If it takes a village to raise a child, it takes a village to abuse them. That's the truth of it.
"ถ้าทุกๆคนในสังคมมีส่วนช่วยกันดูแลปลูกฝังเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาได้ ในความเป็นจริงที่กลับกัน ทุกๆคนก็สามารถร่วมกันมีส่วนในการทำร้ายเด็กคนหนึ่งได้เช่นกัน"
เป็นคำพูดจากภาพยนตร์เรื่อง Spotlight ที่หมอได้ไปดูมาเมื่อวานนี้
Spotlight เป็นเรื่องราวที่สร้างขึ้นจากเรื่องจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อทีมนักข่าวกลุ่มหนึ่งจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของบอสตั้น พยายามสืบสวนหาข้อมูลความจริงเพื่อเปิดโปงกรณีอื้อฉาวที่บาทหลวงคาทอลิคกลุ่มหนึ่งทำการล่วงละเมิดทางเพศเด็กชายหลายร้อยคนเป็นเวลานานนับสิบปี
แต่เพราะไม่เคยมีหน่วยงานใดหรือใครกล้าที่จะเอาผิดหรือลงโทษจริงจัง ทั้งที่เรื่องนี้เป็นที่ทราบดีของฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ศาสนจักรชั้นผู้ใหญ่ของบอสตัน นักข่าวบางคน แต่มันกลับกลายเป็นขยะที่ซ้อนไว้ใต้พรม ทำให้บาทหลวงกลุ่มนี้ยังคงทำการล่วงละเมิดเด็กอย่างต่อเนือง และเหยื่อก็ไม่กล้าที่จะเปิดเผยความจริง เพราะความกลัวอิทธิพล และเหยื่อส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจน ขาดที่พึ่ง ไม่มีพ่อหรือแม่ มีความอ่อนแอเป็นพื้นฐาน และผู้กระทำก็รู้ดีถึงความอ่อนแอของเด็ก จึงเจาะจงเลือกเหยือที่เป็นเด็กที่ไม่น่าจะมีความสามารถพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ หรือหาใครสักคนมาช่วยได้ยาก
ในภาพยนตร์มีอยู่ตอนหนึ่ง ที่ผู้ชายคนหนึงที่ถูกล่วงละเมิดตั้งแต่เป็นเด็กจนโตขึ้นผู้ใหญ เล่าให้ฟังถึงเรื่องที่ผ่านมาว่า ตอนนั้นครอบครัวเขายากจนมาก บาทหลวงได้เข้ามาช่วยเหลือครอบครัวเขาหลังจากที่พ่อฆ่าตัวตาย ตอนแรกเขารู้สึกซาบซึ่งที่บาทหลวง ซึ่งเป็นผู้ที่ทุกคนในชุมชนเคารพนับถือมาสนใจและเมตตาเขา เรียกใช้ให้เขาไปช่วยงานเล็กๆน้อยๆ เขารู้สึกปลื้มและดีใจ แต่ไม่นึกว่าวันหนึ่ง บาทหลวงจะใช้ความไว้วางใจและความเคารพที่เขามอบให้ ล่วงละเมิดทางเพศเด็กอย่างเขา
เมื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ว่าจะไม่มีบาดแผลทางร่างกายที่ชัดเจน แต่เหตุการณ์ร้ายๆก็กลายเป็นแผลทางจิตวิญญาณที่ยากจะลืม
ความไว้เนื้อเชื่อใจ กลายเป็นบาดแผล ความศรัทธาเชื่อมั่นที่มองให้ กลายเป็นการทรยศ คุณค่าของเด็กก็สั่นคลอนอย่างช่วยไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่เก่งกล้มาจากไหน ยิ่งเป็นเด็กที่มีต้นทุนทางจิตใจน้อย กว่าจะฟื้นตัวกลับมาก็ยากยิ่งนัก
น่าเศร้าที่ในโลกใบนี้มีเด็กๆมากมาย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แต่เฉพาะเด็กหญิง เด็กชายก็มี ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ อาจจะไม่ถึงกับมีการสอดใส่ แต่อาจจะเป็นการสัมผัสลูบไล้ การบังคับให้สำเร็จความใคร่ ที่เศร้ากว่านั้นคือ หนึ่งในสี่ของเหยื่อทั้งหมดที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ พบว่าผู้กระทำไม่ใช่คนแปลกหน้า เป็นคนใกล้ชิดที่เด็กไว้ใจ เช่น ญาติ ครู คนแถวบ้าน ที่อาจจะมาเล่นกับเด็กบ่อยๆ ทำให้เด็กที่ถูกล่วงละเมิดยิ่งรู้สึกแย่มากขึ้นเพราะคนที่ทำร้ายเค้าเป็นคนที่เค้าไว้ใจ รักและเคารพ
เด็กๆหลายคนเมื่อถูกทำร้ายก็ไม่กล้าที่จะบอกใคร ปล่อยให้เวลาผ่านมาเนิ่นนาน บางคนไม่รู้ว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำคืออะไร บางคนก็ถูกขู่ว่าให้เก็บเป็นความลับ
อย่างที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ มีหลายคนที่รู้เรื่องการล่วงละเมิดเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่ระดับสูง ครูในโรงเรียน นักข่าวบางคน บาทหลวงชั้นผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ของเด็กที่ถูกกระทำ แต่ต่างฝ่ายก็นิ่งเฉยต่อความเลวร้ายที่เกิดขึ้น เพราะความกลัว ความไม่เอาใจใส่ หรืออะไรก็ตาม
ซึ่งเรื่องราวความจริงทีเกิดขึ้นสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในบทภาพยนตร์ตอนหนึ่ง ที่หมอพูดไปแล้ว ว่าถ้าทุกๆคนในสังคมมีส่วนช่วยกันดูแลปลูกฝังเด็กคนหนึ่ง ให้เติบโตขึ้นมาได้ ในความเป็นจริงที่กลับกัน ทุกๆคนก็สามารถร่วมกันมีส่วนในการทำร้ายเด็กคนหนึ่งได้เช่นกัน
ไม่ต้องเป็นคนที่ลงมือกระทำเอง แต่ถ้ารู้เรื่องราวแต่ปล่อยไว้ไม่ทำอะไร หมอคิดว่ามันทางเศร้าและเลวร้ายกว่ามาก
.
แล้วถ้าพ่อแม่จะสร้างเกราะคุ้มกันให้ลูก สอนลูกตั้งแต่เล็กๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการถูกล่วงละเมิดนั้น พ่อแม่จะสอนได้อย่างไรบ้าง (ตรงนี้หมอเคยเขียนไปแล้วทีหนึ่ง ขอนำมาลงใหม่ เผื่อใครๆที่ยังไมไ่ด้อ่านนะคะ)
1. สอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องอวัยวะเพศ เริ่มสอนช่วงที่เด็กเรียกอวัยวะได้ อย่างตอนอาบน้ำก็สอนเรียกอวัยวะเพศ ใช้ชื่อที่เด็กเข้าใจ ไม่ต้องเป็นชื่อทางการ โดยอาจจะเรียกของผู้ชายว่า จู๋ เจี๊ยว ของผู้หญิง ก็ ปิ๊ หรือจิ๋ม
2. บอกเด็กว่าส่วนไหนบนร่างกายที่พ่อแม่เท่านั้นที่เห็นได้ ถ้าอยู่กับคนอื่นๆต้องใส่เสื้อผ้าไม่ให้ใครเห็น แต่ในบางกรณี เช่น ถ้าไปหาหมอก็อาจจะทำได้เพราะพ่อแม่อยู่กับหนูด้วย หมอตรวจร่างกายหนู
3. บอกเด็กว่าส่วนไหนบนร่างกายที่พ่อแม่เท่านั้นที่สัมผัสได้ สอนให้เด็กรู้จักปฏิเสธ ถ้ามีคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่มาสัมผัส เช่น หน้าอก อวัยวะเพศ อาจารย์ของหมอท่านหนึ่งสอนลูกสาวว่า ห้ามให้ใครมาจับแก้ม หอมแก้ม จุ๊บปากถ้าไม่ใช่พ่อแม่ ถ้าใครทำหรือมาขอจับ(ส่วนใหญ่คนที่ทำร้ายเด็กมักจะมาพูดแบบขอร้อง เช่นขอเล่นด้วยกับจุ๋มจิ๋มหนู) ให้บอกเค้าไปว่า พ่อไม่ให้ทำ และให้มาบอกพ่อ หมอเคยสงสัยว่ามันดูจะเกินไปหรือเปล่า บางทีผู้ใหญ่อาจจะทำเพราะเอ็นดู แต่อาจารย์บอกว่า มีวิธีแสดงความเอ็นดูหลายอย่าง มาคิดๆดูจริงๆแล้วก็ดูจะป้องกันได้ดี แถมยังไม่ติดโรคอื่นๆด้วย เช่น หวัด เป็นต้น
4. ถ้ามีใครก็ตามที่มาจับหรือดูในส่วนของร่างกายที่พ่อแม่บอกว่าห้ามใครเห็นหรือจับ เด็กจะต้องรีบบอกพ่อแม่ทันที แม้ว่าคนที่ทำจะขอร้อง แต่สำคัญมากที่ต้องมาบอกพ่อแม่ ตรงนี้ก็ต้องเน้น เพราะบางทีเด็กอาจจะถูกขอหรือขู่ ต้องบอกว่าถ้าเด็กมาบอกพ่อแม่ ยังไงพ่อแม่จะช่วยไม่ให้ใครมาทำอะไรเขาได้
5. สอนให้เด็กรู้ว่าถ้าใครก็ตามที่มาขอดูหรือจับส่วนนั้น ต้องพูดไปเลยว่า ไม่ได้ และอาจจะวิ่งหนีออกมา ไม่ต้องเกรงใจแม้ว่าคนๆนั้นจะเป็นคนที่เด็กเคารพก็ตาม
อย่านิ่งนอนใจว่าลูกของคุณอยู่ในที่ๆปลอดภัย เพราะเหตุการณ์การถูกล่วงละเมิดครึ่งหนึ่งเกิดที่บ้านหรือสถานที่ที่ไม่ห่างจะบ้านเท่าไหร่ สถานที่อื่นๆเช่น โรงเรียน บ้านเพื่อน บ้านญาติ หรือแม้กระทั้ง วัด โบสถ์
.
ล่าสุดทราบว่า Spotlight ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง6รางวัล หนึ่งในนั้นมีรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย ก็คิดว่าเหมาะสมและคู่ควร
#หมอมินบานเย็น
เครดิต:
https://www.facebook.com/kendekthai/posts/1007851565920696:0
รีวิวเรื่อง Spotlight จากเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา
"ถ้าทุกๆคนในสังคมมีส่วนช่วยกันดูแลปลูกฝังเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นมาได้ ในความเป็นจริงที่กลับกัน ทุกๆคนก็สามารถร่วมกันมีส่วนในการทำร้ายเด็กคนหนึ่งได้เช่นกัน"
เป็นคำพูดจากภาพยนตร์เรื่อง Spotlight ที่หมอได้ไปดูมาเมื่อวานนี้
Spotlight เป็นเรื่องราวที่สร้างขึ้นจากเรื่องจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อทีมนักข่าวกลุ่มหนึ่งจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของบอสตั้น พยายามสืบสวนหาข้อมูลความจริงเพื่อเปิดโปงกรณีอื้อฉาวที่บาทหลวงคาทอลิคกลุ่มหนึ่งทำการล่วงละเมิดทางเพศเด็กชายหลายร้อยคนเป็นเวลานานนับสิบปี
แต่เพราะไม่เคยมีหน่วยงานใดหรือใครกล้าที่จะเอาผิดหรือลงโทษจริงจัง ทั้งที่เรื่องนี้เป็นที่ทราบดีของฝ่ายกระบวนการยุติธรรม ศาสนจักรชั้นผู้ใหญ่ของบอสตัน นักข่าวบางคน แต่มันกลับกลายเป็นขยะที่ซ้อนไว้ใต้พรม ทำให้บาทหลวงกลุ่มนี้ยังคงทำการล่วงละเมิดเด็กอย่างต่อเนือง และเหยื่อก็ไม่กล้าที่จะเปิดเผยความจริง เพราะความกลัวอิทธิพล และเหยื่อส่วนใหญ่เป็นเด็กยากจน ขาดที่พึ่ง ไม่มีพ่อหรือแม่ มีความอ่อนแอเป็นพื้นฐาน และผู้กระทำก็รู้ดีถึงความอ่อนแอของเด็ก จึงเจาะจงเลือกเหยือที่เป็นเด็กที่ไม่น่าจะมีความสามารถพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ หรือหาใครสักคนมาช่วยได้ยาก
ในภาพยนตร์มีอยู่ตอนหนึ่ง ที่ผู้ชายคนหนึงที่ถูกล่วงละเมิดตั้งแต่เป็นเด็กจนโตขึ้นผู้ใหญ เล่าให้ฟังถึงเรื่องที่ผ่านมาว่า ตอนนั้นครอบครัวเขายากจนมาก บาทหลวงได้เข้ามาช่วยเหลือครอบครัวเขาหลังจากที่พ่อฆ่าตัวตาย ตอนแรกเขารู้สึกซาบซึ่งที่บาทหลวง ซึ่งเป็นผู้ที่ทุกคนในชุมชนเคารพนับถือมาสนใจและเมตตาเขา เรียกใช้ให้เขาไปช่วยงานเล็กๆน้อยๆ เขารู้สึกปลื้มและดีใจ แต่ไม่นึกว่าวันหนึ่ง บาทหลวงจะใช้ความไว้วางใจและความเคารพที่เขามอบให้ ล่วงละเมิดทางเพศเด็กอย่างเขา
เมื่อถูกล่วงละเมิดทางเพศ แม้ว่าจะไม่มีบาดแผลทางร่างกายที่ชัดเจน แต่เหตุการณ์ร้ายๆก็กลายเป็นแผลทางจิตวิญญาณที่ยากจะลืม
ความไว้เนื้อเชื่อใจ กลายเป็นบาดแผล ความศรัทธาเชื่อมั่นที่มองให้ กลายเป็นการทรยศ คุณค่าของเด็กก็สั่นคลอนอย่างช่วยไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่เก่งกล้มาจากไหน ยิ่งเป็นเด็กที่มีต้นทุนทางจิตใจน้อย กว่าจะฟื้นตัวกลับมาก็ยากยิ่งนัก
น่าเศร้าที่ในโลกใบนี้มีเด็กๆมากมาย ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ใช่แต่เฉพาะเด็กหญิง เด็กชายก็มี ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ อาจจะไม่ถึงกับมีการสอดใส่ แต่อาจจะเป็นการสัมผัสลูบไล้ การบังคับให้สำเร็จความใคร่ ที่เศร้ากว่านั้นคือ หนึ่งในสี่ของเหยื่อทั้งหมดที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ พบว่าผู้กระทำไม่ใช่คนแปลกหน้า เป็นคนใกล้ชิดที่เด็กไว้ใจ เช่น ญาติ ครู คนแถวบ้าน ที่อาจจะมาเล่นกับเด็กบ่อยๆ ทำให้เด็กที่ถูกล่วงละเมิดยิ่งรู้สึกแย่มากขึ้นเพราะคนที่ทำร้ายเค้าเป็นคนที่เค้าไว้ใจ รักและเคารพ
เด็กๆหลายคนเมื่อถูกทำร้ายก็ไม่กล้าที่จะบอกใคร ปล่อยให้เวลาผ่านมาเนิ่นนาน บางคนไม่รู้ว่าสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำคืออะไร บางคนก็ถูกขู่ว่าให้เก็บเป็นความลับ
อย่างที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ มีหลายคนที่รู้เรื่องการล่วงละเมิดเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่ระดับสูง ครูในโรงเรียน นักข่าวบางคน บาทหลวงชั้นผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ของเด็กที่ถูกกระทำ แต่ต่างฝ่ายก็นิ่งเฉยต่อความเลวร้ายที่เกิดขึ้น เพราะความกลัว ความไม่เอาใจใส่ หรืออะไรก็ตาม
ซึ่งเรื่องราวความจริงทีเกิดขึ้นสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในบทภาพยนตร์ตอนหนึ่ง ที่หมอพูดไปแล้ว ว่าถ้าทุกๆคนในสังคมมีส่วนช่วยกันดูแลปลูกฝังเด็กคนหนึ่ง ให้เติบโตขึ้นมาได้ ในความเป็นจริงที่กลับกัน ทุกๆคนก็สามารถร่วมกันมีส่วนในการทำร้ายเด็กคนหนึ่งได้เช่นกัน
ไม่ต้องเป็นคนที่ลงมือกระทำเอง แต่ถ้ารู้เรื่องราวแต่ปล่อยไว้ไม่ทำอะไร หมอคิดว่ามันทางเศร้าและเลวร้ายกว่ามาก
.
แล้วถ้าพ่อแม่จะสร้างเกราะคุ้มกันให้ลูก สอนลูกตั้งแต่เล็กๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการถูกล่วงละเมิดนั้น พ่อแม่จะสอนได้อย่างไรบ้าง (ตรงนี้หมอเคยเขียนไปแล้วทีหนึ่ง ขอนำมาลงใหม่ เผื่อใครๆที่ยังไมไ่ด้อ่านนะคะ)
1. สอนให้เด็กเรียนรู้เรื่องอวัยวะเพศ เริ่มสอนช่วงที่เด็กเรียกอวัยวะได้ อย่างตอนอาบน้ำก็สอนเรียกอวัยวะเพศ ใช้ชื่อที่เด็กเข้าใจ ไม่ต้องเป็นชื่อทางการ โดยอาจจะเรียกของผู้ชายว่า จู๋ เจี๊ยว ของผู้หญิง ก็ ปิ๊ หรือจิ๋ม
2. บอกเด็กว่าส่วนไหนบนร่างกายที่พ่อแม่เท่านั้นที่เห็นได้ ถ้าอยู่กับคนอื่นๆต้องใส่เสื้อผ้าไม่ให้ใครเห็น แต่ในบางกรณี เช่น ถ้าไปหาหมอก็อาจจะทำได้เพราะพ่อแม่อยู่กับหนูด้วย หมอตรวจร่างกายหนู
3. บอกเด็กว่าส่วนไหนบนร่างกายที่พ่อแม่เท่านั้นที่สัมผัสได้ สอนให้เด็กรู้จักปฏิเสธ ถ้ามีคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่มาสัมผัส เช่น หน้าอก อวัยวะเพศ อาจารย์ของหมอท่านหนึ่งสอนลูกสาวว่า ห้ามให้ใครมาจับแก้ม หอมแก้ม จุ๊บปากถ้าไม่ใช่พ่อแม่ ถ้าใครทำหรือมาขอจับ(ส่วนใหญ่คนที่ทำร้ายเด็กมักจะมาพูดแบบขอร้อง เช่นขอเล่นด้วยกับจุ๋มจิ๋มหนู) ให้บอกเค้าไปว่า พ่อไม่ให้ทำ และให้มาบอกพ่อ หมอเคยสงสัยว่ามันดูจะเกินไปหรือเปล่า บางทีผู้ใหญ่อาจจะทำเพราะเอ็นดู แต่อาจารย์บอกว่า มีวิธีแสดงความเอ็นดูหลายอย่าง มาคิดๆดูจริงๆแล้วก็ดูจะป้องกันได้ดี แถมยังไม่ติดโรคอื่นๆด้วย เช่น หวัด เป็นต้น
4. ถ้ามีใครก็ตามที่มาจับหรือดูในส่วนของร่างกายที่พ่อแม่บอกว่าห้ามใครเห็นหรือจับ เด็กจะต้องรีบบอกพ่อแม่ทันที แม้ว่าคนที่ทำจะขอร้อง แต่สำคัญมากที่ต้องมาบอกพ่อแม่ ตรงนี้ก็ต้องเน้น เพราะบางทีเด็กอาจจะถูกขอหรือขู่ ต้องบอกว่าถ้าเด็กมาบอกพ่อแม่ ยังไงพ่อแม่จะช่วยไม่ให้ใครมาทำอะไรเขาได้
5. สอนให้เด็กรู้ว่าถ้าใครก็ตามที่มาขอดูหรือจับส่วนนั้น ต้องพูดไปเลยว่า ไม่ได้ และอาจจะวิ่งหนีออกมา ไม่ต้องเกรงใจแม้ว่าคนๆนั้นจะเป็นคนที่เด็กเคารพก็ตาม
อย่านิ่งนอนใจว่าลูกของคุณอยู่ในที่ๆปลอดภัย เพราะเหตุการณ์การถูกล่วงละเมิดครึ่งหนึ่งเกิดที่บ้านหรือสถานที่ที่ไม่ห่างจะบ้านเท่าไหร่ สถานที่อื่นๆเช่น โรงเรียน บ้านเพื่อน บ้านญาติ หรือแม้กระทั้ง วัด โบสถ์
.
ล่าสุดทราบว่า Spotlight ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง6รางวัล หนึ่งในนั้นมีรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย ก็คิดว่าเหมาะสมและคู่ควร
#หมอมินบานเย็น
เครดิต: https://www.facebook.com/kendekthai/posts/1007851565920696:0