ความคิดเห็นที่ 5-6
http://ppantip.com/topic/34671273
เออ... แล้วท่านเตชปัญโญ พิสูจน์อย่างไรละว่าอะไรคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
การปฏิบัติแล้วเห็นจริงก็ยังไม่ใช่ข้อพิสูจน์นะ ว่านั่นคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
ตอบดีๆ เป็นวิทยาศาสตร์นะครับ
ถ้ามีแผนที่หนึ่ง บอกว่าเขียนโดยนายเอ
ผมไปตามแผนที่นั้นแล้วไปถึงเป้าหมาย
สำคัญหรือว่าใครเขียน
อาเนญชาภิสังขาร
*********************************************************
เป็นคำถามที่ดี อาตมารอให้มีคนถามอย่างนี้มานานแล้ว แต่ค่อยไม่มีใครสนใจถามเลย ซึ่งคำตอบมันอาจจะยืดยาวอยู่สักหน่อย เพราะมันต้องโยงเหตุโยงผลไปตามลำดับ จนกว่าจะได้เป็นคำตอบสุดท้าย ว่า "พิสูจน์อย่างไรละว่าอะไรคือคำสอนของพระพุทธเจ้า"
(๑) ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า ความทุกข์คือภัยอันใหญ่หลวงของมนุษย์? (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒) ข้อต่อไปก็คือ ความทุกข์นี้ หมายถึง ความทุกข์ของจิตใจ ที่เกิดจากการที่จิตไปยึดมั่นถือมั่นในร่างกายและจิตใจ (ขันธ์ ๕) ว่าเป็นตัวเรา และไปยึดมั่นสิ่งที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นต้น) ว่าเป็น ของเรา ด้วยความรักหรือชอบใจ ซึ่งเมื่อสิ่งทียึดมั่นไว้นั้นมันเปลี่ยนแปลงไป เช่น ร่างกาย เจ็บ ป่วย แก่ หรือกำลังจะตาย หรือคนที่เรารักได้จากไป หรือเราต้องอยู่กับคนที่เราไม่รัก หรือเรากำลังผิดหวังอย่างแรงอยู่ เป็นต้น จิตที่ยึดมั่นนี้ก็จะเกิดความเศร้าโศก หรือเสียใจ แห้งเหี่ยวใจ ตรอมใจ คับแค้นใจ เป็นต้น ขึ้นมาทันที ซึ่งนี่คือความทุกข์ที่เป็นภัยอันใหญ่หลวงของมนุษย์ ส่วนความทรมานของร่างกาย (เช่น ความเจ็บ-ปวด หิว กระหาย หนัก-เหนื่อย เป็นต้น) นั้น ไม่ใช่ความทุกข์ที่เป็นภัย เพราะถ้าไม่มีความยึดมั่นว่าเป็นร่างกายของเราเสียแล้ว ความทรมานของร่างกายนี้ก็ไม่เป็นปัญหา (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๓) ข้อต่อไปก็คือ สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิตก็คือ ความไม่มีทุกข์ (หรือความไม่มีภัยอันใหญ่หลวง) ความสุขไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิต เพราะความสุขจะนำความทุกข์มาให้เสมอ ดังนั้นความสุขแม้จะประณีตและมากมายสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิต (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๔) ข้อต่อไปก็คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ต้องเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิต ถ้าไม่เป็นประโยชน์สูงสุด พระพุทธเจ้าจะไม่สอน (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๕) ข้อต่อไปก็คือ พระพุทธเจ้าสอนเรื่องที่เป็นประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือเรื่องการดับทุกข์ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๖) ข้อต่อไปก็คือ ความทุกข์เกิดจากความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสิ่งต่างที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น) เป็น ตัวเรา-ของเรา (ที่เรียกว่าอุปาทาน) ดังนั้นในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีความยึดถือ ก็จะไม่มีความทุกข์ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๗) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อไม่มีความทุกข์ จิตก็จะสงบเย็น ปลอดโปร่ง สดชื่น แจ่มใส เบาสบาย ที่สมมติเรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง เย็น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๘) ข้อต่อไปก็คือ นิพพานนี้เราก็พอจะมีกันอยู่บ้างแล้วในชีวิตประจำวันของเรา เพียงแต่อาจมีไม่มากเท่านั้น เพราะส่วนมากจิตจะฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่สงบ นิพพานจึงมีน้อยครั้ง ส่วนความทุกข์นั้นไม่ค่อยมี จะมีเมื่อมีสิ่งภายนอกที่รุนแรงมากระทบเท่านั้น เช่นเมื่อรู้ว่าคนที่รักได้จากไป เป็นต้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๙) ข้อต่อไปก็คือ การที่เราไปยึดมั่นในสิ่งต่างๆนั้นก็เป็นเพราะ เรารักหรือชอบใจในสิ่งนั้น เพราะสิ่งเหล่านั้นมันให้ความสุขแก่เรา (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๐) ข้อต่อไปก็คือ การที่เรารัก เราชอบใจในสิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพราะ เราเห็น (เข้าใจ) ว่า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นตัวตนของมันเองจริงๆ (อัตตา), ที่เที่ยง-ไม่เปลี่ยนแปลง (นิจจัง) และทนอยู่อย่างสุบสบาย (สุขัง) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๑) ข้อต่อไปก็คือ แต่ถ้าเราเห็น (เข้าใจ) อย่างแจ่มชัดด้วยการใช้เหตุผลพิจารณาว่า สิ่งที่เรารักเราชอบใจนั้น มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) และมันไม่เที่ยง (คือมีความเปลี่ยงแปลง รวมทั้งไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องดับหายไปในที่สุด) (อนิจจัง) รวมทั้งยังต้องทนอยู่อย่างยากลำบาก (ทุกขัง) อีกด้วย เราก็จะไม่รัก-ไม่ชอบใจในสิ่งนั้น (หรือมีความรัก-ความขอบใจลดน้อยลง) และเมื่อไม่รักก็ไม่ยึดถือ (หรือยึดถือลดน้อยลง) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๒) ข้อต่อไปก็คือ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) นั้นอีกความหมายก็คือ มันไม่มีตัวตนที่แท้จริง ที่จะมาให้เรายึดถือว่าเป็นตัวเราหรือของเราได้ (ที่เรียกว่าสุญญตา) ซึ่งสิ่งที่เป็นอนัตตานั้นจะมีลักษณะให้เราสังเกตหรือรู้สึกได้คือ ความไม่เที่ยง (คือมีการเกิดและดับ) รวมทั้งยังต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๓) ข้อต่อไปก็คือ ร่างกายของเรานี้เกิดขึ้นมาจากพ่อและแม่ร่วมกันสร้างขึ้นมา โดยมีอาหาร น้ำ ความร้อน และอากาศมาปรุงแต่งให้ตั้งอยู่ มันจึงเกิดขึ้นมาและตั้งอยู่ได้ ซึ่งนี้ก็แสดงถึงว่าร่างกายเป็น สิ่งปรุงแต่ง ที่เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ร่างกายจริงๆ หรือไม่มีร่างกายจริงๆ มีแต่ร่างกายมายา หรือร่างกายชั่วคราวเท่านั้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๔) ข้อต่อไปก็คือ สรุปแล้ว จิตหรือใจ ก็คือ สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ ถ้ารู้สึกนึกคิดไม่ได้ ก็เท่ากับไม่มีจิตใจ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๕) ข้อต่อไปก็คือ จิตหรือใจ จะประกอบด้วย การรับรู้ (วิญญาณ), การจำสิ่บที่รับรู้ได้ (สัญญา), รู้สึกสิ่งที่รับรู้ได้ (เวทนา), และการคิดนึก-ปรุงแต่ง (สังขาร) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๖) ข้อต่อไปก็คือ จิตใจจะต้องอาศัยร่างกายเกิดขึ้นเสมอ เราไม่เคยมีจิตใจโดยไม่มีร่างกายเลย (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๗) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อเวลาที่เราหลับสนิทและไม่ฝันนั้น ก็เท่ากับไม่มีความรู้สึกนึกคิด ซึ่งก็เท่ากับไม่มีจิต แต่เมื่อตื่นจึงจะเกิดจิตหรือความรู้สึกนึกคิดขึ้นมา ซึ่งนี่ก็คือการเกิดและดับของจิต (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๘) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อจิตใจต้องอาศัยร่างกายเกิดขึ้น และมีการเกิด-ดับ นี่ก็แสดงว่า จิตใจเป็นสิ่งปรุงแต่ง ที่มีความไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงที่จะยึดถือว่าเป็นตัวเราได้จริง หรือเท่ากับว่า มันไม่มีตัวเราอยู่จริงในจิตใจนี้ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๙) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อเราเข้าใจและเห็นแจ้งด้วยจิต (ที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรา) ว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริงดังนี้แล้ว บวกกับเราก็พอมีสมาธิอยู่บ้าง ก็จะทำให้ความยึดมั่นถือมันว่าจิตใจนี้คือตัวเรา และร่างกายนี้คือร่างกายของเรา รวมทั้งความยึดถือว่าสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น) ว่าเป็นของเราด้วย นี้ลดน้อยลง (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๐) เมื่อความยึดถือลดน้อยลง ความทุกข์ก็จะลดน้อยลงด้วย (แต่ถ้าความยึดถือดับลงไปแม้เพียงชั่วคราว ความทุกข์ก็ย่อมที่จะดับหายไปแม้เพียงชั่วคราวด้วยเหมือนกัน) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๑) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็จะสงบเย็น หรือที่สมมติเรียกว่า นิพพาน ที่แปลตรงๆว่า เย็น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๒) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อจิตนิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว) ก็แสดงว่าเราได้พบสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิตแล้ว (แม้เพียงชั่วคราว) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๓) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อพบนิพพานแล้ว ก็แสดงว่า เราได้ค้นพบวิธีการที่จะทำให้นิพพานปรากฏแล้ว (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๔) ข้อสุดท้ายก็คือ เมื่อเราพบวิธีการปฏิบัติที่จะทำให้นิพพานปรากฏแล้ว ก็แสดงว่า เราได้ค้นพบแล้วว่านี่คือคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องเชื่อจากใคร หรือจากตำราใดๆ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
สรุปแล้วโยมอ่านแล้วเข้าใจหรือเปล่า? อาจต้องใช้สมาธิมากหน่อย ที่สำคัญจะต้องไม่มีอคติ (ความลำเอียง) คือต้องไม่มีความยึดถือตามความเชื่อที่โยมมีอยู่ หรือต้องปล่อยวางความเชื่อที่โยมมีอยู่ทั้งหมดลงก่อน (แม้เพียงชั่วคราว) แล้วค่อยๆพิจารณาตามโดยใช้เหตุผลและความจริงจากจิตใจของโยมเอง โยมก็จะค้นพบได้เองว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร? ด้วยสติปัญญาความสามารถของโยมเอง โดยที่ไม่ต้องเชื่อจากใครหรือจากตำราใดๆ เพราะโยมเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยจิตของโยมเองแล้ว ที่เรียกว่า มีดวงตาเห็นธรรม แต่ถ้าโยมไม่มีสมาธิในการอ่าน หรือมีอคตื หรือยังยึดติดในความเชื่อของโยมอยู่ หรือไม่สามารถทำจิตให้เป็นอิสระจากความเชื่อได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นมาได้ (ถ้าโยมปรารถนาจะศึกษาในรายละเอียด ก็ไปหาอ่านได้จากหนังสือ "พระพุทธเจ้าสอนอะไร?" จากเว็บ "ฉันคืออะไร?" ของอาตมา)
เออ... แล้วท่านเตชปัญโญ พิสูจน์อย่างไรละว่าอะไรคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
เออ... แล้วท่านเตชปัญโญ พิสูจน์อย่างไรละว่าอะไรคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
การปฏิบัติแล้วเห็นจริงก็ยังไม่ใช่ข้อพิสูจน์นะ ว่านั่นคือคำสอนของพระพุทธเจ้า
ตอบดีๆ เป็นวิทยาศาสตร์นะครับ
ถ้ามีแผนที่หนึ่ง บอกว่าเขียนโดยนายเอ
ผมไปตามแผนที่นั้นแล้วไปถึงเป้าหมาย
สำคัญหรือว่าใครเขียน
อาเนญชาภิสังขาร
*********************************************************
เป็นคำถามที่ดี อาตมารอให้มีคนถามอย่างนี้มานานแล้ว แต่ค่อยไม่มีใครสนใจถามเลย ซึ่งคำตอบมันอาจจะยืดยาวอยู่สักหน่อย เพราะมันต้องโยงเหตุโยงผลไปตามลำดับ จนกว่าจะได้เป็นคำตอบสุดท้าย ว่า "พิสูจน์อย่างไรละว่าอะไรคือคำสอนของพระพุทธเจ้า"
(๑) ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า ความทุกข์คือภัยอันใหญ่หลวงของมนุษย์? (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒) ข้อต่อไปก็คือ ความทุกข์นี้ หมายถึง ความทุกข์ของจิตใจ ที่เกิดจากการที่จิตไปยึดมั่นถือมั่นในร่างกายและจิตใจ (ขันธ์ ๕) ว่าเป็นตัวเรา และไปยึดมั่นสิ่งที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ ชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นต้น) ว่าเป็น ของเรา ด้วยความรักหรือชอบใจ ซึ่งเมื่อสิ่งทียึดมั่นไว้นั้นมันเปลี่ยนแปลงไป เช่น ร่างกาย เจ็บ ป่วย แก่ หรือกำลังจะตาย หรือคนที่เรารักได้จากไป หรือเราต้องอยู่กับคนที่เราไม่รัก หรือเรากำลังผิดหวังอย่างแรงอยู่ เป็นต้น จิตที่ยึดมั่นนี้ก็จะเกิดความเศร้าโศก หรือเสียใจ แห้งเหี่ยวใจ ตรอมใจ คับแค้นใจ เป็นต้น ขึ้นมาทันที ซึ่งนี่คือความทุกข์ที่เป็นภัยอันใหญ่หลวงของมนุษย์ ส่วนความทรมานของร่างกาย (เช่น ความเจ็บ-ปวด หิว กระหาย หนัก-เหนื่อย เป็นต้น) นั้น ไม่ใช่ความทุกข์ที่เป็นภัย เพราะถ้าไม่มีความยึดมั่นว่าเป็นร่างกายของเราเสียแล้ว ความทรมานของร่างกายนี้ก็ไม่เป็นปัญหา (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๓) ข้อต่อไปก็คือ สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิตก็คือ ความไม่มีทุกข์ (หรือความไม่มีภัยอันใหญ่หลวง) ความสุขไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิต เพราะความสุขจะนำความทุกข์มาให้เสมอ ดังนั้นความสุขแม้จะประณีตและมากมายสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิต (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๔) ข้อต่อไปก็คือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน ต้องเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิต ถ้าไม่เป็นประโยชน์สูงสุด พระพุทธเจ้าจะไม่สอน (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๕) ข้อต่อไปก็คือ พระพุทธเจ้าสอนเรื่องที่เป็นประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือเรื่องการดับทุกข์ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๖) ข้อต่อไปก็คือ ความทุกข์เกิดจากความยึดถือว่าร่างกายและจิตใจ รวมทั้งสิ่งต่างที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น) เป็น ตัวเรา-ของเรา (ที่เรียกว่าอุปาทาน) ดังนั้นในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีความยึดถือ ก็จะไม่มีความทุกข์ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๗) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อไม่มีความทุกข์ จิตก็จะสงบเย็น ปลอดโปร่ง สดชื่น แจ่มใส เบาสบาย ที่สมมติเรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง เย็น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๘) ข้อต่อไปก็คือ นิพพานนี้เราก็พอจะมีกันอยู่บ้างแล้วในชีวิตประจำวันของเรา เพียงแต่อาจมีไม่มากเท่านั้น เพราะส่วนมากจิตจะฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่สงบ นิพพานจึงมีน้อยครั้ง ส่วนความทุกข์นั้นไม่ค่อยมี จะมีเมื่อมีสิ่งภายนอกที่รุนแรงมากระทบเท่านั้น เช่นเมื่อรู้ว่าคนที่รักได้จากไป เป็นต้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๙) ข้อต่อไปก็คือ การที่เราไปยึดมั่นในสิ่งต่างๆนั้นก็เป็นเพราะ เรารักหรือชอบใจในสิ่งนั้น เพราะสิ่งเหล่านั้นมันให้ความสุขแก่เรา (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๐) ข้อต่อไปก็คือ การที่เรารัก เราชอบใจในสิ่งเหล่านั้นก็เป็นเพราะ เราเห็น (เข้าใจ) ว่า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นตัวตนของมันเองจริงๆ (อัตตา), ที่เที่ยง-ไม่เปลี่ยนแปลง (นิจจัง) และทนอยู่อย่างสุบสบาย (สุขัง) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๑) ข้อต่อไปก็คือ แต่ถ้าเราเห็น (เข้าใจ) อย่างแจ่มชัดด้วยการใช้เหตุผลพิจารณาว่า สิ่งที่เรารักเราชอบใจนั้น มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) และมันไม่เที่ยง (คือมีความเปลี่ยงแปลง รวมทั้งไม่ช้าก็เร็วมันก็ต้องดับหายไปในที่สุด) (อนิจจัง) รวมทั้งยังต้องทนอยู่อย่างยากลำบาก (ทุกขัง) อีกด้วย เราก็จะไม่รัก-ไม่ชอบใจในสิ่งนั้น (หรือมีความรัก-ความขอบใจลดน้อยลง) และเมื่อไม่รักก็ไม่ยึดถือ (หรือยึดถือลดน้อยลง) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๒) ข้อต่อไปก็คือ สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง (อนัตตา) นั้นอีกความหมายก็คือ มันไม่มีตัวตนที่แท้จริง ที่จะมาให้เรายึดถือว่าเป็นตัวเราหรือของเราได้ (ที่เรียกว่าสุญญตา) ซึ่งสิ่งที่เป็นอนัตตานั้นจะมีลักษณะให้เราสังเกตหรือรู้สึกได้คือ ความไม่เที่ยง (คือมีการเกิดและดับ) รวมทั้งยังต้องอาศัยเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๓) ข้อต่อไปก็คือ ร่างกายของเรานี้เกิดขึ้นมาจากพ่อและแม่ร่วมกันสร้างขึ้นมา โดยมีอาหาร น้ำ ความร้อน และอากาศมาปรุงแต่งให้ตั้งอยู่ มันจึงเกิดขึ้นมาและตั้งอยู่ได้ ซึ่งนี้ก็แสดงถึงว่าร่างกายเป็น สิ่งปรุงแต่ง ที่เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ร่างกายจริงๆ หรือไม่มีร่างกายจริงๆ มีแต่ร่างกายมายา หรือร่างกายชั่วคราวเท่านั้น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๔) ข้อต่อไปก็คือ สรุปแล้ว จิตหรือใจ ก็คือ สิ่งที่รู้สึกนึกคิดได้ ถ้ารู้สึกนึกคิดไม่ได้ ก็เท่ากับไม่มีจิตใจ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๕) ข้อต่อไปก็คือ จิตหรือใจ จะประกอบด้วย การรับรู้ (วิญญาณ), การจำสิ่บที่รับรู้ได้ (สัญญา), รู้สึกสิ่งที่รับรู้ได้ (เวทนา), และการคิดนึก-ปรุงแต่ง (สังขาร) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๖) ข้อต่อไปก็คือ จิตใจจะต้องอาศัยร่างกายเกิดขึ้นเสมอ เราไม่เคยมีจิตใจโดยไม่มีร่างกายเลย (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๗) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อเวลาที่เราหลับสนิทและไม่ฝันนั้น ก็เท่ากับไม่มีความรู้สึกนึกคิด ซึ่งก็เท่ากับไม่มีจิต แต่เมื่อตื่นจึงจะเกิดจิตหรือความรู้สึกนึกคิดขึ้นมา ซึ่งนี่ก็คือการเกิดและดับของจิต (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๘) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อจิตใจต้องอาศัยร่างกายเกิดขึ้น และมีการเกิด-ดับ นี่ก็แสดงว่า จิตใจเป็นสิ่งปรุงแต่ง ที่มีความไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงที่จะยึดถือว่าเป็นตัวเราได้จริง หรือเท่ากับว่า มันไม่มีตัวเราอยู่จริงในจิตใจนี้ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๑๙) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อเราเข้าใจและเห็นแจ้งด้วยจิต (ที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรา) ว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริงดังนี้แล้ว บวกกับเราก็พอมีสมาธิอยู่บ้าง ก็จะทำให้ความยึดมั่นถือมันว่าจิตใจนี้คือตัวเรา และร่างกายนี้คือร่างกายของเรา รวมทั้งความยึดถือว่าสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้อง (เช่น พ่อ แม่ ลูก เมีย ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น) ว่าเป็นของเราด้วย นี้ลดน้อยลง (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๐) เมื่อความยึดถือลดน้อยลง ความทุกข์ก็จะลดน้อยลงด้วย (แต่ถ้าความยึดถือดับลงไปแม้เพียงชั่วคราว ความทุกข์ก็ย่อมที่จะดับหายไปแม้เพียงชั่วคราวด้วยเหมือนกัน) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๑) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อจิตไม่มีความทุกข์ มันก็จะสงบเย็น หรือที่สมมติเรียกว่า นิพพาน ที่แปลตรงๆว่า เย็น (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๒) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อจิตนิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว) ก็แสดงว่าเราได้พบสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับชีวิตแล้ว (แม้เพียงชั่วคราว) (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๓) ข้อต่อไปก็คือ เมื่อพบนิพพานแล้ว ก็แสดงว่า เราได้ค้นพบวิธีการที่จะทำให้นิพพานปรากฏแล้ว (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
(๒๔) ข้อสุดท้ายก็คือ เมื่อเราพบวิธีการปฏิบัติที่จะทำให้นิพพานปรากฏแล้ว ก็แสดงว่า เราได้ค้นพบแล้วว่านี่คือคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องเชื่อจากใคร หรือจากตำราใดๆ (ยอมรับข้อนี้หรือไม่? ถ้าไม่ยอมรับก็ไม่ผ่านเพราะไม่ยอมรับความจริง)
สรุปแล้วโยมอ่านแล้วเข้าใจหรือเปล่า? อาจต้องใช้สมาธิมากหน่อย ที่สำคัญจะต้องไม่มีอคติ (ความลำเอียง) คือต้องไม่มีความยึดถือตามความเชื่อที่โยมมีอยู่ หรือต้องปล่อยวางความเชื่อที่โยมมีอยู่ทั้งหมดลงก่อน (แม้เพียงชั่วคราว) แล้วค่อยๆพิจารณาตามโดยใช้เหตุผลและความจริงจากจิตใจของโยมเอง โยมก็จะค้นพบได้เองว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร? ด้วยสติปัญญาความสามารถของโยมเอง โดยที่ไม่ต้องเชื่อจากใครหรือจากตำราใดๆ เพราะโยมเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยจิตของโยมเองแล้ว ที่เรียกว่า มีดวงตาเห็นธรรม แต่ถ้าโยมไม่มีสมาธิในการอ่าน หรือมีอคตื หรือยังยึดติดในความเชื่อของโยมอยู่ หรือไม่สามารถทำจิตให้เป็นอิสระจากความเชื่อได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นมาได้ (ถ้าโยมปรารถนาจะศึกษาในรายละเอียด ก็ไปหาอ่านได้จากหนังสือ "พระพุทธเจ้าสอนอะไร?" จากเว็บ "ฉันคืออะไร?" ของอาตมา)