สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
ปัญหาอยู่ที่ไหนก็แก้ตรงนั้นสิครับ คุณหมอ
อะไร..? ทำให้ต้นทุนของหลักประกันสุขภาพสูง จนส่งผลกับงบประมาณที่รัฐต้องสนับสนุน
ค่าแรงหมอ..?
หรือว่าต้นทุนยา..?
ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข เคยส่งเสริมงานวิจัย ให้หน่วยงานของ สาธารณสุขเองไทยสามารถผลิตยารักษาโรคได้เองไหม เพื่อเป็นการลดต้นทุน ซึ่งไม่จำเป็นต้องผลิตยาทุกชนิดครอบคลุมทุกโรคหรอก เอาแค่ยาที่จำเป็นต้องใช้จริง และใช้เป็นจำนวนมากๆแค่ 1-20 ชนิดก่อนก็ได้
หรือไม่เคยคิดเรื่องนี้เลย งบวิจัย งบพัฒนาบุคลากรของกระทรวง มีไหม..ฦ จัดสรรอย่างไร..?
นอกจากสั่งยาราคาแพงจากต่างประเทศเท่านั้น ท่านเคยคิดเรื่องที่ผมว่าบ้างหรือเปล่า..?
หรือคิดแต่ไม่ทำ เพราะเดี๋ยวไปทับทางใคร กลัวจะมีวงแตกในวงการหมอหรืออย่างไร..?
อะไร..? ทำให้ต้นทุนของหลักประกันสุขภาพสูง จนส่งผลกับงบประมาณที่รัฐต้องสนับสนุน
ค่าแรงหมอ..?
หรือว่าต้นทุนยา..?
ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข เคยส่งเสริมงานวิจัย ให้หน่วยงานของ สาธารณสุขเองไทยสามารถผลิตยารักษาโรคได้เองไหม เพื่อเป็นการลดต้นทุน ซึ่งไม่จำเป็นต้องผลิตยาทุกชนิดครอบคลุมทุกโรคหรอก เอาแค่ยาที่จำเป็นต้องใช้จริง และใช้เป็นจำนวนมากๆแค่ 1-20 ชนิดก่อนก็ได้
หรือไม่เคยคิดเรื่องนี้เลย งบวิจัย งบพัฒนาบุคลากรของกระทรวง มีไหม..ฦ จัดสรรอย่างไร..?
นอกจากสั่งยาราคาแพงจากต่างประเทศเท่านั้น ท่านเคยคิดเรื่องที่ผมว่าบ้างหรือเปล่า..?
หรือคิดแต่ไม่ทำ เพราะเดี๋ยวไปทับทางใคร กลัวจะมีวงแตกในวงการหมอหรืออย่างไร..?
แสดงความคิดเห็น
JJNY : บัตรทองจ่อถังแตก!! ใช้งบสูง 16-17% ดันแนวทาง“ประชาชนร่วมจ่าย” ป้องกัน รพ.ล้ม
นพ.ปิยะสกล กล่าวอีกว่า ในปี 2559 ประชารัฐจะต้องร่วมสร้างความมั่นคงและยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าจะดำเนินการแบบไหน อย่างไร จะให้รัฐบาลรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียวไม่ไหว ใครจะช่วยจ่ายระบบอย่างไรต้องมาหารือร่วมกัน ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการจัดทำแนวทางเพื่อระดมทรัพยากรเพื่อความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพที่มี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธานและนายอัมมาร สยามวาลา เป็นที่ปรึกษา ได้เสนอภาพรวมว่าจะต้องดำเนินการแบบ ยั่งยืน เข้าถึงได้ มีความเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ถือเป็นแนวทางที่ดี แต่ต้องมีกระบวนการมีเงินมาช่วยระบบนอกเหนือจากงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเดียว และไม่มีประเทศไหนที่รวมกว่าประเทศไทยกล้าที่จะใช้งบประมาณจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ประเทศไทยต้องยอมรับความจริง
“ทุกคนบอกว่าถ้าพูดเรื่องให้ประชาชนร่วมจ่ายจะถูกตี แต่ผมก็ต้องยอมให้ถูกตี ถ้าไม่มีใครกล้าที่จะปรับปรุงระบบ ก็จะต้องปล่อยให้หลักประกันแห่งชาติเจ๊ง เรื่องนี้ถ้าใครไม่เห็นด้วยก็ต้องเสนอแนวทางมาให้ว่าจะให้ทำอย่างไร ถ้าบอกว่าประชารัฐร่วมกันแล้วไม่ดี ก็ต้องบอกมาว่าที่ดีต้องทำอย่างไร จะพัฒนาประเทศอย่างไร แต่ประชารัฐต้องมีส่วนร่วมเรื่องหลักประกันสุขภาพฯทำให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ต้องเดินหน้าและยืนอยู่บนความจริง ซึ่งการที่จะประชารัฐจะร่วมกันก็มีหลายรูปแบบมากมาย ต้องมาคุยกันด้วยเหตุและผล ไม่ใช่ตีก่อนเลย และในวันที่ 29 ธันวาคม 2558 จะเชิญคณะกรรมการฯที่มี นพ.สุวิทย์ เป็นประธานมาประชุมร่วมกัน จากนั้นจะตั้งคณะทำงานเพื่อเดินหน้าต่อทันที และยินดีมากหากภาคประชาชนจะเข้ามาร่วมเสนอแนวทาง เพราะทุกคนเป็นเจ้าของประเทศเหมือนกัน ปัญหาต้องได้รับการแก้ไข” นพ.ปิยะสกลกล่าว
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมามีการติงว่าสวัสดิการข้าราชการใช้งบประมาณในการรักษาพยาบาลมากกว่าระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.ปิยะสกล กล่าวว่า ข้าราชการเงินเดือนน้อยกว่าเอกชน การให้สิทธิการรักษาพยาบาลก็เป็นการให้สวัสดิการ มิฉะนั้น ต้องเพิ่มเงินเดือนให้ข้าราชการแล้วมาจ่ายรักษาพยาบาลเท่ากัน