รัฐบาลจับมือทุนใหญ่-ภาคประชาชน ตั้งบริษัทประชารัฐฯ หวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจรากหญ้า ผ่านเกษตร-แปรรูป-ท่องเที่ยวให้ “เสี่ยเบียร์ช้าง” นำทีมจดทะเบียนทั่วประเทศ นำร่องก่อน 4 จังหวัด
http://news.thaipbs.or.th/content/252036
วันนี้ (30 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 เม.ย. เว็บไซต์ www.thaigov.go.th รายงานว่า เวลา 09.00 น. ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่ และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามการจัดตั้ง “บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประเทศไทย จำกัด” โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ประกอบการภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีลงนามดังกล่าว
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ได้กล่าวรายงานสรุปเกี่ยวกับรายละเอียดการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐว่า คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ทำงานภายใต้เป้าหมายการสร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข และเพื่อประชาชนที่ยังขาดโอกาสได้รับการช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ สนับสนุนด้านการค้าเพื่อความสุขที่ยั่งยืนและมั่นคง โดยมีวิธีการดำเนินงาน 1 เป้าหมาย กลุ่มงาน 5 กระบวนการ 76 จังหวัด และอีก 1 ส่วนกลาง
คือเน้นการสร้างรายได้ให้ชุมชนผ่าน 3 กลุ่มงาน ได้แก่ เกษตร แปรรูป และท่องเที่ยวโดยชุมชน เน้น 5 กระบวนการจัดการที่ให้ความสำคัญตลอด Value chain ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง ซึ่งส่วนที่สำคัญคือ การลงมือปฏิบัติในพื้นที่ ที่ใช้โครงสร้างของ Social Enterprise หรือ วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่จะจัดตั้ง SE holding ระดับประเทศ หรือที่เรียกว่า บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งนี้ ในทุกจังหวัด 76 จังหวัด จะมีการจัดตั้งบริษัทในแต่ละจังหวัด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้นำคณะทุกภาคส่วนเปิดบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำกัด ไปแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา และในวันนี้ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ขึ้นอีก 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งเป็นบริษัทใน 5 กลุ่มจังหวัด ที่มีแผนดำเนินการในระยะที่ 1 กำหนดให้จัดตั้งแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้ ส่วนระยะที่ 2 ดำเนินการ 6 จังหวัด ระยะที่ 3 ดำเนินการ 7 จังหวัด โดยกำหนดการดำเนินการไว้เดือนมิถุนายนและเดือนกันยายน 2559 ตามลำดับ และการดำเนินการระยะที่ 4 คือจังหวัดข้างเคียงในกลุ่มจังหวัดนั้น ๆ ซึ่งจะครบ 76 จังหวัด ภายในเดือนธันวาคม 2559 ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวในแต่ละช่วงระยะเวลาจะครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย โดยยึดความพร้อมของชุมชนเป็นตัวตั้งในการดำเนินการ
สำหรับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้จัดตั้งขึ้นวันนี้ เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพลังประชารัฐ โดยจะทำงานช่วยชุมชนในเรื่องบริหารจัดการองค์ความรู้ ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การสร้างตราสินค้าและมาตรฐานการรับรองสินค้า ช่วยการบริหารขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชน สร้างความต้องการและหาช่องทางการตลาด การจัดจำหน่ายและเชื่อมโยงการตลาดในระดับประเทศ ส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนใน 3 กลุ่มงาน เกษตร แปรรูป และท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อให้เกิดสัมมาชีพเต็มพื้นที่ โดยมี KPI หรือตัวชี้วัดที่จะประเมินผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เน้นประชาชนที่ประสบปัญหาความยากจนเพื่อเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการให้ประชาชนทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติ และเพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ส่งเสริมพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมทั้งประเทศเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตลอดไป
จากนั้น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รมว.มหาดไทย และภาคเอกชน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามการจัดตั้ง “บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประเทศไทย จำกัด” ซึ่งลงนามโดยผู้ประกอบการภาคเอกชนส่วนกลาง ตัวแทนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอนหนึ่งของการมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่ว่า จากที่ได้รับฟังรายงานจากหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ทำให้เห็นถึงแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านกลไกประชารัฐตามนโยบายของรัฐบาล โดยเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า วันนี้ทุกคนกำลังเดินหน้าไปด้วยกันทั้งระบบตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง เพราะการแก้ปัญหาทุกอย่างต้องเริ่มจากต้นทางหรือต้นเหตุแห่งปัญหาก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งยุทธศาสตร์ในด้านการพัฒนา คือ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยเป็นการเข้าใจและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ว่ามีความต้องการหรือยังขาดในเรื่องใด เพื่อจะนำมาสู่แนวทางกระบวนการแก้ไขปัญหา ก่อนนำไปสู่ปลายทางคือการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ทำให้ประชาชนมีความสุข มีรายได้ที่เพียงพอในการเลี้ยงตน สามารถที่จะเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้ อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ต้องมีการเชื่อมโยงกันในเรื่องของการปลูกจิตสำนึกและอุดมการณ์ โดยทุกภาคส่วนต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถพึ่งตนเองได้ก่อน ซึ่งการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่วันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นกระบวนการที่จะใช้ไฟฉายขนาดใหญ่ส่องสว่างให้ประเทศไทยซึ่งถูกความมืดปกคลุมมาเป็นเวลานาน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกเรื่องในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ประชาชน ต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานอำนาจให้แล้วในการบริหารราชการระดับพื้นที่ และหลักของการแก้ไขปัญหาคือมุ่งทำให้ประเทศชาติปลอดภัย มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ขณะเดียวกันทุกภาคส่วนต้องสร้างการรับรู้ให้ประชาชน เกษตรกรเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาลอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันการสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากฝ่ายที่ไม่หวังดีซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้าไม่เป็นไปตามที่กำหนด
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หลังจากที่ได้ประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ทั้ง 12 คณะ ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ได้มีการหารือถึงเจตนารมณ์ความทุ่มเทของรัฐบาล และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่เข้ามาร่วมกันดำเนินการดังกล่าว ซึ่งวันนี้เป็นการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศโดยใช้กลไกของประชารัฐ เพื่อรวบรวมสาขาย่อยทุกจังหวัดเข้ามา เพื่อให้จัดตั้งบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องการจัดองค์กร การบริหาร การผลิต การแปรรูป และการตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งส่วนภูมิภาคต่อภูมิภาค กลุ่มจังหวัดต่อกลุ่มจังหวัด และภายในจังหวัดเอง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนำไปสู่การขยายตลาดในการจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการผลิตจำหน่ายสินค้า มีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ทุกฝ่ายพร้อมที่จะเสียสละทุ่มเททำงานผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อที่จะทำให้ประชาชนมีความสุข มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประเทศชาติเข้มแข็ง มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มนวัตกรรมในการผลิต แปรรูปให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม มีการจำหน่ายสินค้าระหว่างกันภายในประเทศและขยายตลาดไปจำหน่ายในต่างประเทศได้มากขึ้น
พร้อมทั้งฝากให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกภาคส่วน และสื่อมวลชน เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบเข้าใจถึงเจตนารมณ์และความตั้งใจจริงของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนมีความสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประเทศไทยอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างเข้มแข็ง และทำให้การแก้ไขปัญหาของประเทศบรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามห้วงเวลาที่กำหนด ขณะเดียวกันขอให้นำวิฤตที่เกิดขึ้นมาเป็นโอกาสและความท้าทายในการร่วมกันปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในทุกกิจกรรมการทำงาน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้มีการวางโครงสร้างการทำงานใหม่ทั้งระบบ เช่น ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การเชื่อมโยงภาคเอกชนและภาคประชาสังคมตามแนวคิดประชารัฐ ซึ่งทุกภาคส่วนมีความสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไปด้วยกัน โดยให้มองและเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของประเทศให้ถ่องแท้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสมดุลในทุกมิติ ขณะที่บริหารงานในระดับพื้นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนทั้งที่เป็นงาน function และงาน agenda มีการเตรียมวางรากฐานของประเทศให้แข็งแรงสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต ตลอดจนให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกัน และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อทำให้ประเทศชาติปลอดภัยอย่างยั่งยืนและขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้
ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมนิทรรศการสานพลังประชารัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีฯ จ.ภูเก็ต เพชรบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ และบุรีรัมย์
ทั้งนี้ ภายหลังนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่แล้ว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พร้อมรมช.มหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ชี้แจงแนวทางและการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากฯ ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคส่วนต่างๆ รับทราบเพื่อนำไปปฏิบัติและร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
เปิดแล้วว...บริษัทประชารัฐจำกัด ประชาชนถือหุ้นส่วนใหญ่ “เสี่ยเบียร์ช้าง” ยิ้มแป้น
http://news.thaipbs.or.th/content/252036
วันนี้ (30 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 เม.ย. เว็บไซต์ www.thaigov.go.th รายงานว่า เวลา 09.00 น. ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่ และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามการจัดตั้ง “บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประเทศไทย จำกัด” โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ประกอบการภาคเอกชน ตัวแทนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนเข้าร่วมพิธีลงนามดังกล่าว
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ได้กล่าวรายงานสรุปเกี่ยวกับรายละเอียดการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐว่า คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ทำงานภายใต้เป้าหมายการสร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข และเพื่อประชาชนที่ยังขาดโอกาสได้รับการช่วยเหลือด้านองค์ความรู้ สนับสนุนด้านการค้าเพื่อความสุขที่ยั่งยืนและมั่นคง โดยมีวิธีการดำเนินงาน 1 เป้าหมาย กลุ่มงาน 5 กระบวนการ 76 จังหวัด และอีก 1 ส่วนกลาง
คือเน้นการสร้างรายได้ให้ชุมชนผ่าน 3 กลุ่มงาน ได้แก่ เกษตร แปรรูป และท่องเที่ยวโดยชุมชน เน้น 5 กระบวนการจัดการที่ให้ความสำคัญตลอด Value chain ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง ซึ่งส่วนที่สำคัญคือ การลงมือปฏิบัติในพื้นที่ ที่ใช้โครงสร้างของ Social Enterprise หรือ วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่จะจัดตั้ง SE holding ระดับประเทศ หรือที่เรียกว่า บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด ทั้งนี้ ในทุกจังหวัด 76 จังหวัด จะมีการจัดตั้งบริษัทในแต่ละจังหวัด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้นำคณะทุกภาคส่วนเปิดบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีภูเก็ต จำกัด ไปแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา และในวันนี้ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ขึ้นอีก 4 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งเป็นบริษัทใน 5 กลุ่มจังหวัด ที่มีแผนดำเนินการในระยะที่ 1 กำหนดให้จัดตั้งแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายนนี้ ส่วนระยะที่ 2 ดำเนินการ 6 จังหวัด ระยะที่ 3 ดำเนินการ 7 จังหวัด โดยกำหนดการดำเนินการไว้เดือนมิถุนายนและเดือนกันยายน 2559 ตามลำดับ และการดำเนินการระยะที่ 4 คือจังหวัดข้างเคียงในกลุ่มจังหวัดนั้น ๆ ซึ่งจะครบ 76 จังหวัด ภายในเดือนธันวาคม 2559 ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวในแต่ละช่วงระยะเวลาจะครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย โดยยึดความพร้อมของชุมชนเป็นตัวตั้งในการดำเนินการ
สำหรับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้จัดตั้งขึ้นวันนี้ เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพลังประชารัฐ โดยจะทำงานช่วยชุมชนในเรื่องบริหารจัดการองค์ความรู้ ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าและรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ การสร้างตราสินค้าและมาตรฐานการรับรองสินค้า ช่วยการบริหารขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าชุมชน สร้างความต้องการและหาช่องทางการตลาด การจัดจำหน่ายและเชื่อมโยงการตลาดในระดับประเทศ ส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้ชุมชนใน 3 กลุ่มงาน เกษตร แปรรูป และท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อให้เกิดสัมมาชีพเต็มพื้นที่ โดยมี KPI หรือตัวชี้วัดที่จะประเมินผลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เน้นประชาชนที่ประสบปัญหาความยากจนเพื่อเพิ่มรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญในการให้ประชาชนทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติ และเพื่อให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ส่งเสริมพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมทั้งประเทศเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตลอดไป
จากนั้น นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รมว.มหาดไทย และภาคเอกชน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามการจัดตั้ง “บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีประเทศไทย จำกัด” ซึ่งลงนามโดยผู้ประกอบการภาคเอกชนส่วนกลาง ตัวแทนภาคประชาชน ภาคประชาสังคม
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอนหนึ่งของการมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่ว่า จากที่ได้รับฟังรายงานจากหัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ทำให้เห็นถึงแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านกลไกประชารัฐตามนโยบายของรัฐบาล โดยเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า วันนี้ทุกคนกำลังเดินหน้าไปด้วยกันทั้งระบบตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง เพราะการแก้ปัญหาทุกอย่างต้องเริ่มจากต้นทางหรือต้นเหตุแห่งปัญหาก่อน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับสั่งยุทธศาสตร์ในด้านการพัฒนา คือ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยเป็นการเข้าใจและเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ว่ามีความต้องการหรือยังขาดในเรื่องใด เพื่อจะนำมาสู่แนวทางกระบวนการแก้ไขปัญหา ก่อนนำไปสู่ปลายทางคือการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ทำให้ประชาชนมีความสุข มีรายได้ที่เพียงพอในการเลี้ยงตน สามารถที่จะเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้ อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ต้องมีการเชื่อมโยงกันในเรื่องของการปลูกจิตสำนึกและอุดมการณ์ โดยทุกภาคส่วนต้องเข้าไปช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสามารถพึ่งตนเองได้ก่อน ซึ่งการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่วันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นกระบวนการที่จะใช้ไฟฉายขนาดใหญ่ส่องสว่างให้ประเทศไทยซึ่งถูกความมืดปกคลุมมาเป็นเวลานาน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนทุกเรื่องในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ประชาชน ต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานอำนาจให้แล้วในการบริหารราชการระดับพื้นที่ และหลักของการแก้ไขปัญหาคือมุ่งทำให้ประเทศชาติปลอดภัย มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ขณะเดียวกันทุกภาคส่วนต้องสร้างการรับรู้ให้ประชาชน เกษตรกรเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานและนโยบายของรัฐบาลอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันการสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากฝ่ายที่ไม่หวังดีซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้าไม่เป็นไปตามที่กำหนด
พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า หลังจากที่ได้ประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ ทั้ง 12 คณะ ไปแล้วเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2559 ที่ผ่านมา ได้มีการหารือถึงเจตนารมณ์ความทุ่มเทของรัฐบาล และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่เข้ามาร่วมกันดำเนินการดังกล่าว ซึ่งวันนี้เป็นการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศโดยใช้กลไกของประชารัฐ เพื่อรวบรวมสาขาย่อยทุกจังหวัดเข้ามา เพื่อให้จัดตั้งบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งให้ความรู้ในเรื่องการจัดองค์กร การบริหาร การผลิต การแปรรูป และการตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งส่วนภูมิภาคต่อภูมิภาค กลุ่มจังหวัดต่อกลุ่มจังหวัด และภายในจังหวัดเอง เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และนำไปสู่การขยายตลาดในการจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการผลิตจำหน่ายสินค้า มีรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ทุกฝ่ายพร้อมที่จะเสียสละทุ่มเททำงานผ่านกลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ประชาชนในพื้นที่ และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อที่จะทำให้ประชาชนมีความสุข มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประเทศชาติเข้มแข็ง มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มนวัตกรรมในการผลิต แปรรูปให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม มีการจำหน่ายสินค้าระหว่างกันภายในประเทศและขยายตลาดไปจำหน่ายในต่างประเทศได้มากขึ้น
พร้อมทั้งฝากให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกภาคส่วน และสื่อมวลชน เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนรับทราบเข้าใจถึงเจตนารมณ์และความตั้งใจจริงของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนมีความสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประเทศไทยอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างเข้มแข็ง และทำให้การแก้ไขปัญหาของประเทศบรรลุผลสำเร็จเป็นไปตามห้วงเวลาที่กำหนด ขณะเดียวกันขอให้นำวิฤตที่เกิดขึ้นมาเป็นโอกาสและความท้าทายในการร่วมกันปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในทุกกิจกรรมการทำงาน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้มีการวางโครงสร้างการทำงานใหม่ทั้งระบบ เช่น ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การเชื่อมโยงภาคเอกชนและภาคประชาสังคมตามแนวคิดประชารัฐ ซึ่งทุกภาคส่วนมีความสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไปด้วยกัน โดยให้มองและเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของประเทศให้ถ่องแท้ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างสมดุลในทุกมิติ ขณะที่บริหารงานในระดับพื้นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนทั้งที่เป็นงาน function และงาน agenda มีการเตรียมวางรากฐานของประเทศให้แข็งแรงสำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต ตลอดจนให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกัน และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อทำให้ประเทศชาติปลอดภัยอย่างยั่งยืนและขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้
ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้เยี่ยมชมนิทรรศการสานพลังประชารัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ บริษัทประชารัฐรักสามัคคีฯ จ.ภูเก็ต เพชรบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ และบุรีรัมย์
ทั้งนี้ ภายหลังนายกรัฐมนตรี มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสานพลังประชารัฐ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐในระดับพื้นที่แล้ว พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พร้อมรมช.มหาดไทย ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ชี้แจงแนวทางและการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากฯ ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคส่วนต่างๆ รับทราบเพื่อนำไปปฏิบัติและร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป