โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้พฤติกรรมบางอย่างที่สามารถทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ เช่น การกลั้นปัสสาวะ และการทำความสะอาดทวารหนักก่อนทำความสะอาดอวัยวะเพศ เป็นต้น
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ปัสสาวะกะปริบกะปรอยบ่อยครั้ง แม้กระทั่งการตื่นนอนมาปัสสาวะในตอนกลางคืน
- ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะสีขุ่น บางรายมีเลือดปนมากับปัสสาวะ
- มีอาการเจ็บ เสียว ที่ปลายหลอดปัสสาวะเมื่อปัสสาวะเสร็จ
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น
- เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli : E.coli)
- เคล็บซิลลา (Klebsiella)
- สูโดโมแนส (Pseudomonas)
- เอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter)
โดยเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้มักจะอยู่บริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากพฤติกรรมเช่น การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด การทำความสะอาดหลังจากขับถ่ายอุจจาระผิดวิธี และการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- การกลั้นปัสสาวะ ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะสามารถเจริญเติบโต
- การทำความสะอาดทวารหนักก่อนทำความสะอาดอวัยวะเพศ
- การใช้ยาปฏิชีวนะสวนล้างทำความสะอาดช่องคลอด จะทำให้เชื้อแบคทีเรียชนิดดีที่ป้องกันเชื้อโรคหายไป จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การรับประทานยากดภูมิต้านทาน
- การใส่สายสวนปัสสาวะ
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าหากอาการรุนแรงต้องเพิ่มระยะเวลาในการรับยาปฏิชีวนะประมาณ 7-10 วัน
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ดื่มน้ำสะอาดในแต่ละวันให้เพียงพอ โดยเฉพาะหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
- ไม่กลั้นปัสสาวะ
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อน จึงค่อยทำความสะอาดทวารหนัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อเชื้อแบคทีเรียจากทวารหนักแพร่กระจายไปยังอวัยวะเพศ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอวัยวะเพศสูตรอ่อนโยน แทนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมี และน้ำหอม
- การใช้ฝักบัวอาบน้ำแทนการอาบในอ่าง ช่วยลดความเสี่ยงที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
- เลือกใช้ชุดชั้นในที่มีเนื้อผ้าระบายได้ดี ลดความอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สาเหตุที่มาจากพฤติกรรม
- ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะสีขุ่น บางรายมีเลือดปนมากับปัสสาวะ
- มีอาการเจ็บ เสียว ที่ปลายหลอดปัสสาวะเมื่อปัสสาวะเสร็จ
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น
- เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli : E.coli)
- เคล็บซิลลา (Klebsiella)
- สูโดโมแนส (Pseudomonas)
- เอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter)
โดยเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้มักจะอยู่บริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากพฤติกรรมเช่น การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด การทำความสะอาดหลังจากขับถ่ายอุจจาระผิดวิธี และการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- การกลั้นปัสสาวะ ทำให้เชื้อโรคในปัสสาวะสามารถเจริญเติบโต
- การทำความสะอาดทวารหนักก่อนทำความสะอาดอวัยวะเพศ
- การใช้ยาปฏิชีวนะสวนล้างทำความสะอาดช่องคลอด จะทำให้เชื้อแบคทีเรียชนิดดีที่ป้องกันเชื้อโรคหายไป จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การรับประทานยากดภูมิต้านทาน
- การใส่สายสวนปัสสาวะ
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าหากอาการรุนแรงต้องเพิ่มระยะเวลาในการรับยาปฏิชีวนะประมาณ 7-10 วัน
การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ดื่มน้ำสะอาดในแต่ละวันให้เพียงพอ โดยเฉพาะหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ
- ไม่กลั้นปัสสาวะ
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อน จึงค่อยทำความสะอาดทวารหนัก เพื่อป้องกันการติดเชื้อเชื้อแบคทีเรียจากทวารหนักแพร่กระจายไปยังอวัยวะเพศ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอวัยวะเพศสูตรอ่อนโยน แทนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมี และน้ำหอม
- การใช้ฝักบัวอาบน้ำแทนการอาบในอ่าง ช่วยลดความเสี่ยงที่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
- เลือกใช้ชุดชั้นในที่มีเนื้อผ้าระบายได้ดี ลดความอับชื้นบริเวณอวัยวะเพศ