ความทุกข์ (ในอริยสัจ ๔) ที่แท้จริงที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นคือ ความทุกข์ของจิตใจ ที่เกิดขึ้นมาจากการจินตนาการ (ปรุงแต่งขึ้นมาเอง) ของจิตที่โง่เขลา (คือมีอวิชชา-ความรู้ว่ามีตัวเราครอบงำอยู่) ดังที่พระพุทธเจ้าสรุปเอาไว้ว่า ความยึดถือในขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นตัวเรา-ของเราคือตัวทุกข์ (ไม่ใช่ความทุกข์ของร่างกายอย่างที่ชาวพุทธกำลังเข้าใจผิดกันอยู่)
เมื่อใดที่จิตมี ปัญญา หรือ วิชชา (ความเข้าใจและเห็นแจ้งว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริง) และสมาธิ (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) พร้อม การจินตนาการด้วยความโง่เขลาของจิตก็จะดับหายไปทันที (แม้เพียงชั่วคราว) ซึ่งนี่ก็คือความยึดถือในขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นตัวเรา-ของเรานั้นได้ดับหายไปนั่นเอง
เมื่อจิตไม่มีความยึดถือ มันก็ไม่มีทุกข์ (ไม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ ไม่คับแค้นใจ ไม่แห้งเหี่ยวใจ เป็นต้น) เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น หรือที่เรามาสมมติเรียกกันว่า นิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว)
เมื่อจิตไม่มีความทุกข์เสียแล้ว แม้ร่างกายของเรา (ตามที่สมมติเรียก) จะกำลังแก่ หรือเจ็บ หรือกำลังจะตาย หรือกำลังพลัดพรากจากสิ่งใดๆ เป็นต้น มันก็ไม่มีความสำคัญอะไรอีกแล้ว (คือไม่มีผลต่อจิตใจเลย) ซึ่งมันก็เหมือนกับว่ามันไม่ใช่ตัวเราที่แก่ ที่เจ็บ ที่กำลังจะตาย หรือกำลังพลัดพราก เป็นต้น นั่นเอง
นี่คือความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) ที่มีคุณค่าหรือเป็นประโยชน์อย่างที่สุดสำหรับมุษย์ทุกคน ที่พระพุทธเจ้าสอน
แต่ชาวพุทธปัจจุบันกลับไม่เข้าใจและไม่ยอมรับ เพราะไปหลงเชื่อจากคำสอนปลอมปนว่าความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นั้นคือความทุกข์ของร่างกาย จึงทำให้การปฏิบัติอริยมรรคผิดเพี้ยนไปเป็นว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ได้เกิดร่างกายขึ้นมาอีก แล้วก็ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า (คือไม่สามารถดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้)
เมื่อจิตไม่มีความทุกข์เสียแล้ว แม้ร่างกายจะแก่ หรือเจ็บ หรือกำลังจะตาย มันก็ไม่มีความสำคัญเสียแล้ว
เมื่อใดที่จิตมี ปัญญา หรือ วิชชา (ความเข้าใจและเห็นแจ้งว่ามันไม่มีตัวเราอยู่จริง) และสมาธิ (โดยมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว) พร้อม การจินตนาการด้วยความโง่เขลาของจิตก็จะดับหายไปทันที (แม้เพียงชั่วคราว) ซึ่งนี่ก็คือความยึดถือในขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นตัวเรา-ของเรานั้นได้ดับหายไปนั่นเอง
เมื่อจิตไม่มีความยึดถือ มันก็ไม่มีทุกข์ (ไม่เศร้าโศก ไม่เสียใจ ไม่คับแค้นใจ ไม่แห้งเหี่ยวใจ เป็นต้น) เมื่อจิตไม่มีทุกข์ มันก็สงบเย็น หรือที่เรามาสมมติเรียกกันว่า นิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว)
เมื่อจิตไม่มีความทุกข์เสียแล้ว แม้ร่างกายของเรา (ตามที่สมมติเรียก) จะกำลังแก่ หรือเจ็บ หรือกำลังจะตาย หรือกำลังพลัดพรากจากสิ่งใดๆ เป็นต้น มันก็ไม่มีความสำคัญอะไรอีกแล้ว (คือไม่มีผลต่อจิตใจเลย) ซึ่งมันก็เหมือนกับว่ามันไม่ใช่ตัวเราที่แก่ ที่เจ็บ ที่กำลังจะตาย หรือกำลังพลัดพราก เป็นต้น นั่นเอง
นี่คือความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ) ที่มีคุณค่าหรือเป็นประโยชน์อย่างที่สุดสำหรับมุษย์ทุกคน ที่พระพุทธเจ้าสอน
แต่ชาวพุทธปัจจุบันกลับไม่เข้าใจและไม่ยอมรับ เพราะไปหลงเชื่อจากคำสอนปลอมปนว่าความทุกข์ในอริยสัจ ๔ นั้นคือความทุกข์ของร่างกาย จึงทำให้การปฏิบัติอริยมรรคผิดเพี้ยนไปเป็นว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อที่จะไม่ได้เกิดร่างกายขึ้นมาอีก แล้วก็ทำให้ไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า (คือไม่สามารถดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบันได้)