โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาถือเป็นละเมิด
Sun, 2016-01-17 13:55 -- hfocus
ธนา เบญจาทิกุล : สยามธุรกิจ
http://www.hfocus.org/content/2016/01/11544
สยามธุรกิจ : อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะเป็นเหตุให้ผู้ประสบสูญเสียทรัพย์สิน ได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนสูญเสียชีวิต และเมื่ออุบัติเหตุได้อุบัติขึ้น ญาติผู้ประสบเหตุ พลเมืองดี หรือเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิ (กู้ภัย) มักจะนำผู้บาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาเยียวยาให้เร็วที่สุด
เคยมีคดีที่โรงพยาบาลเอกชนปฏิเสธการรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เพราะหวั่นเกรงจะไม่มีใครรับผิดชอบค่ารักษา และเป็นเหตุทำให้ผู้บาดเจ็บได้เสียชีวิตในที่สุด บิดาผู้เสียชีวิตจึงฟ้องร้องเป็นคดี และได้มีคำพิพากษาของศาลไว้ในเรื่องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11332/2555 "จำเลยเป็นผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่นั่งซ้อนท้ายชนแผงเหล็กกั้นทางโค้งปากทางเข้าหมู่บ้านเมืองเอก และผู้ขับขี่ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ บุตรของโจทก์มีอาการเจ็บปวด มีภาวะการบอบช้ำของสมองและโลหิตออกในสมอง จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แม้ไม่ปรากฏบาดแผลร้ายแรงที่มองเห็นจากภายนอก แต่พยาบาลเวรซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยกลับให้ผู้ช่วยพยาบาลตรวจค้นหลักฐานในตัวบุตรของโจทก์ว่ามีบัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท หรือบัตรประกันชีวิตหรือไม่
เมื่อไม่พบหลักฐานใด จึงสอบถามเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิที่เป็นผู้นำส่งว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีคำตอบ จึงปฏิเสธที่จะรับบุตรของโจทก์ไว้รักษา โดยแนะนำให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ การที่พยาบาลเวรลูกจ้างของจำเลยปฏิเสธไม่รับบุตรของโจทก์เข้ารับการรักษาดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 36 แต่กลับไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้างดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,600,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง"
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานพยาบาลเอกชน เป็นการประกอบธุรกิจที่หวังผลกำไร และการรักษาพยาบาลนั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งทางด้านบุคลากร เครื่องมือ เวชภัณฑ์ และค่าวิชาชีพแพทย์และพยาบาล หากรักษาไปแล้วค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไม่มีผู้รับผิดชอบ สถานพยาบาลจะไปเรียกร้องค่าใช้จ่ายเหล่านี้จากใคร แม้แต่รัฐเองก็ให้คำตอบหรือแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้ สิ่งที่สถานพยาบาลทำได้ก็คือฟ้องร้องเรียกค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วย หรือญาติผู้เสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธช่วยเหลือชีวิตคนนั้นก็เป็นเรื่องที่ขัดกับธรรมจรรยาของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ หรือพยาบาล ซึ่ง "ธรรมจรรยา" นี้ควรจะฝังลึกไปในมโนสำนึกของผู้บริหารสถานพยาบาล เพื่อที่จะกำหนดนโยบายของสถานพยาบาลและปลูกฝังเจ้าหน้าที่ให้เห็นความสำคัญของ "ชีวิต" มากกว่า "กำไร" นะครับ
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 - 22 ม.ค. 2559 จากคอลัมน์ หมอบ้าน ทนายเมือง
โรงพยาบาลปฏิเสธการรักษาถือเป็นละเมิด ... แล้วทำไม "แพทยสภา" ถึงบอกว่า หมอมีสิทธิปฏิเสธคนไข้ได้ ?
Sun, 2016-01-17 13:55 -- hfocus
ธนา เบญจาทิกุล : สยามธุรกิจ
http://www.hfocus.org/content/2016/01/11544
สยามธุรกิจ : อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะเป็นเหตุให้ผู้ประสบสูญเสียทรัพย์สิน ได้รับบาดเจ็บ ตลอดจนสูญเสียชีวิต และเมื่ออุบัติเหตุได้อุบัติขึ้น ญาติผู้ประสบเหตุ พลเมืองดี หรือเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิ (กู้ภัย) มักจะนำผู้บาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาเยียวยาให้เร็วที่สุด
เคยมีคดีที่โรงพยาบาลเอกชนปฏิเสธการรักษาผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เพราะหวั่นเกรงจะไม่มีใครรับผิดชอบค่ารักษา และเป็นเหตุทำให้ผู้บาดเจ็บได้เสียชีวิตในที่สุด บิดาผู้เสียชีวิตจึงฟ้องร้องเป็นคดี และได้มีคำพิพากษาของศาลไว้ในเรื่องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11332/2555 "จำเลยเป็นผู้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล บุตรของโจทก์ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่นั่งซ้อนท้ายชนแผงเหล็กกั้นทางโค้งปากทางเข้าหมู่บ้านเมืองเอก และผู้ขับขี่ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ บุตรของโจทก์มีอาการเจ็บปวด มีภาวะการบอบช้ำของสมองและโลหิตออกในสมอง จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แม้ไม่ปรากฏบาดแผลร้ายแรงที่มองเห็นจากภายนอก แต่พยาบาลเวรซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยกลับให้ผู้ช่วยพยาบาลตรวจค้นหลักฐานในตัวบุตรของโจทก์ว่ามีบัตรประกันสังคม บัตรประกันสุขภาพ 30 บาท หรือบัตรประกันชีวิตหรือไม่
เมื่อไม่พบหลักฐานใด จึงสอบถามเจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิที่เป็นผู้นำส่งว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีคำตอบ จึงปฏิเสธที่จะรับบุตรของโจทก์ไว้รักษา โดยแนะนำให้ไปรักษายังโรงพยาบาลของรัฐ การที่พยาบาลเวรลูกจ้างของจำเลยปฏิเสธไม่รับบุตรของโจทก์เข้ารับการรักษาดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้บุตรของโจทก์ถึงแก่ความตาย
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล มีหน้าที่ต้องควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 36 แต่กลับไม่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของลูกจ้างดังกล่าว จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 1,600,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ทั้งสอง"
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานพยาบาลเอกชน เป็นการประกอบธุรกิจที่หวังผลกำไร และการรักษาพยาบาลนั้นมีค่าใช้จ่ายทั้งทางด้านบุคลากร เครื่องมือ เวชภัณฑ์ และค่าวิชาชีพแพทย์และพยาบาล หากรักษาไปแล้วค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไม่มีผู้รับผิดชอบ สถานพยาบาลจะไปเรียกร้องค่าใช้จ่ายเหล่านี้จากใคร แม้แต่รัฐเองก็ให้คำตอบหรือแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้ สิ่งที่สถานพยาบาลทำได้ก็คือฟ้องร้องเรียกค่าใช้จ่ายกับผู้ป่วย หรือญาติผู้เสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธช่วยเหลือชีวิตคนนั้นก็เป็นเรื่องที่ขัดกับธรรมจรรยาของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ หรือพยาบาล ซึ่ง "ธรรมจรรยา" นี้ควรจะฝังลึกไปในมโนสำนึกของผู้บริหารสถานพยาบาล เพื่อที่จะกำหนดนโยบายของสถานพยาบาลและปลูกฝังเจ้าหน้าที่ให้เห็นความสำคัญของ "ชีวิต" มากกว่า "กำไร" นะครับ
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 - 22 ม.ค. 2559 จากคอลัมน์ หมอบ้าน ทนายเมือง