บอกตามตรง ผมไม่ศรัทธาธรรมยุติ แต่ในกรณีที่เป็นพระสงฆ์ก็ดูเป็นคนๆไปไม่ว่าจะธรรมยุติหรือมหานิกาย
ซึ่งบทความที่เขียนอาจจะดูอคติกับธรรมยุติ แต่ข้อเท็จจริงก็คือข้อเท็จจริง
ทางศาสนาถือว่าธรรมยุติตั้งเพื่อรักษาธรรมวินัยให้เคร่งครัด ซึ่งตอนนั้นมหานิกายย่อหย่อนวินัย
จวบจนต้นวงศ์ครองราชย์ ธรรมยุติก็ครองอำนาจสงฆ์อย่างยาวนาน ทำให้ต่อไป ธรรมยุติก็ต้องพ่ายแพ้ต่อลาภสักการะ ทำให้หายวัดต้องออกจากธรรมยุติไป โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ธรรมยุติไม่อาจตั้งมั่นอย่างแพร่หลาย
ทิฐิมานะของธรรมยุติ เป็นปัญหา เพราะความถือตัวว่าดีกว่า เคร่งกว่า วิเศษวิโสกว่า จนถึงขั้นไม่ทำสังฆกรรมร่วมกับมหานิกาย และมองมหานิกายต้อยต่ำกว่า แม้ในปัจจุบันที่เรามองว่าธรรมยุติเคร่ง ไม่ใช่เพราะตัวธรรมยุติเอง แต่เป็นเพราะ หลวงปู่มั่น ท่านเป็นธรรมยุติ ซึ่งวัตรปฏิบัติของวัตรปฏิบัตรของสายหลวงปู่มั่นงดงาม แต่ธรรมยุติก็เครมเอาว่าเป็นธรรมยุติเอง
นอกจากพระจะถือนิกาย ซ้ำโยมก็หนักกว่า และถึงขั้นเป็นขบวนการใส่ร้ายพระดีอีกด้วย
ยกตัวอย่าง ในกรณีที่สังฆราชประชวร รบ.ทักษิณ แก้กฏหมายเปิดทางให้มีประธานผู้ปฏิบัติหน้าที่สังฆราช ซึ่งตอนนั้นก็คือสมเด็จเกี่ยว วัดสระเกศ ซึ่งหากท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็คือว่าที่สังฆราช ซึ่งพอท่านสิ้น ลำดับถัดมาคือสมเด็จวัดปากน้ำ ซึ่งท่านมีช่องคือ มีความใกล้ชิดกับธรรมกาย
ซึ่งหากบอกว่าวัดปากน้ำกับวัดธรรมกาย เป็นวัดพี่วัดน้องก็ถูก หากหลวงปู่มั่นเป็นต้นของสายวัดป่า หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ก็คือต้นของวิชชาธรรมกาย ซึ่งวัดธรรมกายก็คือวัดที่ตั้งโดยยึดเอาวิชชาธรรมกายเป็นแบบแผน
ซึ่งฝ่ายต่อต้าน ก็เอาเครดิตที่ไม่ดีของธรรมกายไปโยงกับกับสมเด็จวัดปากน้ำ จนตอนหลังหางถึงโผล่ว่าอยากได้สังฆราชเป็นธรรมยุติ ซึ่งแค่นี้ก็เห็นชัดแล้วว่าฝ่ายไหน ละวางไม่ได้
ป.ล. ตามประเพณีและการปฏิบัติ ธรรมยุติและมหานิกาย ไม่ก้าวก่ายกัน แม้ในมหาเถรสมาคมเองก็ตาม ยกเว้นมติที่เกี่ยวกับสงฆ์ส่วนรวม ยกตัวอย่างเช่นการแต่งตั้งสมณศักดิ์ ต่างฝ่ายต่างเสนอนิกายตัวเอง ไม่เกี่ยวกัน พอถึงระดับมหาเถรฯ ก็เสนอให้ แม้ข้อวินิฉัยอธิกรณ์ ต่างฝ่ายต่างก็พิจารนาของตัวเอง พอถึงที่ประชุม อีกนิกายก็โหวตตาม เช่น กรณียันตระ ก็ปล่อยให้ธรรมยุติสอบสวนกันเองมหานิกายไม่ยุ่ง เมื่อได้ข้อสรุปจากธรรมยุติว่ายันตระปาราชิก มหานิกายในที่ประชุมก็โหวตตาม เช่นกันกรณีที่ก่าวหาธัมชโยปาราชิก มหานิกายก็สอบสวนกันเอง ธรรมยุติจะไม่ก้าวก่าย แม้จะเป็นสังฆราชก็ตาม เพราะสังฆราชเป็นธรรมยุติ ซึ่งผลสอบทางฝ่ายมหานิกายออกมาว่าธัมชโยไม่ปาราชิก แต่ธรรมยุติดันไม่ยอมรับ ตามประเพณีปฏิบัติ ซึ่งถือว่าไม่ไว้หน้ากัน ดังนั้นเหตุหนึ่งที่บอกว่าเป็นพระลิขิตปลอมก็เพราะ สังฆราชทรงรู้ธรรมเนียมดี จึงไม่มีเหตุที่พระองค์จะทรงออกพระลิขิตไว้แบบนั้น
ชำแหละการเมืองธรรมยุติ สู่วิกฤติศรัทธา
ซึ่งบทความที่เขียนอาจจะดูอคติกับธรรมยุติ แต่ข้อเท็จจริงก็คือข้อเท็จจริง
ทางศาสนาถือว่าธรรมยุติตั้งเพื่อรักษาธรรมวินัยให้เคร่งครัด ซึ่งตอนนั้นมหานิกายย่อหย่อนวินัย
จวบจนต้นวงศ์ครองราชย์ ธรรมยุติก็ครองอำนาจสงฆ์อย่างยาวนาน ทำให้ต่อไป ธรรมยุติก็ต้องพ่ายแพ้ต่อลาภสักการะ ทำให้หายวัดต้องออกจากธรรมยุติไป โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ธรรมยุติไม่อาจตั้งมั่นอย่างแพร่หลาย
ทิฐิมานะของธรรมยุติ เป็นปัญหา เพราะความถือตัวว่าดีกว่า เคร่งกว่า วิเศษวิโสกว่า จนถึงขั้นไม่ทำสังฆกรรมร่วมกับมหานิกาย และมองมหานิกายต้อยต่ำกว่า แม้ในปัจจุบันที่เรามองว่าธรรมยุติเคร่ง ไม่ใช่เพราะตัวธรรมยุติเอง แต่เป็นเพราะ หลวงปู่มั่น ท่านเป็นธรรมยุติ ซึ่งวัตรปฏิบัติของวัตรปฏิบัตรของสายหลวงปู่มั่นงดงาม แต่ธรรมยุติก็เครมเอาว่าเป็นธรรมยุติเอง
นอกจากพระจะถือนิกาย ซ้ำโยมก็หนักกว่า และถึงขั้นเป็นขบวนการใส่ร้ายพระดีอีกด้วย
ยกตัวอย่าง ในกรณีที่สังฆราชประชวร รบ.ทักษิณ แก้กฏหมายเปิดทางให้มีประธานผู้ปฏิบัติหน้าที่สังฆราช ซึ่งตอนนั้นก็คือสมเด็จเกี่ยว วัดสระเกศ ซึ่งหากท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็คือว่าที่สังฆราช ซึ่งพอท่านสิ้น ลำดับถัดมาคือสมเด็จวัดปากน้ำ ซึ่งท่านมีช่องคือ มีความใกล้ชิดกับธรรมกาย
ซึ่งหากบอกว่าวัดปากน้ำกับวัดธรรมกาย เป็นวัดพี่วัดน้องก็ถูก หากหลวงปู่มั่นเป็นต้นของสายวัดป่า หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ก็คือต้นของวิชชาธรรมกาย ซึ่งวัดธรรมกายก็คือวัดที่ตั้งโดยยึดเอาวิชชาธรรมกายเป็นแบบแผน
ซึ่งฝ่ายต่อต้าน ก็เอาเครดิตที่ไม่ดีของธรรมกายไปโยงกับกับสมเด็จวัดปากน้ำ จนตอนหลังหางถึงโผล่ว่าอยากได้สังฆราชเป็นธรรมยุติ ซึ่งแค่นี้ก็เห็นชัดแล้วว่าฝ่ายไหน ละวางไม่ได้
ป.ล. ตามประเพณีและการปฏิบัติ ธรรมยุติและมหานิกาย ไม่ก้าวก่ายกัน แม้ในมหาเถรสมาคมเองก็ตาม ยกเว้นมติที่เกี่ยวกับสงฆ์ส่วนรวม ยกตัวอย่างเช่นการแต่งตั้งสมณศักดิ์ ต่างฝ่ายต่างเสนอนิกายตัวเอง ไม่เกี่ยวกัน พอถึงระดับมหาเถรฯ ก็เสนอให้ แม้ข้อวินิฉัยอธิกรณ์ ต่างฝ่ายต่างก็พิจารนาของตัวเอง พอถึงที่ประชุม อีกนิกายก็โหวตตาม เช่น กรณียันตระ ก็ปล่อยให้ธรรมยุติสอบสวนกันเองมหานิกายไม่ยุ่ง เมื่อได้ข้อสรุปจากธรรมยุติว่ายันตระปาราชิก มหานิกายในที่ประชุมก็โหวตตาม เช่นกันกรณีที่ก่าวหาธัมชโยปาราชิก มหานิกายก็สอบสวนกันเอง ธรรมยุติจะไม่ก้าวก่าย แม้จะเป็นสังฆราชก็ตาม เพราะสังฆราชเป็นธรรมยุติ ซึ่งผลสอบทางฝ่ายมหานิกายออกมาว่าธัมชโยไม่ปาราชิก แต่ธรรมยุติดันไม่ยอมรับ ตามประเพณีปฏิบัติ ซึ่งถือว่าไม่ไว้หน้ากัน ดังนั้นเหตุหนึ่งที่บอกว่าเป็นพระลิขิตปลอมก็เพราะ สังฆราชทรงรู้ธรรมเนียมดี จึงไม่มีเหตุที่พระองค์จะทรงออกพระลิขิตไว้แบบนั้น