วิธีการค้นหาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ( เรียบเรียงโดย เตชปัญโญ ภิกขุ อาศรมพุทธบุตร เกาะสีชัง ชลบุรี)
มนุษย์นั้นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ไม่รู้ว่า ชีวิตคืออะไร? เมื่อไม่รู้ว่าชีวิตคืออะไร? จึงไม่รู้ว่า ชีวิตเกิดมาทำไม? และอะไรคือสิ่งสูงสุดที่ชีวิตควรได้รับ? ซึ่งตามหลักของพุทธศาสนานั้น การศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นแจ้งว่าชีวิตคืออะไร?นั้น จะต้องใช้สมาธิ (ความตั้งใจ) มากในการอ่าน ที่สำคัญจะต้องไม่มีอคติ (ความลำเอียง) และต้องปล่อยวางความเชื่อที่มีอยู่ในเรื่องศาสนา (แม้ของพุทธศาสนาเองด้วย) และชีวิต (คือจากการอ่านจากตำราหรือฟังจากคนอื่น หรือแม้จากการคิดขึ้นมาเองก็ตาม) ทั้งหมดลงก่อน (แม้เพียงชั่วคราว) แล้วค่อยๆพิจารณาโดยใช้เหตุผลและความจริง จากจิตใจของเราเองในปัจจุบันมาพิจารณาไปตามลำดับ ก็จะทำให้ค้นพบได้ว่าชีวิตคืออะไร? รวมทั้งค้นพบว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร? ด้วยสติปัญญาของเราเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อจากใครๆหรือจากตำราใดๆทั้งสิ้น ซึ่งลำดับขั้นในการศึกษานั้นก็มีดังนี้
(๑) ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า สรุปแล้วมนุษย์นั้นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็อยากได้ความสุข แต่กลัวความทุกข์ แต่เมื่อได้ความสุขตามที่อยากจะได้แล้ว ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ เพราะมันเป็นของคู่กันตามธรรมชาติ ดังนั้นความทุกข์จึงจัดเป็นภัย (สิ่งที่น่าหวาดกลัว) อันใหญ่หลวงของมนุษย์ทุกคน (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒) ข้อต่อไปก็คือ ความทุกข์นี้ หมายถึง ความทุกข์ของจิตใจ ที่เกิดจากการที่จิตไปยึดมั่นในร่างกายและจิตใจของเราเอง (ขันธ์ ๕) รวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นต้น) ว่าเป็น “ตัวเรา ของเรา” ด้วยความรักความพอใจ ซึ่งเมื่อสิ่งที่ได้ยึดมั่นไว้นั้นมันเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของมัน คือ ร่างกาย เจ็บ ป่วย พิการ แก่ หรือกำลังจะตาย หรือคนที่เรารักได้จากไป หรือการที่เราต้องอยู่กับคนที่เราไม่รัก หรือการที่เรากำลังผิดหวังอยู่ ก็จะทำให้จิตที่ยึดถือนี้เกิดความเศร้าโศก หรือเสียใจ แห้งเหี่ยวใจ ตรอมใจ คับแค้นใจ เป็นต้น ขึ้นมาทันที ซึ่งนี่คือความทุกข์ที่เป็นภัยอันใหญ่หลวงของมนุษย์ ส่วนความทรมานของร่างกาย (เช่น ความเจ็บ-ปวด หิว กระหาย หนัก-เหนื่อย เป็นต้น) นั้น ไม่ใช่ความทุกข์ที่จัดว่าเป็นภัยอันใหญ่หลวง เพราะถ้าเราไม่มีความยึดมั่นว่าเป็นร่างกายของเราเสียแล้ว ความทรมานของร่างกายนี้ก็ไม่เป็นปัญหา คือไม่ทำให้จิตใจเป็นทุกข์ที่รุนแรง (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๓) ข้อต่อไปก็คือ สรุปแล้วสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิตก็คือ ความไม่มีทุกข์ (หรือความหลุดพ้นจากภัยอันใหญ่หลวง) ส่วนความสุขนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิต เพราะความพอใจในความสุขนั่นเองจะนำความทุกข์มาให้ด้วยเสมอ ดังนั้นความสุขแม้จะประณีตและมากมายสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิต (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๔) ข้อต่อไปก็คือ พระพุทธเจ้าคือผู้ที่มีสติปัญญาสูงสุดในหมู่มนุษย์ และเป็นสุดยอดอัจฉริยะในด้านการคิด ดังนั้นสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน จะต้องเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิตเท่านั้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๕) ข้อต่อไปก็คือ สรุปแล้วพระพุทธเจ้าจะสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์ (หรือพ้นทุกข์ หรือไม่มีทุกข์) เพราะเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิต ถ้าเรื่องใดไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าจะไม่สอน (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๖) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อความทุกข์เกิดจากความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสิ่งต่างที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น) เป็น ตัวเรา-ของเรา (ที่เรียกว่าอุปาทาน) ดังนั้นในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตัวเรา-ของเรา ก็จะไม่มีความทุกข์ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๗) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อไม่มีความทุกข์ จิตก็จะสงบ เย็น ปลอดโปร่ง สดชื่น แจ่มใส เบาสบาย ที่เรียกอย่างสมมติว่า นิพพาน ที่แปลตรงๆว่า เย็น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๘) ข้อต่อไปก็คือ นิพพานนี้เราก็พอจะมีกันอยู่บ้างแล้ว (อย่างชั่วคราว) ในชีวิตประจำวันของเรา เพียงแต่อาจมีไม่มาก (ไม่เย็นมาก) และไม่บ่อยนักเท่านั้น เพราะส่วนมากในชีวิตประจำวัน ของเราจะมีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ มาครอบงำจิตอยู่เสมอๆ จึงทำให้จิตขุ่นมัว ไม่สงบ ไม่แจ่มใส (หรือมีความทุกข์อ่อนๆ) อยู่เกือบจะทั้งวัน แล้วก็ทำให้นิพพานมีน้อย ส่วนความทุกข์นั้นจะมีก็ต่อเมื่อมีสิ่งภายนอกที่รุนแรงมากระทบจิตเท่านั้น เช่น เมื่อรู้ว่าคนที่รักได้จากไป เป็นต้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๙) ข้อต่อไปก็คือ การที่เราไปยึดถือในสิ่งต่างๆ (คือร่างกายและจิตใจรวมทั้งสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พ่อ แม่ คู่ครอง ลูก ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น) ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา นั้นก็เป็นเพราะ สิ่งเหล่านั้นมันให้ความสุขแก่เรา เมื่อมันให้ความสุขแก่เรา เราจึงรักหรือพอใจในสิ่งเหล่านั้น เมื่อเรารักหรือพอใจในสิ่งใด ก็เท่ากับว่าเราได้ยึดถือสิ่งนั้นเอาไว้ด้วยจิตใจเข้าแล้วอย่างถอนตัวไม่ขั้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๐) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อเราพิจารณาให้ลึกซึ้งเราก็จะพบว่า การที่เรารักหรือพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพราะ เรามีความเห็นหรือเข้าใจ (ที่เป็นความรู้สึกจากจิตใต้สำนึก ซึ่งมันเกิดขึ้นมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจคิด) ว่า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นตัวตนของมันเองจริงๆ (อัตตา), และเข้าใจว่ามันจะเที่ยงคือตั้งอยู่อย่างนั้นตลอดไปได้ (นิจจัง), รวมทั้งเข้าใจว่ามันสามารถทนอยู่อย่างสุขสบาย (สุขัง) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๑) ข้อต่อไปก็คือ แต่ถ้าเราเห็น (เข้าใจ) อย่างแจ่มชัดด้วยการใช้เหตุผลพิจารณาว่า สิ่งที่เรารักหรือพอใจนั้น มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) และไม่เที่ยงคือมีความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความดับสลายอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) รวมทั้งยังต้องทนอยู่อย่างยากลำบากอีกด้วย (ทุกขัง) เราก็จะไม่รักหรือไม่พอใจในสิ่งนั้น (หรือมีความรัก-ความพอใจลดน้อยลง) และเมื่อไม่รักก็จะไม่ยึดถือ (หรือมีความยึดถือลดน้อยลง) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๒) ข้อต่อไปก็คือ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) นั้น อีกความหมายก็คือ มันไม่มีตัวตนที่แท้จริง ที่จะมาให้เรายึดถือว่าเป็นตัวเราหรือของเราได้ (ที่เรียกว่าสุญญตา) ซึ่งสิ่งที่เป็นอนัตตานั้นจะมีลักษณะให้เราสังเกตหรือรู้สึกได้คือ มีความไม่เที่ยง (คือมีความเปลี่ยนแปลง และมีการเกิดและดับ) รวมทั้งยังต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
วิธีการค้นหาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
มนุษย์นั้นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็ไม่รู้ว่า ชีวิตคืออะไร? เมื่อไม่รู้ว่าชีวิตคืออะไร? จึงไม่รู้ว่า ชีวิตเกิดมาทำไม? และอะไรคือสิ่งสูงสุดที่ชีวิตควรได้รับ? ซึ่งตามหลักของพุทธศาสนานั้น การศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและเห็นแจ้งว่าชีวิตคืออะไร?นั้น จะต้องใช้สมาธิ (ความตั้งใจ) มากในการอ่าน ที่สำคัญจะต้องไม่มีอคติ (ความลำเอียง) และต้องปล่อยวางความเชื่อที่มีอยู่ในเรื่องศาสนา (แม้ของพุทธศาสนาเองด้วย) และชีวิต (คือจากการอ่านจากตำราหรือฟังจากคนอื่น หรือแม้จากการคิดขึ้นมาเองก็ตาม) ทั้งหมดลงก่อน (แม้เพียงชั่วคราว) แล้วค่อยๆพิจารณาโดยใช้เหตุผลและความจริง จากจิตใจของเราเองในปัจจุบันมาพิจารณาไปตามลำดับ ก็จะทำให้ค้นพบได้ว่าชีวิตคืออะไร? รวมทั้งค้นพบว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร? ด้วยสติปัญญาของเราเอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อจากใครๆหรือจากตำราใดๆทั้งสิ้น ซึ่งลำดับขั้นในการศึกษานั้นก็มีดังนี้
(๑) ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า สรุปแล้วมนุษย์นั้นเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วก็อยากได้ความสุข แต่กลัวความทุกข์ แต่เมื่อได้ความสุขตามที่อยากจะได้แล้ว ความทุกข์ก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วยเสมอ เพราะมันเป็นของคู่กันตามธรรมชาติ ดังนั้นความทุกข์จึงจัดเป็นภัย (สิ่งที่น่าหวาดกลัว) อันใหญ่หลวงของมนุษย์ทุกคน (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒) ข้อต่อไปก็คือ ความทุกข์นี้ หมายถึง ความทุกข์ของจิตใจ ที่เกิดจากการที่จิตไปยึดมั่นในร่างกายและจิตใจของเราเอง (ขันธ์ ๕) รวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นต้น) ว่าเป็น “ตัวเรา ของเรา” ด้วยความรักความพอใจ ซึ่งเมื่อสิ่งที่ได้ยึดมั่นไว้นั้นมันเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของมัน คือ ร่างกาย เจ็บ ป่วย พิการ แก่ หรือกำลังจะตาย หรือคนที่เรารักได้จากไป หรือการที่เราต้องอยู่กับคนที่เราไม่รัก หรือการที่เรากำลังผิดหวังอยู่ ก็จะทำให้จิตที่ยึดถือนี้เกิดความเศร้าโศก หรือเสียใจ แห้งเหี่ยวใจ ตรอมใจ คับแค้นใจ เป็นต้น ขึ้นมาทันที ซึ่งนี่คือความทุกข์ที่เป็นภัยอันใหญ่หลวงของมนุษย์ ส่วนความทรมานของร่างกาย (เช่น ความเจ็บ-ปวด หิว กระหาย หนัก-เหนื่อย เป็นต้น) นั้น ไม่ใช่ความทุกข์ที่จัดว่าเป็นภัยอันใหญ่หลวง เพราะถ้าเราไม่มีความยึดมั่นว่าเป็นร่างกายของเราเสียแล้ว ความทรมานของร่างกายนี้ก็ไม่เป็นปัญหา คือไม่ทำให้จิตใจเป็นทุกข์ที่รุนแรง (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๓) ข้อต่อไปก็คือ สรุปแล้วสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิตก็คือ ความไม่มีทุกข์ (หรือความหลุดพ้นจากภัยอันใหญ่หลวง) ส่วนความสุขนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิต เพราะความพอใจในความสุขนั่นเองจะนำความทุกข์มาให้ด้วยเสมอ ดังนั้นความสุขแม้จะประณีตและมากมายสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิต (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๔) ข้อต่อไปก็คือ พระพุทธเจ้าคือผู้ที่มีสติปัญญาสูงสุดในหมู่มนุษย์ และเป็นสุดยอดอัจฉริยะในด้านการคิด ดังนั้นสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน จะต้องเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิตเท่านั้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๕) ข้อต่อไปก็คือ สรุปแล้วพระพุทธเจ้าจะสอนเฉพาะเรื่องการดับทุกข์ (หรือพ้นทุกข์ หรือไม่มีทุกข์) เพราะเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิต ถ้าเรื่องใดไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าจะไม่สอน (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๖) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อความทุกข์เกิดจากความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสิ่งต่างที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น) เป็น ตัวเรา-ของเรา (ที่เรียกว่าอุปาทาน) ดังนั้นในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตัวเรา-ของเรา ก็จะไม่มีความทุกข์ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๗) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อไม่มีความทุกข์ จิตก็จะสงบ เย็น ปลอดโปร่ง สดชื่น แจ่มใส เบาสบาย ที่เรียกอย่างสมมติว่า นิพพาน ที่แปลตรงๆว่า เย็น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๘) ข้อต่อไปก็คือ นิพพานนี้เราก็พอจะมีกันอยู่บ้างแล้ว (อย่างชั่วคราว) ในชีวิตประจำวันของเรา เพียงแต่อาจมีไม่มาก (ไม่เย็นมาก) และไม่บ่อยนักเท่านั้น เพราะส่วนมากในชีวิตประจำวัน ของเราจะมีความฟุ้งซ่านรำคาญใจ มาครอบงำจิตอยู่เสมอๆ จึงทำให้จิตขุ่นมัว ไม่สงบ ไม่แจ่มใส (หรือมีความทุกข์อ่อนๆ) อยู่เกือบจะทั้งวัน แล้วก็ทำให้นิพพานมีน้อย ส่วนความทุกข์นั้นจะมีก็ต่อเมื่อมีสิ่งภายนอกที่รุนแรงมากระทบจิตเท่านั้น เช่น เมื่อรู้ว่าคนที่รักได้จากไป เป็นต้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๙) ข้อต่อไปก็คือ การที่เราไปยึดถือในสิ่งต่างๆ (คือร่างกายและจิตใจรวมทั้งสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น พ่อ แม่ คู่ครอง ลูก ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น) ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา นั้นก็เป็นเพราะ สิ่งเหล่านั้นมันให้ความสุขแก่เรา เมื่อมันให้ความสุขแก่เรา เราจึงรักหรือพอใจในสิ่งเหล่านั้น เมื่อเรารักหรือพอใจในสิ่งใด ก็เท่ากับว่าเราได้ยึดถือสิ่งนั้นเอาไว้ด้วยจิตใจเข้าแล้วอย่างถอนตัวไม่ขั้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๐) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อเราพิจารณาให้ลึกซึ้งเราก็จะพบว่า การที่เรารักหรือพอใจในสิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพราะ เรามีความเห็นหรือเข้าใจ (ที่เป็นความรู้สึกจากจิตใต้สำนึก ซึ่งมันเกิดขึ้นมาเองโดยไม่ได้ตั้งใจคิด) ว่า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นตัวตนของมันเองจริงๆ (อัตตา), และเข้าใจว่ามันจะเที่ยงคือตั้งอยู่อย่างนั้นตลอดไปได้ (นิจจัง), รวมทั้งเข้าใจว่ามันสามารถทนอยู่อย่างสุขสบาย (สุขัง) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๑) ข้อต่อไปก็คือ แต่ถ้าเราเห็น (เข้าใจ) อย่างแจ่มชัดด้วยการใช้เหตุผลพิจารณาว่า สิ่งที่เรารักหรือพอใจนั้น มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) และไม่เที่ยงคือมีความเปลี่ยนแปลงไปสู่ความดับสลายอยู่ตลอดเวลา (อนิจจัง) รวมทั้งยังต้องทนอยู่อย่างยากลำบากอีกด้วย (ทุกขัง) เราก็จะไม่รักหรือไม่พอใจในสิ่งนั้น (หรือมีความรัก-ความพอใจลดน้อยลง) และเมื่อไม่รักก็จะไม่ยึดถือ (หรือมีความยึดถือลดน้อยลง) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๒) ข้อต่อไปก็คือ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) นั้น อีกความหมายก็คือ มันไม่มีตัวตนที่แท้จริง ที่จะมาให้เรายึดถือว่าเป็นตัวเราหรือของเราได้ (ที่เรียกว่าสุญญตา) ซึ่งสิ่งที่เป็นอนัตตานั้นจะมีลักษณะให้เราสังเกตหรือรู้สึกได้คือ มีความไม่เที่ยง (คือมีความเปลี่ยนแปลง และมีการเกิดและดับ) รวมทั้งยังต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)