การเจริญเติบโตของเด็กหลังคลอด หลายคนอาจมีความเข้าใจว่าเด็กจะเจริญเติบโตได้ดี จะฉลาดหรือมีพัฒนาการที่ดี ขึ้นกับโภชนาการหลังคลอดแล้วเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น เริ่มแรกเมื่อมีการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิ เซลล์จะมีการแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ รวมถึงสมองด้วย ดังนั้นในขณะที่มีการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่เด็กมีการเจริญเติบโต ช่องทางเดียวที่เด็กจะได้รับสารอาหารก็คือ รก ซึ่งเชื่อมระหว่างแม่และลูก เมื่อแม่รับประทานอะไรเข้าไปบางอย่างจะผ่านรกและส่งต่อไปยังลูกในครรภ์ หากแม่รับประทานสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือสิ่งที่เป็นอันตรายก็อาจส่งผลต่อลูกได้ ในทางตรงกันข้ามหากแม่รับประทานสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งร่างกายแม่ ลูกก็จะได้รับสิ่งดีๆเหล่านั้นตามไปด้วยเมื่ออยู่ในครรภ์การรับประทานอาหารที่ดีจะช่วยให้ลูกมีการเจริญเติบโตที่ดี คลอดออกมาแล้วก็จะเป็นเด็กที่มีพัฒนาการดี
ปัจจุบันเป็นความโชคดีของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหลายที่วิทยาการทางการแพทย์มีความเจริญไปมาก ทำให้เราได้ทราบเกี่ยวกับโภชนาการของแม่ขณะตั้งครรภ์ว่าจะต้องดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร อาหารประเภทใดที่สามารถรับประทานได้หรือไม่ได้ ปริมาณเท่าไหร่ที่เหมาะสม ยาชนิดใดที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ รวมถึงนมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งในนมเหล่านี้จะมีสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ ที่จำเป็นต่อทั้งความแข็งแรงของแม่และการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ทำให้เด็กที่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย ฉลาด มีการเรียนรู้ที่เร็วกว่าเด็กสมัยก่อน ดังนั้น เราสามารถบอกได้ว่า การวางแผนเลี้ยงดูลูกไม่ใช่เฉพาะตั้งแต่ลูกคลอดออกมาเท่านั้นแต่เป็นการวางแผนตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
ในระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ เด็กจะมีการสร้างอวัยวะ เกลือแร่ที่สำคัญที่จะถูกนำไปสร้างเป็นโครงสร้างของลูกจะถูกดึงไปจากแม่ดังนั้นเพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารเต็มที่และแม่ก็แข็งแรง แม่เองควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน แต่อย่าให้มากเกินไป เพราะในแม่ที่กินเกิน มีความเสี่ยงที่ลูกจะไม่แข็งแรงได้เช่นเดียวกัน
กินอย่างไรให้ลูกได้ประโยชน์
เรามาดูวันว่าแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารอย่างไร
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ กลุ่มข้าว-แป้ง กลุ่มเนื้อสัตว์ กลุ่มผัก กลุ่มผลไม้ และนม ในปริมาณที่เหมาะสม ในระยะไตรมาสต่อๆมาอาจจะต้องมีการรับประทานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเด็กในครรภ์มีการเจริญเติบขึ้น มีความต้องการสารอาหารที่มากขึ้น
สารอาหารและเกลือแร่ที่สำคัญที่จะต้องได้รับ ได้แก่ โปรตีนช่วยในการสร้างระบบเนื้อเยื่อ ไอโอดีนช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมอง ถ้าเด็กคนใดได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ จะมีไอคิวต่ำมีการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ เหล็กและโฟเลท มีส่วนช่วยเสริมการสร้างระบบเลือด แคลเซียมเสริมการสร้างระบบโครงสร้างร่างกาย สังกะสี ช่วยเสริมสร้างระบบเส้นขนหรือผม วิตามินต่างๆ มีส่วนเสริมระบบประสาทให้เจริญดี
จำนวนครั้งในการรับประทาน หญิงตั้งครรภ์หลายคนมักจะมีคำถามว่า รับประทานได้บ่อยแค่ไหน ถ้ากินบ่อยๆ จะทำให้อ้วนหรือไม่ น้ำหนักจะเกินหรือไม่ คำตอบคือ คุณแม่ควรรับประทานอาหารมื้อหลักประมาณ 3-4 มื้อ เนื่องจากร่างกายมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น แต่หากมีการรับประทานอาหารมื้อหลักมากกว่า 4 มื้อ อาจได้รับอาหารเกินความจำเป็น อาหารส่วนที่เกินจะถูกสะสมเป็นไขมัน ซึ่งส่งผลให้แม่เกิดภาวะอ้วนและเป็นโรคขณะตั้งครรภ์ได้
ในระหว่างอาหารมื้อหลัก ควรมีการรับประทานอาหารว่างเสริม เช่น นม น้ำผลไม้ ผัก ผลไม้ต่างๆ แต่ก็ไม่ควรเป็นอาหารหรือของว่างที่รสไม่หวาน เพราะหากรับประทานอาหารรสหวานหรือมีแป้งมากเกินไปเป็นประจำคุณแม่ตั้งครรภ์เองก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
อาหารหลักที่จำเป็นมากที่สุดคือ โปรตีน เพราะช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ ระบบสมอง และระบบโครงสร้าง ดังนั้นคุณแม่ควรได้รับอาหารประเภทโปรตีนอย่างสม่ำเสมอและหลากหลาย ไม่ควรรับประทานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นที่มาจากอาหารประเภทโปรตีนได้
อาหารประเภทปลา นอกจากจะให้โปรตีนแล้ว ยังให้ DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นในการสร้างเซลล์สมอง คุณแม่ควรได้รับอาหารประเภทปลา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 มื้อ อีกทั้งการรับประทานปลาเล็กปลาน้อยจะทำให้ได้รับแคลเซียมซึ่งจำเป็นในการนำไปใช้สร้างกระดูกให้แก่แม่และลูกด้วย
อาหารกลุ่มเครื่องในสัตว์ เป็นแหล่งให้ธาตุเหล็กอย่างดี โดยธาตุเหล็กนี้มีประโยชน์ในการสร้างระบบเม็ดเลือด ให้มีการสร้างเม็ดเลือดที่เพียงพอ แข็งแรง และเพื่อให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กที่ดีขึ้นควรรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม ส้ม เป็นต้น
ในไข่ มีโปรตีนคุณภาพดี อีกทั้งมีวิตามินที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มวิตามินบี ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงระบบสมองและประสาทแต่คุณแม่ไม่ควรรับประทานไข่ เกินวันละ 1 ฟอง เนื่องจากในไข่แดงของไข่ 1 ฟอง มีคอเลสเตอรอลสูงถึง 200 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณคอเลสเตอรอลที่แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์มีคือไม่เกิน 300 มิลลิกรรมต่อวัน
ไอโอดีน เป็นเกลือแร่อีกชนิดหนึ่งที่สำคัญมากเพราะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเจริญของระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เพื่อไม่ให้ขาดสารไอโอดีน ควรปรุงอาหารด้วยเกลือที่ผสมไอโอดีนแต่ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินวันละ 1 ช้อนชา เพราะการรับประทานเกลือเกินความต้องการร่างกายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงโรคไตเสื่อม
การดื่มนม จะทำให้คุณแม่ได้รับแคลเซียม ควรมีการดื่มนมอย่างสม่ำเสมอเพราะนมเป็นแหล่งแคลเซียมที่มีคุณภาพสูงเนื่องจากแคลเซียมจากนมจะถูกดูดซึมได้ดี ปริมาณแคลเซียมที่มีในนมก็มีปริมาณสูง แต่คุณแม่หลายท่านอาจพบปัญหาการดื่มนมคือ เมื่อดื่มแล้วมีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือท้องเสีย มีวิธีการป้องกันคือ
ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง
ให้เริ่มดื่มตั้งแต่ปริมาณน้อยๆ หากไม่มีอาการท้องอืดก็สามารถปรับเพิ่มได้วันละนิดละหน่อย
หากยังมีอาการอาจต้องเปลี่ยนนมจากนมธรรมดาเป็นนมที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น โยเกิร์ต แต่ต้องเลือกเป็นโยเกิร์ตชนิดน้ำตาลน้อยหรือรสธรรมชาติ เพื่อไม่ให้คุณแม่ได้
รับปริมาณของน้ำตาลมากเกินไป
น้ำ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ ไม่ควรมองข้ามไป ในวันหนึ่งๆ คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะการมีน้ำเพียงพอจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายดี เมื่อมีการไหลเวียนของเลือดดีก็จะสามารถนำส่งออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆได้อย่างเพียงพอรวมถึงส่งผ่านรกไปยังลูกในครรภ์ด้วย ปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายแม่ คำนวณได้อย่างคร่าวๆ โดยตวงปริมาณปัสสาวะที่คุณแม่ขับออกในแต่ละวัน ก็ให้คุณแม่ดื่มน้ำกลับคืนให้ได้ตามปัสสาวะที่ตวงนั้น
การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์ ยาหลายตัวมีความไม่ปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากยาบางตัวสามารถผ่านรกได้ เมื่อแม่รับประทานยานั้นก็จะมีผลต่อลูกได้ หรือยาบางตัวมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูก รุนแรงที่สุดคืออาจจะทำให้เกิดการแท้งลูกได้ หรือไม่ก็ทำให้เกิดทารกวิรูปเมื่อคลอดออกมาก็อาจจะมีอวัยวะที่ไม่สมบูรณ์ หากมีอาการเจ็บป่วย หญิงตั้งครรภ์ไม่จัดหายามารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรให้แน่ใจก่อน
ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาของการที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ การรับประทานของแม่
มีผลต่อลูกที่อยู่ในครรภ์โดยตรง ดังนั้นตัวแม่เองหากจะรับประทานอะไรก็ควรเลือกให้ดี ให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งร่างกายแม่และลูกในครรภ์ เมื่อเวลาที่ลูกคลอดออกมาจะได้เป็นเด็กที่มีสุขภาพกายและจิตที่สมบูรณ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และสมองที่ดี เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
ที่มา :
การตั้งครรภ์
แม่กินลูกได้ โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ ที่คุณแม่จำเป็นจะต้องรู้
การเจริญเติบโตของเด็กหลังคลอด หลายคนอาจมีความเข้าใจว่าเด็กจะเจริญเติบโตได้ดี จะฉลาดหรือมีพัฒนาการที่ดี ขึ้นกับโภชนาการหลังคลอดแล้วเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่เช่นนั้น เริ่มแรกเมื่อมีการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิ เซลล์จะมีการแบ่งตัวและพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ รวมถึงสมองด้วย ดังนั้นในขณะที่มีการตั้งครรภ์เป็นช่วงที่เด็กมีการเจริญเติบโต ช่องทางเดียวที่เด็กจะได้รับสารอาหารก็คือ รก ซึ่งเชื่อมระหว่างแม่และลูก เมื่อแม่รับประทานอะไรเข้าไปบางอย่างจะผ่านรกและส่งต่อไปยังลูกในครรภ์ หากแม่รับประทานสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือสิ่งที่เป็นอันตรายก็อาจส่งผลต่อลูกได้ ในทางตรงกันข้ามหากแม่รับประทานสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งร่างกายแม่ ลูกก็จะได้รับสิ่งดีๆเหล่านั้นตามไปด้วยเมื่ออยู่ในครรภ์การรับประทานอาหารที่ดีจะช่วยให้ลูกมีการเจริญเติบโตที่ดี คลอดออกมาแล้วก็จะเป็นเด็กที่มีพัฒนาการดี
ปัจจุบันเป็นความโชคดีของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหลายที่วิทยาการทางการแพทย์มีความเจริญไปมาก ทำให้เราได้ทราบเกี่ยวกับโภชนาการของแม่ขณะตั้งครรภ์ว่าจะต้องดูแลสุขภาพตนเองอย่างไร อาหารประเภทใดที่สามารถรับประทานได้หรือไม่ได้ ปริมาณเท่าไหร่ที่เหมาะสม ยาชนิดใดที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ รวมถึงนมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งในนมเหล่านี้จะมีสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ ที่จำเป็นต่อทั้งความแข็งแรงของแม่และการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ ทำให้เด็กที่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย ฉลาด มีการเรียนรู้ที่เร็วกว่าเด็กสมัยก่อน ดังนั้น เราสามารถบอกได้ว่า การวางแผนเลี้ยงดูลูกไม่ใช่เฉพาะตั้งแต่ลูกคลอดออกมาเท่านั้นแต่เป็นการวางแผนตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
ในระหว่างที่มีการตั้งครรภ์ เด็กจะมีการสร้างอวัยวะ เกลือแร่ที่สำคัญที่จะถูกนำไปสร้างเป็นโครงสร้างของลูกจะถูกดึงไปจากแม่ดังนั้นเพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารเต็มที่และแม่ก็แข็งแรง แม่เองควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน แต่อย่าให้มากเกินไป เพราะในแม่ที่กินเกิน มีความเสี่ยงที่ลูกจะไม่แข็งแรงได้เช่นเดียวกัน
กินอย่างไรให้ลูกได้ประโยชน์
เรามาดูวันว่าแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารอย่างไร
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ได้แก่ กลุ่มข้าว-แป้ง กลุ่มเนื้อสัตว์ กลุ่มผัก กลุ่มผลไม้ และนม ในปริมาณที่เหมาะสม ในระยะไตรมาสต่อๆมาอาจจะต้องมีการรับประทานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเด็กในครรภ์มีการเจริญเติบขึ้น มีความต้องการสารอาหารที่มากขึ้น
สารอาหารและเกลือแร่ที่สำคัญที่จะต้องได้รับ ได้แก่ โปรตีนช่วยในการสร้างระบบเนื้อเยื่อ ไอโอดีนช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมอง ถ้าเด็กคนใดได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ จะมีไอคิวต่ำมีการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ เหล็กและโฟเลท มีส่วนช่วยเสริมการสร้างระบบเลือด แคลเซียมเสริมการสร้างระบบโครงสร้างร่างกาย สังกะสี ช่วยเสริมสร้างระบบเส้นขนหรือผม วิตามินต่างๆ มีส่วนเสริมระบบประสาทให้เจริญดี
จำนวนครั้งในการรับประทาน หญิงตั้งครรภ์หลายคนมักจะมีคำถามว่า รับประทานได้บ่อยแค่ไหน ถ้ากินบ่อยๆ จะทำให้อ้วนหรือไม่ น้ำหนักจะเกินหรือไม่ คำตอบคือ คุณแม่ควรรับประทานอาหารมื้อหลักประมาณ 3-4 มื้อ เนื่องจากร่างกายมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น แต่หากมีการรับประทานอาหารมื้อหลักมากกว่า 4 มื้อ อาจได้รับอาหารเกินความจำเป็น อาหารส่วนที่เกินจะถูกสะสมเป็นไขมัน ซึ่งส่งผลให้แม่เกิดภาวะอ้วนและเป็นโรคขณะตั้งครรภ์ได้
ในระหว่างอาหารมื้อหลัก ควรมีการรับประทานอาหารว่างเสริม เช่น นม น้ำผลไม้ ผัก ผลไม้ต่างๆ แต่ก็ไม่ควรเป็นอาหารหรือของว่างที่รสไม่หวาน เพราะหากรับประทานอาหารรสหวานหรือมีแป้งมากเกินไปเป็นประจำคุณแม่ตั้งครรภ์เองก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
อาหารหลักที่จำเป็นมากที่สุดคือ โปรตีน เพราะช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ ระบบสมอง และระบบโครงสร้าง ดังนั้นคุณแม่ควรได้รับอาหารประเภทโปรตีนอย่างสม่ำเสมอและหลากหลาย ไม่ควรรับประทานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเวลานานๆ เพราะจะทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นที่มาจากอาหารประเภทโปรตีนได้
อาหารประเภทปลา นอกจากจะให้โปรตีนแล้ว ยังให้ DHA ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นในการสร้างเซลล์สมอง คุณแม่ควรได้รับอาหารประเภทปลา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 มื้อ อีกทั้งการรับประทานปลาเล็กปลาน้อยจะทำให้ได้รับแคลเซียมซึ่งจำเป็นในการนำไปใช้สร้างกระดูกให้แก่แม่และลูกด้วย
อาหารกลุ่มเครื่องในสัตว์ เป็นแหล่งให้ธาตุเหล็กอย่างดี โดยธาตุเหล็กนี้มีประโยชน์ในการสร้างระบบเม็ดเลือด ให้มีการสร้างเม็ดเลือดที่เพียงพอ แข็งแรง และเพื่อให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กที่ดีขึ้นควรรับประทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม ส้ม เป็นต้น
ในไข่ มีโปรตีนคุณภาพดี อีกทั้งมีวิตามินที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มวิตามินบี ซึ่งมีส่วนช่วยในการบำรุงระบบสมองและประสาทแต่คุณแม่ไม่ควรรับประทานไข่ เกินวันละ 1 ฟอง เนื่องจากในไข่แดงของไข่ 1 ฟอง มีคอเลสเตอรอลสูงถึง 200 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณคอเลสเตอรอลที่แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์มีคือไม่เกิน 300 มิลลิกรรมต่อวัน
ไอโอดีน เป็นเกลือแร่อีกชนิดหนึ่งที่สำคัญมากเพราะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเจริญของระบบสมองและประสาทส่วนกลาง เพื่อไม่ให้ขาดสารไอโอดีน ควรปรุงอาหารด้วยเกลือที่ผสมไอโอดีนแต่ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินวันละ 1 ช้อนชา เพราะการรับประทานเกลือเกินความต้องการร่างกายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงโรคไตเสื่อม
การดื่มนม จะทำให้คุณแม่ได้รับแคลเซียม ควรมีการดื่มนมอย่างสม่ำเสมอเพราะนมเป็นแหล่งแคลเซียมที่มีคุณภาพสูงเนื่องจากแคลเซียมจากนมจะถูกดูดซึมได้ดี ปริมาณแคลเซียมที่มีในนมก็มีปริมาณสูง แต่คุณแม่หลายท่านอาจพบปัญหาการดื่มนมคือ เมื่อดื่มแล้วมีอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือท้องเสีย มีวิธีการป้องกันคือ
ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง
ให้เริ่มดื่มตั้งแต่ปริมาณน้อยๆ หากไม่มีอาการท้องอืดก็สามารถปรับเพิ่มได้วันละนิดละหน่อย
หากยังมีอาการอาจต้องเปลี่ยนนมจากนมธรรมดาเป็นนมที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น โยเกิร์ต แต่ต้องเลือกเป็นโยเกิร์ตชนิดน้ำตาลน้อยหรือรสธรรมชาติ เพื่อไม่ให้คุณแม่ได้
รับปริมาณของน้ำตาลมากเกินไป
น้ำ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญ ไม่ควรมองข้ามไป ในวันหนึ่งๆ คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะการมีน้ำเพียงพอจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายดี เมื่อมีการไหลเวียนของเลือดดีก็จะสามารถนำส่งออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆได้อย่างเพียงพอรวมถึงส่งผ่านรกไปยังลูกในครรภ์ด้วย ปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อร่างกายแม่ คำนวณได้อย่างคร่าวๆ โดยตวงปริมาณปัสสาวะที่คุณแม่ขับออกในแต่ละวัน ก็ให้คุณแม่ดื่มน้ำกลับคืนให้ได้ตามปัสสาวะที่ตวงนั้น
การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์ ยาหลายตัวมีความไม่ปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากยาบางตัวสามารถผ่านรกได้ เมื่อแม่รับประทานยานั้นก็จะมีผลต่อลูกได้ หรือยาบางตัวมีผลต่อการเจริญเติบโตของลูก รุนแรงที่สุดคืออาจจะทำให้เกิดการแท้งลูกได้ หรือไม่ก็ทำให้เกิดทารกวิรูปเมื่อคลอดออกมาก็อาจจะมีอวัยวะที่ไม่สมบูรณ์ หากมีอาการเจ็บป่วย หญิงตั้งครรภ์ไม่จัดหายามารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรให้แน่ใจก่อน
ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาของการที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ การรับประทานของแม่
มีผลต่อลูกที่อยู่ในครรภ์โดยตรง ดังนั้นตัวแม่เองหากจะรับประทานอะไรก็ควรเลือกให้ดี ให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งร่างกายแม่และลูกในครรภ์ เมื่อเวลาที่ลูกคลอดออกมาจะได้เป็นเด็กที่มีสุขภาพกายและจิตที่สมบูรณ์ มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย และสมองที่ดี เติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
ที่มา : การตั้งครรภ์