ตำแหน่งสังฆราชถ้าจะเอาแบบตรงๆ เป็นตำแหน่งที่อุปโลกน์ขึ้นจากฝ่ายโลกเหตุผลหนึ่งก็เพื่อประดับบารมีเจ้าแห่งแว่นแคว้นในโบราณ เราๆ ท่านๆ มักจะเห็นว่าอำนาจการแต่งตั้งตำแหน่งสังฆราชอย่างแท้จริงนั้นอยู่ที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือถ้าจะพูดให้ตรงเลยก็คือมาจากราชสำนัก ส่วนกฏหรือขนบธรรมเนียมการแต่งตั้งเป็นเรื่องรอง
การแต่งตั้งตำแหน่ง "สังฆราช" เริ่มซับซ้อนขึ้นเมื่อธรรมยุตินิกายถือกำเนิดขึ้น และยิ่งมีเชื้อพระวงศ์เข้ามาบวชในภายหลัง ขนบธรรมเนียมการแต่งตั้งแต่ดั้งเดิมก็ค่อยๆ คลายความขลังลงไป เพื่อความปลอดภัยของล็อคอินของจขกท. ผมจะไม่ลงในรายละเอียดตรงนี้ สรุปสั้นๆ ว่าสมเด็จพระสังฆราชที่มาจากสามัญชน ส่วนใหญ่จะใช้พระนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ส่วนสมเด็จพระสังฆราชที่มีเชื้อพระวงศ์ ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์ระดับ "พระองค์เจ้า" จะใช้พระราชทินนามว่า "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" และถ้าเป็นระดับ "หม่อมราชวงศ์" จะใช้พระราชทินนามว่า" สมเด็จพระสังฆราชเจ้า"
ก่อนการเปลี่ยนแปลง 2475 ตำแหน่งสังฆราชจะถูกครอบครองโดยฝ่ายธรรมยุติมาเป็นเวลาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นที่พระฝ่ายมหานิกายแอบน้อยอกน้อยใจอยู่ไม่น้อย อย่างกรณี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรมรังสี) แม้ว่าจะคุ้นเคยสนิทสนมกับร.๔ เป็นอย่างดี เป็นพระเถระทั้งพรรษาและสมณศักดิ์ เมื่อตำแหน่งสังฆราชว่างลง กลับไม่มีการแต่งตั้งอยู่หลายปีทั้งๆ สมเด็จโตเองก็น่าจะขึ้นเป็นสังฆราช การเมืองเรื่อง "ศึกสังฆราช" ระหว่างธรรมยุติกับมหานิกายเริ่มขึ้นอย่างเงียบๆ ช่วงนี้....จนถึงปัจจุบัน
เด่นชัดที่สุดคือกรณีหลวงพ่อ "พระพิมลธรรม" หลังจากที่ศาลตัดสินว่าท่านบริสุทธิ์ ท่านก็ได้รับสมณศักดิ์คืนและเลื่อนเป็นสมเด็จพุฒาจารย์ อาวุโสทั้งสูงสุด ในสมัยที่ท่านเป็น "พระพิมลธรรม" (รองสมเด็จ) สมเด็จพระสังฆราชในตอนนั้นคือสมเด็จพระสังฆราชวาสน์(วัดราชบพิตร)ยังเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งต่อมาเมื่อสมเด็จพระสังฆราชวาสน์สิ้นพระชนม์ พระผู้ใหญ่ที่ควรจะขึ้นเป็นสังฆราชต่อไป โดยธรรมเนียมแล้วก็น่าจะเป็นสมเด็จพุฒาจารย์(วัดมหาธาต) หรือไม่ก็สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(วัดสามพระยา) แต่ก็ติดอยู่ที่ว่าทั้งสองเป็นพระมหานิกาย และโดยเฉพาะสมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ) เป็นพระบ้านนอกจากขอนแก่น สมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันนี้ จะไม่มีสังฆราชที่มาจากมณฑลอื่นเลยนอกจากกรุงเทพและมณฑลรอบๆ กรุงเทพฯ (ถ้าใครใจใจก็ลองอ่านประวัติพระสังฆราชไทยดู) เช่นนี้....ภาครัฐจึงทิ้งตำแหน่งสังฆราชให้ว่างลงโดยไม่มีการแต่งตั้งและไม่ได้แสดงท่าทีรีบร้อนที่จะแต่งตั้ง ช่วงนี้ข่าววงลึกบอกว่า....ทำให้พระราชาคณะในกรุงเทพจำนวนหนึ่งและพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะจังหวัดในภาคอีสานทุกจังหวัดรวมไปถึงภาคเหนือบางจังหวัดรวมชื่อกันเรียกร้องให้กรมศาสนาและมหาเถรสมาคมแต่งตั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (หรือหลวงพ่อพระพิมลธรรม)ให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะท่านพร้อมด้วยอาวุโสและสมณศักดิ์ ว่ากันว่า...มีการเอาตำแหน่ง "เจ้าคณะจังหวัด" วางเป็นเดิมพัน (เห็นไหม? การเมืองในดงขมิ้นก็เข้มข้นไม่แพ้ทางโลก)
ปรากฏว่า....หลังจากนั้นไม่นานก็มีการแต่งตั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (หลวงพ่อพระพิมลธรรม) ขึ้นเป็น "รักษาการสมเด็จพระสังฆราช" ประมาณว่าพบกัน "ครึ่งทาง" ประมาณเนี๊ยะ สมเด็จพระพุฒาจารย์เองก็น่าจะรู้ตัวท่านดีว่า "ไร้วาสนา" แม้ตัวท่านเองจะเหมาะสมทุกประการ แต่ท่านก็รู้ว่า "ตัวจริงเสียงจริง" นั้นอยู่ที่วัดบวรฯ บางลำพู เพื่อที่จะไม่ให้ต้องเป็นที่ลำบากให้ใครต่อใคร สมเด็จพุฒาจารย์ (หลวงพ่อพระพิมลธรรม) จึงเขียนจดหมายเปิดผนึก "หลีกทาง" ให้ตัวจริงเสียงจริงขึ้นเป็นสังฆราช และรวมไปถึงสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์พระราชาคณะอาวุโสอันดับสองก็ได้เขียนจดหมาย "หลีกทาง" ด้วยเช่นกัน ตามรูปข้างล่างนี้
ต่อมาในอีกสี่อาทิตย์ถ้ดมา....ก็มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมเด็จพระญาณสังวรขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุฒาจารย์ก็สิ้นสุดตำแหน่งรักษาการฯ ไปโดยปริยาย อีกหกเดือนต่อมาท่านก็ละสังขารเหลือแต่ตำนาน "หลวงพ่อพระพิมลธรรม" ให้อนุชนได้ศึกษาจริยวัตรของท่าน
ตำแหน่งสังฆราชองค์ปัจจุบันก็มีการผกผันด้าน "การเมือง" ไม่น้อย แรกเริ่มเดิมทีหวยคงจะไปออกที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) วัดปากน้ำ คือคุณสมบัติของท่านได้เกือบจะครบเป็นคนจากสมุทรปราการไม่ใกล้ไม่ไกลกรุงเทพฯ แต่ติดอยู่ที่ท่านเป็นมหานิกาย และใกล้ชิดธรรมกาย จึงมีการตีข่าวในทางร้ายรวมไปถึงเปลี่ยนแปลงกฏหมายแต่งตั้ง ตำแหน่งสังฆราชตอนนั้นจึง "เคว้ง" สวิงไปสวิงมาระหว่างสามวัดที่เป็นวัดธรรมยุติคือ วัดสัมพันธวงศ์ วัดราชบพิตร และวัดบวรนิเวศน์ "เต็งหนึ่ง" ที่อาวุโสสูงสุดรองจากสมเด็จช่วง (ที่ชวดตำแหน่งไป)ก็คือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ปธ.๙) ซึ่งถือว่าเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรูปหนึ่ง แต่ก็ติดตรงที่ท่านเป็นพระบ้านนอกจากอุบลราชธานี สุดท้ายหวยก็มาออกมาที่สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร) สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน
….ไม่ "สีกา" ก็ "การเมือง" ที่ทำให้พระเสีย ภาค๔ ตอน "ศึกสังฆราช" ..../วัชรานนท์
การแต่งตั้งตำแหน่ง "สังฆราช" เริ่มซับซ้อนขึ้นเมื่อธรรมยุตินิกายถือกำเนิดขึ้น และยิ่งมีเชื้อพระวงศ์เข้ามาบวชในภายหลัง ขนบธรรมเนียมการแต่งตั้งแต่ดั้งเดิมก็ค่อยๆ คลายความขลังลงไป เพื่อความปลอดภัยของล็อคอินของจขกท. ผมจะไม่ลงในรายละเอียดตรงนี้ สรุปสั้นๆ ว่าสมเด็จพระสังฆราชที่มาจากสามัญชน ส่วนใหญ่จะใช้พระนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ส่วนสมเด็จพระสังฆราชที่มีเชื้อพระวงศ์ ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์ระดับ "พระองค์เจ้า" จะใช้พระราชทินนามว่า "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า" และถ้าเป็นระดับ "หม่อมราชวงศ์" จะใช้พระราชทินนามว่า" สมเด็จพระสังฆราชเจ้า"
ก่อนการเปลี่ยนแปลง 2475 ตำแหน่งสังฆราชจะถูกครอบครองโดยฝ่ายธรรมยุติมาเป็นเวลาอย่างยาวนาน ซึ่งเป็นที่พระฝ่ายมหานิกายแอบน้อยอกน้อยใจอยู่ไม่น้อย อย่างกรณี สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรมรังสี) แม้ว่าจะคุ้นเคยสนิทสนมกับร.๔ เป็นอย่างดี เป็นพระเถระทั้งพรรษาและสมณศักดิ์ เมื่อตำแหน่งสังฆราชว่างลง กลับไม่มีการแต่งตั้งอยู่หลายปีทั้งๆ สมเด็จโตเองก็น่าจะขึ้นเป็นสังฆราช การเมืองเรื่อง "ศึกสังฆราช" ระหว่างธรรมยุติกับมหานิกายเริ่มขึ้นอย่างเงียบๆ ช่วงนี้....จนถึงปัจจุบัน
เด่นชัดที่สุดคือกรณีหลวงพ่อ "พระพิมลธรรม" หลังจากที่ศาลตัดสินว่าท่านบริสุทธิ์ ท่านก็ได้รับสมณศักดิ์คืนและเลื่อนเป็นสมเด็จพุฒาจารย์ อาวุโสทั้งสูงสุด ในสมัยที่ท่านเป็น "พระพิมลธรรม" (รองสมเด็จ) สมเด็จพระสังฆราชในตอนนั้นคือสมเด็จพระสังฆราชวาสน์(วัดราชบพิตร)ยังเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมอยู่ด้วยซ้ำ ซึ่งต่อมาเมื่อสมเด็จพระสังฆราชวาสน์สิ้นพระชนม์ พระผู้ใหญ่ที่ควรจะขึ้นเป็นสังฆราชต่อไป โดยธรรมเนียมแล้วก็น่าจะเป็นสมเด็จพุฒาจารย์(วัดมหาธาต) หรือไม่ก็สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(วัดสามพระยา) แต่ก็ติดอยู่ที่ว่าทั้งสองเป็นพระมหานิกาย และโดยเฉพาะสมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ) เป็นพระบ้านนอกจากขอนแก่น สมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันนี้ จะไม่มีสังฆราชที่มาจากมณฑลอื่นเลยนอกจากกรุงเทพและมณฑลรอบๆ กรุงเทพฯ (ถ้าใครใจใจก็ลองอ่านประวัติพระสังฆราชไทยดู) เช่นนี้....ภาครัฐจึงทิ้งตำแหน่งสังฆราชให้ว่างลงโดยไม่มีการแต่งตั้งและไม่ได้แสดงท่าทีรีบร้อนที่จะแต่งตั้ง ช่วงนี้ข่าววงลึกบอกว่า....ทำให้พระราชาคณะในกรุงเทพจำนวนหนึ่งและพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะจังหวัดในภาคอีสานทุกจังหวัดรวมไปถึงภาคเหนือบางจังหวัดรวมชื่อกันเรียกร้องให้กรมศาสนาและมหาเถรสมาคมแต่งตั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (หรือหลวงพ่อพระพิมลธรรม)ให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช เพราะท่านพร้อมด้วยอาวุโสและสมณศักดิ์ ว่ากันว่า...มีการเอาตำแหน่ง "เจ้าคณะจังหวัด" วางเป็นเดิมพัน (เห็นไหม? การเมืองในดงขมิ้นก็เข้มข้นไม่แพ้ทางโลก)
ปรากฏว่า....หลังจากนั้นไม่นานก็มีการแต่งตั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (หลวงพ่อพระพิมลธรรม) ขึ้นเป็น "รักษาการสมเด็จพระสังฆราช" ประมาณว่าพบกัน "ครึ่งทาง" ประมาณเนี๊ยะ สมเด็จพระพุฒาจารย์เองก็น่าจะรู้ตัวท่านดีว่า "ไร้วาสนา" แม้ตัวท่านเองจะเหมาะสมทุกประการ แต่ท่านก็รู้ว่า "ตัวจริงเสียงจริง" นั้นอยู่ที่วัดบวรฯ บางลำพู เพื่อที่จะไม่ให้ต้องเป็นที่ลำบากให้ใครต่อใคร สมเด็จพุฒาจารย์ (หลวงพ่อพระพิมลธรรม) จึงเขียนจดหมายเปิดผนึก "หลีกทาง" ให้ตัวจริงเสียงจริงขึ้นเป็นสังฆราช และรวมไปถึงสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์พระราชาคณะอาวุโสอันดับสองก็ได้เขียนจดหมาย "หลีกทาง" ด้วยเช่นกัน ตามรูปข้างล่างนี้
ตำแหน่งสังฆราชองค์ปัจจุบันก็มีการผกผันด้าน "การเมือง" ไม่น้อย แรกเริ่มเดิมทีหวยคงจะไปออกที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) วัดปากน้ำ คือคุณสมบัติของท่านได้เกือบจะครบเป็นคนจากสมุทรปราการไม่ใกล้ไม่ไกลกรุงเทพฯ แต่ติดอยู่ที่ท่านเป็นมหานิกาย และใกล้ชิดธรรมกาย จึงมีการตีข่าวในทางร้ายรวมไปถึงเปลี่ยนแปลงกฏหมายแต่งตั้ง ตำแหน่งสังฆราชตอนนั้นจึง "เคว้ง" สวิงไปสวิงมาระหว่างสามวัดที่เป็นวัดธรรมยุติคือ วัดสัมพันธวงศ์ วัดราชบพิตร และวัดบวรนิเวศน์ "เต็งหนึ่ง" ที่อาวุโสสูงสุดรองจากสมเด็จช่วง (ที่ชวดตำแหน่งไป)ก็คือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ปธ.๙) ซึ่งถือว่าเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นรูปหนึ่ง แต่ก็ติดตรงที่ท่านเป็นพระบ้านนอกจากอุบลราชธานี สุดท้ายหวยก็มาออกมาที่สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร) สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน