ศาลสั่งลดค่าสินไหม”แพรวา”เหลือ19ล้าน ชี้โชเฟอร์รถตู้ขับเร็วมีส่วนผิด ถึงไม่ได้ก่อผลโดยตรง
วันที่: 19 เม.ย. 60 เวลา: 17:23 น.
เมื่อวันที่ 19 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ 2266-2278/2559 ที่กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุที่ น.ส.แพรวา หรือ อรชร (นามสมมุติ) ขับรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค เฉี่ยวชนรถตู้โดยสารพลิกคว่ำ เมื่อคืนวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา (นามสมมุติ) เยาวชนหญิง ที่ขับรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค รวมถึงบิดาและมารดาของเยาวชน นายสุพิรัฐ จ้าววัฒนา ผู้ครอบครองรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค นายสันฐิติ วรพันธ์ น.ส.วิชชุตา วรขจิต และบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลย 1-7 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 เรื่องกระทำละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 113,077,510.22 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 บาทต่อปี
สำหรับคดีนี้ศาลชั้นต้น อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 เห็นว่าคดีน.ส.แพรวา เป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมถึงทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งเป็นการกระทำละเมิด จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และเมื่อรับฟังได้ว่า น.ส.แพรวา จำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยบิดาและมารดาซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 และ 3 ไม่ได้นำสืบถึงความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย พิพากษาให้ น.ส.แพรวา บิดาและมารดา ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วย ค่าไร้อุปการะ และค่ารักษาพยาบาลรวมถึงค่าอื่นๆให้กับโจทก์ร่วม รวม 28 คน ซึ่งเป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่ละคน ในจำนวนเงินแตกต่างกันตั้งแต่ คนละ 4,000- 1,800,000บาท รวมเป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี
ต่อมาโจทก์ที่ 5 ,11 และ จำเลย 1-3 ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานหลักฐานเห็นได้ว่า พฤติการณ์กระทำละเมิดไม่ได้เกิดจาก จำเลยที่1 เพียงฝ่ายเดียว พฤติการณ์การขับรถของนางนฤมล ปิตาทานัง ผู้ขับรถตู้ที่ได้ขับด้วยความเร็วสูงโดยประมาทเช่นเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังนี้ การเรียกค่าเสียหายจากค่าขาดไร้อุปการะจำเลยที่ 1-3 ที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินควร ตามที่จำเลยที่ 1-3 อุทธรณ์ นั้นได้ความว่านางนฤมลขับรถตู้ด้วยความเร็วสูง แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่า นางนฤมลขับตัดหน้า หรือขับเสียหลักชนรถยนต์จำเลยที่ 1 ขับ เพราะหากจำเลยที่1 ไม่ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงเพื่อแซงคนขับรถตู้โดยสาร ก็จะไม่เกิดการเฉี่ยวชนกัน จึงฟังได้ว่าจำเลยที่1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมากกว่านางนฤมล กรณีนี้ไม่ได้เรื่องที่จำเลยที่ 1 หรือ นางนฤมลประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันตามที่จำเลยที่ 1-3 อุทธรณ์ และเมื่อพิจารณาค่าขาดไร้อุปการะตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์แต่ละรายเห็นว่าเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว แต่เมื่อฟังว่า นางนฤมลมีส่วนประมาทอยู่บ้าง ย่อมมีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยแต่ไม่ได้เป็นผลโดยตรง ค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชดใช้จึงต้องพิจารณาลดหย่อนตามพฤติการณ์ เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1-3 รับผิดชอบค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์แต่ละราย 4 ใน 5 ส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1-3 ร่วมกันชำระเงิน แก่โจทก์ที่ 1- 5 ,9-19,21- 22 ,25 -28 รวมเป็นเงิน 19,826,925 บาท โดยมีจำนวนเงินตั้งแต่ 80,000-1,440,000 บาท และให้จำเลยที่4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1-3 ต่อโจทก์ที่ 5และที่ 11 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
สำหรับคดีอาญา ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเยาวชน และครอบครัว 1 ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา อายุ 17 ปี (ขณะเกิดเหตุ) ต่อศาลเยาวชน และครอบครัวกลางในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท จนเป็นเหตุในผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่ความตาย และทรัพย์สินเสียหายนั้น ซึ่งคดีได้ถึงที่สุดแล้ว ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำคุกน.ส.แพรวา 3 ปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 4 ปี บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี และห้ามขับรถจนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปี ซึ่งน.ส.แพรวา ได้ยื่นฎีกาสู้คดี แต่ศาลไม่รับฎีกาจึงทำให้คดีสิ้นสุดตามคำพิพากษาดังกล่าว
ด้านนางทองพูล พานทอง มารดาของ นางนฤมล คนขับรถตู้ ซึ่งเป็น1ในโจทก์ร่วม กล่าวว่า ในส่วนของลูกสาวที่ศาลอุทธรณ์มองว่ามีความผิดฐานขับรถเร็วด้วย ส่วนเงินค่าเสียหายเดิมนั้นศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายแก่ตนประมาณ 150,000 บาท แต่พอมาถึงชั้นอุทธรณ์ศาลก็พิพากษาแก้ค่าเสียหายให้แก่ตนเหลือ 120,000 บาท ลดจำนวนเงินลง รวมถึงผู้เสียหายรายอื่นด้วย ส่วนเรื่องจะยื่นฎีกาหรือไม่นั้นต้องขอประชุมร่วมกับผู้เสียหายคนอื่นก่อนว่าจะมีความเห็นอย่างไร
http://www.matichon.co.th/news/534248
ศาลสั่งลดค่าสินไหม ”แพรวา” เหลือ19ล้าน ชี้โชเฟอร์รถตู้ขับเร็วมีส่วนผิด ถึงไม่ได้ก่อผลโดยตรง
วันที่: 19 เม.ย. 60 เวลา: 17:23 น.
เมื่อวันที่ 19 เมษายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 18 เมษายน ที่ผ่านมา ศาลแพ่งอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ 2266-2278/2559 ที่กลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ จากอุบัติเหตุที่ น.ส.แพรวา หรือ อรชร (นามสมมุติ) ขับรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค เฉี่ยวชนรถตู้โดยสารพลิกคว่ำ เมื่อคืนวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา (นามสมมุติ) เยาวชนหญิง ที่ขับรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค รวมถึงบิดาและมารดาของเยาวชน นายสุพิรัฐ จ้าววัฒนา ผู้ครอบครองรถยนต์ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค นายสันฐิติ วรพันธ์ น.ส.วิชชุตา วรขจิต และบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลย 1-7 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 เรื่องกระทำละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 113,077,510.22 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 บาทต่อปี
สำหรับคดีนี้ศาลชั้นต้น อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 เห็นว่าคดีน.ส.แพรวา เป็นการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมถึงทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งเป็นการกระทำละเมิด จึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และเมื่อรับฟังได้ว่า น.ส.แพรวา จำเลยที่ 1 กระทำผิด โดยบิดาและมารดาซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 และ 3 ไม่ได้นำสืบถึงความระมัดระวังในการดูแลจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย พิพากษาให้ น.ส.แพรวา บิดาและมารดา ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วย ค่าไร้อุปการะ และค่ารักษาพยาบาลรวมถึงค่าอื่นๆให้กับโจทก์ร่วม รวม 28 คน ซึ่งเป็นครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่ละคน ในจำนวนเงินแตกต่างกันตั้งแต่ คนละ 4,000- 1,800,000บาท รวมเป็นเงินประมาณ 30 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี
ต่อมาโจทก์ที่ 5 ,11 และ จำเลย 1-3 ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานหลักฐานเห็นได้ว่า พฤติการณ์กระทำละเมิดไม่ได้เกิดจาก จำเลยที่1 เพียงฝ่ายเดียว พฤติการณ์การขับรถของนางนฤมล ปิตาทานัง ผู้ขับรถตู้ที่ได้ขับด้วยความเร็วสูงโดยประมาทเช่นเดียวกัน เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังนี้ การเรียกค่าเสียหายจากค่าขาดไร้อุปการะจำเลยที่ 1-3 ที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินควร ตามที่จำเลยที่ 1-3 อุทธรณ์ นั้นได้ความว่านางนฤมลขับรถตู้ด้วยความเร็วสูง แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่า นางนฤมลขับตัดหน้า หรือขับเสียหลักชนรถยนต์จำเลยที่ 1 ขับ เพราะหากจำเลยที่1 ไม่ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงเพื่อแซงคนขับรถตู้โดยสาร ก็จะไม่เกิดการเฉี่ยวชนกัน จึงฟังได้ว่าจำเลยที่1 เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมากกว่านางนฤมล กรณีนี้ไม่ได้เรื่องที่จำเลยที่ 1 หรือ นางนฤมลประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันตามที่จำเลยที่ 1-3 อุทธรณ์ และเมื่อพิจารณาค่าขาดไร้อุปการะตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์แต่ละรายเห็นว่าเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว แต่เมื่อฟังว่า นางนฤมลมีส่วนประมาทอยู่บ้าง ย่อมมีส่วนทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายด้วยแต่ไม่ได้เป็นผลโดยตรง ค่าสินไหมทดแทนที่ต้องชดใช้จึงต้องพิจารณาลดหย่อนตามพฤติการณ์ เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1-3 รับผิดชอบค่าเสียหายในส่วนค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์แต่ละราย 4 ใน 5 ส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 1-3 ร่วมกันชำระเงิน แก่โจทก์ที่ 1- 5 ,9-19,21- 22 ,25 -28 รวมเป็นเงิน 19,826,925 บาท โดยมีจำนวนเงินตั้งแต่ 80,000-1,440,000 บาท และให้จำเลยที่4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1-3 ต่อโจทก์ที่ 5และที่ 11 ด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
สำหรับคดีอาญา ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเยาวชน และครอบครัว 1 ยื่นฟ้อง น.ส.แพรวา อายุ 17 ปี (ขณะเกิดเหตุ) ต่อศาลเยาวชน และครอบครัวกลางในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท จนเป็นเหตุในผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส และถึงแก่ความตาย และทรัพย์สินเสียหายนั้น ซึ่งคดีได้ถึงที่สุดแล้ว ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำคุกน.ส.แพรวา 3 ปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 4 ปี บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี และห้ามขับรถจนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปี ซึ่งน.ส.แพรวา ได้ยื่นฎีกาสู้คดี แต่ศาลไม่รับฎีกาจึงทำให้คดีสิ้นสุดตามคำพิพากษาดังกล่าว
ด้านนางทองพูล พานทอง มารดาของ นางนฤมล คนขับรถตู้ ซึ่งเป็น1ในโจทก์ร่วม กล่าวว่า ในส่วนของลูกสาวที่ศาลอุทธรณ์มองว่ามีความผิดฐานขับรถเร็วด้วย ส่วนเงินค่าเสียหายเดิมนั้นศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายแก่ตนประมาณ 150,000 บาท แต่พอมาถึงชั้นอุทธรณ์ศาลก็พิพากษาแก้ค่าเสียหายให้แก่ตนเหลือ 120,000 บาท ลดจำนวนเงินลง รวมถึงผู้เสียหายรายอื่นด้วย ส่วนเรื่องจะยื่นฎีกาหรือไม่นั้นต้องขอประชุมร่วมกับผู้เสียหายคนอื่นก่อนว่าจะมีความเห็นอย่างไร
http://www.matichon.co.th/news/534248