บทเกริ่น....
การเมืองในดงขมิ้นโดยเฉพาะเรื่องตำแหน่ง "สังฆราช" และตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสูงคือชั้นสุพรรณบัตร(ชั้นสมเด็จ) และชั้นหิรัญบัตร(ชั้นพรม)นั้น ได้ผูกโยงเข้ากับ "การเมือง" มาตั้งแต่ยุคโบราณ หากลองไล่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ลงไปไม่กี่ยุคก็จะเห็นอำนาจการแต่งตั้ง การยับยั้งการแต่งตั้งตำแหน่งเหล่านี้ได้ไม่ยาก หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 อำนาจการแต่งตั้งดั้งเดิมได้เปลี่ยนมาอยู่ที่คณะราษฏร์ ได้มีกลุ่มพระสงฆ์ที่เรียกตัวเองว่าคณะปฏิสังขรณ์พระพุทธศาสนาเข้าพบนายปรีดี พนมยงค์ ยื่นเรื่องคืนการชอบธรรมการแต่งตั้งสังฆราชให้พระนิกาย"มหานิกาย" บ้าง หลังจากที่ตำแหน่งนี้ถูกนิกาย "ธรรมยุติ" ผูกขาดมาเกือบจะร้อยปี นั่นแหละครับ...เจ้าอาวาสวัดฝ่ายมหานิกายใหญ่ๆ เช่นวัดสุทัศน์ วัดสระเกศ วัดเบญฯ และวัดพระเชตุพน จึงได้มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช และเมื่อคณะราษฏร์ค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง ซึ่งหนึ่งในอำนาจนั้นก็คือการแต่งตั้งพระสังฆราชก็สวิงกลับไปยังฐานอำนาจเดิม ตำแหน่งสังฆราชจึงกลับไปอยู่ที่วัดฝ่ายธรรมยุติอีกเหมือนเดิม แม้ว่าพระฝ่ายมหานิกายอย่างเช่นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (หรือหลวงพ่อพระพิมลธรรม อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุจะมีอาวุโสสูงสุดทั้งพรรษาและตำแหน่งหลังจากสิ้นสมเด็จสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิตรแล้ว ก็ไม่มีการแต่งตั้งสังฆราชเลย สมเด็จวัดมหาธาตุจึงเป็นได้แค่ "รักษาการสังฆราช" จนท่านมรณะภาพ จากนั้นจึงแต่งตั้งสมเด็จพระญาณสังวรวัดบวรฯ ขึ้นเป็นสังฆราชทันที
ที่เกริ่นไว้ข้างบนนั้นเป็นภาพรวม และตรงนี้ผมจะตีวงแคบมายังวัดสระเกศ ซึ่งเป็นวัดใหญ่และสำคัญวัดหนึ่งที่เจ้าอาวาสได้รับการพิจารณาตำแหน่งสังฆราชซึ่งก็คือสมเด็จพระสังฆราช(อยู่ ญาโณทัย) เป็นที่น่าสังเกตุอย่างหนึ่งว่า ระยะหลังๆ นี่วัดไหนก็ตามที่มีเจ้าอาวาสเป็นสังฆราชหรือรักษาการสังฆราช วัดนั้นจะมีการแต่งตั้งและเสนอชื่อการแต่งตั้ง "เจ้าคุณ" ขึ้นมากมายในฐานานุกรมของตัวเอง ซึ่งอาจจะเป็นการ "ปูทาง" สืบทอดอำนาจและไต่เต้าสู่ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสูงๆ รวมไปถึงตำแหน่งสังฆราชในอนาคตก็เป็นได้ ดูวัดบวรนิเวศ วัดราชบพิตร วัดปากน้ำภาษีฯ และวัดสระเกศ เป็นตัวอย่าง เจ้าคุณระดับชั้นราชฯ ไปจนถึงชั้นสมเด็จนี่ยั๊วเยี้ยแทบจะเดินชนกัน
ย้อนกลับมาที่วัดสระเกศในยุคที่มีเจ้าอาวาสเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีพระภิกษุหนุ่มสองรูปที่เป็นมหาเปรียญธรรม๙ประโยคที่มีอนาคตไกลมาก ซึ่งถ้าหากไม่มีการผิดพลาด รูปใดรูปหนึ่งคงจะได้มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอนาคต คือท่านพระมหาจำนงค์ และพระมหาเกี่ยว(ซึ่งต่อมาก็คือสมเด็จพุฒาจารย์(เกี่ยว)ปฏิบัติการแทนสมเด็จพระสังฆราช) ส่วนพระมหาจำนงค์นั้นอาวุโสกว่าพระมหาเกี่ยว และถ้าหากท่านไม่ชิงสิกขาลาเพศเสียก่อน ตำแหน่งสังฆราชก็คงไม่เกินเอื้อม (ขนาดพระมหาเกี่ยวยังได้ขึ้นเป็นสมเด็จพุฒาจารย์เลย) พระมหาจำนงค์ทานนี้ก็คืออาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของไทยนั่นเอง สมัยยังครองผ้าเหลืองท่านได้เป็น "เจ้าคุณ" ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการ "ปูทาง" ไปสู่ตำแหน่งสังฆราชให้กับวัดสระเกศนั่นเอง และเพื่อความแน่นอน ก็ยังมีพระมหาเกี่ยวที่ได้ตำแหน่งเจ้าคุณไล่ๆ ติดกันมาด้วย
ที่กล่าวตรงนี้ก็กล่าวเฉพาะวัดสระเกศในยุคในยุคที่มีพระมหาอยู่เป็นสมเด็จพระสังฆราชนะครับ วัดอื่นๆ ที่มีเจ้าอาวสเป็นสังฆราช เช่นวัดราชบพิตรในยุคที่มีสมเด็จสังฆราช (วาสน์ วาสโน)ก็มีการ "ปูทาง" ไว้เช่นกันถึงได้มีสมเด็จพระสังฆราช (อัมพร) ในปัจจุบันได้ วัดบวรนิเวศในยุคสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ) ก็มีการ "ปูทาง" ไว้เช่นกัน ไม่อย่างนั้นวัดบวรก็คงไม่มีพระราชาคณะชั้นสมเด็จเป็น "แคนดิเดต" ส่งเข้าชิงตำแหน่งสังฆราชได้
ความเห็นถัดไป.....ก็จะพูดถึงยุคของสมเด็จพุฒาจารย์(เกี่ยว) ในช่วงที่ปฏิบัติการแทนสมเด็จพระสังฆราช เป็นการพิมพ์สดๆ อาจจะรอสักพักนะครับ และหากพิมพ์ตกๆ หล่นๆ ก็ขออภัยนะครับ
....วัดสระเกศกับการเมืองในดงขมิ้น.../วัชรานนท์
การเมืองในดงขมิ้นโดยเฉพาะเรื่องตำแหน่ง "สังฆราช" และตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสูงคือชั้นสุพรรณบัตร(ชั้นสมเด็จ) และชั้นหิรัญบัตร(ชั้นพรม)นั้น ได้ผูกโยงเข้ากับ "การเมือง" มาตั้งแต่ยุคโบราณ หากลองไล่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ลงไปไม่กี่ยุคก็จะเห็นอำนาจการแต่งตั้ง การยับยั้งการแต่งตั้งตำแหน่งเหล่านี้ได้ไม่ยาก หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 อำนาจการแต่งตั้งดั้งเดิมได้เปลี่ยนมาอยู่ที่คณะราษฏร์ ได้มีกลุ่มพระสงฆ์ที่เรียกตัวเองว่าคณะปฏิสังขรณ์พระพุทธศาสนาเข้าพบนายปรีดี พนมยงค์ ยื่นเรื่องคืนการชอบธรรมการแต่งตั้งสังฆราชให้พระนิกาย"มหานิกาย" บ้าง หลังจากที่ตำแหน่งนี้ถูกนิกาย "ธรรมยุติ" ผูกขาดมาเกือบจะร้อยปี นั่นแหละครับ...เจ้าอาวาสวัดฝ่ายมหานิกายใหญ่ๆ เช่นวัดสุทัศน์ วัดสระเกศ วัดเบญฯ และวัดพระเชตุพน จึงได้มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช และเมื่อคณะราษฏร์ค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง ซึ่งหนึ่งในอำนาจนั้นก็คือการแต่งตั้งพระสังฆราชก็สวิงกลับไปยังฐานอำนาจเดิม ตำแหน่งสังฆราชจึงกลับไปอยู่ที่วัดฝ่ายธรรมยุติอีกเหมือนเดิม แม้ว่าพระฝ่ายมหานิกายอย่างเช่นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (หรือหลวงพ่อพระพิมลธรรม อาจ อาสโภ) วัดมหาธาตุจะมีอาวุโสสูงสุดทั้งพรรษาและตำแหน่งหลังจากสิ้นสมเด็จสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิตรแล้ว ก็ไม่มีการแต่งตั้งสังฆราชเลย สมเด็จวัดมหาธาตุจึงเป็นได้แค่ "รักษาการสังฆราช" จนท่านมรณะภาพ จากนั้นจึงแต่งตั้งสมเด็จพระญาณสังวรวัดบวรฯ ขึ้นเป็นสังฆราชทันที
ที่เกริ่นไว้ข้างบนนั้นเป็นภาพรวม และตรงนี้ผมจะตีวงแคบมายังวัดสระเกศ ซึ่งเป็นวัดใหญ่และสำคัญวัดหนึ่งที่เจ้าอาวาสได้รับการพิจารณาตำแหน่งสังฆราชซึ่งก็คือสมเด็จพระสังฆราช(อยู่ ญาโณทัย) เป็นที่น่าสังเกตุอย่างหนึ่งว่า ระยะหลังๆ นี่วัดไหนก็ตามที่มีเจ้าอาวาสเป็นสังฆราชหรือรักษาการสังฆราช วัดนั้นจะมีการแต่งตั้งและเสนอชื่อการแต่งตั้ง "เจ้าคุณ" ขึ้นมากมายในฐานานุกรมของตัวเอง ซึ่งอาจจะเป็นการ "ปูทาง" สืบทอดอำนาจและไต่เต้าสู่ตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสูงๆ รวมไปถึงตำแหน่งสังฆราชในอนาคตก็เป็นได้ ดูวัดบวรนิเวศ วัดราชบพิตร วัดปากน้ำภาษีฯ และวัดสระเกศ เป็นตัวอย่าง เจ้าคุณระดับชั้นราชฯ ไปจนถึงชั้นสมเด็จนี่ยั๊วเยี้ยแทบจะเดินชนกัน
ย้อนกลับมาที่วัดสระเกศในยุคที่มีเจ้าอาวาสเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีพระภิกษุหนุ่มสองรูปที่เป็นมหาเปรียญธรรม๙ประโยคที่มีอนาคตไกลมาก ซึ่งถ้าหากไม่มีการผิดพลาด รูปใดรูปหนึ่งคงจะได้มีโอกาสขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอนาคต คือท่านพระมหาจำนงค์ และพระมหาเกี่ยว(ซึ่งต่อมาก็คือสมเด็จพุฒาจารย์(เกี่ยว)ปฏิบัติการแทนสมเด็จพระสังฆราช) ส่วนพระมหาจำนงค์นั้นอาวุโสกว่าพระมหาเกี่ยว และถ้าหากท่านไม่ชิงสิกขาลาเพศเสียก่อน ตำแหน่งสังฆราชก็คงไม่เกินเอื้อม (ขนาดพระมหาเกี่ยวยังได้ขึ้นเป็นสมเด็จพุฒาจารย์เลย) พระมหาจำนงค์ทานนี้ก็คืออาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของไทยนั่นเอง สมัยยังครองผ้าเหลืองท่านได้เป็น "เจ้าคุณ" ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการ "ปูทาง" ไปสู่ตำแหน่งสังฆราชให้กับวัดสระเกศนั่นเอง และเพื่อความแน่นอน ก็ยังมีพระมหาเกี่ยวที่ได้ตำแหน่งเจ้าคุณไล่ๆ ติดกันมาด้วย
ที่กล่าวตรงนี้ก็กล่าวเฉพาะวัดสระเกศในยุคในยุคที่มีพระมหาอยู่เป็นสมเด็จพระสังฆราชนะครับ วัดอื่นๆ ที่มีเจ้าอาวสเป็นสังฆราช เช่นวัดราชบพิตรในยุคที่มีสมเด็จสังฆราช (วาสน์ วาสโน)ก็มีการ "ปูทาง" ไว้เช่นกันถึงได้มีสมเด็จพระสังฆราช (อัมพร) ในปัจจุบันได้ วัดบวรนิเวศในยุคสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ) ก็มีการ "ปูทาง" ไว้เช่นกัน ไม่อย่างนั้นวัดบวรก็คงไม่มีพระราชาคณะชั้นสมเด็จเป็น "แคนดิเดต" ส่งเข้าชิงตำแหน่งสังฆราชได้
ความเห็นถัดไป.....ก็จะพูดถึงยุคของสมเด็จพุฒาจารย์(เกี่ยว) ในช่วงที่ปฏิบัติการแทนสมเด็จพระสังฆราช เป็นการพิมพ์สดๆ อาจจะรอสักพักนะครับ และหากพิมพ์ตกๆ หล่นๆ ก็ขออภัยนะครับ