"มุทิตา แก้ความริษยา"
" ..
มุทิตา คือภาวะจิตที่บันเทิงยินดีในเมื่อผู้อื่นได้รับความสุขความเจริญด้วยสมบัติต่าง ๆ
ปราศจากความริษยา เห็นใครพรั่งพร้อมด้วยสมบัติก็พลอยมีมุทิตา ตัดความยินร้ายไม่ยินดีด้วยที่ริษยาเสียได้
"มุทิตา" นี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่ง
"ที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต"
วิธีอบรมคือระวังใจมิให้ริษยาในเมื่อได้เห็นได้ทราบสมบัติ คือความพรั่งพร้อมต่าง ๆ ของผู้อื่น
เมื่อความริษยาเกิดขึ้นก็พยายามระวังเสีย หัดคิดว่า
"ตนเองมีความยินดีเมื่อตนได้สมบัติที่ชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไฉนเมื่อคนอื่นเขาได้จึงไปริษยาเขา ควรจะพลอยยินดีกับเขา"
พิจารณาให้เห็นโทษของความริษยา เช่นว่า
"อรติ โลกนาสิกา...ความริษยาเป็นเหตุทำลายโลก"
เมื่อทำมุทิตาจิตให้เกิดขึ้นได้ ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดยเจาะจง
หรือโดยไม่เจาะจงทั่ไปด้วยความคิดว่า
"จงอย่าวิบัติจากสิ่งที่ได้แล้ว"
อันที่จริงภาวะของจิตที่ยินดีในเวลาได้สมบัติต่าง ๆ ย่อมมีอยู่
ในเมื่อตนหรือคนเป็นที่รักได้สมบัติเป็นสามัญธรรมดา
แต่ยังเจือด้วยริษยาในเมื่อเห็นคนอื่นได้สมบัติและแม้ในสมบัติที่ตนได้ ก็ยังมีโสมนัสเจือตัณหา
พระบรมครูทรงสั่งสอนให้ปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้วนี้แหละให้เป็นธรรมขึ้น
คือให้เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิให้คับแคบเฉพาะตนและผู้ที่ตนรักเท่านั้น
แต่ให้กว้างออกไปตลอดถึงไม่มีจำกัดไม่มีประมาณ โดยให้ปราศจากริษยา
ทั้งปราศจากโสมนัสที่เจือกิเลสตัณหาด้วย
"เพราะว่าริษยาเป็นศัตรูที่ใกล้ของมุทิตา"
ฉะนั้นก็พึงยกตนขึ้นเป็นพยานหรืออุปมาเช่นเดียวกับสองข้อข้างต้นและให้ยกบุคคลผู้เป็นที่รักขึ้นเป็นพยานหรือเป็นอุปมา
ดังพุทธภาษิตที่ตรัสสอนไว้ว่า
"พึงแผ่จิตถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยมุทิตา
เหมือนอย่างเห็นบุคคลผู้เป็นที่รักที่พอใจ ก็บันเทิงยินดีฉะนั้น" .. "
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
มุทิตา แก้ความริษยา (สมเด็จพระญาณสังวร)
"มุทิตา แก้ความริษยา"
" .. มุทิตา คือภาวะจิตที่บันเทิงยินดีในเมื่อผู้อื่นได้รับความสุขความเจริญด้วยสมบัติต่าง ๆ
ปราศจากความริษยา เห็นใครพรั่งพร้อมด้วยสมบัติก็พลอยมีมุทิตา ตัดความยินร้ายไม่ยินดีด้วยที่ริษยาเสียได้
"มุทิตา" นี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่ง "ที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต"
วิธีอบรมคือระวังใจมิให้ริษยาในเมื่อได้เห็นได้ทราบสมบัติ คือความพรั่งพร้อมต่าง ๆ ของผู้อื่น
เมื่อความริษยาเกิดขึ้นก็พยายามระวังเสีย หัดคิดว่า "ตนเองมีความยินดีเมื่อตนได้สมบัติที่ชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไฉนเมื่อคนอื่นเขาได้จึงไปริษยาเขา ควรจะพลอยยินดีกับเขา"
พิจารณาให้เห็นโทษของความริษยา เช่นว่า "อรติ โลกนาสิกา...ความริษยาเป็นเหตุทำลายโลก"
เมื่อทำมุทิตาจิตให้เกิดขึ้นได้ ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดยเจาะจง
หรือโดยไม่เจาะจงทั่ไปด้วยความคิดว่า "จงอย่าวิบัติจากสิ่งที่ได้แล้ว"
อันที่จริงภาวะของจิตที่ยินดีในเวลาได้สมบัติต่าง ๆ ย่อมมีอยู่
ในเมื่อตนหรือคนเป็นที่รักได้สมบัติเป็นสามัญธรรมดา
แต่ยังเจือด้วยริษยาในเมื่อเห็นคนอื่นได้สมบัติและแม้ในสมบัติที่ตนได้ ก็ยังมีโสมนัสเจือตัณหา
พระบรมครูทรงสั่งสอนให้ปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้วนี้แหละให้เป็นธรรมขึ้น
คือให้เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิให้คับแคบเฉพาะตนและผู้ที่ตนรักเท่านั้น
แต่ให้กว้างออกไปตลอดถึงไม่มีจำกัดไม่มีประมาณ โดยให้ปราศจากริษยา
ทั้งปราศจากโสมนัสที่เจือกิเลสตัณหาด้วย "เพราะว่าริษยาเป็นศัตรูที่ใกล้ของมุทิตา"
ฉะนั้นก็พึงยกตนขึ้นเป็นพยานหรืออุปมาเช่นเดียวกับสองข้อข้างต้นและให้ยกบุคคลผู้เป็นที่รักขึ้นเป็นพยานหรือเป็นอุปมา
ดังพุทธภาษิตที่ตรัสสอนไว้ว่า "พึงแผ่จิตถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยมุทิตา
เหมือนอย่างเห็นบุคคลผู้เป็นที่รักที่พอใจ ก็บันเทิงยินดีฉะนั้น" .. "
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก