๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า ตอนที่ ๗
"อธิบายเบญจขันธ์"
ได้เล่าถึงเรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ได้ย่อความของพระสูตรนั้น และได้อธิบายเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ว่าแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร จึงขอสรุปความในตอนนั้นว่า สิ่งทั้ง ๕ เหล่านั้น แต่ละสิ่งมีมากด้วยกัน
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ขันธ์ ที่แปลว่า กอง หรือ หมู่หมวด
คือเรียกว่า รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ รวมเรียกว่า ปัญจขันธ์
แปลว่า กองทั้ง ๕ หรือเรียกเป็นไทยว่า เบญจขันธ์ คำ นี้จะได้พบในหนังสือทางพระพุทธศาสนา หรือในเทศนาเป็นอันมาก
เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะกำหนดชื่อไว้และทำ ความเข้าใจ
ทุกๆ คน เมื่อกล่าวถึงอัตตาตัวตน โดยปกติก็จะต้องมุ่งไปที่ปัญจขันธ์นี้
เพราะเว้นจากปัญจขันธ์นี้แล้ว ก็ไม่มีสิ่งอะไรที่จะสมมติบัญญัติว่าเป็นอัตตาตัวตน
ฉะนั้น ความเข้าใจว่าอะไรเป็นอัตตาตัวตน จึงเข้าใจกันที่ปัญจขันธ์นี้และก็ยึดกันที่ปัญจขันธ์นี้ว่า เป็นอัตตาตัวตน
ฉะนั้น จึงมีคำ เรียกอีกคำ หนึ่งว่า ปัญจอุปาทานขันธ์ ปัญจะ ก็แปลว่า ๕ อุปาทาน ก็แปลว่า เป็นที่ยึดถือ ขันธ์ ก็แปลว่า ขันธ์
แปลรวมกันว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือ ๕ ประการ คือเป็นที่ยึดถือว่าเป็นอัตตาตัวตนดั่งกล่าว
ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกเอาปัญจขันธ์นี้ขึ้นชี้ว่า เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เป็นการค้านการยึดถือของภิกษุปัญจวัคคีย์และของคนทั่วไป
ได้ทรงแสดงเหตุผลในข้อนี้ไว้ว่า ถ้าปัญจขันธ์จะพึงเป็นอัตตาตัวตนไซร้ ปัญจขันธ์ก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆก็จะพึงได้ในปัญจขันธ์ว่า
ขอให้เป็นอย่างนี้ ขออย่าให้เป็นอย่างนั้น แต่เพราะเหตุที่ปัญจขันธ์เป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ก็ไม่ได้ในปัญจขันธ์ว่า
ขอให้ปัญจขันธ์เป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น จึงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน นี้เป็นเหตุผลที่ทรงชี้ในพระสูตรนี้
คำว่า เป็นไปเพื่ออาพาธ โดยทั่วไปหมายความว่า เป็นไปเพื่อความเจ็บไข้ เพราะอาพาธใช้ในความหมายว่า เจ็บไข้ แต่คำว่า อาพาธ
อาจอธิบายให้เห็นความหมายกว้างไปกว่านั้น คือ คำว่า อาพาธ แปลว่า เป็นที่ถูกเบียดเบียนเป็นที่ถูกทำลายให้หมดสิ้น
เมื่อให้คำแปลอย่างนี้ก็อาจอธิบายให้กว้างออกไปอีกว่า ปัญจขันธ์เมื่อเกิดขึ้นก็จะต้องถูกความแก่เบียดเบียน ถูกพยาธิคือความป่วยไข้เบียดเบียน
ตลอดจนถึงถูกความตายเบียดเบียน รวมความว่า เมื่อเกิดขึ้นมาก็ต้องมีแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปจนถึงดับในที่สุด
ฉะนั้น จึงต้องถูกความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและถูกความดับเบียดเบียนทำ ลายล้างให้หมดสิ้น
จะพึงเห็นได้ว่า รูปขันธ์ กองรูป ก็เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ตั้งแต่เกิดมาจนบัดนี้ก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยมา
แต่อาศัยบุคคลบริโภคอาหารเข้าไปทำนุบำรุงคอยซ่อมส่วนที่สึกหรออยู่เสมอ จึงรู้สึกมีความสืบต่อเรื่อยมา
แม้แต่ในทางการแพทย์ปัจจุบันก็รับรองว่า แม้ส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย เช่น กระดูก ก็เปลี่ยนไปอยู่ กระดูกเมื่อเกิดกับกระดูกในบัดนี้ ก็เป็นคนละส่วนแล้ว
ส่วนที่อ่อนกว่านั้น เช่น เนื้อหนัง ก็ยิ่งจะเปลี่ยนไปได้เร็ว ฉะนั้น รูปขันธ์ก็มีความเกิดดับอยู่เรื่อย
แต่อาศัยที่มี สันตติ คือความสืบต่อ เพราะชีวิตยังดำ รงอยู่จึงยังเป็นมาได้ เวทนาขันธ์ กองเวทนา ปรากฏเกิดดับเห็นได้ชัด
อย่างเช่น ความสุขเกิดขึ้นแล้วหายไป ความทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็หายไป ความเป็นกลางๆ เกิดขึ้นแล้วก็หายไป เปลี่ยนกันไปอยู่เสมอ
สัญญาขันธ์ กองสัญญา ความจำ หมาย ก็เกิดดับอยู่เสมอ สังขารขันธ์ กองสังขาร คือความคิดปรุงหรือ ความปรุงคิดเป็นเรื่องต่างๆ ก็เกิดดับอยู่เสมอ
วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ก็เกิดดับอยู่เสมอ
คราวนี้ควรจะทำความเข้าใจคำ ว่า วิญญาณ ได้เคยให้ความหมายทั่วๆ ไปไว้แล้วว่า หมายถึงใจ หมายถึงสภาพที่จะไปเกิดต่อไป
หมายถึง ความรู้สึกเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น
ที่หมายถึงใจหรือหมายถึงสภาพที่จะเวียนเกิดต่อไปนั้น เป็นความหมายที่เข้าใจกันอยู่ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
แม้ในเรื่องทางพระพุทธศาสนาเองที่เป็นเรื่องเล่า เมื่อเล่าถึงสิ่งที่จะไปเวียนเกิด ใช้คำว่า วิญญาณ ก็มี
แต่ความหมายในปัญจขันธ์นี้ ไม่ใช่หมายความถึงสภาพ เช่นนั้น แต่หมายถึงความรู้สึกเห็นรูป ในเมื่อตากับรูปกระทบกัน อันเรียกว่า จักขุวิญญาณ
ความรู้สึกได้ยินเสียง ในเวลาที่หูกับเสียงกระทบกัน เรียกว่า โสตวิญญาณ ความรู้สึกได้กลิ่น ในเมื่อฆานะกับกลิ่นกระทบกัน เรียกว่า ฆานวิญญาณ
ความรู้สึกในรส ในเมื่อลิ้นกับรสกระทบกันเรียกว่า ชิวหาวิญญาณ ความรู้สึกถูกต้องที่กายถูกต้อง ในเวลาที่กายกับสิ่งที่ถูกต้องกายกระทบกัน
เรียกว่า กายวิญญาณ ความรู้สึกในเรื่องที่มโนหรือมนะรู้ ในเวลาที่มนะกับเรื่องกระทบกัน เรียกว่า มโนวิญญาณวิญญาณในปัญจขันธ์
หมายถึงวิญญาณ ๖ คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง ๖ ดั่งกล่าวแล้ว ฉะนั้น ความรู้สึกดั่งกล่าวนี้จึงมีมาก เมื่อตาเห็นรูป
เกิดความรู้สึกเห็นรูปนี้ก็เป็นจักขุวิญญาณ ครั้นหูได้ยินเสียง ก็เกิดความรู้สึกได้ยินเสียงขึ้น ก็เป็นโสตวิญญาณเป็นต้น
เพราะฉะนั้น จึงมิใช่มีหนึ่ง แต่ว่ามีมาก จึงเรียกว่าเป็นวิญญาณขันธ์ ดั่งที่กล่าวมาแล้ว วิญญาณขันธ์ที่มีอธิบายอย่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่เกิดดับอยู่เสมอ
ฉะนั้น ปัญจขันธ์ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ คือต้องถูกเบียดเบียน คือต้องถูกทำลายล้างให้สิ้นไป ด้วยอำนาจของความแก่ เจ็บ ตาย หรือว่า เกิด ดับ อยู่เสมอ
ใครๆ จะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ คือบังคับให้เป็นอย่างนี้ อย่าให้เป็นอย่างนั้น ก็บังคับไม่ได้
อย่างเช่นรูปขันธ์ จะบังคับว่าจะต้องให้คงอยู่อย่างนั้น อย่าให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้
ดังที่จะพึงเห็นได้ว่าเมื่อเกิดขึ้นมาก็เปลี่ยนแปลงมาจนถึงที่สุด ใครจะชอบใจในระยะไหนและปรารถนาจะให้คงอยู่ในระยะนั้นก็ปรารถนาไม่ได้
กองเวทนาก็เหมือนกัน ก็ย่อมปรารถนาสุข แต่จะบังคับให้เป็นสุขอยู่เสมอไม่ได้ ทุกข์ก็เหมือนกัน เมื่อทุกข์เกิดขึ้น โดยปกติก็ไม่ชอบ
แต่ทุกข์นั้นก็ต้องถูกเบียดเบียนเหมือนกัน คือว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหายไป แล้วเกิดอย่างอื่นขึ้นแทน
กองสัญญาก็เหมือนกัน จะบังคับให้จำได้หมายรู้อยู่ตลอดไปก็ไม่ได้เหมือนกัน
กองสังขาร คือความคิดปรุงหรือความปรุงคิดก็ไม่ได้เหมือนกัน
และกองวิญญาณคือ ความรู้สึกทางอายตนะดั่งกล่าวมานั้น ก็เหมือนกัน บังคับให้เป็นไปตามความปรารถนาไม่ได้
เพราะเหตุที่บังคับไม่ได้ดั่งกล่าวมานี้ ปัญจขันธ์ต้องเป็นไปเพื่ออาพาธ ต้องเป็นไปตามคติธรรมดา ฉะนั้น จึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตาตัวตน
ตามลักษณะนี้พึงเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาตัวตนนั้น ก็ควรจะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ เป็นสิ่งที่บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้
ถ้าไม่เป็น เช่นนั้นก็ไม่ชื่อว่าอัตตา ดั่งเช่นปัญจขันธ์ ซึ่งเป็นที่ยึดถือว่าเป็นอัตตา
เมื่อพิจารณาแล้วก็จะพึงเห็นว่าไม่ใช่ แต่เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ด้วยเหตุผลดั่งที่กล่าวมานี้
๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า หน้า ๖๖ - ๗๐
พระนิพนธ์
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พ ร ะ นิ พ น ธ์ เ พื่ อ ค ว า ม ส วั ส ดี แ ห่ ง ชี วิ ต
แ ล ะ พ ร ะ ค ติ ธ ร ร ม เ พื่ อ เ ป็ น แ ส ง ส่ อ ง ใจ
เพราะเว้นจากปัญจขันธ์นี้แล้ว ก็ไม่มีสิ่งอะไรที่จะสมมติบัญญัติว่าเป็นอัตตาตัวตน
"อธิบายเบญจขันธ์"
ได้เล่าถึงเรื่องพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อนัตตลักขณสูตร ได้ย่อความของพระสูตรนั้น และได้อธิบายเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ว่าแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร จึงขอสรุปความในตอนนั้นว่า สิ่งทั้ง ๕ เหล่านั้น แต่ละสิ่งมีมากด้วยกัน
ฉะนั้นจึงเรียกว่า ขันธ์ ที่แปลว่า กอง หรือ หมู่หมวด
คือเรียกว่า รูปขันธ์ กองรูป เวทนาขันธ์ กองเวทนา สัญญาขันธ์ กองสัญญา สังขารขันธ์ กองสังขาร วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ รวมเรียกว่า ปัญจขันธ์
แปลว่า กองทั้ง ๕ หรือเรียกเป็นไทยว่า เบญจขันธ์ คำ นี้จะได้พบในหนังสือทางพระพุทธศาสนา หรือในเทศนาเป็นอันมาก
เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะกำหนดชื่อไว้และทำ ความเข้าใจ
ทุกๆ คน เมื่อกล่าวถึงอัตตาตัวตน โดยปกติก็จะต้องมุ่งไปที่ปัญจขันธ์นี้
เพราะเว้นจากปัญจขันธ์นี้แล้ว ก็ไม่มีสิ่งอะไรที่จะสมมติบัญญัติว่าเป็นอัตตาตัวตน
ฉะนั้น ความเข้าใจว่าอะไรเป็นอัตตาตัวตน จึงเข้าใจกันที่ปัญจขันธ์นี้และก็ยึดกันที่ปัญจขันธ์นี้ว่า เป็นอัตตาตัวตน
ฉะนั้น จึงมีคำ เรียกอีกคำ หนึ่งว่า ปัญจอุปาทานขันธ์ ปัญจะ ก็แปลว่า ๕ อุปาทาน ก็แปลว่า เป็นที่ยึดถือ ขันธ์ ก็แปลว่า ขันธ์
แปลรวมกันว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือ ๕ ประการ คือเป็นที่ยึดถือว่าเป็นอัตตาตัวตนดั่งกล่าว
ในพระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงยกเอาปัญจขันธ์นี้ขึ้นชี้ว่า เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เป็นการค้านการยึดถือของภิกษุปัญจวัคคีย์และของคนทั่วไป
ได้ทรงแสดงเหตุผลในข้อนี้ไว้ว่า ถ้าปัญจขันธ์จะพึงเป็นอัตตาตัวตนไซร้ ปัญจขันธ์ก็จะไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆก็จะพึงได้ในปัญจขันธ์ว่า
ขอให้เป็นอย่างนี้ ขออย่าให้เป็นอย่างนั้น แต่เพราะเหตุที่ปัญจขันธ์เป็นไปเพื่ออาพาธ และใครๆ ก็ไม่ได้ในปัญจขันธ์ว่า
ขอให้ปัญจขันธ์เป็นอย่างนี้ อย่าเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น จึงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน นี้เป็นเหตุผลที่ทรงชี้ในพระสูตรนี้
คำว่า เป็นไปเพื่ออาพาธ โดยทั่วไปหมายความว่า เป็นไปเพื่อความเจ็บไข้ เพราะอาพาธใช้ในความหมายว่า เจ็บไข้ แต่คำว่า อาพาธ
อาจอธิบายให้เห็นความหมายกว้างไปกว่านั้น คือ คำว่า อาพาธ แปลว่า เป็นที่ถูกเบียดเบียนเป็นที่ถูกทำลายให้หมดสิ้น
เมื่อให้คำแปลอย่างนี้ก็อาจอธิบายให้กว้างออกไปอีกว่า ปัญจขันธ์เมื่อเกิดขึ้นก็จะต้องถูกความแก่เบียดเบียน ถูกพยาธิคือความป่วยไข้เบียดเบียน
ตลอดจนถึงถูกความตายเบียดเบียน รวมความว่า เมื่อเกิดขึ้นมาก็ต้องมีแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปจนถึงดับในที่สุด
ฉะนั้น จึงต้องถูกความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและถูกความดับเบียดเบียนทำ ลายล้างให้หมดสิ้น
จะพึงเห็นได้ว่า รูปขันธ์ กองรูป ก็เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ ตั้งแต่เกิดมาจนบัดนี้ก็เปลี่ยนแปลงเรื่อยมา
แต่อาศัยบุคคลบริโภคอาหารเข้าไปทำนุบำรุงคอยซ่อมส่วนที่สึกหรออยู่เสมอ จึงรู้สึกมีความสืบต่อเรื่อยมา
แม้แต่ในทางการแพทย์ปัจจุบันก็รับรองว่า แม้ส่วนที่แข็งที่สุดในร่างกาย เช่น กระดูก ก็เปลี่ยนไปอยู่ กระดูกเมื่อเกิดกับกระดูกในบัดนี้ ก็เป็นคนละส่วนแล้ว
ส่วนที่อ่อนกว่านั้น เช่น เนื้อหนัง ก็ยิ่งจะเปลี่ยนไปได้เร็ว ฉะนั้น รูปขันธ์ก็มีความเกิดดับอยู่เรื่อย
แต่อาศัยที่มี สันตติ คือความสืบต่อ เพราะชีวิตยังดำ รงอยู่จึงยังเป็นมาได้ เวทนาขันธ์ กองเวทนา ปรากฏเกิดดับเห็นได้ชัด
อย่างเช่น ความสุขเกิดขึ้นแล้วหายไป ความทุกข์เกิดขึ้นแล้วก็หายไป ความเป็นกลางๆ เกิดขึ้นแล้วก็หายไป เปลี่ยนกันไปอยู่เสมอ
สัญญาขันธ์ กองสัญญา ความจำ หมาย ก็เกิดดับอยู่เสมอ สังขารขันธ์ กองสังขาร คือความคิดปรุงหรือ ความปรุงคิดเป็นเรื่องต่างๆ ก็เกิดดับอยู่เสมอ
วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ ก็เกิดดับอยู่เสมอ
คราวนี้ควรจะทำความเข้าใจคำ ว่า วิญญาณ ได้เคยให้ความหมายทั่วๆ ไปไว้แล้วว่า หมายถึงใจ หมายถึงสภาพที่จะไปเกิดต่อไป
หมายถึง ความรู้สึกเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น
ที่หมายถึงใจหรือหมายถึงสภาพที่จะเวียนเกิดต่อไปนั้น เป็นความหมายที่เข้าใจกันอยู่ ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
แม้ในเรื่องทางพระพุทธศาสนาเองที่เป็นเรื่องเล่า เมื่อเล่าถึงสิ่งที่จะไปเวียนเกิด ใช้คำว่า วิญญาณ ก็มี
แต่ความหมายในปัญจขันธ์นี้ ไม่ใช่หมายความถึงสภาพ เช่นนั้น แต่หมายถึงความรู้สึกเห็นรูป ในเมื่อตากับรูปกระทบกัน อันเรียกว่า จักขุวิญญาณ
ความรู้สึกได้ยินเสียง ในเวลาที่หูกับเสียงกระทบกัน เรียกว่า โสตวิญญาณ ความรู้สึกได้กลิ่น ในเมื่อฆานะกับกลิ่นกระทบกัน เรียกว่า ฆานวิญญาณ
ความรู้สึกในรส ในเมื่อลิ้นกับรสกระทบกันเรียกว่า ชิวหาวิญญาณ ความรู้สึกถูกต้องที่กายถูกต้อง ในเวลาที่กายกับสิ่งที่ถูกต้องกายกระทบกัน
เรียกว่า กายวิญญาณ ความรู้สึกในเรื่องที่มโนหรือมนะรู้ ในเวลาที่มนะกับเรื่องกระทบกัน เรียกว่า มโนวิญญาณวิญญาณในปัญจขันธ์
หมายถึงวิญญาณ ๖ คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางอายตนะทั้ง ๖ ดั่งกล่าวแล้ว ฉะนั้น ความรู้สึกดั่งกล่าวนี้จึงมีมาก เมื่อตาเห็นรูป
เกิดความรู้สึกเห็นรูปนี้ก็เป็นจักขุวิญญาณ ครั้นหูได้ยินเสียง ก็เกิดความรู้สึกได้ยินเสียงขึ้น ก็เป็นโสตวิญญาณเป็นต้น
เพราะฉะนั้น จึงมิใช่มีหนึ่ง แต่ว่ามีมาก จึงเรียกว่าเป็นวิญญาณขันธ์ ดั่งที่กล่าวมาแล้ว วิญญาณขันธ์ที่มีอธิบายอย่างนี้ ก็เป็นสิ่งที่เกิดดับอยู่เสมอ
ฉะนั้น ปัญจขันธ์ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ คือต้องถูกเบียดเบียน คือต้องถูกทำลายล้างให้สิ้นไป ด้วยอำนาจของความแก่ เจ็บ ตาย หรือว่า เกิด ดับ อยู่เสมอ
ใครๆ จะบังคับให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ คือบังคับให้เป็นอย่างนี้ อย่าให้เป็นอย่างนั้น ก็บังคับไม่ได้
อย่างเช่นรูปขันธ์ จะบังคับว่าจะต้องให้คงอยู่อย่างนั้น อย่าให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้
ดังที่จะพึงเห็นได้ว่าเมื่อเกิดขึ้นมาก็เปลี่ยนแปลงมาจนถึงที่สุด ใครจะชอบใจในระยะไหนและปรารถนาจะให้คงอยู่ในระยะนั้นก็ปรารถนาไม่ได้
กองเวทนาก็เหมือนกัน ก็ย่อมปรารถนาสุข แต่จะบังคับให้เป็นสุขอยู่เสมอไม่ได้ ทุกข์ก็เหมือนกัน เมื่อทุกข์เกิดขึ้น โดยปกติก็ไม่ชอบ
แต่ทุกข์นั้นก็ต้องถูกเบียดเบียนเหมือนกัน คือว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหายไป แล้วเกิดอย่างอื่นขึ้นแทน
กองสัญญาก็เหมือนกัน จะบังคับให้จำได้หมายรู้อยู่ตลอดไปก็ไม่ได้เหมือนกัน
กองสังขาร คือความคิดปรุงหรือความปรุงคิดก็ไม่ได้เหมือนกัน
และกองวิญญาณคือ ความรู้สึกทางอายตนะดั่งกล่าวมานั้น ก็เหมือนกัน บังคับให้เป็นไปตามความปรารถนาไม่ได้
เพราะเหตุที่บังคับไม่ได้ดั่งกล่าวมานี้ ปัญจขันธ์ต้องเป็นไปเพื่ออาพาธ ต้องเป็นไปตามคติธรรมดา ฉะนั้น จึงเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตาตัวตน
ตามลักษณะนี้พึงเห็นว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาตัวตนนั้น ก็ควรจะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ เป็นสิ่งที่บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาได้
ถ้าไม่เป็น เช่นนั้นก็ไม่ชื่อว่าอัตตา ดั่งเช่นปัญจขันธ์ ซึ่งเป็นที่ยึดถือว่าเป็นอัตตา
เมื่อพิจารณาแล้วก็จะพึงเห็นว่าไม่ใช่ แต่เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ด้วยเหตุผลดั่งที่กล่าวมานี้
๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า หน้า ๖๖ - ๗๐
พระนิพนธ์
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พ ร ะ นิ พ น ธ์ เ พื่ อ ค ว า ม ส วั ส ดี แ ห่ ง ชี วิ ต
แ ล ะ พ ร ะ ค ติ ธ ร ร ม เ พื่ อ เ ป็ น แ ส ง ส่ อ ง ใจ