี "ตัวช่วย" อย่างอบอุ่น
แต่ความหวังยังไม่สิ้น แม้ คมช. จะสิ้นสภาพไป แต่รัฐธรรมนูญ 50 ยังคงอยู่
จวบกระทั่งปลายปี 51 เป้าหมายบันไดสี่ขั้นก็สำเร็จ ส่งประชาธิปัตย์ถึงฝั่งฝัน
ครั้นถึงการเลือกตั้ง 2554 ประชาธิปัตย์ก็พ่ายแพ้การเลือกตั้งอีกครั้ง
พ่ายแพ้ทั้งที่มีอำนาจรัฐอยู่ในกำมือ พ่ายแพ้ทั้งที่มีรัฐธรรมนูญ 50 อันมีองค์กรอิสระอุ้มชู และมีกองทัพเป็นตัวช่วย
นั่นแหละ รัฐธรรมนูญ 50 จึงเริ่มมีจุดบกพร่องสำหรับประชาธิปัตย์
เป่านกหวีดกวักมือเรียกหาทหารให้ฉีกรัฐธรรมนูญ 50 อย่างไม่เคอะเขิน
ณ วันนี้
ท่าทีของประชาธิปัตย์ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการรัฐประหาร 2549
เพราะวันนี้ ไม่แน่ว่า คสช. จะทำเพื่อประชาธิปัตย์ อย่างที่ คมช. ทำ
เพราะวันนี้ ไม่แน่ว่ารัฐธรรมนูญ 2559 จะวางเป้าหมายเพื่อประชาธิปัตย์
จึงได้เห็นท่าที "กั๊ก" ของประชาธิปัตย์
ค้าน คสช. ในหลายเรื่อง ตำหนิ คสช. ในหลายประเด็น
ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแป๊ะ ไม่ว่าโดยคณะนายบวรศักดิ์ จนมาถึงคณะนายมีชัย
เป็นลักษณะไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่แสดงท่าทีว่าไม่เอา
เป็นการกั๊ก หากรัฐธรรมนูญไม่เอื้อต่อตัวเอง ก็ไม่เอา
แต่หากเอื้อต่อตัวเอง ก็พร้อมที่จะสนับสนุน
นักกีฬานั้น ต้องพร้อมที่จะเล่นในเกม
รับ หรือ ไม่รับ ในกฎกติกา เมื่อถึงเวลาก็ต้องเล่น
จะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องมีความชัดเจน
เล่นการเมืองแบบเอาแต่ได้ หวังได้ถึงขนาดไม่ยอมลงเลือกตั้ง ขวางการเลือกตั้ง เรียกร้องหารัฐประหาร
เพื่อหวังได้ประโยชน์
เหล่านี้ คือสิ่งที่พรรคการเมืองควรทำหรือ ?
มีพรรคการเมืองไหนทำอย่างประชาธิปัตย์ทำ ?
จึงได้เห็นความวุ่นวายในประชาธิปัตย์ตอนนี้
ทั้งมุ่งอยากเป็นรัฐบาล เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งแค่ขอร่วมรัฐบาล ทั้งขอแค่ส่วนแบ่งในอำนาจและผลประโยชน์
ทั้งกีดกัน ทั้งเห็นด้วย ทั้งปัดแข้งปัดขา ทั้งข่มเชิงหยั่งชั้น
เป็นความสับสนอลหม่านที่ไม่มีทิศทางชัดเจนว่าประชาธิปัตย์จะเดินทางใด บนหลักการใด
ด้วยวาทกรรม
เป็นแบบนี้ เพราะประชาธิปัตย์ไม่มีเจ้าของ
ความน่าสะอิดสะเอียนของพรรคประชาธิปัตย์
ประชาธิปัตย์มีความชัดเจน ชัดเจนในการสนับสนุน คมช. สนับสนุนรัฐธรรมนูญ 50
ชัดเจน เปิดเผย
นั่นเพราะเป้าหมายของ คมช. เป้าหมายของรัฐธรรมนูญ 50
คือการแบกเสลี่ยงประชาธิปัตย์เข้าสู่อำนาจรัฐ
แม้การเลือกตั้ง 2550 พรรคประชาธิปัตย์จะพ่ายแพ้อีกครั้ง พ่ายแพ้ทั้งที่มี "ตัวช่วย" อย่างอบอุ่น
แต่ความหวังยังไม่สิ้น แม้ คมช. จะสิ้นสภาพไป แต่รัฐธรรมนูญ 50 ยังคงอยู่
จวบกระทั่งปลายปี 51 เป้าหมายบันไดสี่ขั้นก็สำเร็จ ส่งประชาธิปัตย์ถึงฝั่งฝัน
ครั้นถึงการเลือกตั้ง 2554 ประชาธิปัตย์ก็พ่ายแพ้การเลือกตั้งอีกครั้ง
พ่ายแพ้ทั้งที่มีอำนาจรัฐอยู่ในกำมือ พ่ายแพ้ทั้งที่มีรัฐธรรมนูญ 50 อันมีองค์กรอิสระอุ้มชู และมีกองทัพเป็นตัวช่วย
นั่นแหละ รัฐธรรมนูญ 50 จึงเริ่มมีจุดบกพร่องสำหรับประชาธิปัตย์
เป่านกหวีดกวักมือเรียกหาทหารให้ฉีกรัฐธรรมนูญ 50 อย่างไม่เคอะเขิน
ณ วันนี้
ท่าทีของประชาธิปัตย์ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการรัฐประหาร 2549
เพราะวันนี้ ไม่แน่ว่า คสช. จะทำเพื่อประชาธิปัตย์ อย่างที่ คมช. ทำ
เพราะวันนี้ ไม่แน่ว่ารัฐธรรมนูญ 2559 จะวางเป้าหมายเพื่อประชาธิปัตย์
จึงได้เห็นท่าที "กั๊ก" ของประชาธิปัตย์
ค้าน คสช. ในหลายเรื่อง ตำหนิ คสช. ในหลายประเด็น
ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแป๊ะ ไม่ว่าโดยคณะนายบวรศักดิ์ จนมาถึงคณะนายมีชัย
เป็นลักษณะไม่เห็นด้วย แต่ก็ไม่แสดงท่าทีว่าไม่เอา
เป็นการกั๊ก หากรัฐธรรมนูญไม่เอื้อต่อตัวเอง ก็ไม่เอา
แต่หากเอื้อต่อตัวเอง ก็พร้อมที่จะสนับสนุน
นักกีฬานั้น ต้องพร้อมที่จะเล่นในเกม
รับ หรือ ไม่รับ ในกฎกติกา เมื่อถึงเวลาก็ต้องเล่น
จะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องมีความชัดเจน
เล่นการเมืองแบบเอาแต่ได้ หวังได้ถึงขนาดไม่ยอมลงเลือกตั้ง ขวางการเลือกตั้ง เรียกร้องหารัฐประหาร
เพื่อหวังได้ประโยชน์
เหล่านี้ คือสิ่งที่พรรคการเมืองควรทำหรือ ?
มีพรรคการเมืองไหนทำอย่างประชาธิปัตย์ทำ ?
จึงได้เห็นความวุ่นวายในประชาธิปัตย์ตอนนี้
ทั้งมุ่งอยากเป็นรัฐบาล เป็นนายกรัฐมนตรี
ทั้งแค่ขอร่วมรัฐบาล ทั้งขอแค่ส่วนแบ่งในอำนาจและผลประโยชน์
ทั้งกีดกัน ทั้งเห็นด้วย ทั้งปัดแข้งปัดขา ทั้งข่มเชิงหยั่งชั้น
เป็นความสับสนอลหม่านที่ไม่มีทิศทางชัดเจนว่าประชาธิปัตย์จะเดินทางใด บนหลักการใด
ด้วยวาทกรรม
เป็นแบบนี้ เพราะประชาธิปัตย์ไม่มีเจ้าของ