แคลเซียมกับภาวะกระดูกพรุน

แคลเซียม กับ ภาวะโรคกระดูกพรุน

ในคนสูงอายุทุกคนที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนสมอ

โดยมีอาการเริ่มต้น

1. ชามือ ชาเท้า เนื่องจากเส้นประสาทที่คอหรือเอวถูกกดจากกระดูกสันหลังยุบตัวลง

2. หลังค่อม

3. ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว

4. หกล้ม กระดูกแขนขาหักง่าย

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสําคัญต่อกระดูก

ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 20 ปี จะมีฮอร์โมนแคสซิโทนินหลั่งออกมาเพื่อช่วยในการนำแคลเซียมที่สูงจากเลือด ไปสร้างมวลกระดูก
ดังนั้น ถ้าอายุช่วงนี้ ดื่มนมบ่อยๆ ร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมจะทำให้ กระดูกมีมวลหนาแน่น โดยเฉพาะกระดูกแข็งด้านนอก ( ชั้นคอร์เทก)
ช่วงอายุ 20-40 ปี ฮอร์โมนแคลซิโทนิน จะเริ่มหมด การปรับโครงสร้างกระดูกจะอยู่ในภาวะสมดุล

เมื่ออายุ 40 ปีในผู้ชายและผู้หญิงเมื่อหมดประจําเดือนจะเริ่มมีการทําลายมวลกระดูกทุกวัน โดยOsteoclast เพื่อทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดปกติ เพราะเมื่อกินอาหารโปรตีนทุกวัน ร่างกายย่อยและดูดซึม เข้ากระแสเลือดจะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ เมื่อร่างกายใช้แล้วจะขับของเสียในรูปฟอสเฟตออกทางปัสสาวะ การ ขับทิ้งจะดึงแคลเซียมจากเลือดเพื่ออยู่ในรูปแคลเซียมฟอสเฟต เพื่อละลายออกทาง ปัสสาวะขับทิ้งไปได้

ดังนั้นระดับแคลเซียมในเลือดจะลดลง
ถ้าคนสูงอายุไม่กินอาหารที่มีแคลเซียมที่เพียงพอ เช่น นม งาดำ น้ำเต้าหู้ปลาตัวเล็กๆ จะทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำลง ร่างกายจะรักษาสมดุลของแคลเซียมในเลือด โดยการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกมาแทนที่ เพื่อให้ระดับแคลเซียมในเลือดปกติ ทำให้กระดูกที่สูญเสียแคลเซียมออกไปจะเริ่ม อ่อนแอลง กระดูกสันหลังจะทรุดตัวลงก่อน เนื่องจากแรงกดจากกะโหลกศีรษะ ท่าก้มคอ ก้มหลังเพื่อยกของหนัก เมื่อกระดูกสันหลังทรุดตัวลง จะทำให้ช่องที่เส้นประสาทออกมาจากไขสันหลังแคบลง เส้นประสาทที่ไป เลี้ยงแขนขาจะเริ่มถูกกด ผู้ป่วยจะเริ่มมึนชาปลายมือปลายเท้า ต่อมาจะปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว และหลังจะ ค่อมลง ความสูงลดลงจากกระดูกสันหลังทรุดตัวลงทุกวัน อาการปวดชาที่แขนขา จากเส้นประสาทถูกกดจะ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คนไข้จะปวดมาก จนต้องกินยาแก้ปวดหรือต้องทำกายภาพ แต่มักจะแค่บรรเทาอาการเท่านั้น เมื่อปวดมากกินยาไม่หาย อาจต้องผ่าตัดตรงกระดูกสันหลังและขยายช่องที่เส้นประสาทถูกกด ซึ่งเป็นการ รักษาปลายเหตุที่ราคาแพงมาก และรักษาได้เฉพาะตำแหน่งที่ผ่าเท่านั้น นอกจากนั้นเมื่อกระดูกขาบางลง ขา จะเริ่มโก่งออกด้านนอก เพื่อรักษาสมดุลในขณะก้าวเดิน

ดังนั้น เพื่อไม่ให้กระดูกบางลง ทรุดตัวและกระดูกพรุนคนสูงอายุทุกคน จึงต้องกินแคลเซียมให้ เพียงพอ อาจจากอาหาร นม น้ำเต้าหู้ งาดำปลาตัวเล็กๆ ซึ่งอาจต้องกินอย่างน้อย 2-3 มื้อต่อวัน แต่ถ้าได้จาก อาหารไม่พอ ควรกินแคลเซียมเม็ดร่วมด้วย เพื่อให้แคลเซียมที่ดูดซึมเข้าร่างกายต่อวัน ได้essential calcium 500-600 มก.ขึ้นไป และถ้าผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนมากหรือเครื่องดื่มที่มีฟอสเฟตสูง เช่น น้ำอัดลมจะทำให้มี การดึงแคลเซียมออกจากเลือดมากขึ้น เพื่อขับฟอสเฟตทิ้ง ทำให้มีการสลายกระดูกเพิ่มขึ้น เพื่อให้ปริมาณ
แคลเซียมในเลือดอยู่ในระดับปกติ
ยาเม็ดแคลเซียม มีหลายชนิด
1. แคลเซียมคาร์บอเนต 1,250-1,500mg.) จะดูดซึมได้ประมาณ 40% ได้essential calcium 500-600mg. ข้อเสีย ทําให้ท้องผูกได้ จึงควรดื่มน้ำให้มาก วันละ3ลิตร
2.แคลเซียมอะซิเตรดดูดซึมได้ 25%
3. แคลเซียมซิเตรดดูดซึมได้21%
4. แคลเซียมแลคเครดและกูลโคเนดดูดซึมได้ 13%
3อย่างหลัง จะไม่ค่อยทำให้ท้องผูก
วิตามิน D ทําหน้าที่ช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้ากระแสเลือด วิตามินD2(Calciferol) กินสัปดาห์ละครั้งราคาถูก เมื่อดูดซึมเข้าร่างกาย จะไปอยู่ที่ผิวหนัง เมื่อโดนแดด วิตามิน D2 จะถูกสังเคราะห์จากเซลล์ผิวหนังเป็นD3 (Ergocalciferol)
แคลเซียมที่มีวิตามินD3ผสมอยู่ ตามท้องตลาดจะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซี่ยมได้ดีขึ้น แต่ราคาแพง
คนทั่วไปอาจเลือกกินแคลเซียม คาร์บอเนตธรรมดาทุกวัน ร่วมกับD2สัปดาห์ละครั้ง ก็พอ
การตรวจเลือดหาระดับแคลเซียม ไม่จำเป็น เพราะจะปกติ ผลจากฮอร์โมนพาราไทรอยด์
การเจาะระดับวิตามินD2และD3 ในคนไทยจะต่ำ ตรวจไปก็ไม่มีประโยชน์ ให้กินวิตามินD เพิ่มเลยดีกว่า
แต่ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดไทรอยด์ มีภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย ต้องกินแคลเซียมขนาดสูง ร่วมกับD2หรือD3 ตามความเหมาะสม
วิตามินD จะดูดซึมได้ดี เมื่อมีอาหารไขมัน

การกิน Bisphosphonate (eg Alendronate: fosamax) หรือฉีดProlia 6เดือนครั้ง เพื่อลดการทํางานของ osteoclast จะ ช่วยยับยั้งการทําลายของกระดูกได้ แต่ถ้ามีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำนานๆ ร่างกายก็จะต้องสลายกระดูกที่Bisphosphonateไม่ไปยับยั้งOsteoclast  อาจทําให้กระดูกเปราะในบางตำแหน่งได้ และหัก ในตำแหน่งแปลกๆได้
การตรวจมวลกระดูกโดยใช้ Bone Scan จะช่วย ให้ทราบภาวะของมวลกระดูกว่าปกติ บางหรือพรุน และโอกาสกระดูกหักง่ายหรือไม่

ถ้ากระดูกพรุนมาก การกินแคลเซียมอย่างเดียว จะไม่สามารถเพิ่มมวลกระดูกได้ จําเป็นต้องใช้ ฮอร์โมนแคลซิโทนินจากภายนอก มีอยู่ในรูปยาพ่นจมูก เป็นแคล โทนินจากปลาแซลมอน (การกินจะถูก ทําลาย โดยเอนไซม์ในกระเพาะ) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด ถ้าระดับแคลเซียมในเลือดปกติ จะไม่ค่อยมีผล แต่จะทำงานช่วยการดึงแคลเซียมที่สูงเกินในเลือดไปเก็บไว้ในกระดูก ทำให้สร้างมวลกระดูกเพิ่มขึ้น ได้ จึงต้องกินแคลเซียมในวันนั้นให้มากกว่าปกติ (ควรกินแคลเซียม2เม็ด และพ่นยาแคลซิโทนินในวันนั้น ทำวันเว้นวัน เพื่อไม่ให้ท้องผูก) แต่เนี่องจากราคาแพงจึงแนะนำให้ได้ในผู้ป่วยกระดูกพรุน หรือ มีอาการปวดจาก เส้นประสาทกระดูกสันหลังถูกกดเท่านั้น หรือใช้ยาฉีดCalcitonin200IU (4ml.) แบ่งฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง2-4จุด แต่ราคาแพงใช้ในรายจำเป็นเท่านั้น

การป้องกันกระดูกพรุน

1. ในเด็กให้ดื่มนมทุกวัน วันละ 1-2 มื้อ จนกว่าอายุ 20 ปี

2.อาหารที่มีแคลเซียมสูง ปลาเล็ก งาดำ น้ำเต้าหู้

3.กินแคลเซียมเม็ดวันละครั้ง
และดื่มน้ำวันละ2.5-3ลิตร
4.หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม เพราะมีฟอสเฟตสูง

5.ออกกำลังกาย ในคนสูงอายุให้ออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว 20 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยให้มีแนวแรงที่ผ่าน กระดูก ทําให้กระดูกขา และกระดูกสันหลังแข็งแรงขึ้น จะทรงตัวหรือนั่งง่ายขึ้น การออกกำลังกายโดยการวิ่ง จะทำให้น้ำหนักตัวและแรง กระแทกลงบนข้อเข่า 2-5 เท่าของน้ำหนักตัว ทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้เร็ว ยกเว้นคนที่วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว

FB: หมอ หู คอ จมูก

นพ. สุทธิศักดิ์ วุฒิพันธ์เรืองชัย 7พค.2564
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่