ญาติหลั่งน้ำตา หลังศาลไม่รับฎีกา"สาวซีวิค"ชนดับ9ศพ ชี้ไม่เคยเหลียวแล ไม่แม้ทักทาย

ไม่รับฎีกาคดีสาวซีวิคซิ่ง 9 ศพ ด้านครอบครัวผู้เสียชีวิตน้อมรับ
พร้อมกล่าวทั้งน้ำตา ที่ผ่านมาฝ่ายจำเลยไม่เคยเหลียวแล ไม่เคยแม้แต่พูดคุยทักทาย



ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ไม่รับฎีกาในคดีที่เยาวชนหญิงอายุ 18 ปี หรือ นางสาวแพรวา (นามสมมติ) ตกเป็นจำเลยในคดีความผิดฐานขับขี่รถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายต่อร่างกายบาดเจ็บสาหัส และทรัพย์สินเสียหาย และใช้โทรศัพท์ขณะขับรถยนต์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 9 คน

โดยศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง มีคำสั่งให้ยืนตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาจำคุกเยาวชนหญิงอายุ 18 ปี เป็นเวลา 2 ปี แต่แก้โทษให้เพิ่มเวลารอลงอาญาจาก 3 ปี เป็น 4 ปี เพิ่มเวลาบำเพ็ญประโยชน์เป็นปีละ 48 ชั่วโมง รวม 4 ปี และห้ามขับรถยนต์จนถึงอายุ 25 ปี



ด้านนางทองพูน พานทอง ญาติผู้เสียชีวิต ยอมรับในคำสั่งของศาล เพราะถือว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมถึงที่สุดแล้ว และกล่าวทั้งน้ำตาว่า ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ญาติผู้เสียชีวิตไม่เคยได้รับการช่วยเหลือเยียวยาจากฝ่ายจำเลย จึงต้องการให้ทางฝ่ายจำเลยเข้ามาช่วยเหลือตามสมควร หรือแม้แต่เข้ามาพูดคุยกับครอบครัวผู้เสียหายบ้าง

ส่วนคดีความฟ้องร้องทางแพ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือกับทีมทนายความ เพื่อให้คดีความทางแพ่งมีการนัดพิจารณาคดี โดยที่ผ่านมาคดีทางแพ่ง สืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยเสร็จแล้ว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1431330215

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
ผลของการที่ศาลไม่อนุญาตให้ฎีกา ทำให้คดีนี้ถึงที่สุดในศาลอุทธรณ์ทันที
ส่งผลให้คำพิพากษาส่วนอาญาจบลงที่ศาลอุทธรณ์ทันที
ทำให้คดีอาญา นส.ซีวิค มีความผิดจริงตามฟ้อง..
..
ส่งผลให้คดีแพ่ง ต้องฟังเป็นยุติว่า นส.ซีวิค เป็นผู้กระทำผิดจริง
และตาม ปวิอ.ม.46 นั้นมีผลผูกพันคดีแพ่งทันที
โดย นส.ซีวิค จะมาสืบพยาน หรือ ต่อสู้ว่า ตนมิได้ประมาทไม่ได้ (คดีอาญาปิดปากแล้วว่ามีความผิด)
..
หลายคนที่อาจไม่รู้ในส่วนนี้ อาจจะไปวิจารณ์กระบวนการยุติธรรมโดยไม่ทราบข้อเท็จจริงในกรณีเช่นนี้ได้
..
ถ้าถามผมว่า โดยส่วนตัวเห็นอย่างไรในเรื่องนี้
ผมเห็นว่า เมื่อคดีอาญาจบลงแล้วว่า นส.ซีวิค มีความผิดจริงตามฟ้อง
จะส่งผลดีในคดีแพ่งทันที และ ในคดีแพ่งจะเหลือเพียงประเด็นเดียวว่า
โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร เท่าใด แค่นั้น (สืบค่าเสียหายเท่านั้น)
โดยไม่ต้องไปกังวลว่า คดีแพ่งศาลจะไปวินิจฉัยว่า จำเลยประมาทหรือไม่อีกเลย..
..
และอีกข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ พ่อแม่ของ นส.ซีวิค ก็ต้องร่วมกับรับผิดในทางแพ่งในกรณีนี้ด้วย โอกาสที่จะต้องจ่ายเงินให้แก่โจทก์ (ผู้ตาย) นั้น แน่นอนที่สุด ประเด็นเดียวที่เราต้องมานั่งลุ้นกันก็คือ ศาลในคดีแพ่งจะพิพากษาให้จำเลยชำระเงินเท่าใด นั่นเอง..
..

แต่ถ้าในคดีอาญายังไม่จบ คดีส่วนแพ่งก็รอกันต่อไปอีกจนกว่าคดีอาญาจะถึงที่สุด
หากเป็นเช่นนี้ ความเสียหายและการเยียวยามันจะช้าไปเกินความจำเป็น..

.. หวังว่าจะเข้าใจกระบวนการยุติธรรม นะครับ...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่