ผมว่าการที่ศาลท่านไม่รับฎีกาคดีสาวซีวิค 9 ศพนี่ เป็นผลดีต่อญาติผู้สูญเสียนะครับ

กระทู้คำถาม
คดีนี้   เกิดขึ้นเมื่อ  27  ธันวาคม  2553


ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

31 สิงหาคม 2555  
ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
พิพากษาจำคุกเป็นเวลา 3 ปี คำให้การในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์  ลดโทษให้ 1 ใน 3   คงจำคุกเป็นเวลา 2 ปี
โทษจำคุก ให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี
โดยคุมประพฤติจำเลย 3 ปี และให้รายงานตัวทุกๆ 3 เดือน
พร้อมให้ทำงานบริการสังคมโดยการดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
รวมทั้งห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์


22 เมษายน 2557
ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาแก้ไขจากที่รอลงอาญา 3 ปี ให้ระยะเวลารอลงอาญาเป็น 4 ปี
และให้บำเพ็ญประโยชน์ 48 ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลารวม 4 ปี ส่วนโทษอื่นให้คงตามศาลชั้นต้น

จำเลยฎีกา



11 พฤษภาคม 2558
ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว มีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย





แน่นอนครับ   จำเลยต้องฎีกาเพื่อให้ศาลลดโทษ   แต่เมื่อศาลไม่รับฎีกา
จำเลยก็ไม่ได้รับการลดโทษ

ส่งผลต่อคดีแพ่ง

คดีสิ้นสุด   ญาติผู้สูญเสียไม่ต้องเสียเวลาสู้คดีในทางอาญาอีกต่อไป
แต่สามารถนำผลคำพิพากษาของศาล  ที่บอกว่าจำเลยมีความผิดจริง  ไปดำเนินการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้

ผมมองว่า เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายผู้สูญเสียครับ





ในความเห็นส่วนตัวผม

คนที่ทำให้คนอื่นตาย   จะยังไง  เจตนา หรือไม่เจตนา  หรือโดยประมาท   ก็ควรโดนจำคุก
เพื่อสร้างบรรทัดฐาน และสำนึกให้สังคม

แต่เพราะกระบวนการยุติธรรมเรามีปัญหา

ตั้งแต่ชั้นตำรวจ  จนถึงชั้นศาล   ล้วนใช้อิทธิพล  เงิน  ทำให้ไม่ติดคุกได้



ตอนนี้  สำนึกในสังคมไทย  จึงเป็นว่า  ชนตายไปเหอะ มีเงินเคลียร์ มีเงินจ่าย  ไม่ติดคุกหรอก

คนไทยจึงมีสิทธิ์ตายได้ง่าย ๆ  อย่างไร้เหตุผล  ด้วยฝีมือพวกวัยรุ่นคะนอง  พวกเมาแล้วขับ  ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่