'กสท-ทีโอที' โกยหมื่นล้านดึงเอกชนเช่าเสาลุย '4จี
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559
"ทีโอที-กสท" สบช่องสมรภูมิ 4 จี ระอุ เปิดทางเอกชนเช่าเสาโทรคม ระบุผู้ชนะประมูลคลื่น 900 "แจส" ขอเช่าเสาเบื้องต้น 1,300 แห่ง เชื่อการเจรจาได้ข้อยุติภายในเดือนนี้ ขณะที่ "ทีโอที" ผูกพันธมิตรกับ "เอไอเอส" ยาวทั้งเช่าเสา พร้อมทำเอ็มวีเอ็นโอ คลื่น 3 จี การันตีรายได้ต่อปีไม่ต่ำกว่าหมื่นล้าน
สมรภูมิการแข่งขัน 4จี ในปี 2559 นี้ น่าจับตาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการวิ่งหาพันธมิตร ของเอกชนทั้งผู้ที่ไม่ชนะประมูล รวมถึงผู้ที่ ชนะประมูล ด้วยต้องการสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันให้ได้มากที่สุด ผู้ที่ครองคลื่นความถี่ได้มากย่อมมีความได้เปรียบในสมรภูมินี้ การเดินหน้าผูกพันธมิตรกับ 2 รัฐวิสาหกิจโทรคมอย่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที จึงเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดที่น่าจับตา เพราะทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจเองก็อยู่ระหว่างการหาโมเดลต่อยอดรายได้เพิ่ม
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้า การเจรจาร่วมกันระหว่างกสทฯ และ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ในเครือบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีแผนจะเช่าใช้เสาสัญญาณของ กสทฯ จำนวน 1,000-1,300 ต้น ขณะนี้การเจรจามีความคืบหน้า ไปแล้วกว่า 50% โดยคาดว่าจะสามารถเจรจาได้ข้อสรุปเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในเดือน ม.ค.นี้
นอกจากเรื่องเสาสัญญาณแล้ว ยอมรับว่า ขณะนี้ทาง กสทฯ และ แจส ได้หารือแลกเปลี่ยนการใช้งานคลื่นความถี่ระหว่างกัน เนื่องจาก แจส มีปริมาณคลื่นความถี่ที่น้อย จึงอาจต้องการคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ไว้ให้บริการลูกค้าเพิ่มเติม ซึ่งอาจทำสัญญาในรูปแบบขายต่อ และขายส่งในโครงข่ายเสมือน (เอ็มวีเอ็นโอ) อีกทั้งในขณะเดียวกัน กสทฯ ก็ต้องการทำเอ็มวีเอ็นโอ เพื่อใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ของ แจส ในบางส่วนด้วยเช่นกัน
พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า ส่วนการเจรจากับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เพื่อเปิดใช้งาน 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และการเจรจากับ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ในเครือ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อใช้งาน 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ ใกล้ได้ข้อยุติแล้วเช่นกัน ซึ่งในรายของดีแทค คาดว่าจะสามารถเจรจาได้ลุล่วงก่อนภายในไตรมาส 1 ปี 2559 โดยทันทีที่การเจรจากับทางดีแทค หรือทรู ใครเจรจาได้ลุล่วงก่อน ทาง กสทฯ จะเปิดให้ บริการ 4จี บนคลื่นความถี่ย่านนั้นๆ ที่บริษัทเอกชน ปรับปรุงคลื่นให้ก่อนตามที่ได้ตกลงกันในเงื่อนไขสัญญา โดยคาดว่า กสทฯ จะสามารถเปิดให้บริการ 4จี ได้ภายในไตรมาส 2 ของปี 2559
เดินหน้า4จีแบรนด์ "มาย"
ทั้งนี้ การให้บริการ 4จี ของ กสทฯ จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การทำเอ็มวีเอ็นโอ และการให้บริการ 4จี ภายใต้แบรนด์ "มาย" ที่เป็นของ กสทฯ เอง โดยปัจจุบัน กสทฯ มีลูกค้า เอ็มวีเอ็นโอทั้งสิ้น 4 ราย ส่วนบริการ 4 จี ภายใต้ แบรนด์มาย เบื้องต้น ตั้งเป้าไว้ว่า จะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าของ มาย จากปัจจุบันราว 1.25 ล้านราย เป็น 1.5 ล้านราย ในสิ้นปี 2559 โดยเป้าหมายส่วนตัวอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงจากจำนวนผู้ใช้งานเป็นจำนวนรายได้ที่แน่ชัด
พร้อมกันนี้ กสทฯ ยังหนุนให้เกิดเอ็มวีเอ็นโอ รายใหม่ พร้อมเปิดบริการ นอกจากเรียลมูฟ และ 168 คอมมูนิเคชั่นแล้ว ปีนี้มีผู้สนใจร่วมเป็นพันธมิตรเอ็มวีเอ็นโอเพิ่มขึ้น คือ ดาต้า ซีดีเอ็มเอ คอมมูนิเคชั่น และ สามารถ ไอโมบาย ซึ่งจะทยอยเปิดให้บริการ
ทั้งนี้ กสทฯ ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ได้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน เพื่อเติมเต็มการใช้งานโครงข่าย มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยเข้าสู่ตลาด ส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเพิ่มทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน มาย มีการเติบโตยอดผู้ใช้บริการทะลุเป้า ผ่านกลยุทธ์สร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านสื่อต่างๆ เน้นแพ็คเกจที่คุ้มค่าตอบโจทย์การใช้งาน และความต้องการของคนไทยทุกกลุ่ม ควบคู่กับทำตลาดลงพื้นที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหัวเมืองทุกภูมิภาคทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งการบอกต่อในกลุ่ม ผู้ใช้งานด้วยกันเอง
"ภาพรวมการแข่งขันในตลาดจากนี้ไปคงสูงมากขึ้น กสทฯ เองจะไม่ปรับตัวก็ไม่ได้ จึงต้องมีการทำ 4จี ซึ่ง การมี 4 จี ทำแล้วก็ไม่ใช่ว่ารายได้จะเข้ามาเยอะ แต่ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้ ฉะนั้นจึงต้องทำเพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสที่จะสร้าง รายได้เกิดขึ้น" พ.อ.สรรพชัย กล่าว
ทีโอทีเปิดเช่าเสาบนคลื่น 900
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ทีโอที กล่าวว่า จากสาเหตุที่ทีโอทีถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด และมีคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน สามารถนำมาเปิดให้เอกชนเช่าใช้เพื่อเพิ่มรายได้หลักให้แก่ทีโอที หลังจากหมดรายได้สัมปทาน โดยปัจจุบัน ทีโอที มีคลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีอายุสัญญาไปจนถึง 2568 โดยมีทั้งหมด 64 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคลื่นดังกล่าวยังไม่หมดอายุสัญญา โดยเป็นไปได้ที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะนำคลื่นดังกล่าวคืนกลับมาให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อนำมาจัดสรรด้วยการประมูลในปี 2559 ต่อไป
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ทีโอที และ เอไอเอส ได้ลงนามในสัญญาเอ็มโอยู ซึ่งกรอบข้อตกลงเรื่องเสาและอุปกรณ์ ในข้อตกลงที่ว่า 1. เอไอเอส จะเป็นผู้เช่าอุปกรณ์และเสาโทรคมนาคมบน คลื่นความถี่ที่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเอไอเอส เคยได้รับสัมปทาน และปัจจุบันสิ้นสุด ไปแล้วตั้งแต่เดือน ก.ย.2558 โดยจะแบ่งเป็น เช่าโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่านความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ระยะเวลา 10 ปี ชำระ 3,500 ล้านบาทต่อปี
2. เช่าอุปกรณ์เสาโทรคมนาคมปีละ 6,000 ล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี ขณะเดียวกัน ในเอ็มโอยู ยังระบุหากทีโอทีจะพัฒนาคลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ การหาพันธมิตรทีโอทีจะต้องพิจารณาเอไอเอสเป็นรายแรก
ทั้งนี้ ล่าสุด เอไอเอส ได้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการขายต่อบริการหรือเอ็มวีเอ็นโอ จากกสทช. ซึ่ง ใบอนุญาตดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่เอไอเอส และทีโอที เป็นพันธมิตรร่วมทำเครือข่าย 3จีบนคลื่น 2100 รูปแบบใหม่ โดยมีระยะเวลา ในการดำเนินการ10 ปี และทีโอทีคาดว่าจะมี รายได้จากสัญญานี้เบื้องต้นที่ 3,000 ล้านบาทต่อปี
โดยในส่วนของสัญญา จะแบ่งออกเป็น 2 สัญญา คือ 1.เอไอเอสต้องรับผิดชอบการขยายโครงข่ายทีโอที 3จี เพิ่มเติมประมาณหนึ่งหมื่นสถานีฐาน เพื่อให้ทีโอทีเข้าไปเช่าใช้โครงข่าย และ2.เอไอเอสจะต้องดำเนินการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี ในฐานะ "ตัวแทนขายส่งต่อ" โดยมีสิทธิ์ใช้เนื้อที่ในโครงข่ายประมาณ 80% และอีก 20% ทีโอทีจะเป็นผู้ดำเนินการต่อภายใต้ แบรนด์ทีโอที 3จี ต่อไป
ข้อมูลแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 1, 4)
'กสท-ทีโอที' โกยหมื่นล้านดึงเอกชนเช่าเสาลุย '4จี
'กสท-ทีโอที' โกยหมื่นล้านดึงเอกชนเช่าเสาลุย '4จี
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559
"ทีโอที-กสท" สบช่องสมรภูมิ 4 จี ระอุ เปิดทางเอกชนเช่าเสาโทรคม ระบุผู้ชนะประมูลคลื่น 900 "แจส" ขอเช่าเสาเบื้องต้น 1,300 แห่ง เชื่อการเจรจาได้ข้อยุติภายในเดือนนี้ ขณะที่ "ทีโอที" ผูกพันธมิตรกับ "เอไอเอส" ยาวทั้งเช่าเสา พร้อมทำเอ็มวีเอ็นโอ คลื่น 3 จี การันตีรายได้ต่อปีไม่ต่ำกว่าหมื่นล้าน
สมรภูมิการแข่งขัน 4จี ในปี 2559 นี้ น่าจับตาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการวิ่งหาพันธมิตร ของเอกชนทั้งผู้ที่ไม่ชนะประมูล รวมถึงผู้ที่ ชนะประมูล ด้วยต้องการสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันให้ได้มากที่สุด ผู้ที่ครองคลื่นความถี่ได้มากย่อมมีความได้เปรียบในสมรภูมินี้ การเดินหน้าผูกพันธมิตรกับ 2 รัฐวิสาหกิจโทรคมอย่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที จึงเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดที่น่าจับตา เพราะทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจเองก็อยู่ระหว่างการหาโมเดลต่อยอดรายได้เพิ่ม
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้า การเจรจาร่วมกันระหว่างกสทฯ และ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ในเครือบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีแผนจะเช่าใช้เสาสัญญาณของ กสทฯ จำนวน 1,000-1,300 ต้น ขณะนี้การเจรจามีความคืบหน้า ไปแล้วกว่า 50% โดยคาดว่าจะสามารถเจรจาได้ข้อสรุปเสร็จสิ้นทั้งหมดภายในเดือน ม.ค.นี้
นอกจากเรื่องเสาสัญญาณแล้ว ยอมรับว่า ขณะนี้ทาง กสทฯ และ แจส ได้หารือแลกเปลี่ยนการใช้งานคลื่นความถี่ระหว่างกัน เนื่องจาก แจส มีปริมาณคลื่นความถี่ที่น้อย จึงอาจต้องการคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ไว้ให้บริการลูกค้าเพิ่มเติม ซึ่งอาจทำสัญญาในรูปแบบขายต่อ และขายส่งในโครงข่ายเสมือน (เอ็มวีเอ็นโอ) อีกทั้งในขณะเดียวกัน กสทฯ ก็ต้องการทำเอ็มวีเอ็นโอ เพื่อใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ของ แจส ในบางส่วนด้วยเช่นกัน
พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า ส่วนการเจรจากับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เพื่อเปิดใช้งาน 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และการเจรจากับ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ในเครือ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อใช้งาน 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 850 เมกะเฮิรตซ์ ใกล้ได้ข้อยุติแล้วเช่นกัน ซึ่งในรายของดีแทค คาดว่าจะสามารถเจรจาได้ลุล่วงก่อนภายในไตรมาส 1 ปี 2559 โดยทันทีที่การเจรจากับทางดีแทค หรือทรู ใครเจรจาได้ลุล่วงก่อน ทาง กสทฯ จะเปิดให้ บริการ 4จี บนคลื่นความถี่ย่านนั้นๆ ที่บริษัทเอกชน ปรับปรุงคลื่นให้ก่อนตามที่ได้ตกลงกันในเงื่อนไขสัญญา โดยคาดว่า กสทฯ จะสามารถเปิดให้บริการ 4จี ได้ภายในไตรมาส 2 ของปี 2559
เดินหน้า4จีแบรนด์ "มาย"
ทั้งนี้ การให้บริการ 4จี ของ กสทฯ จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การทำเอ็มวีเอ็นโอ และการให้บริการ 4จี ภายใต้แบรนด์ "มาย" ที่เป็นของ กสทฯ เอง โดยปัจจุบัน กสทฯ มีลูกค้า เอ็มวีเอ็นโอทั้งสิ้น 4 ราย ส่วนบริการ 4 จี ภายใต้ แบรนด์มาย เบื้องต้น ตั้งเป้าไว้ว่า จะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าของ มาย จากปัจจุบันราว 1.25 ล้านราย เป็น 1.5 ล้านราย ในสิ้นปี 2559 โดยเป้าหมายส่วนตัวอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงจากจำนวนผู้ใช้งานเป็นจำนวนรายได้ที่แน่ชัด
พร้อมกันนี้ กสทฯ ยังหนุนให้เกิดเอ็มวีเอ็นโอ รายใหม่ พร้อมเปิดบริการ นอกจากเรียลมูฟ และ 168 คอมมูนิเคชั่นแล้ว ปีนี้มีผู้สนใจร่วมเป็นพันธมิตรเอ็มวีเอ็นโอเพิ่มขึ้น คือ ดาต้า ซีดีเอ็มเอ คอมมูนิเคชั่น และ สามารถ ไอโมบาย ซึ่งจะทยอยเปิดให้บริการ
ทั้งนี้ กสทฯ ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ได้ขายส่งบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบโครงข่ายเสมือน เพื่อเติมเต็มการใช้งานโครงข่าย มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยเข้าสู่ตลาด ส่งเสริมการแข่งขันเสรีและเพิ่มทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน มาย มีการเติบโตยอดผู้ใช้บริการทะลุเป้า ผ่านกลยุทธ์สร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านสื่อต่างๆ เน้นแพ็คเกจที่คุ้มค่าตอบโจทย์การใช้งาน และความต้องการของคนไทยทุกกลุ่ม ควบคู่กับทำตลาดลงพื้นที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหัวเมืองทุกภูมิภาคทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งการบอกต่อในกลุ่ม ผู้ใช้งานด้วยกันเอง
"ภาพรวมการแข่งขันในตลาดจากนี้ไปคงสูงมากขึ้น กสทฯ เองจะไม่ปรับตัวก็ไม่ได้ จึงต้องมีการทำ 4จี ซึ่ง การมี 4 จี ทำแล้วก็ไม่ใช่ว่ารายได้จะเข้ามาเยอะ แต่ถ้าไม่ทำก็ไม่ได้ ฉะนั้นจึงต้องทำเพื่อไม่ให้สูญเสียโอกาสที่จะสร้าง รายได้เกิดขึ้น" พ.อ.สรรพชัย กล่าว
ทีโอทีเปิดเช่าเสาบนคลื่น 900
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ (บอร์ด) บมจ.ทีโอที กล่าวว่า จากสาเหตุที่ทีโอทีถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด และมีคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน สามารถนำมาเปิดให้เอกชนเช่าใช้เพื่อเพิ่มรายได้หลักให้แก่ทีโอที หลังจากหมดรายได้สัมปทาน โดยปัจจุบัน ทีโอที มีคลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ ที่มีอายุสัญญาไปจนถึง 2568 โดยมีทั้งหมด 64 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคลื่นดังกล่าวยังไม่หมดอายุสัญญา โดยเป็นไปได้ที่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะนำคลื่นดังกล่าวคืนกลับมาให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อนำมาจัดสรรด้วยการประมูลในปี 2559 ต่อไป
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ทีโอที และ เอไอเอส ได้ลงนามในสัญญาเอ็มโอยู ซึ่งกรอบข้อตกลงเรื่องเสาและอุปกรณ์ ในข้อตกลงที่ว่า 1. เอไอเอส จะเป็นผู้เช่าอุปกรณ์และเสาโทรคมนาคมบน คลื่นความถี่ที่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเอไอเอส เคยได้รับสัมปทาน และปัจจุบันสิ้นสุด ไปแล้วตั้งแต่เดือน ก.ย.2558 โดยจะแบ่งเป็น เช่าโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในย่านความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์ระยะเวลา 10 ปี ชำระ 3,500 ล้านบาทต่อปี
2. เช่าอุปกรณ์เสาโทรคมนาคมปีละ 6,000 ล้านบาท ระยะเวลา 15 ปี ขณะเดียวกัน ในเอ็มโอยู ยังระบุหากทีโอทีจะพัฒนาคลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ การหาพันธมิตรทีโอทีจะต้องพิจารณาเอไอเอสเป็นรายแรก
ทั้งนี้ ล่าสุด เอไอเอส ได้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการขายต่อบริการหรือเอ็มวีเอ็นโอ จากกสทช. ซึ่ง ใบอนุญาตดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่เอไอเอส และทีโอที เป็นพันธมิตรร่วมทำเครือข่าย 3จีบนคลื่น 2100 รูปแบบใหม่ โดยมีระยะเวลา ในการดำเนินการ10 ปี และทีโอทีคาดว่าจะมี รายได้จากสัญญานี้เบื้องต้นที่ 3,000 ล้านบาทต่อปี
โดยในส่วนของสัญญา จะแบ่งออกเป็น 2 สัญญา คือ 1.เอไอเอสต้องรับผิดชอบการขยายโครงข่ายทีโอที 3จี เพิ่มเติมประมาณหนึ่งหมื่นสถานีฐาน เพื่อให้ทีโอทีเข้าไปเช่าใช้โครงข่าย และ2.เอไอเอสจะต้องดำเนินการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3จี ในฐานะ "ตัวแทนขายส่งต่อ" โดยมีสิทธิ์ใช้เนื้อที่ในโครงข่ายประมาณ 80% และอีก 20% ทีโอทีจะเป็นผู้ดำเนินการต่อภายใต้ แบรนด์ทีโอที 3จี ต่อไป
ข้อมูลแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 1, 4)