ความจริงคุณ “ตระกองขวัญ” ได้อธิบายไปแล้วเรื่องนี้ ผมขออนุญาตต่อยอดจากที่รู้และได้ไปศึกษาเพิ่มเติมมา เพราะยังมีหลายท่านมองว่า
การล็อบบี้และคนทำหน้าที่เป็นเรื่องไม่ดี สังเกตุว่าผมใช้คำว่า “หน้าที่” แทนคำว่าการ “เข้าไป” ล็อบบี้ เพราะการล็อบบี้ ส.ส จะในหรือนอกสภาเป็น “อาชีพ” และส่วนใหญ่ในอเมริกาหรือยุโรปจะใช้มืออาชีพ เซอร์วินส์ตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษก็เคยเป็นนักล้อบบี้มาก่อน และเคยล็อบบี้สำเร็จเกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันให้กับบริษัทบีพี
โดยทั่วไป เราเข้าใจว่าการล็อบบี้ก็คือการติดสินบน ซึ่งอาจจะมีส่วนถูกเพียงน้อยนิด.....การล็อบบี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางประชาธิปไตยอันสามารถจะทำได้ การล็อบบี้คือการพยายามโน้มน้าวซึ่งการโน้มน้าวนี้อาจจะให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ การล็อบบี้ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่าง ส.ส กับนักล็อบบี้ (lobbyist) แต่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเรา ผมจะยกตัวอย่างเช่น เมื่อเจ้าจ้อนอยากจะได้ไอแพด เขาอาจจะไปพูดให้พ่อแม่ซื้อให้เขาโดยตรง แต่เมื่อคิดไปคิดมานั่นอาจจะไม่ได้ผลและไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จ้อนจึงไปพูดอ้อนกับแม่ให้ไปพูดกับพ่อเรื่องไอแพด จ้อนอาจจะหอมแก้มแม่ฟอดหนึ่งในการขอร้องตรงนั้น.....นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า “ล็อบบี้” ที่เราอาจจะไม่รู้ตัว
ในซีกโลกตะวันตก อาชีพนักล็อบบี้เป็นอาชีพที่ใช้ศิลปะในการพูด การรู้จักเข้าหาคนเป็นอย่างสูง(และเข้าให้ถูกคนด้วย) เอาเฉพาะส่วนการเมือง ผมเคยอ่านเจอว่าบางที ส.ส คนหนึ่งอาจจะมีนักล็อบบี้ไปเยี่ยมบ้านอาทิตย์หนึ่งร้อยถึงสองร้อยครั้ง!! การล็อบบี้ที่ดีและนำมาซึ่งผลประโยชน์ต่อส่วนรวมนั้นตั้งอยู่บนความซื่อสัตย์ในหน้าที่ของสองฝ่าย ส่วนเรื่องการให้ “สินบน” หรือ “ของกำนัล” นั้น มีกฏกำหนดว่าให้ได้จำนวนเท่านั้นเท่านี้ เหมือนกฏเหล็กของพรรคประชาธิปัตย์เคยตั้งเอาไว้นั่นแหละครับ(ตรงนี้ถือว่าเป็นสิ่งดี)
การ “ล็อบบี้” เป็นกระบวนการหนึ่งทีอนุญาตหรือเปิดเวทีให้ “เสียงส่วนน้อย” ได้พูดหรือน้อยๆ ได้แสดงออก การประท้วงของชาวนากลุ่มเล็กๆ ก็จัดว่าเป็นกระบวนการล็อบบี้ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ผล.....ตรงนี้แหละที่ต้องใช้ “นักล็อบบี้” มืออาชีพเข้ามาช่วย ในต่างประเทศ...จะมีนักล็อบบี้มืออาชีพและนักล็อบบี้อาสาสมัคร พวกเขาจะมีคอนเน็คชั่นที่ชาวบ้านอย่างเราไม่มี เพราะมัวแต่ไปประท้วงนั่งตากแดดตากลมเป็นอาทิตย์ๆ แทบจะไม่มีอะไรดีขึ้น การว่าจ้างนักล็อบบี้มืออาชีพจึงดูจะง่ายกว่า พวกนี้เขาเดินเข้ารัฐสภาได้เลย....แล้วสามารถนำเสียงร้องทุกข์ของชาวบ้านพร้อมกับพยายามพูดโน้มน้าวแทนชาวบ้านถึงมือและกรอกหูส.ส ได้ ไม่ใช่เรื่องผิดกฏหมายหรือเรื่องเลวร้ายอย่างไร?
ที่อังกฤษ กว่าจะมีการอนุญาตให้สตรีมีสิทธิ์เท่าเทียมบุรุษได้นั้น กระบวนด้านประชาธิปไตยตรงนี้ผ่านการล็อบบี้มาน้อยๆ สองถึงสามปี! หรือจะให้ชัดเจดอีกนิด การที่พระนางประชาบดีโคตมีพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าได้ขอบวชเป็นภิกษุณี แล้วพระอานนท์ทำหน้าที่ไปโน้มน้าวพระพุทธเจ้า ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “ล็อบบี้” หรือกรณีของสมเด็จพระวันรัตน์พระอาจารย์ของสมเด็จพระณเรศวรได้ไปขอบิณฑบาตไว้ชีวิตเหล่าทหารที่สมเด็จพระณเรศวรกำลังจะสั่งประหารเพราะแตกทัพในช่วงต่อสู้กับพระมหาอุปราชแห่งพม่า นี่ก็คือกระบวนการล็อบบี้
อดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งบริหารประเทศมาอย่างยาวนานถึงแปดปี การครองตำแหน่งอย่างยาวนานตรงได้นั้น หนึ่งในสาเหตุหลักก็มาจกการ “ล็อบบี้” เพราะอดีตนายกฯ ท่านนี้ไม่ชอบการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งคณะ นักล็อบบี้ที่ล็อบบี้ไม่ให้เกิดการอภิปรายไว้วางใจครั้งสุดท้ายในสมัยท่านนั้น สื่อบอกว่า ไปล็อบบี้ในห้องน้ำที่รัฐสภาเลย....ซึ่งต่อมานักล็อบบี้ท่านนี้ก็ได้เป็นถึงประธานรัฐสภา
คำว่า “ล็อบบี้” คือคำภาษาอังกฤษที่ว่า lobby ห้องนั่งเล่นหรือพักผ่อนซึ่งจะมีไว้ในรัฐสภาสำหรับส.สมานั่งพูดคุยกันระหว่างพัก การพูดคุยกันตรงนั้นสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจหรือเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในเรื่องที่จะบรรจุเข้าวาระการประชุมได้ นั่นแหละคือที่มาของคำว่าล็อบบี้ และคนที่ล็อบบี้ก็เรียกว่า ล็อบบี้ยิสต์ (lobbyist) นั่นเอง
ถ้าเห็นว่าข้อความนี้มีประโยชน์กดอีโมใดอีโมหนึ่งก็ได้นะครับ ขำกลิ้ง หลงรัก ชอบ อะไรก็ได้ แต่อย่ากดโหวตเลย แหะ แหะ แหะ ผมเสียว(ไม่อยากจะอยู่ที่สูง โดนสอยง่าย)
…..การล็อบบี้ เป็นหนึ่งในกระบวนการทางประชาธิปไตยไหม? กระทู้นี้ไม่เกี่ยวกับสีเสื้อแดงเหลือง...
โดยทั่วไป เราเข้าใจว่าการล็อบบี้ก็คือการติดสินบน ซึ่งอาจจะมีส่วนถูกเพียงน้อยนิด.....การล็อบบี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางประชาธิปไตยอันสามารถจะทำได้ การล็อบบี้คือการพยายามโน้มน้าวซึ่งการโน้มน้าวนี้อาจจะให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ การล็อบบี้ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่าง ส.ส กับนักล็อบบี้ (lobbyist) แต่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเรา ผมจะยกตัวอย่างเช่น เมื่อเจ้าจ้อนอยากจะได้ไอแพด เขาอาจจะไปพูดให้พ่อแม่ซื้อให้เขาโดยตรง แต่เมื่อคิดไปคิดมานั่นอาจจะไม่ได้ผลและไม่มีน้ำหนักเพียงพอ จ้อนจึงไปพูดอ้อนกับแม่ให้ไปพูดกับพ่อเรื่องไอแพด จ้อนอาจจะหอมแก้มแม่ฟอดหนึ่งในการขอร้องตรงนั้น.....นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า “ล็อบบี้” ที่เราอาจจะไม่รู้ตัว
ในซีกโลกตะวันตก อาชีพนักล็อบบี้เป็นอาชีพที่ใช้ศิลปะในการพูด การรู้จักเข้าหาคนเป็นอย่างสูง(และเข้าให้ถูกคนด้วย) เอาเฉพาะส่วนการเมือง ผมเคยอ่านเจอว่าบางที ส.ส คนหนึ่งอาจจะมีนักล็อบบี้ไปเยี่ยมบ้านอาทิตย์หนึ่งร้อยถึงสองร้อยครั้ง!! การล็อบบี้ที่ดีและนำมาซึ่งผลประโยชน์ต่อส่วนรวมนั้นตั้งอยู่บนความซื่อสัตย์ในหน้าที่ของสองฝ่าย ส่วนเรื่องการให้ “สินบน” หรือ “ของกำนัล” นั้น มีกฏกำหนดว่าให้ได้จำนวนเท่านั้นเท่านี้ เหมือนกฏเหล็กของพรรคประชาธิปัตย์เคยตั้งเอาไว้นั่นแหละครับ(ตรงนี้ถือว่าเป็นสิ่งดี)
การ “ล็อบบี้” เป็นกระบวนการหนึ่งทีอนุญาตหรือเปิดเวทีให้ “เสียงส่วนน้อย” ได้พูดหรือน้อยๆ ได้แสดงออก การประท้วงของชาวนากลุ่มเล็กๆ ก็จัดว่าเป็นกระบวนการล็อบบี้ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ผล.....ตรงนี้แหละที่ต้องใช้ “นักล็อบบี้” มืออาชีพเข้ามาช่วย ในต่างประเทศ...จะมีนักล็อบบี้มืออาชีพและนักล็อบบี้อาสาสมัคร พวกเขาจะมีคอนเน็คชั่นที่ชาวบ้านอย่างเราไม่มี เพราะมัวแต่ไปประท้วงนั่งตากแดดตากลมเป็นอาทิตย์ๆ แทบจะไม่มีอะไรดีขึ้น การว่าจ้างนักล็อบบี้มืออาชีพจึงดูจะง่ายกว่า พวกนี้เขาเดินเข้ารัฐสภาได้เลย....แล้วสามารถนำเสียงร้องทุกข์ของชาวบ้านพร้อมกับพยายามพูดโน้มน้าวแทนชาวบ้านถึงมือและกรอกหูส.ส ได้ ไม่ใช่เรื่องผิดกฏหมายหรือเรื่องเลวร้ายอย่างไร?
ที่อังกฤษ กว่าจะมีการอนุญาตให้สตรีมีสิทธิ์เท่าเทียมบุรุษได้นั้น กระบวนด้านประชาธิปไตยตรงนี้ผ่านการล็อบบี้มาน้อยๆ สองถึงสามปี! หรือจะให้ชัดเจดอีกนิด การที่พระนางประชาบดีโคตมีพระมารดาเลี้ยงของพระพุทธเจ้าได้ขอบวชเป็นภิกษุณี แล้วพระอานนท์ทำหน้าที่ไปโน้มน้าวพระพุทธเจ้า ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นกระบวนการที่เรียกว่า “ล็อบบี้” หรือกรณีของสมเด็จพระวันรัตน์พระอาจารย์ของสมเด็จพระณเรศวรได้ไปขอบิณฑบาตไว้ชีวิตเหล่าทหารที่สมเด็จพระณเรศวรกำลังจะสั่งประหารเพราะแตกทัพในช่วงต่อสู้กับพระมหาอุปราชแห่งพม่า นี่ก็คือกระบวนการล็อบบี้
อดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งบริหารประเทศมาอย่างยาวนานถึงแปดปี การครองตำแหน่งอย่างยาวนานตรงได้นั้น หนึ่งในสาเหตุหลักก็มาจกการ “ล็อบบี้” เพราะอดีตนายกฯ ท่านนี้ไม่ชอบการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจทั้งคณะ นักล็อบบี้ที่ล็อบบี้ไม่ให้เกิดการอภิปรายไว้วางใจครั้งสุดท้ายในสมัยท่านนั้น สื่อบอกว่า ไปล็อบบี้ในห้องน้ำที่รัฐสภาเลย....ซึ่งต่อมานักล็อบบี้ท่านนี้ก็ได้เป็นถึงประธานรัฐสภา
คำว่า “ล็อบบี้” คือคำภาษาอังกฤษที่ว่า lobby ห้องนั่งเล่นหรือพักผ่อนซึ่งจะมีไว้ในรัฐสภาสำหรับส.สมานั่งพูดคุยกันระหว่างพัก การพูดคุยกันตรงนั้นสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจหรือเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในเรื่องที่จะบรรจุเข้าวาระการประชุมได้ นั่นแหละคือที่มาของคำว่าล็อบบี้ และคนที่ล็อบบี้ก็เรียกว่า ล็อบบี้ยิสต์ (lobbyist) นั่นเอง
ถ้าเห็นว่าข้อความนี้มีประโยชน์กดอีโมใดอีโมหนึ่งก็ได้นะครับ ขำกลิ้ง หลงรัก ชอบ อะไรก็ได้ แต่อย่ากดโหวตเลย แหะ แหะ แหะ ผมเสียว(ไม่อยากจะอยู่ที่สูง โดนสอยง่าย)