ตอนแรกคิดว่าภาพยนตร์เรื่อง Spotlight นำชื่อมาจากประเด็นเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กของบาทหลวงว่าเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ แต่จริงๆนั้นอาจไม่ใช่เพียงเหตุผลเดียว เพราะจริงๆแล้ว Spotlight เป็นชื่อทีมหนึ่งของหนังสือพิมพ์ The Boston Globe โดยเป็นทีมที่รับผิดชอบส่วนงานที่ต้องลงไปขุดคุ้ยหาข้อมูล และสืบสวนสอบสอนก่อนจะนำข้อมูลดังกล่าวมาเขียนข่าว
ภาพยนตร์เต็งหนึ่งออสการ์ที่สร้างจากเรื่องจริงเรื่องนี้ เดินเรื่องไว โดยรวมก็ไม่น่าเบื่อหน่าย ไม่ได้นำเสนอแบบจืดชืด แม้จะพูดๆๆกันทั้งเรื่อง โดยมีทั้งช่วงที่สนุก ช่วงชวนง่วง และช่วงที่เฉยๆ ผสมปนเปกันไป แต่นั่นอาจเป็นเจตนาของหนังที่ต้องการสะท้อนการทำงานของทีมข่าวทีมนี้จริงๆ ว่า ตามความเป็นจริง คือมันก็ต้องมีช่วงอารมณ์ของการทำงานหลากหลายแบบ ไม่ใช่ตื่นเต้นชวนลุ้นกันตลอดเวลา
แต่สิ่งหนึ่งที่หนังสะท้อนให้เห็นว่าไม่เปลี่ยนไปเลยตลอดทั้งเรื่องไม่ว่าบรรยากาศจะเป็นแบบชวนลุ้นหรือชวนง่วง คือความทุ่มเทและความตั้งใจของทีมงานข่าวในเรื่องตลอดช่วงเวลายาวนานในการทำข่าวดังกล่าว
หนังนำเสนอเหมือนเป็นสารคดีเบื้องหลังคนข่าว โดยนำเสนออย่างจริงจัง ไม่หวือหวา และไม่ได้พยายามทำให้น่าตื่นเต้นจนเกินความเป็นจริงไป ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะเป็นหนังดราม่าล่ารางวัล แถมยังสร้างจากเหตุการณ์จริง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ให้ B+ นะ เพราะรู้สึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่สุดในหลายๆเรื่อง และสร้างอารมณ์ร่วมได้ไม่มากพอ
คือแบบเมื่อดูจบ คนดูจะไม่ได้รู้สึกอะไรเป็นพิเศษมากมายนัก เหมือนกับพอเดินออกจากโรง ก็คือแค่รับรู้และชื่นชมความสามารถและความทุ่มเทต่อการทำงานของทีมข่าวดังกล่าว รู้สึกตกใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกเห็นใจบรรดาเหยื่อเหล่านั้น
แต่ในส่วนของภาพยนตร์ ก็ไม่สามารถสร้างอะไรที่ชวนให้ตราตรึงใจได้เป็นพิเศษ แบบที่ทำให้ต้องกลับไปคิดต่อหรือไปรู้สึกต่อมากมายนัก เป็นหนังค่อนไปทางแนวดูจบแล้วจบกัน (โดยส่วนตัวชอบ Bridge of Spies มากกว่า แม้เรื่องหลังนี้จะอยู่ในจุดประมาณว่า เป็นหนังดีที่กึ่งๆถูกลืมไปแล้วก็ตาม โดยความเหมือนของทั้งสองเรื่อง คือ ได้ชิงออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมทั้งคู่ และสร้างจากเรื่องจริงทั้งคู่)
ภาพยนตร์ยังสะท้อนให้เห็นมุมมองต่อเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก ผ่านมุมมองของทั้งนักข่าวและเหยื่อ โดยทางฝากของเหยื่อ ภาพยนตร์นำเสนอผ่านตัวละครที่หลากหลาย ทั้งตัวละครที่เป็นเกย์และตัวละครชายแท้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
นอกจากนี้ พฤติกรรมการรับมือของเหยื่อก็แตกต่างกันออกไป บางคนเติบโตขึ้นโดยพยายามปกปิดเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ให้ใครหน้าไหนไม่ว่าใกล้ชิดด้วยแค่ไหนได้มารับรู้เรื่องนี้ บางคนพยายามเปิดโปงเรื่องที่เกิดขึ้นโดยออกมาแฉเรื่องที่ตนเองเคยถูกกระทำ หรือบางคนแทบแหลกสลายเมื่อเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเองอีกครั้ง แต่บางคนก็ไม่
ในส่วนของฝากฝั่งของนักข่าว สิ่งที่หนังแสดงให้เห็นว่านักข่าวในทีมบางคนต้องเผชิญ ก็คือ เรื่องของวิกฤติศรัทธาที่สั่นคลอน โดยสืบเนื่องจากการที่นักข่าวได้ทำการสืบสวนสอบสวนกรณีการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กของบาทหลวง และพบว่า มีบาทหลวงที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังกล่าวเป็นจำนวนมากกว่าที่คิดไว้
อีกทั้งพระคาร์ดินัลในเรื่องเองก็รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ก็เลือกที่จะเพิกเฉยต่อปัญหา ไม่แก้ไขอย่างเหมาะสม มิหนำซ้ำยังช่วยปิดบังเสียด้วยซ้ำ เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้นักข่าวหลายคนในทีมถูกผลักดันไปอยู่ในจุดที่มุมมองที่ตนมีต่อการไปโบสถ์เปลี่ยนไปตลอดกาลเลยทีเดียว
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่า มีหลายฉากที่กล้องจะจับภาพนักแสดงจากทางด้านหลัง เหมือนจะสื่อว่า คนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง
หนังยังมีการสะท้อนให้เห็นปัญหาที่สืบเนื่องมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากความทุ่มเทของนักข่าว เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งเวลาให้ครอบครัว เพราะนักข่าวเหล่านี้ต้องเสียสละเวลาทั้งในเวลางานและนอกเวลางานในการสืบเสาะหาข้อมูล ตั้งแต่รายชื่อผู้กระทำผิดและรายชื่อเหยื่อ ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ตลอดจนถึงการตามไปสัมภาษณ์
อย่างไรก็ตาม ตัวละครที่เป็นสมาชิกในครอบครัวของบรรดานักข่าวในเรื่องจะแทบไม่ได้ปรากฏบนจอ ซึ่งดีแล้วที่ภาพยนตร์ไม่ได้เน้นถึงปัญหาครอบครัวดังกล่าวจนกลายเป็นความดราม่าน่ารำคาญ เพราะหนังไม่แม้แต่จะถ่ายภาพตัวละครเหล่านั้นมากนัก แทบจะแค่ถูกพูดถึงเฉยๆ โผล่มาบ้างเล็กน้อยเท่านั้นเอง
และอีกหนึ่งปัญหาที่สอดแทรกไว้อย่างแนบเนียนในเรื่อง คือ การเพิกเฉยต่อเรื่องบางเรื่องในช่วงเวลาหนึ่งหรือการไม่เห็นว่าเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องสำคัญจนทำให้การเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเกิดเกิดขึ้นช้าไป โดยจากการที่ตัวละครตัวหนึ่งในทีมข่าวรู้ความจริงที่ว่า เป็นตัวเองนั้นเองที่ครั้งหนึ่งเคยได้รายชื่อบาทหลวงที่กระทำผิด
.....แต่ตอนนั้นกลับไม่ได้ให้ความสนใจต่อตัวเลขที่น่าตกใจดังกล่าว จนอันที่จริงในปัจจุบัน เขาถึงกลับลืมเรื่องนี้ไปแล้วด้วยซ้ำว่าครั้งนึงเคยได้รับรายชื่อดังกล่าว แล้วเฝ้าสงสัยว่า เป็นใครกันนะที่เพิกเฉยต่อข้อมูลดังกล่าวในอดีต จนเกิดเป็นความรู้สึกผิดในปัจจุบัน
ทว่า จากพฤติกรรมของนักข่าวคนดังกล่าวที่ทุ่มเทให้กับการทำข่าว ประกอบคำพูดของหัวหน้าที่พยายามเยียวยาความรู้สึกผิดของนักข่าวคนนั้น จึงไม่ได้ทำให้คนดูรู้สึกเกลียดชังนักข่าวคนนั้นแต่อย่างใด เพียงแต่รู้สึกยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ที่มีกันอยู่ด้วยกันทุกคนเท่านั้นเอง
แม้ตอนจบของหนังจะสื่อให้เห็นว่า ปัญหาลักษณะดังกล่าวก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ต่อไป แต่ผลงานของทีมข่าวดังกล่าวก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นไม่น้อย คือ นอกจากเป็นการแฉเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้ เมื่อมีการตีพิมพ์ข่าวดังกล่าวออกไป สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีเหยื่อจำนวนมากติดต่อเข้ามาหาทีมงานเพื่อบอกเล่าเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศที่ตนก็เผชิญในวัยเด็กเหมือนกัน อันแสดงให้เห็นว่า ยังมีเหยื่ออีกจำนวนมากจากเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว
รีวิว Spotlight คนข่าวคลั่ง แฉความผิด วิกฤติศรัทธา (มี Spoiled นะ) แล้วคุณคิดยังไงกับหนัง??
ภาพยนตร์เต็งหนึ่งออสการ์ที่สร้างจากเรื่องจริงเรื่องนี้ เดินเรื่องไว โดยรวมก็ไม่น่าเบื่อหน่าย ไม่ได้นำเสนอแบบจืดชืด แม้จะพูดๆๆกันทั้งเรื่อง โดยมีทั้งช่วงที่สนุก ช่วงชวนง่วง และช่วงที่เฉยๆ ผสมปนเปกันไป แต่นั่นอาจเป็นเจตนาของหนังที่ต้องการสะท้อนการทำงานของทีมข่าวทีมนี้จริงๆ ว่า ตามความเป็นจริง คือมันก็ต้องมีช่วงอารมณ์ของการทำงานหลากหลายแบบ ไม่ใช่ตื่นเต้นชวนลุ้นกันตลอดเวลา
แต่สิ่งหนึ่งที่หนังสะท้อนให้เห็นว่าไม่เปลี่ยนไปเลยตลอดทั้งเรื่องไม่ว่าบรรยากาศจะเป็นแบบชวนลุ้นหรือชวนง่วง คือความทุ่มเทและความตั้งใจของทีมงานข่าวในเรื่องตลอดช่วงเวลายาวนานในการทำข่าวดังกล่าว
หนังนำเสนอเหมือนเป็นสารคดีเบื้องหลังคนข่าว โดยนำเสนออย่างจริงจัง ไม่หวือหวา และไม่ได้พยายามทำให้น่าตื่นเต้นจนเกินความเป็นจริงไป ซึ่งก็เข้าใจได้เพราะเป็นหนังดราม่าล่ารางวัล แถมยังสร้างจากเหตุการณ์จริง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ให้ B+ นะ เพราะรู้สึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่สุดในหลายๆเรื่อง และสร้างอารมณ์ร่วมได้ไม่มากพอ
คือแบบเมื่อดูจบ คนดูจะไม่ได้รู้สึกอะไรเป็นพิเศษมากมายนัก เหมือนกับพอเดินออกจากโรง ก็คือแค่รับรู้และชื่นชมความสามารถและความทุ่มเทต่อการทำงานของทีมข่าวดังกล่าว รู้สึกตกใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกเห็นใจบรรดาเหยื่อเหล่านั้น
แต่ในส่วนของภาพยนตร์ ก็ไม่สามารถสร้างอะไรที่ชวนให้ตราตรึงใจได้เป็นพิเศษ แบบที่ทำให้ต้องกลับไปคิดต่อหรือไปรู้สึกต่อมากมายนัก เป็นหนังค่อนไปทางแนวดูจบแล้วจบกัน (โดยส่วนตัวชอบ Bridge of Spies มากกว่า แม้เรื่องหลังนี้จะอยู่ในจุดประมาณว่า เป็นหนังดีที่กึ่งๆถูกลืมไปแล้วก็ตาม โดยความเหมือนของทั้งสองเรื่อง คือ ได้ชิงออสการ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมทั้งคู่ และสร้างจากเรื่องจริงทั้งคู่)
ภาพยนตร์ยังสะท้อนให้เห็นมุมมองต่อเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก ผ่านมุมมองของทั้งนักข่าวและเหยื่อ โดยทางฝากของเหยื่อ ภาพยนตร์นำเสนอผ่านตัวละครที่หลากหลาย ทั้งตัวละครที่เป็นเกย์และตัวละครชายแท้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
นอกจากนี้ พฤติกรรมการรับมือของเหยื่อก็แตกต่างกันออกไป บางคนเติบโตขึ้นโดยพยายามปกปิดเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ให้ใครหน้าไหนไม่ว่าใกล้ชิดด้วยแค่ไหนได้มารับรู้เรื่องนี้ บางคนพยายามเปิดโปงเรื่องที่เกิดขึ้นโดยออกมาแฉเรื่องที่ตนเองเคยถูกกระทำ หรือบางคนแทบแหลกสลายเมื่อเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเองอีกครั้ง แต่บางคนก็ไม่
ในส่วนของฝากฝั่งของนักข่าว สิ่งที่หนังแสดงให้เห็นว่านักข่าวในทีมบางคนต้องเผชิญ ก็คือ เรื่องของวิกฤติศรัทธาที่สั่นคลอน โดยสืบเนื่องจากการที่นักข่าวได้ทำการสืบสวนสอบสวนกรณีการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กของบาทหลวง และพบว่า มีบาทหลวงที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมดังกล่าวเป็นจำนวนมากกว่าที่คิดไว้
อีกทั้งพระคาร์ดินัลในเรื่องเองก็รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ก็เลือกที่จะเพิกเฉยต่อปัญหา ไม่แก้ไขอย่างเหมาะสม มิหนำซ้ำยังช่วยปิดบังเสียด้วยซ้ำ เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้นักข่าวหลายคนในทีมถูกผลักดันไปอยู่ในจุดที่มุมมองที่ตนมีต่อการไปโบสถ์เปลี่ยนไปตลอดกาลเลยทีเดียว
ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่า มีหลายฉากที่กล้องจะจับภาพนักแสดงจากทางด้านหลัง เหมือนจะสื่อว่า คนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง
หนังยังมีการสะท้อนให้เห็นปัญหาที่สืบเนื่องมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากความทุ่มเทของนักข่าว เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งเวลาให้ครอบครัว เพราะนักข่าวเหล่านี้ต้องเสียสละเวลาทั้งในเวลางานและนอกเวลางานในการสืบเสาะหาข้อมูล ตั้งแต่รายชื่อผู้กระทำผิดและรายชื่อเหยื่อ ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ตลอดจนถึงการตามไปสัมภาษณ์
อย่างไรก็ตาม ตัวละครที่เป็นสมาชิกในครอบครัวของบรรดานักข่าวในเรื่องจะแทบไม่ได้ปรากฏบนจอ ซึ่งดีแล้วที่ภาพยนตร์ไม่ได้เน้นถึงปัญหาครอบครัวดังกล่าวจนกลายเป็นความดราม่าน่ารำคาญ เพราะหนังไม่แม้แต่จะถ่ายภาพตัวละครเหล่านั้นมากนัก แทบจะแค่ถูกพูดถึงเฉยๆ โผล่มาบ้างเล็กน้อยเท่านั้นเอง
และอีกหนึ่งปัญหาที่สอดแทรกไว้อย่างแนบเนียนในเรื่อง คือ การเพิกเฉยต่อเรื่องบางเรื่องในช่วงเวลาหนึ่งหรือการไม่เห็นว่าเรื่องบางเรื่องเป็นเรื่องสำคัญจนทำให้การเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเกิดเกิดขึ้นช้าไป โดยจากการที่ตัวละครตัวหนึ่งในทีมข่าวรู้ความจริงที่ว่า เป็นตัวเองนั้นเองที่ครั้งหนึ่งเคยได้รายชื่อบาทหลวงที่กระทำผิด
.....แต่ตอนนั้นกลับไม่ได้ให้ความสนใจต่อตัวเลขที่น่าตกใจดังกล่าว จนอันที่จริงในปัจจุบัน เขาถึงกลับลืมเรื่องนี้ไปแล้วด้วยซ้ำว่าครั้งนึงเคยได้รับรายชื่อดังกล่าว แล้วเฝ้าสงสัยว่า เป็นใครกันนะที่เพิกเฉยต่อข้อมูลดังกล่าวในอดีต จนเกิดเป็นความรู้สึกผิดในปัจจุบัน
ทว่า จากพฤติกรรมของนักข่าวคนดังกล่าวที่ทุ่มเทให้กับการทำข่าว ประกอบคำพูดของหัวหน้าที่พยายามเยียวยาความรู้สึกผิดของนักข่าวคนนั้น จึงไม่ได้ทำให้คนดูรู้สึกเกลียดชังนักข่าวคนนั้นแต่อย่างใด เพียงแต่รู้สึกยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบของมนุษย์ที่มีกันอยู่ด้วยกันทุกคนเท่านั้นเอง
แม้ตอนจบของหนังจะสื่อให้เห็นว่า ปัญหาลักษณะดังกล่าวก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ต่อไป แต่ผลงานของทีมข่าวดังกล่าวก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นไม่น้อย คือ นอกจากเป็นการแฉเรื่องราวที่เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้ เมื่อมีการตีพิมพ์ข่าวดังกล่าวออกไป สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีเหยื่อจำนวนมากติดต่อเข้ามาหาทีมงานเพื่อบอกเล่าเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศที่ตนก็เผชิญในวัยเด็กเหมือนกัน อันแสดงให้เห็นว่า ยังมีเหยื่ออีกจำนวนมากจากเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าว