ที่มา:
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1464876384
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรสำรวจพบคนไทยดื่มนมเฉลี่ย 14 ลิตร/ปี น้อยกว่า ปท.ทั่วโลก 4-7 เท่า กรมอนามัยชี้เป็นสาเหตุทำเด็กตัวเตี้ย แนะเพิ่มปริมาณ ควบเล่นกีฬา-นอนวันละ 9-11 ชม.ช่วยได้
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยเนื่องในวันดื่มนมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มิถุนายนของทุกปี ว่า นมเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทุกวัย เพราะในนมมีโปรตีนคุณภาพดีและมีแคลเซียมในปริมาณสูงเหมาะสำหรับการเจริญเติบ โตของกระดูกและฟัน โดยเฉพาะนมสดรสจืดมีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่านมที่มีการปรุงแต่งด้วยน้ำตาล และกลิ่น เนื่องจากมีแคลเซียมในปริมาณมาก ช่วยสร้างกระดูกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้านความสูง นอกจากนี้ จากข้อมูลการศึกษาของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย โดยนำเอานมโคสดแท้ นมปรุงแต่งรสหวาน นมเปรี้ยว ปริมาณ 100 มิลลิลิตร (มล.) เท่ากันมาเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการพบว่านมโคสดแท้จะให้สารอาหารที่จำ เป็น ได้แก่ โปรตีน 3.3 กรัม (ก.) แคลเซียม 122 มิลลิกรัม (มก.) วิตามินเอ 38 ไมโครกรัม วิตามินบี2 0.21 มก. ในขณะที่นมปรุงแต่ง รสหวานกลับให้สารอาหารที่จำเป็นน้อยกว่าคือ โปรตีน 2.3 ก. แคลเซียม 101 มก. วิตามินเอ 38 ไมโครกรัม และวิตามินบี2 0.20 มก.
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า จากผลสำรวจการบริโภคนมของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2558 พบว่าคนไทยดื่มนมน้อยมาก เฉลี่ยคนละประมาณ 14 ลิตรต่อปี ในขณะที่อัตราการดื่มนมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉลี่ยคนละ 60 ลิตร/ปี และทั่วโลกเฉลี่ย คนละ 103.9 ลิตร/ปี หรือกล่าวได้ว่าอัตราดื่มนมคนไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และโลก 4-7 เท่า ส่งผลให้เด็กไทยเมื่อมีอายุ 19 ปี มีความสูงเฉลี่ยไม่มาก โดยผู้ชายสูงเฉลี่ย 169.5 เซนติเมตร (ซม.) ผู้หญิงสูงเฉลี่ย 157.7 ซม. โดยมีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการดื่มนม วันละประมาณ 2-3 แก้ว ร่วมกับกิจกรรมทางกายประเภทที่มีการยืดตัว เช่น ว่ายน้ำ เล่นบาสเกตบอล เป็นต้น และการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอเป็นการเพิ่มฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่ส่งผล ต่อการเพิ่มความสูงได้ โดยเด็กก่อนวัยเรียน ควรนอน 10-13 ชั่วโมง วัยเรียนควรนอน 9-11 ชั่วโมง และวัยรุ่น 8-10 ชั่วโมง
"วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารเพิ่ม เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและชะลอการสูญเสียมวลกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน แนะนำให้ดื่มนมสดรสจืดวันละ 1-2 แก้ว ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ได้แก่ ภาวะอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรดื่มนมชนิดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนยเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไขมันเกินดื่มวัน ละ 1-2 แก้ว" อธิบดีกรมอนามัยกล่าว
เด็กไทยส่วนสูงไม่เกิน170ซม. เหตุดื่มนมน้อย-ภาวะเนือยนิ่ง
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรสำรวจพบคนไทยดื่มนมเฉลี่ย 14 ลิตร/ปี น้อยกว่า ปท.ทั่วโลก 4-7 เท่า กรมอนามัยชี้เป็นสาเหตุทำเด็กตัวเตี้ย แนะเพิ่มปริมาณ ควบเล่นกีฬา-นอนวันละ 9-11 ชม.ช่วยได้
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยเนื่องในวันดื่มนมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มิถุนายนของทุกปี ว่า นมเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับทุกวัย เพราะในนมมีโปรตีนคุณภาพดีและมีแคลเซียมในปริมาณสูงเหมาะสำหรับการเจริญเติบ โตของกระดูกและฟัน โดยเฉพาะนมสดรสจืดมีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่านมที่มีการปรุงแต่งด้วยน้ำตาล และกลิ่น เนื่องจากมีแคลเซียมในปริมาณมาก ช่วยสร้างกระดูกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้านความสูง นอกจากนี้ จากข้อมูลการศึกษาของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย โดยนำเอานมโคสดแท้ นมปรุงแต่งรสหวาน นมเปรี้ยว ปริมาณ 100 มิลลิลิตร (มล.) เท่ากันมาเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการพบว่านมโคสดแท้จะให้สารอาหารที่จำ เป็น ได้แก่ โปรตีน 3.3 กรัม (ก.) แคลเซียม 122 มิลลิกรัม (มก.) วิตามินเอ 38 ไมโครกรัม วิตามินบี2 0.21 มก. ในขณะที่นมปรุงแต่ง รสหวานกลับให้สารอาหารที่จำเป็นน้อยกว่าคือ โปรตีน 2.3 ก. แคลเซียม 101 มก. วิตามินเอ 38 ไมโครกรัม และวิตามินบี2 0.20 มก.
นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า จากผลสำรวจการบริโภคนมของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 2558 พบว่าคนไทยดื่มนมน้อยมาก เฉลี่ยคนละประมาณ 14 ลิตรต่อปี ในขณะที่อัตราการดื่มนมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉลี่ยคนละ 60 ลิตร/ปี และทั่วโลกเฉลี่ย คนละ 103.9 ลิตร/ปี หรือกล่าวได้ว่าอัตราดื่มนมคนไทยยังต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้และโลก 4-7 เท่า ส่งผลให้เด็กไทยเมื่อมีอายุ 19 ปี มีความสูงเฉลี่ยไม่มาก โดยผู้ชายสูงเฉลี่ย 169.5 เซนติเมตร (ซม.) ผู้หญิงสูงเฉลี่ย 157.7 ซม. โดยมีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการดื่มนม วันละประมาณ 2-3 แก้ว ร่วมกับกิจกรรมทางกายประเภทที่มีการยืดตัว เช่น ว่ายน้ำ เล่นบาสเกตบอล เป็นต้น และการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอเป็นการเพิ่มฮอร์โมนการเจริญเติบโตที่ส่งผล ต่อการเพิ่มความสูงได้ โดยเด็กก่อนวัยเรียน ควรนอน 10-13 ชั่วโมง วัยเรียนควรนอน 9-11 ชั่วโมง และวัยรุ่น 8-10 ชั่วโมง
"วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารเพิ่ม เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและชะลอการสูญเสียมวลกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน แนะนำให้ดื่มนมสดรสจืดวันละ 1-2 แก้ว ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ได้แก่ ภาวะอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรดื่มนมชนิดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนยเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไขมันเกินดื่มวัน ละ 1-2 แก้ว" อธิบดีกรมอนามัยกล่าว